cottoncandy
อสุรผัด

ตอบ: 21
|
เจอข้อมูลเกี่ยวกับ รศ 130 ที่ต่างออกไปจากของท่านอื่น ขอท่านผู้รู้ชี้แจงด้วยค่ะ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
cottoncandy
อสุรผัด

ตอบ: 21
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 13 พ.ย. 14, 11:59
|
|
ต่อค่ะ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
cottoncandy
อสุรผัด

ตอบ: 21
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 13 พ.ย. 14, 12:02
|
|
อันนี้เป็นหนังสืออ้างอิงที่ผู้เขียนใช้ค่ะ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 13 พ.ย. 14, 12:27
|
|
ไม่ต้องบอกก็พอเดาได้ว่าเอามาจากหนังสืออะไร
เชิญอาจารย์วรชาติอธิบายดีกว่าครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
cottoncandy
อสุรผัด

ตอบ: 21
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 13 พ.ย. 14, 12:38
|
|
ว่าจะถามถึงหนังสือนี้อยู่เหมือนกัน แต่ขอรอฟังเรื่องนี้ก่อนนะคะ ^^'
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 13 พ.ย. 14, 17:41
|
|
เรื่อง ร.ศ. ๑๓๐ ที่มีการเผยแพร่กันมานั้นล้วนเป็นข้อมูลที่บิดเบือนทั้งสิ้น เอกสารจดหมายเหตุเรื่องกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ ที่มีเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติรวม ๒ กล่องกว่า ๒๐ แฟ้ม เป็นเอกสารหลายพันหน้า มีทั้งเอกสารที่ค้นได้จากบ้านผู้ต้องหาในดคดีดังกล่าว คำให้การของผู้ถูกกล่าวหาในคดี พระราชหัตถเลขาและลายพระหัตถ์รวมทั้งหนังสือโต้ตอบของผู้เกี่ยวข้องกับการจับกุม สรุปความได้ว่า การก่อการกำเริบครั้ง ร.ศ. ๑๓๐ นั้น มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเปลี่ยนระบบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นรีพปับลิค (Republic) โดยจะมีการลอบปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นสำคัญ
มูลเหตุของการคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น มีความปรากฏในเอกสาร "ว่าด้วยความเสื่อมซามแลความเจริญของประเทศ" ที่เจ้าพนักงานค้นได้จากบ้านนายพันตรี หลวงวิฆเนศวรประสิทธิ์วิทย์ นายร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ และนายร้อยตรี ชลอ ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญกล่าวถึงความเสื่อมทรามของชาติสยามว่า เกิดมาจากการปกครองแบบ "แอบโซลู๊ด มอนากี่" ซึ่งกษัตริย์สยามใช้อำนาจ "แอ๊บโซลู๊ด" "กดขี่" และ "กดคอ" ราษฎรตามอำเภอใจ ทำให้ราษฎรขาดอิสรภาพ และเป็นอุปสรรคที่ทำให้ชาติสยามไม่สามารถก้าวสู่ความเจริญรุ่งเรืองหรือภาวะ "ศีวิลัย" ดังนานาชาติที่เจริญแล้วได้ ด้วยเหตุนี้เอกสารนี้จึงเสนอความคิดให้ "ล้มล้างประเพณีอันชั่วร้ายของกระษัตริย์" ด้วยการนำเสนอทางเลือกสองแพร่งระหว่างการปกครองแบบ "ลิมิเต็ด มอนากี้" หรือการปกครองแบบ "รัปับลิก" ที่จำกัดอำนาจรัฐ ตั้งแต่การจำกัดอำนาจของพระมหากษัตริย์จนถึงการเสนอให้มีการเลือกตั้งผู้ปกครองที่มาจากสามัญชนเพื่อให้ราษฎรมีความเสมอภาคกัน
สาระสำคัญของแนวคิดของนายทหารหนุ่มที่คิดก่อการคราวนั้นมีดังที่กล่าวมา จากนั้นจึงมีการหยิบยกเรื่องภัยแล้งในตอนปลายรัชกาลที่ ๕ และเรื่องการฝึกหัดเสือป่ามาเป็นเหตุผลประกอบ นอกจากนั้นก็มีเรื่องการพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ที่มหาดเล็กไดรับพระราชทานต่อพระหัตถ์ ส่วนข้าราชการอื่นๆ ต้องรอกันนานๆ ส่วนที่มีผู้หยิบยกเรื่องการเล่นโขนของเสือป่ามาอ้างถึง ไม่มีที่ใดที่กล่าวถึงเรื่องการใช้จ่ายเงินในพระราชสำนัก เรื่องปัญหาการเงินการคลังของประเทศ รวมถึงเรื่องการโบยหลังทหาร ๕ คนที่ศาลาว่าการยุทธนาการ เมื่อมีการตรวจสอบแล้วกลับไม่มีการกล่าวถึงในเอกสารจดหมายเหตุชุด ร.ศ. ๑๓๐ เลย คาดว่าเป็นนิยายที่แต่งขึ้นในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพื่อสนับสนุนความชอบธรรมให้แก่คณะราษฎรผ฿้กระทำการเปลี่ยนแปลงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕
จากเหตุผลของการก่อการกำเริบในคราวนั้นเมื่อตรวจดูรายชื่อผู้ร่วมก่อการล้วนเป็นนายทหารลั้นผ๔้น้อย มีนายพันตรีเพียง ๑ นาย นายร้อยเอกอีกไม่กี่นาย ที่เหลือเป็นนายทหารชั้นนายร้อยโท และนายร้อยตรีหลายสิบคน มีพลเรือนเข้าร่วมด้วยก็แต่เพียงข้าราชการกระทรวงยุติธรรมเพียงไม่กี่คน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
cottoncandy
อสุรผัด

ตอบ: 21
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 13 พ.ย. 14, 18:01
|
|
แต่ดูจากที่มาแล้ว หนังสือ เหรียญรำลึก ที่พูดถึงเรื่องนี้เป็นหนังสือที่ผู้ก่อการกบฏในครั้งนั้นเขียนขึ้นมาเองในภายหลัง แสดงว่าผู้เขียนจงใจใส่สีตีไข่เพิ่มเข้าไปเองทีหลังใช่มั้ยคะ ถ้าบอกว่าไม่ตรงกับข้อมูลจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ แล้วส่วนที่พูดถึงเหตุการณ์ที่พระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงยืนกรานที่จะสละพระอิสริยยศเพื่อกดดันรัชกาลที่ 5 ให้ทรงลงพระอาญาเฆี่ยนหลังนายทหารที่วิวาทกับมหาดเล็กของพระองค์นี่เป็นเรื่องจริงมั้ยคะ ตัดสินได้มั้ยคะว่าหนังสือเหรียญรำลึกนี้ให้ข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 13 พ.ย. 14, 18:10
|
|
เรื่อง กบฏ ร.ศ. ๑๓๐ นี้จะว่าไปแล้ว น่าจะเป็นมหากาพย์ได้อีกเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว เพราะภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมีการแต่งเติมและสร้างสีสันให้คณะผู้ก่อการ ร.ศ. ๑๓๐ จากกบฏให้เป็นนักปฏิวัติรุ่นหนุ่มชุดแรกของกรุงสยามเลยทีเดียว
เอกสารจดหมายเหตุได้กล่าวถึงเรื่องราวการก่อกบฏครั้งนั้นไว้ชัดเจนว่า เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงนครบาลได้ทราบข่าวการเตรียมการก่อการกำเริบมาแล้วชั่วระยะเวลาหนึ่ง ทราบจนถึงว่ามีการว่าจ้างชาวจีนซึ่งทำงานอยู่ที่ห้างวินเซอร์ในกรุงเทพฯ ให้ฃักลอบติดต่อซื้ออาวุธจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อก่อความไม่สงบในบ้านเมือง แต่ยังมิได้ลงมือจับกุมเพราะต้องการรอให้หลักฐานมัดแน่น ประจวบกับนายพันตรี หลวงสินาดโยธารักษ์ (ยุทธ คงอยู่) ซึ่งกำลังจะย้ายไปรับราชการที่พิษณุโลกได้รับการชักชวนให้เข้าร่วมขบวนการ โดยกลุ่มผู้ก่อการหวังจะให้นำแนวคิดของผู้ก่อการไปขยายต่อที่พิษณุโลก แต่เมื่อหลวงสินาดฯ ได้รับทราบแนวคิดนี้แล้วได้นำความไปรายงานต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีการรายงานเป็นลำดับไปจนถึงนายพลเอก สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก ซึ่งเวลานั้นทรงเทำการแทนเสนาบดีกระทรวงกระกระลาโหม ซึ่งเสด็จไปรักษาพระองค์ที่ต่างประเทศ
เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าฯ เสนาธิการทหารบกทรงทราบเรื่องตลอดแล้ว ได้มีพระบัญชาเรียกประชุมผู้บังคับบัญชาทหารในกรุงเทพฯ ที่กองบัญชาการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์เมื่อจอนเช้าวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ (นับแบบเก่า) เลิกประชุแล้วผู้บังคับบัญชาทหารได้แยกย้ายกันออกจับกุมแบะตรวจค้นที่ทำงานและบ้านพักแาศัยของผู้ก่อการทั้งหมด แล้วนำตัวไปคุมขังไว้ที่ศาลาว่าการกระลาโหม ส่วนตัวผู้นำในการก่อความไม่สงบถูกนำไปฝากขังไว้ที่เรือนจำมหันตโทษ (ตลองเปรม) ในความควบคุมของกระทรวงนครบาล จากนั้นได้มีการสอบสวนโดยให้ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดเขียนคำให้การด้วยลายมือของตน
เนื่องจากในคดีนี้มีผู้ถูกกล่าวหานับจำนวนได้หลายร้อยคน แม้จะผู้ถูกกล่าวหาจะมียศสูงสุดเพียงนายพันตรี ซึ่งตามข้อบังคับศาลทหารองค์คณะตุลาการศาลทหารจะมีนายทหารยศสูงสุดเพียงชั้นนายพันน่วมเป็นองค์คณะ แต่คงจะเป็นเพราะคณะผู้ก่อการนี้มุ่งร้ายถึงขั้นจะปลงพระชนม์ชีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จฯ เสนาธิการทหารบกจึงกราบบังคมทูลเสนอให้มีศาลทหารพิเศษประกอบด้วยองคณะ ๗ คน เป็นตุลาการพิพากษาคดีนี้ เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วได้มีพระบรมราชโองการตั้งตุลาการศาลทหารพิเศษสำหรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้รวม ๗ นาย คือ ๑. นายพลเอก พระยาสีหราชเดโชไชย (ม.ร.ว.อรุณ ฉัตรกุล – จอมพล เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต) ผู้ช่วยเสนาบดีกระทรวงกระลาโหม ๒. นายพลตรี พระยาวรเดชศักดาวุธ (แย้ม ณ นคร – นายพลเอก เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต) ปลัดทูลฉลองกระทรวงกระลาโหม ๓. นายพลตรี พระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ (อุ่ม อินทรโยธิน – นายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน) จเรทหารม้าและทหารราบ ๔. นายพลตรี พระยาพิไชยสงคราม (ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์ – นายพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร) ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ๕. นายนาวาเอก พระยาวิจิตรนาวี (วิลเลียม บุณยกลิน - นายพลเรือโท พระยาวิจิตรนาวี) เจ้ากรมช่างโยธาทหารเรือ เป็นตุลาการทหาร และตุลาการพระธรรมนูญ อีก ๒ นาย ประกอบด้วย ๑. นายพันเอก พระศรีณรงค์วิไชย (เจิ่น บุนนาค – นายพลตรี พระยาเทพาธิบดี) เจ้ากรมพระธรรมนูญทหารบก ๒. นายนาวาโท พระสุนทรานุกิจปรีชา (วิม พลกุล – นายพลเรือตรี พระยาวินัยสุนทร) ผู้ช่วยเจ้ากรมพระธรรมนูญทหารเรือ
ศาลทหารในเวลาปกติ จะประกอบด้วยตุลาการทหารซึ่งเป็นนายทหารสัญญาบัตร ๒ - ๓ นาย โดยตุลาการผู้เป็นหัวหน้าต้องมียศสูงกว่าจำเลยในคดี เพื่อปฏิบัติหน้าที่เสมือนเป็นผู้แทนของผู้บังคับบัญชาทหาร มีสิทธิออกเสียงในการพิจารณาพิพากษาได้ ๑ เสียง เช่นเดียวกับตุลาการพระธรรมนูญ เพื่อให้บังคับบัญชาทหารได้ทราบถึงมูลเหตุแห่งการกระทำผิด มีส่วนพิจารณาลงโทษผู้กระทำผิดตามความเหมาะสม และหาทางป้องกันมิให้มีการกระทำผิดเช่นนั้นเกิดขึ้นได้อีก ส่วนตุลาการพระธรรมนูญในศาลทหารทั้วไปจะมีเพียง ๑ นายเป็นองคณะ มีฐานะเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งสำเร็จการศึกษาทางด้านกฎหมาย เป็นองค์คณะผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลทหาร ให้เป็นไปตามกฎหมาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 13 พ.ย. 14, 18:12
|
|
เรื่อง กบฏ ร.ศ. ๑๓๐ นี้จะว่าไปแล้ว น่าจะเป็นมหากาพย์ได้อีกเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว เพราะภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมีการแต่งเติมและสร้างสีสันให้คณะผู้ก่อการ ร.ศ. ๑๓๐ จากกบฏให้เป็นนักปฏิวัติรุ่นหนุ่มชุดแรกของกรุงสยามเลยทีเดียว
เอกสารจดหมายเหตุได้กล่าวถึงเรื่องราวการก่อกบฏครั้งนั้นไว้ชัดเจนว่า เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงนครบาลได้ทราบข่าวการเตรียมการก่อการกำเริบมาแล้วชั่วระยะเวลาหนึ่ง ทราบจนถึงว่ามีการว่าจ้างชาวจีนซึ่งทำงานอยู่ที่ห้างวินเซอร์ในกรุงเทพฯ ให้ฃักลอบติดต่อซื้ออาวุธจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อก่อความไม่สงบในบ้านเมือง แต่ยังมิได้ลงมือจับกุมเพราะต้องการรอให้หลักฐานมัดแน่น ประจวบกับนายพันตรี หลวงสินาดโยธารักษ์ (ยุทธ คงอยู่) ซึ่งกำลังจะย้ายไปรับราชการที่พิษณุโลกได้รับการชักชวนให้เข้าร่วมขบวนการ โดยกลุ่มผู้ก่อการหวังจะให้นำแนวคิดของผู้ก่อการไปขยายต่อที่พิษณุโลก แต่เมื่อหลวงสินาดฯ ได้รับทราบแนวคิดนี้แล้วได้นำความไปรายงานต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีการรายงานเป็นลำดับไปจนถึงนายพลเอก สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก ซึ่งเวลานั้นทรงเทำการแทนเสนาบดีกระทรวงกระกระลาโหม ซึ่งเสด็จไปรักษาพระองค์ที่ต่างประเทศ
เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าฯ เสนาธิการทหารบกทรงทราบเรื่องตลอดแล้ว ได้มีพระบัญชาเรียกประชุมผู้บังคับบัญชาทหารในกรุงเทพฯ ที่กองบัญชาการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์เมื่อจอนเช้าวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ (นับแบบเก่า) เลิกประชุแล้วผู้บังคับบัญชาทหารได้แยกย้ายกันออกจับกุมแบะตรวจค้นที่ทำงานและบ้านพักแาศัยของผู้ก่อการทั้งหมด แล้วนำตัวไปคุมขังไว้ที่ศาลาว่าการกระลาโหม ส่วนตัวผู้นำในการก่อความไม่สงบถูกนำไปฝากขังไว้ที่เรือนจำมหันตโทษ (ตลองเปรม) ในความควบคุมของกระทรวงนครบาล จากนั้นได้มีการสอบสวนโดยให้ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดเขียนคำให้การด้วยลายมือของตน
เนื่องจากในคดีนี้มีผู้ถูกกล่าวหานับจำนวนได้หลายร้อยคน แม้จะผู้ถูกกล่าวหาจะมียศสูงสุดเพียงนายพันตรี ซึ่งตามข้อบังคับศาลทหารองค์คณะตุลาการศาลทหารจะมีนายทหารยศสูงสุดเพียงชั้นนายพันน่วมเป็นองค์คณะ แต่คงจะเป็นเพราะคณะผู้ก่อการนี้มุ่งร้ายถึงขั้นจะปลงพระชนม์ชีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จฯ เสนาธิการทหารบกจึงกราบบังคมทูลเสนอให้มีศาลทหารพิเศษประกอบด้วยองคณะ ๗ คน เป็นตุลาการพิพากษาคดีนี้ เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วได้มีพระบรมราชโองการตั้งตุลาการศาลทหารพิเศษสำหรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้รวม ๗ นาย คือ ๑. นายพลเอก พระยาสีหราชเดโชไชย (ม.ร.ว.อรุณ ฉัตรกุล – จอมพล เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต) ผู้ช่วยเสนาบดีกระทรวงกระลาโหม ๒. นายพลตรี พระยาวรเดชศักดาวุธ (แย้ม ณ นคร – นายพลเอก เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต) ปลัดทูลฉลองกระทรวงกระลาโหม ๓. นายพลตรี พระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ (อุ่ม อินทรโยธิน – นายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน) จเรทหารม้าและทหารราบ ๔. นายพลตรี พระยาพิไชยสงคราม (ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์ – นายพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร) ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ๕. นายนาวาเอก พระยาวิจิตรนาวี (วิลเลียม บุณยกลิน - นายพลเรือโท พระยาวิจิตรนาวี) เจ้ากรมช่างโยธาทหารเรือ เป็นตุลาการทหาร และตุลาการพระธรรมนูญ อีก ๒ นาย ประกอบด้วย ๑. นายพันเอก พระศรีณรงค์วิไชย (เจิ่น บุนนาค – นายพลตรี พระยาเทพาธิบดี) เจ้ากรมพระธรรมนูญทหารบก ๒. นายนาวาโท พระสุนทรานุกิจปรีชา (วิม พลกุล – นายพลเรือตรี พระยาวินัยสุนทร) ผู้ช่วยเจ้ากรมพระธรรมนูญทหารเรือ
ศาลทหารในเวลาปกติ จะประกอบด้วยตุลาการทหารซึ่งเป็นนายทหารสัญญาบัตร ๒ - ๓ นาย โดยตุลาการผู้เป็นหัวหน้าต้องมียศสูงกว่าจำเลยในคดี เพื่อปฏิบัติหน้าที่เสมือนเป็นผู้แทนของผู้บังคับบัญชาทหาร มีสิทธิออกเสียงในการพิจารณาพิพากษาได้ ๑ เสียง เช่นเดียวกับตุลาการพระธรรมนูญ เพื่อให้บังคับบัญชาทหารได้ทราบถึงมูลเหตุแห่งการกระทำผิด มีส่วนพิจารณาลงโทษผู้กระทำผิดตามความเหมาะสม และหาทางป้องกันมิให้มีการกระทำผิดเช่นนั้นเกิดขึ้นได้อีก ส่วนตุลาการพระธรรมนูญในศาลทหารทั้วไปจะมีเพียง ๑ นายเป็นองคณะ มีฐานะเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งสำเร็จการศึกษาทางด้านกฎหมาย เป็นองค์คณะผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลทหาร ให้เป็นไปตามกฎหมาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 13 พ.ย. 14, 18:23
|
|
ขออนุญาตเล่าเรื่องการพิจารณาพิพากษาจำดลยในคดีกบฎ ร.ศ. ๑๓๐ ให้จบก่อนนะครับ แล้วขะมาขยายความเรื่องโบยหลังทหารในตอนต่อไป
การสอบสวนและพิจ่ารณาพิพากษาคดีกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ ดำเนินมาหลายเดือนที่สุด ศาลทหารพิเศษได้มีคำพิพากษาวางโทษจำเลยทั้งหมด ดังนี้ ประหารชีวิต ๓ คน จำคุกตลอดชีวิต ๒๐ คน จำคุก ๒๐ ปี ๓๒ คน จำคุก ๑๕ ปี ๖ คน และจำคุก ๑๒ ปี ๓๑ คน
แต่เมื่อได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาลดโทษให้ทุกคน ด้วยทรงพระราชดำริว่า “...กรรมการพิพากษาลงโทษพวกเหล่านี้ชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการแล้ว แต่ว่าความผิดของพวกเหล่านี้ มีข้อสำคัญที่จะกระทำร้ายต่อตัวเรา เราไม่ได้มีจิตรพยาบาลคาดร้ายแก่พวกนี้ เห็นควรที่จะลงหย่อนผ่อนโทษ โดยถานกรุณาซึ่งเปนอำนาจของเจ้าแผ่นดินจะยกให้ได้...” ในที่สุดมีผู้ได้รับโทษดังนี้
โทษประหารชีวิตได้รับพระราชทานอภัยโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต ๓ คน คือ นายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ นายร้อยโท จรูญ ณ บางช้าง และนายร้อยตรี เจือ ศิลาอาสน์ โทษจำคุกตลอดชีวิตได้รับพระราชทานอภัยโทษเหลือจำคุก ๒๐ ปี จำนวน ๒๐ คน มีนายร้อยโทจือ ควกุล นายร้อยตรีเขียน อุทัยกุล นายร้อยตรีวาศ วาสนา นายร้อยตรีถัด รัตนพันธ์ นายร้อยตรีหม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร นายร้อยตรีเหรียญ ทิพยรัตน์ นายร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์ นายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา ว่าที่นายร้อยตรีทวน เธียรพิทักษ์ นายร้อยตรีเนตร์ พูนวิวัฒน์ นายร้อยตรีสอน วงษ์โต นายร้อยตรีปลั่ง บูรณะโชติ นายร้อยตรีจรูญ ษตะเมษ นายร้อยตรีทองดำ คล้ายโอภาส นายร้อยตรี บ๋วย บุณยรัตนพันธ์ ว่าที่นายร้อยตรีศริ ชุณห์ประไพ นายร้อยตรีจันทร์ ปานสีดำ ว่าที่นายร้อยตรี โกย วรรณกุล นายพันตรีหลวงวิฆเนศประสิทธิวิทย์ นายร้อยตรีบุญ แตงวิเชียร ส่วนผู้มีชื่ออีก ๖๘ คนที่เหลือให้รอการลงอาญาไว้ “ซึ่งวางโทษไว้ในชั้นที่ ๓ ให้จำคุก ๒๐ ปี ๓๒ คน แลวางโทษชั้นที่ ๔ ให้จำคุก ๑๕ ปี แลวางโทษชั้นที่ ๕ ให้จำคุก ๑๒ ปี ๓๐ คนนั้น” ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ “ให้รอการลงอาญาไว้ ทำนองอย่างเช่นที่ได้กล่าวในกฎหมายลักษณอาญา มาตรา ๔๑ แล ๔๒ ซึ่งว่าด้วยการรอลงอาญา ในโทษอย่างน้อยนั้น แลอย่าเพ่อให้ออกจากตำแหน่งยศก่อน”
น่าสังเกตว่าผู้ก่อการทั้งหมดล้วนเป็นทหารชั้นผู้น้อยและอายุยังน้อยทั้งสิ้น นายพันตรี หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิวิทย์ ผู้เดียวที่มีอายุ ๓๘ ปี นอกนั้นมีอายุระหว่าง ๒๐ – ๓๐ ปีเป็นอย่างมาก ผู้ที่ต้องโทษทั้งหมดนี้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๗ ระหว่างถูกคุมขังถึงแก่กรรม ๒ คน คือ นายร้อยตรีวาส วาสนา และ นายร้อยตรีหม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร ระหว่างต้องโทษทุกคนถูกถอดออกจากตำแหน่งยศและบรรดาศักดิ์ คณะผู้ก่อการซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเมื่อครั้งพระราชทานอภัยโทษเป็นอย่างมากดังที่ ร้อยตรีเหรีญ ศรีจันทร์ และร้อยตรีเนคร พูนพวิวัฒน์ ได้เขียนไว้ในภาคสรุปของหนังสือ "หมอเหล็งรำลึก ภาคปฏิวัติครั้งแรกของไทย ร.ศ. ๑๓๐ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานศพ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (นายแพทย์เหล็ง ศรีจันทร์) เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๓ ว่า
พระมหากรุณาที่มีต่อพวกเราซึ่งนับว่าเป็นครั้งสำคัญอย่างยิ่งล้นก็คือได้พระราชทานชีวิตพวกเราไว้จากคำพิพากษาของกรรมการศาลทหาร โดยเรามิแน่ใจนักว่าหากมิใช่พระราชาพระองค์นี้ทรงเป็นพระประมุขแล้วพวกเราจะได้พ้นจากการประหารชีวิตหรือหาไม่ขอให้ดูการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสมัยหลังจากนั้นมา ก็จะพบว่าน้ำพระทัยของพระองค์สูงกว่าน้ำใจของหลายคน ผู้ซึ่งยกตัวเองว่าเป็นนักประชาธิปไตยจนติดปาก ครั้นเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนความแห่งคดีปฏิวัติร.ศ.๑๓๐ แล้ว เราจำได้ไม่ผิดว่าองค์พระประมุขได้ทรงยอมให้รัฐบาลของพระองค์เรียกเก็บภาษีอากรได้จากทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์เยี่ยงพลเมืองทุกประการ...ยิ่งกว่านั้นยังได้ลดพระองค์ลงมาทาบกับระดับประชาธิปัตย์ โดยทรงขียนความเห็นทางการเมืองซึ่งใช้พระนามแฝงว่า “อัศวพาหุ” บ้าง “รามจิตติ” บ้าง ลงในหน้าหนังสือพิมพ์ทำนองจะใคร่สดับตรับฟังความคิดเห็น (Public Opinion) จากประชาชนที่รักของพระองค์ และถ้าความเห็นฉบับใดขัดแย้งกับพระองค์ พระองค์ก็ทรงโต้ด้วยน้ำพระทัยนักประชาธิปัตย์ มิได้เกรี้ยวกราดใช้พระอำนาจโดยโทสาคติที่อาจจะกระทำได้นั้นเลย...นับว่าพระองค์เป็นนักกีฬาที่น่าสรรเสริญ
นอกจากนั้น ร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์ และร้อยตรี เนตร พูนวิวัฒน์ ยังได้กล่าวถึง “น้ำพระทัยพระมหาธีรราชเจ้า” ไว้ใน “ปฏิวัติ ร.ศ. ๑๓๐” ซึ่งตีพิมพ์ใน "หมอเหล็งรำลึก" อีกว่า “พวกเรายังรำลึกถึง น้ำพระทัย ในครั้งกระนั้นอยู่มิรู้วาย และในที่สุดควรนำมากล่าวรวมกันไว้เสียเลย คือ พระองค์ได้ทรงตั้ง “ดุสิตธานี” เพื่อเป็นการฝึกข้าราชการในพระองค์ให้ได้ศึกษาการปกครองระบบประชาธิปไตยไปในตัว ซึ่งพวกเราก็ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบและในการสร้างบ้านเล็กเรือนน้อย ณ ดุสิตธานีนั้นด้วย”
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 13 พ.ย. 14, 19:42
|
|
เรื่อง กบฏ ร.ศ. ๑๓๐ นี้จะว่าไปแล้ว น่าจะเป็นมหากาพย์ได้อีกเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว เพราะภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมีการแต่งเติมและสร้างสีสันให้คณะผู้ก่อการ ร.ศ. ๑๓๐ จากกบฏให้เป็นนักปฏิวัติรุ่นหนุ่มชุดแรกของกรุงสยามเลยทีเดียว
ผมขอเสนอให้ท่านผู้ดูแลเว็บช่วยกรุณาแยกเรื่องนี้ออกไปจะดีกว่าครับ กระทู้เดิมจะได้ไม่ยาวมากจนเกินเหตุ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
cottoncandy
อสุรผัด

ตอบ: 21
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 13 พ.ย. 14, 20:22
|
|
แหะ ๆ ที่จริงว่าจะช่วยปั่นกระทู้เก่าต่อสักหน่อยค่ะ มีคำถามเกี่ยวกับ หนังสือของ มจ พูนพิศมัย ที่เขียนถึง 2475 ด้วย แต่ตอนแรกคิดว่าจะเก็บเอาไว้หลังจากถามเรื่อง กบฏ รศ 130 >_<
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
cottoncandy
อสุรผัด

ตอบ: 21
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 13 พ.ย. 14, 20:23
|
|
ถ้ายังไงขอกลับไปถามเรื่องนั้นในกระทู้เก่าได้มั้ยคะ ^^'
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 13 พ.ย. 14, 20:39
|
|
ถ้าคิดว่าไม่ยาวก็เชิญครับ
แต่ถ้าอยากให้เป็นเรื่องเป็นราวก็ตั้งเป็นกระทู้ใหม่มาเลยน่าจะดีกว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
cottoncandy
อสุรผัด

ตอบ: 21
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 13 พ.ย. 14, 20:46
|
|
งั้นขออนุญาตนะคะ ^^
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|