เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 23356 ไฮโซโบราณ แห่งอเมริกา - The Gilded Age and The Mrs Astor
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 19 พ.ย. 14, 17:51

คุณนายแอสเตอร์ผู้ยืนยงที่ก้าวเข้ามาเป็นยอดนารีผู้พิทักษ์สังคมผู้ดีของนิวยอร์ดเป็นสตรีที่เกิดในตระกูลผู้ดีเก่าเชื้อสายดัชต์ของนิวยอรค์ ชื่อเดิมคือ Caroline Webster Schermerhorn ในปี ๑๙๘๓

ตระกูล Schermerhorn ของเธอนี้เธอว่ารวยเป็นอันดับต้นๆของนิวยอร์ค ญาติของเธอโดยมากมักเป็นเศรษฐี แถมเป็นเศรษฐีแถวหน้าด้วยซ้ำ ยิ่งไปกว่าเป็นเศรษฐี ตระกูลเธอยังเป็นตระกูลผู้ดีเก่าสืบเชื่อสายข้าราชการชาวดัชต์ที่มายังอาณานิคม โดยต้นตระกูลคนแรกที่มาตั้งรกรากที่นิวยอร์ค คือ Jacob Janse Schermerhorn โดยมาถึงตั้งแต่ปี 1648 โดยเป็นเจ้าหน้าที่ทางการทหารที่ดูแลการขายอาวุธให้แก่ชาวอินเดียนแดง และสืบเชื้อสายลูกหลานจนกลายเป็นเศรษฐีผู้ดีแนวหน้าแห่งนิวยอร์ค

อย่างไรก็ตามตระกูลเธอนี้เธอว่าเป็นเศรษฐีที่ค่อนข้างเก็บตัว และไว้ตัวพอดู ญาติร่วมสกุลผู้หนึ่งของเธอได้รับฉายาว่าเศรษฐีผู้โดดเดี่ยว เพราะไม่ออกงานสังคมใดๆ กระทั่งจะฟังเพลงโอเปร่าก็ไม่ไปฟังที่โรงละคร แต่เลือกที่จะจ้างนักร้องมาร้องที่คฤหาสน์แทน คุณนายแอสเตอร์เองดูจะรับความไว้ตัวนี้ไว้เช่นกัน แม้เธอจะชอบจัดงานเลี้ยงงานเต้นรำต่างๆ แต่ใช่ว่าทุกคนจะมีสิทธิเข้าร่วมงาน ไปไหนมาไหนก็มักจะมีผ้าลูกไม้คลุมหน้าไว้ รูปภาพของเธอจะเป็นรูปที่ถูกจัดท่าอย่างดีแล้ว ไม่มีเลยที่เธอจะให้ใครถ่ายภาพในท่าสบายๆ

ความเป็นตระกูลเก่าโดยสายเลือดของเธอเป็นหนึ่งในขั้นบันไดในการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งราชินีแห่งสังคมชั้นสูงของนิวยอร์ค อย่างไรก็ตามแม้เธอจะเป็นผู้ดีเก่า และเธอจะมีทรัพย์สมบัติมากมายจากกองมรดก (เธอมีเงินสดหลายล้านที่ได้รับส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของบิดา) แต่มันก็อาจจะช่วยอะไรได้ไม่มาก เพราะมันก็ไม่ได้มีพลังผลักดันอะไรถึงเพียงนั้น เพราะถ้าเธอจะก้าวข้ามพวกเศรษฐีใหม่ที่มักจะรวยยิ่งกว่าเศรษฐีเก่า เธอจะต้องรวยยิ่งกว่าพวกมาใหม่ทั้งปวง

โชคดีที่ตระกูลสามีของเธอช่วยแก้ปัญหานี้ได้

เธอแต่งงานเข้าครอบครัวแอสเตอร์ (Astor)

ตำนานคุณนายแอสเตอร์กำลังเริ่มต้นขึ้นแล้ว


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 19 พ.ย. 14, 18:06

ตระกูลแอสเตอร์แห่งนิวยอร์คนี้ถือเป็นตระกูลเกือบเก่าตระกูลหนึ่งในยุคต้นศตวรรษที่ ๑๙ ต้นตระกูลเป็นชาวเยอรมันจนๆอพยพมาค้าขายยังอเมริกา โดยทำการค้าขนสัตว์ ปฐมวงศ์คือ John Jacob Astor (๑๗๖๓ – ๑๘๔๘) ชายผู้นี้เป็นเศรษฐีที่ได้รับลือชื่อถือความดิบ เถื่อน จนลือเลื่อง แต่ก็เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลด้านการค้า กิจการของเขาข้ามประเทศเลยทีเดียว เขามาถึงอเมริกาในปีค.ศ. ๑๗๘๔ โดยทำการค้าตั้งแต่แคนาดายันสหรัฐอเมริกา และภายหลังก็ก้าวไกลไปถึงประเทศจีนโดยทำการค้าและเปลี่ยนขนสัตว์ของทวีปอเมริกา กับใบชาของจีน ภายหลังเมื่อการค้าขนสัตว์เริ่มตกต่ำ เขาก็เริ่มขยายตัวไปสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในแมนฮันตันที่กำลังเติมโต เขาเคยเปรยๆว่าเสียดาย ถ้าเขารวยกว่านี้ เขาคงซื้อที่ในเกาะแมนฮัตตันทั้งเกาะแล้ว

การบุกเบิกนี้ทำให้ในยุคของคุณนายแอสเตอร์ ตระกูลแอสเตอร์มีที่ดินในแมนฮัตตันเกือบร้อยละ ๓๐ ทีเดียว

ไม่น่าเชื่อว่าชายผู้นี้จะเริ่มต้นจากร้านขายของชำ และขนสัตว์เล็กๆเท่านั้น

แต่ถึงจะรวยแค่ไหน เขาก็ยังเป็นที่ถูกดูแคลน คนพูดกันว่าคนตระกูลแอสเตอร์โดยเฉพาะท่านผู้เป็นปฐมวงศ์นั้นกินไอสครีมด้วยมีด ขากเสลดบนพื้น บ้วนยาสูบบนพรม เช็ดปากบนผ้าปูโต๊ะ ฯลฯ ยังไม่นับความโหดของเข้าในการเก็บค่าเช่ากับผู้เช่าอีก

ถือเป็นหนึ่งในมหาเศรษฐีชวนสยองแห่งตำนาน



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 19 พ.ย. 14, 21:29

นับตั้งแต่ปี ๑๗๘๔ จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามปฏิวัติในปี ๑๘๑๒ เรือสินค้าจากสหรัฐอเมริกาเกือบ ๓๐๐ ลำเดินทางสู่เมืองท่ากว่างโจวของจีนถึง ๖๑๘ เที่ยว เรือเหล่านี้บรรทุกสินค้าอย่างโสม นากทะเลและหนังแมวน้ำ ฝิ่น ไม้จันทน์ และเงินดอลลาร์สเปนสำหรับซื้อใบชา ผ้าไหม เครื่องกระเบื้อง และสินค้าแปลกๆ อย่างอื่น

จอห์น เจคอบ แอสเตอร์ แห่งนิวยอร์ก (John Jacob Astor of New York), สตีเวน จิราร์ด แห่งฟิลาเดลเฟีย (Stephen Girard of Philadelphia) และ อีไลอัส แฮสเกต เดอร์บี แห่งเซเลม (Elias Hasket Derby of Salem) คือพ่อค้ากลุ่มแรกที่ทำการค้ากับจีน ซึ่งช่วยทำให้พวกเขากลายเป็นส่วนหนึ่งของคนที่ร่ำรวยที่สุดในสหรัฐอเมริกา เดอร์บีนั้นกลายเป็นเศรษฐีคนแรกของประเทศ ในขณะที่แอสเตอร์คือมหาเศรษฐีคนแรก ส่วนจิราร์ดก็เป็นรองแอสเตอร์เพียงเล็กน้อย

การค้ากับจีนคือเครื่องยนต์เครื่องแรกของบรรดานักลงทุน ความสำเร็จของมันทำให้พวกเขามีเงินไปลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ซึ่งรวมถึงทางรถไฟ ธนาคาร และการทำเหมือง อันเป็นที่มาของการก่อร่างสร้างตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ ๑๙

จาก การค้ากับจีนช่วยสหรัฐอเมริกาสร้างประเทศได้อย่างไร โดย K. Samphan  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 19 พ.ย. 14, 22:17

เส้นทางพาณิชย์นาวีของแอสเตอร์  ฝั่งตะวันออกจากนิวยอร์ก และฝั่งตะวันตกจากแอสตอเรียเมืองที่ก่อตั้งโดย จอห์น เจคอบ แอสเตอร์   ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 20 พ.ย. 14, 22:56

หลังจากปฐมวงศ์ซึ่งค่อนข้างจะได้รับชื่อเสียมากกว่าชื่อเสียง William Backhouse Astor, Sr. บุตรชายคนหนึ่งของ John Jacob Astor ได้รับสืบทอดตำแหน่งธุรกิจของตระกูล ด้วยนิสัยของเขาที่เป็นที่ยกย่องในความเรียบง่าย เมตตา โอบอ้อมอารี ทำให้ชื่อเสียงตระกูลแอสเตอร์ดีขึ้นตามพฤติกรรมของเขา

William Backhouse Astor, Sr. (๑๗๙๒ – ๑๘๗๕) ถูกส่งให้เรียนหนังสือแต่เด็ก แต่เมื่อใดก็ตามที่มีเวลาว่างจะต้องเข้ามาช่วยงานในร้านค้าของบิดา เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี เขาถูกส่งไปเรียนที่มหาวิทยาลัย University of Göttingen ในเยอรมันนี ต่อมาได้ย้ายไปศึกษาต่อ University of Heidelberg ต่อมาในปี ๑๘๑๕ จึงได้กลับมายังอเมริกาและช่วยสืบทอดกิจการการค้า

William Backhouse Astor, Sr. ทำให้การค้าของตระกูลแอสเตอร์ก้าวไกล เขาลงทุนเพิ่มอีกหลายอย่าง อาทิ เส้นทางรถไฟ เหมือง และอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งเมื่อเขาได้รับมรดกเป็นที่ดินผืนมโหราฬราคาห้าแสนเหรียญจากลุงของเขาซึ่งจากไปโดยไม่มีทายาท เขาได้นำที่ดินมาพัฒนาต่อทำให้ทรัพย์สมบัติยิ่งเพิ่มพูน

แม้ธุรกิจของเขาจะรุ่งเรืองในหลายอย่าง แต่ธุรกิจที่ทำให้เขากลายเป็นมหาเศรษฐีแนวหน้าคือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเกาะแมนฮัตตัน เขาซื้อที่ดินและสร้างอาคารให้คนเช่าจนร่ำรวยมหาศาล จนได้รับฉายานามที่ไม่ค่อยจะเสนาะหูว่าเป็น “เจ้าผู้ครองสลัม”  (slum landlord) แต่อย่างไรก็ตาม เขาก็มิได้ละเลยพัฒนาอาคารที่ปล่อยให้เช่าทรุดโทรม แต่ปรับปรุงให้ดีเหมาะสมแก่การอยู่อาศัย ทำให้ชื่อของเขาดี ไม่ได้กลายเป็นวายร้าย (อย่างน้อยก็แบบบิดา)

เมื่อตอนบิดาของเขาจากไป บิดาทิ้งมรดกให้เขาเป็นมูลค่า ๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เมื่อเขาจากไปเขาได้ทิ้งมรดกไว้เป็นมูลค่า ๕๐ ล้านเหรียญสหรัฐ

ถ้าเขามีญาณวิเศษใดๆ เขาคงยินดีไม่น้อย หากได้รู้ว่าบุตรชายของเขาที่สืบทอดมรดก จะพัฒนาให้สมบัติก้อนนี้พัฒนาเพิ่มพูนออกไปอีกเท่าตัว


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 10:31

           ภาพวาด New York กลางศตวรรษที่ 19(ปี 1851)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 10:39

             จาก The Age of Innocence ผกก.ใหญ่ Martin Scorsese ก็ยังมีผลงานย้อนยุค
นิว ยอร์คด้วยหนังเรื่อง The Gangs of New York อิงเหตุการณ์ใน Lower Manhattan
ช่วงกลางศตวรรษที่ 19


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 19:40

หลังจาก William Backhouse Astor, Sr.จากไป เขาได้ทิ้งมรดกก้อนโตไว้ให้ลูกๆ บุตรชายของเขาสองคนรับส่วนแบ่งไปคนละก้อนโต John Jacob Astor III ผู้พี่ และ William Backhouse Astor, Jr. (๑๘๒๙ – ๑๘๙๒) และพัฒนาให้มันโตยิ่งกว่า สองพี่น้องลงทุนทำธุรกิจแยกกันไป และแต่ละคนก็มีเงินคนละประมาณ  ๗๕ – ๑๐๐ ล้านเหรียญ แต่เป็นที่รู้กันว่า พี่ชายผู้ชื่นชอบการทำธุรกิจมากกว่าน้องชายมีเงินมากกว่าน้องชาย (แต่สันนิษฐานว่าไม่น่าจะมากกว่ากันสักเท่าใดก็ตาม)

John Jacob Astor III ผู้พี่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Columbia University แต่ว่าพี่ชายภายหลังได้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย University of Göttingen ในเยอรมันนี แล้วยังไปเรียนต่อที่โรงเรียนกฎหมายของฮาร์วาร์ด Harvard Law School เมื่อกลับมาได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง การทหารจนมีชื่อเสียง และขึ้นชื่อลือชามากเกี่ยวกับความใจบุญ เขาได้บริจาคเงินก้อนโตให้พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนิวยอร์ค Metropolitan Museum of Art ถึงห้าหมื่นเหรียญ ร่วมบริจาคเงินพร้อมกับน้องชายให้โบส์ถ Trinity Church ถึงแปดพันเหรียญ

แต่เงินจำนวนนี้แม้ว่ามากแล้ว เมื่อเทียบกับเงินที่บริจาคให้ห้องสมุดแอสเตอร์ ดูน้อยไปถนัดใจเพราะเขามอบให้ถึงสี่แสนห้าหมื่นเหรียญ  และมอบเงินเป็นกองทุนให้มากถึงหนึ่งล้านห้าแสนเหรียญ
เงินก้อนโตนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของโครงการสำหรับการบุญต่างๆไม่นับโครงการเกี่ยวกับโรงพยาบาล และโรงเรียนมากมาย โรงพยาบาลหลายแห่งได้รับเงินบริจาคหนึ่งแสนเหรียญขึ้นไป ภรรยาของเขา Charlotte Augusta Gibbes ก็ถือว่าเป็นคู่บุญของสามีเป็นอย่างยิ่ง เธอสนับสนุนโรงเรียนอาชีวะ German industrial school และโรงพยาบาลสตรี เธอใช้ชีวิตเรียบๆง่ายๆดูแลครอบครัว และดูแลจัดการโรงเรียนตลอดจนโรงพยาบาลที่เธอสนับสนุน งานเลี้ยงไม่ใช่แนวทางของเธอเท่าใดนัก สามีเธอก็รู้สึกเช่นกัน
   
ความใจบุญ และการใช้ชีวิตเรียบๆทำให้เขาเป็นผู้นำตระกูลแอสเตอร์ แต่ว่าไม่ได้โด่งดังเท่าใดนัก

ผิดกับน้องชาย ที่แม้จะชอบทำธุรกิจเหมือนกัน ทำบุญไม่ได้ต่างกัน แต่ว่านิยมการท่องเที่ยวและการผจญภัย

แต่ที่ต่างที่สุดคงจะเป็นนิสัยของภรรยาทั้งคู่

เชื่อหรือไม่ความแตกต่างของภรรยาระหว่างสองพี่น้องที่มีบารมี และเงินพอๆกันจะสร้างสีสันให้กับสังคมชั้นสูงของชาวนิวยอร์คอีกมากในอนาคตอีกหลายสิบปีข้างหน้าอย่างมหาศาล


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 22:03

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 22 พ.ย. 14, 22:32

คราวนี้มาถึงชายผู้น้องที่แต่งงานกับสตรีที่ก่อให้เกิดตำนานบ้าง

William Backhouse Astor, Jr. (๑๘๒๙ – ๑๘๙๒) ผู้น้อง เป็นที่ยกย่องในการสนับสนุนการเลิกทาส ตลอดจนสนับสนุนด้านการเงินให้กับกองทัพในสงคราม เป็นที่ขึ้นชื่อลือชาในด้านการทำธุรกิจ แต่ที่ขึ้นชื่อยิ่งกว่าคือเรื่องความชื่นชอบในม้า ครั้งหนึ่งในปี ๑๘๗๖ มาของเขาชื่อว่า Vagrant ชนะเลิศในการวิ่งในงานแข่งมากแห่งเคนตั๊กกี้ (Kentucky Derby)และเป็นตำนานกล่าวขานเลยก็คือความนิยมเล่นเรือ เรือยอร์ชส่วนตัวของเขา Ambassadress ขึ้นชื่อลือชาว่าเป็นเรือยอร์ชส่วนตัวที่ใหญ่ที่สุดในโลกตอนที่แรกสร้าง

William Backhouse Astor, Jr. จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia College) เช่นเดียวกับพี่ชาย แต่ไม่ได้เรียนต่อเพิ่มเติม เขาหันมาทำธุรกิจ แต่ธุรกิจที่เขาทำนั้นจะเป็นในเชิงที่เชาชอบมากกว่า อาทิ เขาชอบล่องเรือยอร์ชเป็นชีวิตจิตใจ และสถานที่โปรดในการล่องเรือของเขาคือแถบฟอริด้า ภายหลังในปี ๑๘๗๗ เขาและเพื่อนนักธุรกิจอีก ๑๖ คนได้ก่อตั้งสมาคมเรือยอร์ชแห่งฟอริด้าขึ้นที่เมืองแจ๊คสันวิล (Florida Yacht Club in Jacksonville) ซึ่งปัจจุบันนี้ถือเป็นสมาคมเรือยอร์ชที่เก่าแก่ที่สุดในอเมริกา พัฒนาและเชื่อมต่อเมือง เข้าได้ซื้อที่ดินเป็นจำนวน ๘ หมื่นเอเคอร์ตลอดฟากแม่น้ำ St. Johns River หลังจากนั้นเขาและเพื่อนอีกสองคนได้สร้างเมืองขึ้นมาหนึ่งเมือง เขาตั้งชื่อเมืองแห่งนั้นว่า Manhattan แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็น Astor เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา

นี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เขายังได้สร้างโรงแรมที่พักไว้อีกหลายแห่งเพื่อเป็นจุดพักของเรือกลไฟที่ล่องไปตามแม่น้ำ ต่อมาก็ได้พัฒนาสร้างทางรถไฟเพื่อเชื่อมเมืองที่เขาสร้าง การสาธารณกุศลก็มากหลายในเมืองและพื้นที่เขาพัฒนา อาทิ สร้างโรงเรียน สร้างโบสถ์ ภายหลังทะเลสาบหลายแห่งบริเวณนั้นได้รับการตั้งชื่อว่า Schermerhorn ตามนามสกุลของภรรยา  Caroline Webster "Lina" Schermerhorn

เมื่อเทียบกับพี่ชายดูเขาไม่ค่อยจะจริงจังกับธุรกิจเท่าไรนัก แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเขาตายไป เขาก็มีทรัพย์สมบัติอย่างน้อย ๗๒ ล้านเหรียญสหรัฐ (ปัจจุบันในปี ๒๐๑๔ เทียบเป็นเงินประมาณ ๑๙๐๐ ล้านดอลล่า)

ถือได้ว่าเป็นนักผจญภัยผู้ทำเงินได้มหาศาลทีเดียว

และเงินก้อนนี้ก็เป็นฐานที่ดีให้กับภรรยาของเขาในการกอบกู้สังคมผู้ดีแห่งนิวยอร์ค



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 22 พ.ย. 14, 22:38

William Backhouse Astor, Jr. ผู้มีนิสัยรักการผจญภัย ได้แต่งงานกับ Caroline Webster "Lina" Schermerhorn หญิงผู้ดีผู้นิสัยผิดกับเขาอย่างลิบลับในปี ๑๘๕๕ ไม่มีใครทราบว่าด้วยเหตุผลใดสองคนที่เป็นคู่ผิดฝาผิดตัวกันมากๆเช่นนี้จึงได้แต่งงานกัน สันนิษฐานว่าการจับคู่กันระหว่างเขาและภรรยาเกิดจากความต้องการมารดาของเขา Margaret Rebecca Armstrong ซึ่งเป็นหญิงผู้ดีมีตระกูล เธอเป็นบุตรสาวของวุฒิสมาชิก John Armstrong, Jr และ Alida Livingston สตรีเชื้อสายผู้ดีแห่งตระกูล Livingston

ตระกูล Livingston ผู้ที่มาตั้งรกรากในอเมริกาคนแรกๆคือ Robert Livingston the Elder (๑๖๕๔ - ๑๗๒๘) ข้าราชการผู้ดูแลอาณานิคมนิวยอร์ค ซึ่งนอกจากจะเป็นข้าราชการแล้วยังเป็นและพ่อค้าที่มั่งคั่ง ซึ่งสืบเชื้อสายขุนนางจากอังกฤษ – สก๊อต โดยสืบเชื้อสายจากลอร์ดลิฟวิงตันที่ ๔ แห่งสก๊อตแลนด์  (William Livingston, 4th Lord Livingston)

ภาพตราประจำตระกูล Livingston และRobert Livingston the Elder



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 23 พ.ย. 14, 14:09

ในรุ่นของ Margaret Rebecca Armstrong ตระกูลแอสเตอร์เป็นตระกูลที่มั่งคั่งที่สุดในนิวยอร์ค แต่ว่าก็ยังเป็นตระกูลใหม่ และไม่เป็นที่น่านับถือเท่าใดนัก แม้สามีของเธอจะเป็นชายผู้ประเสริฐ แต่ว่าบิดาสามีนั้นออกจะเป็นที่ครหา ฟังดูไม่น่าแปลกอะไรที่เธอพยายามยิ่งนักให้บุตรชายของเธอแต่งงานกับตระกูลผู้ดี เพราะอย่างน้อยชื่อเสียงและวงศ์วานของภรรยาคงช่วยโรยกลีบกุลหลาบบนเส้นทางที่เธอและสามีกรุยทางให้ลูกชายอย่างยากลำบากมาก่อน

Caroline Webster "Lina" Schermerhorn หรือที่เรียกกันในหมู่ญาติว่า Lina ก็ช่วยได้จริงๆ การแต่งงานของเธอกับเขาช่วยสร้างพื้นที่ในวงสังคมชั้นสูงของนิวยอร์ดให้กับสามีเป็นอย่างดี นอกจากเธอจะใช้สกุลเธอผลักดัน เธอยังทำการผลักดันด้วยตัวเธอเอง เธอให้สามีตัดคำว่า “Backhouse” อันแปลว่า “หลังบ้าน” ออกจากชื่อสามี ให้เหลือเพียง William Astor เพื่อลบนัยยะแฝงที่ไม่ค่อยจะงามกับชื่อ ว่ากันว่ามันทำให้นึกถึงคำเล่าลือว่าครอบครัวแอสเตอร์ได้ที่ดินมาอย่างมีลับลมคมในกับผู้ว่าเมืองนิวยอร์คผู้ฉ่อฉล William Magear Tweed  (๑๘๒๓ – ๑๘๗๘) ผู้มีฉายาว่า "Boss" Tweed ที่ลงท้ายตายในคุก นี้ยังไม่นับงานเลี้ยงต่างๆที่ถูกจัดขึ้นมาเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับครอบครัวตามธรรมเนียมผู้ดีชาวนิวยอร์ค

ถึงว่าเป็นภรรยาผู้มีคุณอยู่พอควร

แต่ว่ากุหลาบย่อมมีหนาม และทางที่โรยกลีบกุหลาบโดยลีน่า ก็มีหนามคอยทิ่มแทงสามีและภรรยาคู่นี้พอควรเช่นกัน

ภาพผู้ว่าเมืองนิวยอร์ค William Magear Tweed ผู้สุดท้ายถูกจับขังคุกและตายในคุกด้วยข้อหาทุจริตโกงกิน 


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 25 พ.ย. 14, 19:59

สามีภรรยาคู่นี้แต่งงานกันด้วยความรักหรือไม่ไม่มีใครทราบ แต่หลายคนสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากความเหมาะสมทางสังคม ครอบครัวฝ่ายชายต้องการชื่อเสียงเกียรติยศของฝ่ายหญิง และครอบครัวฝ่ายหญิงก็ต้องการทรัพย์สินก้อนโตให้บุตรสาว ถึงแม้ตระกูลนี้จะมีเงินเป็นล้าน บิดาของลีน่าทำการค้าจนมั่งคั่งมีเงินมากถึง ๑๕ ล้านเหรียญในยุคนั้น (เกือบ ๓๐๐ ล้านเหรียญในยุคนี้) แต่พอแบ่งให้ลูกแต่ละคนก็ได้ไปคนละไม่กี่ล้าน สู้ให้ลูกสาวแต่งกับตระกูลแอสเตอร์ไม่ได้ สำหรับสังคมชั้นสูงชาวนิวยอร์คยุคนั้น แม้จะดูถูกพวกเศรษฐีใหม่ แต่ว่าถ้าอย่างน้อยๆทรัพย์สินที่มีนั้นสั่งสมกันมามากกว่า ๕๐ ปี ว่าง่ายๆคือมรดกอายุมากกว่าเศรษฐีใหม่ที่เข้ามาตอนนี้...ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว

ลีน่ากับวิลลเลี่ยมใช้ชีวิตอย่างสงบนับตั้งแต่แต่งงาน โดยต่างคนก็ต่างทำกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบ ลีน่าจัดงานเลี้ยงและเลี้ยงลูก วิลเลี่ยมหาเงินมาให้ลีน่า แล้วเขาก็เข้าไปขี่ม้า ล่องเรือ ตามประสา ลีน่าอยากจะใช้เงินเท่าไรเขาก็ไม่ว่า ส่วนวิลเลี่ยมจะทำอะไรลีน่าก็ไม่ว่าเหมือนกัน ขอแค่อย่ามายุ่งในเรื่องของเธอ

ความสัมพันธ์ของคู่นี้แม้ไม่ได้แตกร้าว แต่ก็แยกห่างพอควร เมื่อลีน่าจัดเลี้ยง เธอพยายามกันให้สามีอยู่นอกงานเสมอ เพราะว่าสามีนั้นนอกจากจะไม่ค่อยชอบงานเลี้ยง คำบอกเล่าจากหลานของวิลเลี่ยมคนหนึ่งกล่าวถึงบุคคลิกของวิลเลี่ยมง่ายๆ "ไม่ค่อยจะน่าเข้าใกล้สักเท่าใดนัก" ด้วยเหตุผลกลฉะนี้ ลีน่าจึงพยายามอย่างยิ่งยวดให้สามีอยู่คลับกับเพื่อนฝูงนานๆ กว่าเขาจะถึงบ้าน งานเลี้ยงก็จบแล้ว แขกล้วนกลับบ้าน นักดนตรีเก็บข้าวของจนหมด ลูกๆก็ขึ้นนอน

แล้ววิลเลี่ยมก็เข้านอนอย่างสงบ โดยไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับอะไรเลย

และนอกจากจะกันสามีออกห่างจากงานเลี้ยงแล้ว เธอยังกันสามีออกห่างจากลูกๆเช่นกัน วิลเลี่ยมแทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับการเติบโตของลูก หน้าที่ของเขาคือทำหน้าที่พ่อยามที่ควรทำ - จูงลูกสาวสู่งานวิวาห์ - เป็นประธานการจัดงานที่พ่อควรจะอยู่ - แนะแนว รวมถึงยามต้องใช้ไม้แข็งกับลูก (ตามที่ภรรยาร้องขอ) - นอกนั้น ลีน่าจัดการเองแทบทั้งสิ้น

ทั้งสองคนใช้ชีวิตอย่างนี้ ลีน่าจัดเลี้ยง ส่วนวิลเลี่ยมล่องเรือ แต่ก็น่าอัศจรรย์ใจอยู่ ที่ลีน่าไม่เคยบ่นว่าสามีใครให้ฟังแม้แต่น้อย เมื่อพูดถึงสามี เธอพร่ำพูดแต่ว่า "เขาดีต่อฉันมาก ฉันโชคดีที่สุดแล้วที่ได้แต่งงานกับคุณแอสเตอร์"
และเมื่อคนใดก็ตามถามว่าทำไมเธอถึงไม่ไปล่องเรือกับเขาเล่า ลีน่าก็ตอบอย่างเศร้าสร้อยว่า "ฉันอยากจะไปเหลือเกิน แต่ว่าฉันนั้นเป็นกะลาสีที่แย่มาก ทุกครั้งที่เหยียบเท้าลงเรือ ฉันได้แต่เมาคลื่น และป่วยทั้งวัน - นี้คือคำสารภาพของภรรยาที่ไม่เอาไหนคนหนึ่ง"

ไม่มีใครรู้ว่าวิลเลียมดีต่อลีน่าจริงหรือเปล่า แต่ก็อาจจะเป็นได้ เพราะเขาตามใจเธอทุกอย่าง ไม่ว่าเธอจะต้องการอะไร แต่ว่าสำหรับการเมาคลื่นนั้น ก็เป็นที่ทราบดีในครอบครัวเช่นกัน ว่าลีน่าเป็นคนชอบล่องเรือมาก ขนาดเรือโดนคลื่นหนักๆ ทุกคนเมาเรือแทบจะยืนไม่ได้ เธอกลับนั่งชมวิว และหัวเราะครื้นเครงอย่างอารมณ์ดี เมื่อคลื่นอีกลูกกระแทกมา

สามีภรรยาคู่นีแม้เข้ากันไม่ได้ แต่ก็มีทายาทหลายคน ดังนี้

๑. Emily Astor (1854–1881)
๒. Helen Schermerhorn Astor (1855–1893)
๓. Charlotte Augusta Astor (1858–1920)
๔. Caroline Schermerhorn "Carrie" Astor (1861–1948)
๕. John Jacob "Jack" Astor IV (1864–1912)

ในปี ๑๙๖๒ สองสามีภรรยาได้สร้างบ้านขึ้นหลังหนึ่ง เป็นทาวเฮาส์ขนาดมโหราฬขนาด ๔ ชั้น ณ เลขที่ 350 Fifth Avenue ซึ่งเป็นย่านหรูหรา บ้านหลังนี้เป็นบ้านหินทราบสีน้ำตาลอย่างสมัยนิยม แต่ที่พิเศษคือมีห้องจัดเลี้ยงขนาดใหญ่ซึ่งจุคนได้ถึง ๔๐๐ คน ถือเป็นบ้านไม่กี่หลังในยุคนั้นที่มีห้องจัดเลี้ยง ข้างๆบ้านของเธอเป็นบ้านทาวเฮาส์ขนาดใหญ่ไม่แพ้กันของพี่ชายวิลลเลี่ยม เป็นที่ทราบกันดีว่าสองพี่น้องนี้เข้ากันไม่ค่อยได้ แต่ก็ยังเลือกที่จะอยู่ข้างกันด้วยเหตุผลกลใดไม่รู้

เมื่อเวลาผ่านไป ลูกของทั้งสองเติบโตขึ้น โดยเฉพาะเหล่าบุตรสาวของลีน่า ในปี ๑๙๗๐ ลูกสาวคนโตสองคนกำลังสู่วัยสาว และจะเปิดตัวสู่วงสังคมพอดี และเมื่อเปิดตัวสู่สังคมแล้วไซร้ก็เป็นที่คาดหมายได้ว่าอีกไม่นานทั้งคู่จะต้องแต่งงาน

ว่ากันว่าเพราะเหตุที่ห่วงในบุตรของตัวเองจะต้องระคนกับชาติไพร่ ทำให้ลีน่ามีแรงบันดาลใจลุกขึ้นมา ปกป้องสังคมผู้ดีแห่งนิวยอร์ค ให้พ้นภัยจากพวกไพร่ที่หลังไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ

คุณนายแอสเตอร์ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว

ภาพลักษณะการตบแต่งบ้านของคุณนายแอสเตอร์ ภาพนี้เป็นภาพบ้านใหม่ บ้านเก่าข้าพเจ้าหาใน bing กับ baidu ไม่เจอ ท่านใดเจอเมตตานำมาลงจะขอบคุณมาก


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 25 พ.ย. 14, 20:13

ปล. ส่งไม้ต่อให้ท่านผู้เมตตา มาเขียนอธิบายธรรมเนียมเปิดตัวสตรีสาวสู่วงสังคมแบบฝรั่ง ข้าพเจ้าจะรู้สึกขอบคุณเป็นที่ยิ่ง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 26 พ.ย. 14, 10:03

           ทาวน์เฮ้าส์สี่ชั้นเลขที่ 350 ณ Fifth Avenue

          โดนข่มด้วยโรงแรมใหญ่หรูของ William Waldorf Astor(บุตรชายของ John Jacob
Astor III ต้นสาแหรกรุ่นพี่ - Elder Branch) ผู้ที่ไม่ถูกกับน้าสะใภ้"Aunt Lina" แห่งสาแหรก
รุ่นน้องที่มาแย่งสมญา The Mrs. Astor ไปจากภรรยาตน จึงแกล้งสร้างโรงแรม “The Waldorf”
ซึ่งใหญ่โตหนวกหูผู้คนพลุกพล่านขึ้นที่ข้างบ้านน้าสะใภ้ให้ปวดประสาท


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง