เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5759 ศึกสายเลือด
Sonya
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


 เมื่อ 11 พ.ย. 14, 23:51

ขออนุญาตตั้งกระทู้ครั้งแรกในเรือนไทยครับ หลังจากติดตามและเพลิดเพลินที่ได้ความรู้จากอาจารย์หลายท่านในบ้านหลังนี้ ปัจจุบันมีข่าวพี่น้อง เครือญาติใกล้ชิดฆ่าฟันกันเองชิงทรัพย์มรดก อาจจะด้วยสภาพสังคมที่ยึดถือวัตถุนิยม ทุนนิยม หรือโลภะนิยม จึงสงสัยว่าในมุมมองนักประวัติศาสตร์เห็นอย่างไรกับประเด็นศึกสายเลือด ในประวัติศาสตร์ ระหว่าง
 หนึ่ง การถูกเลี้ยงดูแยกจากกันกระทั่งสูญเสียความผูกพัน
 หนึ่ง ผู้ปกครองขาดทศพิธราชธรรม
 หนึ่ง รู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม หวาดระแวง(กระทำก่อนได้เปรียบ)
 หรือเหตุผลอื่นๆ ที่เป็นไปได้
 ผมไม่มีเจตนาเจาะจงตัวบุคคลหรือเหตุการณ์ใด หากเจ้าเรือนเห็นว่า กระทู้นี้อาจเป็นปัญหาโปรดพิจารณาตามเห็นสมควร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 12 พ.ย. 14, 08:10

ดิฉันไม่ทราบว่าคุณแฝงนัยยะอะไรไว้หรือเปล่า   เพราะเรื่องพี่น้องเครือญาติใกล้ชิดฆ่าฟันกันเองชิงทรัพย์มรดก เป็นข่าวขึ้นโรงขึ้นศาลกันมากมาย   อ่านหนังสือพิมพ์ก็มีข่าวให้เห็นอยู่บ่อยๆ    ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับข้อขาดทศพิธราชธรรมแม้แต่น้อย   คนละเรื่องคนละทางกันเลยทีเดียว
ถ้าคุณแฝงเอาไว้ในข้อนี้ ดิฉันก็คิดว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง

แต่ก็จะคิดไว้ก่อนว่าคุณใช้ภาษาผิดพลาด ไม่ได้มีเจตนาไม่ดี

ถ้าศึกสายเลือดของคุณหมายถึงผู้ปกครองประเทศ การฆ่าฟันกันเองในหมู่เครือญาติมีให้เห็นหลายครั้งในสมัยอยุธยา เรียกว่าทุกราชวงศ์ก็ว่าได้  สาเหตุใหญ่ๆที่ซ้ำรอยกันก็คือการชิงอำนาจระหว่างอากับหลาน      ใช้ภาษาง่ายๆว่า พ่อเป็นพี่ชายได้ขึ้นครองราชย์ น้องชายก็พอจะให้ความเคารพยำเกรงได้   แต่เมื่อพี่ชายตาย  ลูกชายยังอายุน้อย  ไม่มีอำนาจ ไม่มีผู้คนสนับสนุน  ผิดกับอาซึ่งอยู่ในวัยผู้ใหญ่ ได้สะสมบารมีมายาวนาน   จะให้อยู่ใต้อำนาจหลานกระไรได้  การยึดอำนาจจึงเกิดขึ้น  

การชิงอำนาจซ้ำๆกันเกิดมาตลอดยุค โดยเฉพาะราชวงศ์สุดท้ายคือราชวงศ์บ้านพลูหลวง    เมื่ออากับหลานแย่งอำนาจกัน  นายทหารที่สังกัดเจ้านายก็ต้องมารบราฆ่ากันเอง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กำลังทัพของอยุธยาอ่อนแอลง    ข้อนี้เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้น  จึงระวังกันมาก ว่าจะไม่ทำซ้ำรอยเดิม    
ในแต่ละรัชกาลจึงผ่านรอดปลอดภัยมาโดยไม่มีเหตุฆ่าฟันกันรุนแรงอย่างในสมัยอยุธยา  แม้มีความบาดหมางบ้าง ก็ระงับกันได้ หรือหลีกเลี่ยงเหตุอันจะทำให้แตกแยกกัน ด้วยทางออกอย่างสันติ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 12 พ.ย. 14, 11:56

แม้มีความบาดหมางบ้าง ก็ระงับกันได้ หรือหลีกเลี่ยงเหตุอันจะทำให้แตกแยกกัน ด้วยทางออกอย่างสันติ

ถ้าคำว่าสันติหมายถึงไม่เสียเลือดเนื้อ(สักหยดเดียว)แล้ว เห็นจะไม่จริงนะครบ

เพราะถ้าว่ากันตามประวัติศาสตร์ มีนะครับ กรณีของ เจ้านายฝ่ายพระบวรราชวังและพระยากลาโหมทองอิน ที่ถึงกับขั้นเสียชีวิตกันเลยทีเดียว


ส่วนที่เหลือก็มีประปราย จะเรียกว่าสันติวิธีไหม ? ก็ต้องมาดูมุมมองอีกล่ะครับว่าจะมองอย่างไร

ยังมีอีกหลายกรณี ที่เป็นความขัดแย้ง และจบลงด้วย "อำนาจ" ของใครเหนือกว่า อีกฝ่ายต้องยอมถอยไปเอง รอเวลาอย่างเดียวครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 12 พ.ย. 14, 12:15

ขออนุญาตตั้งกระทู้ครั้งแรกในเรือนไทยครับ หลังจากติดตามและเพลิดเพลินที่ได้ความรู้จากอาจารย์หลายท่านในบ้านหลังนี้ ปัจจุบันมีข่าวพี่น้อง เครือญาติใกล้ชิดฆ่าฟันกันเองชิงทรัพย์มรดก อาจจะด้วยสภาพสังคมที่ยึดถือวัตถุนิยม ทุนนิยม หรือโลภะนิยม จึงสงสัยว่าในมุมมองนักประวัติศาสตร์เห็นอย่างไรกับประเด็นศึกสายเลือด ในประวัติศาสตร์ ระหว่าง
 หนึ่ง การถูกเลี้ยงดูแยกจากกันกระทั่งสูญเสียความผูกพัน
 หนึ่ง ผู้ปกครองขาดทศพิธราชธรรม
 หนึ่ง รู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม หวาดระแวง(กระทำก่อนได้เปรียบ)
 หรือเหตุผลอื่นๆ ที่เป็นไปได้
 ผมไม่มีเจตนาเจาะจงตัวบุคคลหรือเหตุการณ์ใด หากเจ้าเรือนเห็นว่า กระทู้นี้อาจเป็นปัญหาโปรดพิจารณาตามเห็นสมควร

ขอเดาล้วน ๆ แบบนี้

เรื่องของ การหลงในอำนาจ การกิน การเสพกาม การนอน เหล่านี้พระท่านสอนว่า ไม่เคยมีคำว่าอิ่มว่าพอสำหรับปุถุชนคนทั่วไปอยู่แล้วครับ เพราะฉะนั้นองค์สมเด็จพระทศพล จึงทรงสอนข้อธรรมที่เหมาะกับการปกครองในแต่ละรูปแบบเอาไว้

ถ้าเป็นปกครองแบบคณะหรือกลุ่ม ก็ทรงสอนอปริหานิยธรรม ๗ เอาไว้

ถ้าเป็นปกครองแบบจักรวรรดิ ก็ทรงสอนจักรวรรดิวัตร เอาไว้

ถ้าปกครองแบบพระราชา ก็ทรงสอนทศพิธราชธรรม เอาไว้

และด้วยพระบาลีที่มีอยู่ว่า อักขาตาโร ตถาคตา พระตถาคตเป็นเพียงแต่ผู้บอก ดังนั้นเมื่อบอกแล้วสอนแล้ว จะทำหรือไม่ทำ ขึ้นอยู่กับบุคคลนั้น ๆ ครับ ไม่มีการห้ามหรือบังคับแต่อย่างใด  ถ้าเห็นว่าดีว่าเหมาะ ทำแล้วมีความเจริญก็ทำ แต่ถ้าบังเอิญอาจจะยังมองไม่เห็นความดีในการปฏิบัติตาม เขาก็ไม่เชื่อไม่ทำกันหรอกครับ

เรื่องแบบนี้ในประวัติศาสตร์ของโลก มีมาตั้งหลายพันปีแล้ว และก็จะยังคงมีต่อไปอยู่เรื่อย ๆ  แค่เปลี่ยนนักแสดงมารับบทบาทตามแต่ละยุคสมัยเท่านั้นเองครับ ตราบใดที่คนยังอยู่ในวังวนของกิเลสครับ  ต้องบอกว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาของโลก(โลกียะ) ครับ ... เขียนแล้วเหมือนเทศนาเลย






บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 09:18

ดิฉันไม่ได้นึกถึงกรณีกบฏพระองค์เจ้าลำดวน พระองค์เจ้าอินทปัต  และกบฏเจ้าฟ้าเหม็นค่ะ       แต่ไปนึกถึงการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ที่ผ่านมาได้ทุกรัชกาล
บันทึกการเข้า
Sonya
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 16 พ.ย. 14, 01:42

สิ่งที่ผมสงสัยก็คือประวัติศาสตร์4-5ร้อยปีถอยลงไป ผมเข้าใจเอาเองว่า เรื่องสายเลือด ความผูกพันในสายเลือด มีความแน่นเฟ้น หรือความรู้สึกผิดบาป ศีลธรรม จริยธรรม มากกว่าในปัจจุบันที่ออกจะเสื่อม
 หรือจริงๆแล้ว มนุษย์คิดเหมือนกัน ไม่ว่าบริบทจะเป็นอย่างไร
 ขอบคุณอ.เทาชมพูครับ "แต่ก็คิดไว้ก่อนว่าคุณใช้ภาษาผิดพลาด ไม่ได้มีเจตนาไม่ดี"
ผมถือเป็นเมตตาของครูบาอาจารย์ ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 พ.ย. 14, 10:03

ขอบคุณค่ะ

คำถามของคุณ ตอบยากมาก เพราะเป็นเชิงรูปธรรม    เราไม่มีตัวเลขสถิติที่จะให้คำตอบออกมาเป็นหลักฐานยืนยันได้ค่ะ

ศึกสายเลือดที่คุณเอ่ยถึง ไม่ใช่การทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นส่วนตัวในหมู่ญาติ   แต่เป็นการผลัดเปลี่ยนกันขึ้นครองอำนาจโดยลบล้างอำนาจเก่าลงไป      พูดง่ายๆว่าถ้าเจ้านายในสมัยอยุธยาอยู่ในประเภทเกิดมาเป็นเจ้า อยู่เฉยๆ  ไม่เกี่ยวกับครองราชย์  ก็ไม่เห็นมีบันทึกหลักฐานว่าท่านเหล่านั้นเกิดศึกสายเลือดกัน
มาถึงสมัยหนึ่งร้อยกว่าปีลงมาจนปัจจุบัน   แม้ไม่มีศึกสายเลือด  แต่การผลัดเปลี่ยนกันขึ้นมามีอำนาจ ก็ยังเกิดขึ้นได้เสมอ 
คุณจะอธิบายว่าอย่างไรคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง