เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11
  พิมพ์  
อ่าน: 35118 “โพยม จันทรัคคะ” ถ้าท่านนี้ไม่ตัดสินใจ ไทยอาจเสียอธิปไตยได้
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 06:58

สองสามเดือนต่อมา อังกฤษแจ้งมาใหม่ให้ไปเจรจากันต่อที่สิงคโปร์  ไทยก็ตอบตกลง

ก่อนออกเดินทางวันเดียว อังกฤษได้ส่งเจ้าหน้าที่มายื่นจดหมายของนายเดนนิ่งถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศ  มีความสำคัญว่า อังกฤษถือว่าความช่วยเหลือที่ฝ่ายไทยให้กับฝ่ายต่อต้านศัตรูของอังกฤษนั้น ยังไม่เป็นที่ประทับใจ  เพราะยังไม่มีประโยชน์แก่การดำเนินสงครามอย่างจริงๆจังๆ  อังกฤษยอมรับว่าฝ่ายไทยได้แสดงความประสงค์ที่จะลุกขึ้นต่อต้านญี่ปุ่นในเดือนพฤษภาคม  ๒๔๘๘ จริง  แต่อังกฤษเห็นว่า ไทยยังไม่มีอาวุธครบมือและได้รับการฝึกพอเพียง ต้องพึ่งพาแรงสนับสนุนจากสัมพันธมิตรต่อ ตรงกันข้าม ไทยน่าจะพอใจที่ฝ่ายสัมพันธมิตรทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้ได้เสียก่อนจะมีการรบเกิดขึ้นจริงๆในประเทศไทย ฉะนั้นคนไทยจึงยังไม่ได้ผจญกับความทารุณโหดร้ายของสงคราม บรา ๆ ๆ ๆ ๆ

อนึ่ง พึงรับทราบด้วยว่า การที่อังกฤษยังดำเนินนโยบายแข็งกร้าวและพยายามทำให้ไทยเป็นผู้แพ้สงครามให้ได้ ก็เพราะแค้นว่าไปประกาศสงครามกับเขาแล้วออกวิทยุปลุกระดมด่าว่าเขาเสียๆหายๆ  เท่านั้นยังไม่พอ ยังส่งทหารเข้าร่วมรบกับญี่ปุ่นและเข้ายึดดินแดนบางส่วนของอาณานิคมอังกฤษในพม่าและมลายาเสียอีก  ด้วยความเชื่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ อังกฤษจึงไม่เคยรับรองขบวนการเสรีไทยดังเช่นสหรัฐอเมริกา  และหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำว่าเสรีไทยมาตลอดเพราะเกรงว่าจะทำให้เสรีไทยมีฐานะคล้ายกับรัฐบาลพลัดถิ่น แถมเตือนสหรัฐตลอดมาไม่ให้เอออวยตามที่ม.ร.ว. เสนีย์ หัวหน้าขบวนการเสรีไทยในอเมริกาพยายามจะขอจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นของไทยขึ้นเสมอมา  ส่วนเสรีไทยสายอังกฤษที่ถูกส่งเข้าปฏิบัติการลับระหว่างสงครามทั้งหมด  อังกฤษถือเสมอว่าเป็นนายทหารอังกฤษ  มิฉะนั้นแล้ว อังกฤษจะเล่นงานไทยหลังสงครามให้จมเขี้ยวไม่ได้ 


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 08:47

หม่อมเจ้าวิวัฒนไชยทรงรายงานฉบับแรกมายังรัฐบาลมีถ้อยคำค่อนข้างยาว ผมอ่านแล้วประมวลความสั้นๆว่า เมื่อเปิดประชุม นายเดนนิ่งก็กล่าวสุนทรพจน์ในเชิงปฐมเทศนาว่าด้วยเหตุที่ต้องมีการชดใช้กรรมเช่นนี้ ก็เพราะไทยได้บังอาจประกาศสงครามกับอังกฤษไว้ และได้หยามประเทศมหาอำนาจระดับโลกของไอด้วยการกระทำการนู่นนี่นั่นโน่น ที่ยูอ้างคำหนึ่งก็เสรีไทยสองคำก็เสรีไทยนั้น  อังกฤษก็คำนึงถึงความดีของเสรีไทยอยู่หรอก แต่พวกยูก็อย่ามาโม้มากนัก เสรีไทยของยูน่ะยังหน่อมแน้มมาก ยังไม่ได้ยิงกับญี่ปุ่นแม้สักกะสักโป้งเดียว ฉะนั้น จึงขอให้ประเทศไทยของยูก้มหน้ารับกรรมไป ข้อเสนอของไอนี้ถือว่าขาดตัว(Minimum)แล้ว เด็ดขาดต่อรองไม่ได้

เอกสารปึกนี้จั่วหัวว่า “Head of Ageement” หรือข้อตกลงฉบับร่าง นายเดนนิ่งนำมาเสนอให้อ่านดูเพื่อแก้ไขตัวสะกดถ้อยคำ แต่ห้ามแก้ไขความใดๆเพราะอังกฤษจะไม่ยอมถอยแม้แต่ก้าวเดียว หากคณะผู้แทนที่มานี้พร้อมละลงนามก็กระทำกันได้เลย ถ้าไม่พร้อมอังกฤษก็เตรียมเครื่องบินไว้แล้วให้บินกลับไปขอความเห็นจากรัฐบาลที่กรุงเทพ  แล้วจะกลับมาลงนามกันก็ย่อมได้

แต่แม้หากลงนามกันใน“Head of Ageement”แล้วยังถือว่าไม่จบนะพระคุณท่าน ต้องมีการลงนามใน “Formal Agreement” หรือเอกสารไทยเรียกว่า ความตกลงสมบูรณ์แบบอีกครั้งหนึ่ง เพราะจะต้องส่งไปลอนดอนเพื่อนำ Head of Ageement ไปเรียบเรียงอีกครั้งด้วยถ้อยความภาษากฎหมายก่อนจะให้ผู้นำรัฐบาลลงนาม  ส่วนกำหนดจะเป็นเมื่อไรก็ขึ้นอยู่ว่าทนายทั้งสองฝ่ายจะแก้ไขสำนวนกันมากน้อยยาวนานแค่ไหน ที่ยากตรงนี้เพราะทนายหัวเปรื่องค่าตัวแพงทั้งหลายชอบประดิษฐ์ถ้อยร้อยประโยคให้มันอ่านเข้าใจยากๆเข้าไว้ เวลาตีความจะได้ดิ้นไปดิ้นมาได้ เพื่อแสวงความได้เปรียบหากทะเลาะกันแล้วจะต้องไปจบคดีความในชั้นศาล

ไม่น่าจะเดาไม่ถูกที่เมื่อเจออย่างนี้ ท่านวิวัฒน์ไชยจึงทรงมีโอกาสแค่จดบันทึก วันรุ่งขึ้นนั้นเอง ก็ทรงขอให้บริการของกองทัพอากาศอังกฤษ เสด็จกลับกรุงเทพไปตั้งหลัก


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 09:26

ถึงตอนนี้ขออนุญาตเสริมเรื่องภาษาที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ตอนนี้

มีศัพท์สแลงภาษาอังกฤษอยู่คำหนึ่งคือ "Siamese talk" หมายถึง การที่พูดอย่างหนึ่งแต่แท้จริงแล้วเป็นอีกอย่างหนึ่ง ถ้าใช้คำรุนแรงก็คือว่า กลับกลอก นั่นเอง นั่นเกิดจากความรู้สึกของพวกฝรั่งต่อไทยเหตุการณ์หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒

คุณจุลลดา ภักดีภูมินทร์ เล่าเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดกับประเทศไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เกี่ยวกับเรื่อง Siamese talk ไว้ในนิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ ๒๗๑๒ ปีที่  ๕๒ ประจำวัน  อังคาร ที่  ๑๐ ตุลาคม  ๒๕๔๙ ในบทความเรื่องใครเป็นนายกฯนานที่สุด และสั้นที่สุด บางตอนดังนี้

เมื่อเกิดสงครามโลก ญี่ปุ่นเข้าบุกประเทศไทย จอมพล ป. นายกฯ ขณะนั้น จำเป็นต้องทำสัญญาร่วมรบด้วย ใช้คำว่า จำเป็น เพราะถึงแม้จะมีเหตุผลอื่นใด ๆ อีกก็ตาม แต่ถ้าไม่ยอมก็อาจถึงกับแหลกทั้งประเทศ

ทว่า ขณะที่รัฐบาลยอมร่วมกับญี่ปุ่น ก็เกิดมีคนไทยที่เรียกกันว่า เสรีไทย ไม่ยอม จึงร่วมมือกันทั้งในประเทศ นอกประเทศ ต่อต้านด้วยวิธีการต่าง ๆ (ว่ากันว่า รัฐบาล หรือพูดกันตรง ๆ ก็คือจอมพลป.ผู้นำเวลานั้นตลอดจนอธิบดีตำรวจก็รู้ แต่บางทีก็ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น นี่ตามที่ว่ากันในหนังสือบางเล่มที่ท่านผู้รู้เห็นเขียนเล่ากันมา)

ครั้นเมื่อใกล้สงครามยุติ ฝ่ายอักษะ คือ ญี่ปุ่น เยอรมนี อิตาลี เป็นฝ่ายเสียเปรียบ อิตาลี เยอรมันยอมแพ้ก่อน ในที่นี้จะไม่เล่าละเอียด สรุปว่า รัฐมนตรีทำสัญญากับญี่ปุ่น ต้องลาออก ไทยเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี เป็น นายควง อภัยวงศ์

พอญี่ปุ่นยอมแพ้ สงครามเลิก เรามีเสรีไทยหลายสายทั้งในประเทศ นอกประเทศ ท่านเหล่านี้เป็นผู้มีส่วนยืนยันให้การประกาศสงครามของไทยต่อสัมพันธมิตรเป็นโมฆะ

แล้วยังได้พระบารมีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล ซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะพอดี เสด็จนิวัติประเทศไทย เมื่อกองทัพของฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะอังกฤษ อเมริกา เข้ามาสวนสนามแสดงแสนยานุภาพ พวกเสรีไทยเข้าร่วมขบวนสวนสนามด้วย พลเอก ลอร์ด หลุยส์ เมานต์เบตเตน ผู้บัญชาการทหารฝ่ายพันธมิตร ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กราบทูลเชิญเสด็จตรวจพลสวนสนามพร้อมกัน เท่ากับถวายพระเกียรติยศ และให้เกียรติประเทศไทยว่ามิใช่ผู้แพ้สงคราม

เวลานั้นพวกฝรั่งได้พากันเยาะเย้ยว่า ประเทศไทยพูดจากลับกลอกอะไรทำนองนั้น ถึงกับมีคำศัพท์ว่า Siamese talk ซึ่งก็...ช่างมัน ยังดีกว่าถูกปรับว่าเป็นประเทศแพ้สงคราม ถูกแบ่ง ถูกบังคับ ต่าง ๆ นานา



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 13:24

แล้วยังได้พระบารมีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล ซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะพอดี เสด็จนิวัติประเทศไทย เมื่อกองทัพของฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะอังกฤษ อเมริกา เข้ามาสวนสนามแสดงแสนยานุภาพ พวกเสรีไทยเข้าร่วมขบวนสวนสนามด้วย พลเอก ลอร์ด หลุยส์ เมานต์เบตเตน ผู้บัญชาการทหารฝ่ายพันธมิตร ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กราบทูลเชิญเสด็จตรวจพลสวนสนามพร้อมกัน เท่ากับถวายพระเกียรติยศ และให้เกียรติประเทศไทยว่ามิใช่ผู้แพ้สงคราม

ม.ร.ว.เสนีย์  ปราโมช ท่านเล่าไว้ว่า เมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมสงบศึกในสงครามโลกครั้งที่ ๒ แล้ว  อังกฤษแจ้งมาว่าจะส่งทหารเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นประเทศไทย
รัฐบาลไทยได้ตอบไปว่า ไม่ต้องมาเพราะญี่ปุ่นวางอาวุธแล้ว  แต่อังกฤษก็ยังฝืนส่งทหารแขกจากเมืองขึ้นเข้ามา  พร้อมกับข้อเรียกร้องแบบเบ็ดเสร็จ
เมื่อส่งทหารเข้ามาแล้ว ลอร์ดหลุยส์เมาท์แบทเทน  ยังจะจัดสวนสนามทหารสหประชาชาติที่ท้องสนามหลวง  โดยตัวลอร์ดหลุยส์ฯ จะขึ้นแท่นรับความเคารพ
เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท  ในหลวงรัชกาลที่ ๘ ได้มีรับสั่งกับนายกเสนีย์ว่าจะยอมให้รับลอร์ดหลุยส์ทำเช่นนั้นไม่ได้
เพราะจะเท่ากับว่าประเทศไทยถูกอังกฤษยึดครองแล้ว  จะเสด็จฯ ไปในงานนั้นและจะทรงขึ้นแท่นรับความเคารพด้วยพระองค์เอง  
จึงได้มีภาพดังกล่าวเกิดขึ้น  ท่านนายกเสนีย์เล่าว่า ตัวลอร์ดหลุยส์นั้นดูจะไม่ค่อยพอใจแต่ทำอะไรไม่ได้
ส่วนที่มีเสรีไทยเข้าร่วมสวนสนามที่อ้างกันว่าเป็นความคิดนายปรีดีนั้น  จำไม่ได้ว่าเป็นกระแสพระบรมราชโองการหรือไม่
ส่วนข้อเรียกร้องแบบเบ็ดเสร็จนั้นก็ดูเหมือนจะโปรดเกล้าฯ พระราชทานแนวทางให้คณะผู้แทนไปเจรจาต่อรองจนลดลงมาเหลือ ๕ หรือ ๖ ข้อ
ตอนที่คณะผู้แทนฯ จะไปเจรจาตกลงสัญญาเบ็ดเสร็จนั้นได้เฝ้าฯ กราบถวายบังคมลา  ได้พระราชทานสัมผัสพระราชหัตถ์กับคณะผู้แทนเป็นรายบุคคลด้วย


เคยเห็นกันหรือยังครับ

http://www.britishpathe.com/video/military-parade-in-bangkok


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 14:31



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 14:36

ถึงตอนนี้ขออนุญาตเสริมเรื่องภาษาที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ตอนนี้

มีศัพท์สแลงภาษาอังกฤษอยู่คำหนึ่งคือ "Siamese talk" หมายถึง การที่พูดอย่างหนึ่งแต่แท้จริงแล้วเป็นอีกอย่างหนึ่ง ถ้าใช้คำรุนแรงก็คือว่า กลับกลอก นั่นเอง นั่นเกิดจากความรู้สึกของพวกฝรั่งต่อไทยเหตุการณ์หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒

คุณจุลลดา ภักดีภูมินทร์ เล่าเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดกับประเทศไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เกี่ยวกับเรื่อง Siamese talk ไว้ในนิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ ๒๗๑๒ ปีที่  ๕๒ ประจำวัน  อังคาร ที่  ๑๐ ตุลาคม  ๒๕๔๙ ในบทความเรื่องใครเป็นนายกฯนานที่สุด และสั้นที่สุด บางตอนดังนี้

เมื่อเกิดสงครามโลก ญี่ปุ่นเข้าบุกประเทศไทย จอมพล ป. นายกฯ ขณะนั้น จำเป็นต้องทำสัญญาร่วมรบด้วย ใช้คำว่า จำเป็น เพราะถึงแม้จะมีเหตุผลอื่นใด ๆ อีกก็ตาม แต่ถ้าไม่ยอมก็อาจถึงกับแหลกทั้งประเทศ

ทว่า ขณะที่รัฐบาลยอมร่วมกับญี่ปุ่น ก็เกิดมีคนไทยที่เรียกกันว่า เสรีไทย ไม่ยอม จึงร่วมมือกันทั้งในประเทศ นอกประเทศ ต่อต้านด้วยวิธีการต่าง ๆ (ว่ากันว่า รัฐบาล หรือพูดกันตรง ๆ ก็คือจอมพลป.ผู้นำเวลานั้นตลอดจนอธิบดีตำรวจก็รู้ แต่บางทีก็ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น นี่ตามที่ว่ากันในหนังสือบางเล่มที่ท่านผู้รู้เห็นเขียนเล่ากันมา)

ครั้นเมื่อใกล้สงครามยุติ ฝ่ายอักษะ คือ ญี่ปุ่น เยอรมนี อิตาลี เป็นฝ่ายเสียเปรียบ อิตาลี เยอรมันยอมแพ้ก่อน ในที่นี้จะไม่เล่าละเอียด สรุปว่า รัฐมนตรีทำสัญญากับญี่ปุ่น ต้องลาออก ไทยเปลี่ยนนายกรัฐมนตรี เป็น นายควง อภัยวงศ์

พอญี่ปุ่นยอมแพ้ สงครามเลิก เรามีเสรีไทยหลายสายทั้งในประเทศ นอกประเทศ ท่านเหล่านี้เป็นผู้มีส่วนยืนยันให้การประกาศสงครามของไทยต่อสัมพันธมิตรเป็นโมฆะ

แล้วยังได้พระบารมีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล ซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะพอดี เสด็จนิวัติประเทศไทย เมื่อกองทัพของฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะอังกฤษ อเมริกา เข้ามาสวนสนามแสดงแสนยานุภาพ พวกเสรีไทยเข้าร่วมขบวนสวนสนามด้วย พลเอก ลอร์ด หลุยส์ เมานต์เบตเตน ผู้บัญชาการทหารฝ่ายพันธมิตร ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กราบทูลเชิญเสด็จตรวจพลสวนสนามพร้อมกัน เท่ากับถวายพระเกียรติยศ และให้เกียรติประเทศไทยว่ามิใช่ผู้แพ้สงคราม

เวลานั้นพวกฝรั่งได้พากันเยาะเย้ยว่า ประเทศไทยพูดจากลับกลอกอะไรทำนองนั้น ถึงกับมีคำศัพท์ว่า Siamese talk ซึ่งก็...ช่างมัน ยังดีกว่าถูกปรับว่าเป็นประเทศแพ้สงคราม ถูกแบ่ง ถูกบังคับ ต่าง ๆ นานา

เรื่อง Siamese Talk นี่ ผมได้ยินมาหลายครั้งต่างกรรมต่างวาระ  ผมว่าเป็นสำนวนที่คนอังกฤษประชดประชันแบบเพื่อนหยอก ทำนอง “ไอ้นี่มันโคตรพูดเอาตัวรอดเลย” ประมาณนั้น มากกว่าจะเป็นการเชือดเฉือนน้ำใจ แบบ  “ไอ้นี่มันกระล่อนตลบตะแลง” ชนิดคบกันอีกไม่ได้เลยทีเดียว

ความจริงแล้ว ภาพพจน์ทางการทูตของไทยเราดีตลอด ผมยกตัวอย่าง นายเอดวิน แสตนตัน เอกอัครราชทูตอเมริกันประจำประเทศไทยคนหนึ่งในช่วงหลังสงครามเลิกใหม่ๆ ได้เขียนในหนังสือเรื่อง “Brirf Authority” เกี่ยวกับการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ของเขาในเมืองไทยไว้ในเชิงยกย่องมาก
 
Siamese Talk ที่มีความหมายเสียดสีเชิงด่าว่ากันจริงๆแล้ว ผมเห็นคนไทยนี่แหละที่ยกคำนี้มาด่าว่ากันเองมากกว่าคนชาติอื่นเสียอีก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 14:46

ส่วนเรื่องการสวนสนามของเสรีไทยนั้น ได้ถูกจัดให้มีขึ้นสองครั้ง ก่อนที่จะเป็นการสวนสนามในรูปและเรื่องของคุณเพ็ญชมพู พอสงครามเลิกปั๊บ  คณะพรรคเสรีไทยก็ได้จัดสวนสนามขึ้นครั้งหนึ่งในวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๔๘๘ โดยนายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเป็นประธาน ผู้ร่วมสวนสนามเป็นคนไทยล้วนๆจากเสรีไทยทั้งในและนอกประเทศ เพื่อสร้างภาพก่อนการเจรจาเพื่อยุติฐานะความเป็นศัตรูกับสัมพันธมิตรจะเริ่มต้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 15:15

อ้างถึง
ม.ร.ว.เสนีย์  ปราโมช ท่านเล่าไว้ว่า เมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมสงบศึกในสงครามโลกครั้งที่ ๒ แล้ว  อังกฤษแจ้งมาว่าจะส่งทหารเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นประเทศไทย รัฐบาลไทยได้ตอบไปว่า ไม่ต้องมาเพราะญี่ปุ่นวางอาวุธแล้ว  แต่อังกฤษก็ยังฝืนส่งทหารแขกจากเมืองขึ้นเข้ามา  พร้อมกับข้อเรียกร้องแบบเบ็ดเสร็จ เมื่อส่งทหารเข้ามาแล้ว ลอร์ดหลุยส์เมาท์แบทเทน  ยังจะจัดสวนสนามทหารสหประชาชาติที่ท้องสนามหลวง  โดยตัวลอร์ดหลุยส์ฯ จะขึ้นแท่นรับความเคารพ เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท  ในหลวงรัชกาลที่ ๘ ได้มีรับสั่งกับนายกเสนีย์ว่าจะยอมให้รับลอร์ดหลุยส์ทำเช่นนั้นไม่ได้ เพราะจะเท่ากับว่าประเทศไทยถูกอังกฤษยึดครองแล้ว  จะเสด็จฯไปในงานนั้นและจะทรงขึ้นแท่นรับความเคารพด้วยพระองค์เอง  

จึงได้มีภาพดังกล่าวเกิดขึ้น  ท่านนายกเสนีย์เล่าว่า ตัวลอร์ดหลุยส์นั้นดูจะไม่ค่อยพอใจแต่ทำอะไรไม่ได้
ส่วนที่มีเสรีไทยเข้าร่วมสวนสนามที่อ้างกันว่าเป็นความคิดนายปรีดีนั้น  จำไม่ได้ว่าเป็นกระแสพระบรมราชโองการหรือไม่

 “ความตกลงสมบูรณ์แบบ”ที่ผมยังว่ายังไม่จบ ค้างอยู่คคห.โน้น ยังไปไม่ถึงวันลงนามสัญญากับอังกฤษในวันที่ ๑มกราคม ๒๔๘๙ อย่างไรก็ดี บอกได้เลยว่าหากไม่มีการลงนามสัญญา เลิกความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันแล้ว ไม่มีทางที่ลอร์ดหลุยส์จะเดินทางมากรุงเทพ แล้วปฏิบัติตน แสดงต่อองค์พระมหากษัตริย์ของไทยด้วยความเคารพตามแบบแผนประเพณี ในวันสวนสนามเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๔๘๙ ขนาดนั้น

อ้างถึง
ส่วนข้อเรียกร้องแบบเบ็ดเสร็จนั้นก็ดูเหมือนจะโปรดเกล้าฯ พระราชทานแนวทางให้คณะผู้แทนไปเจรจาต่อรองจนลดลงมาเหลือ ๕ หรือ ๖ ข้อ

ตอนที่คณะผู้แทนฯ จะไปเจรจาตกลงสัญญาเบ็ดเสร็จนั้นได้เฝ้าฯ กราบถวายบังคมลา  ได้พระราชทานสัมผัสพระราชหัตถ์กับคณะผู้แทนเป็นรายบุคคลด้วย
ย่อหน้าหลังผมไม่ทราบ แต่ย่อหน้าแรกนั้น ท่านอ่านเองก็แล้วกัน




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 17:29

มีของแถมเล็กๆน้อยๆให้ในช่วงนี้ครับ

จากการที่อังกฤษเรียกร้องจำนวนข้าวจากไทยนั้น อังกฤษอ้างจากข้อมูลที่เขาส่งเครื่องบินมาถ่ายภาพทางอากาศ แบบสแกนประเทศไทยทั้งประเทศ เพื่อคำนวนพื้นที่นา และปริมาณข้าวที่คาดว่าไทยจะผลิตได้ ภาพชุดดังกล่าวกรมแผนที่ทหารของไทยยังเก็บไว้ใช้ประโยชน์ต่อมาได้อีกหลายสิบปี

นักบินคนหนึ่งที่มาปฏิบัติการนี้ ได้ถ่ายรูปเมืองและโบราณสถานต่างๆของไทยในระดับต่ำลงมาไว้ด้วย รู้จักกันในนามว่าภาพถ่ายชุด Peter William-Hunt สามารถเข้าไปชมได้ตามระโยงข้างล่างนี้ครับ

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.355565291218313.83621.121587384616106&type=1


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 16 ธ.ค. 14, 09:03

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พร้อมด้วยสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จนิวัตประเทศไทยด้วยเครื่องบินพระที่นั่ง ซึ่งเอื้อเฟื้อจัดถวายโดยรัฐบาลอังกฤษนั้น มาถึงสนามบินดอนเมืองวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๘๘ 

ในช่วงแรกที่เสด็จอยู่เมืองไทยนั้น ทรงใฝ่พระทัยในงานของทางราชการอย่างยิ่ง โปรดเกล้าฯให้เชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกรมกองต่างๆผลัดเปลี่ยนกันเข้าไปถวายรายงานเรื่องต่างๆ ซึ่งพระองค์จะทรงซักถามและพระราชทานความเห็น อันเรื่องการเจรจาระหว่างไทยกับอังกฤษในเรื่องข้อเสนอต่างๆ เป็นข่าวใหญ่ทั้งในเมืองไทยและสิงคโปรขณะนั้น  พระองค์ทรงต้องสนพระทัยและคงจะให้บุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าเฝ้า และน่าจะทรงมีข้อแนะนำอย่างที่คุณวี_มีว่า แต่ก็น่าจะทรงเข้าใจดี ว่าไทยไม่มีอำนาจในการต่อรองใดๆกับอังกฤษเลย ส่วนอเมริกันนั้นเล่า โดยพื้นฐานของรัฐบาลกับรัฐบาลแล้วเขาก็เกรงใจอังกฤษมากกว่าความเห็นใจประเทศไทย เรื่องการต่อรองนี้จึงหวังไม่ได้ว่าอเมริกันจะเข้าข้างไทย

แต่เมื่อไม่มีบันทึกเป็นทางราชการ การบอกเล่าทางวาจาปากต่อปากจึงอาจเพี้ยนไปได้  ที่กล่าวว่า พระราชทานแนวทางให้คณะผู้แทนไปเจรจาต่อรองจนลดลงมาเหลือ ๕ หรือ ๖ ข้อนั้น ผมเชื่อว่าน่าจะเป็น พระราชทานแนวทาง ๕ หรือ ๖ ข้อ ให้คณะผู้แทนไปขอเจรจาต่อรองมากกว่า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 16 ธ.ค. 14, 09:20

ขณะนั้นไทยกำลังใช้ทั้งวิธีการทูตและทางกฎหมายที่พยายามบรรเทาความเสียหายหากจะต้องถูกบีบบังคับให้ลงนามในสัญญา หม่อมเจ้าวิวัฒน์ไชยต้องเสด็จไปๆมาๆระหว่ากรุงเทพและสิงคโปร์หลายเที่ยว และทรงพยายามที่จะให้อังกฤษเสนอ ร่างความตกลงสมบูรณ์แบบมาให้พิจารณากันเลยทีเดียว ข้อเกี่ยงกันไปๆมาๆเหล่านี้ผมจะไม่ขอลงรายละเอียดนะครับ บางครั้งก็มีทิ้งไพ่ให้ดูด้วยว่า ถ้าอังกฤษไม่ยอมแก้ตรงนั้นตรงนี้แล้ว ไทยจะไม่ยอมลงนาม ทั้งนี้ไทยหวังว่าพอถึงจุดนั้นอเมริกันจะต้องเข้าแทรกแซงอีกที่หนึ่ง

แล้วพี่กันท่านก็เข้ามาแทรกแซงจริงๆซะด้วย  วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๘๘ นายโยสต์ อุปทูตสหรัฐอเมริกาก็มาแมรี่คริสตมัศนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว. เสนีย์ด้วยถ้อยความว่า บัดนี้อังกฤษได้ยอมผ่อนปรนตามข้อเสนอแก้ไขของฝ่ายอเมริกันไปแล้วเป็นส่วนมาก รัฐบาลของไอได้รับความพอใจ จึงขอถอนคำแนะนำที่ไม่ให้ฝ่ายไทยลงนามนั้นเสีย  สำหรับเรื่องข้าวและค่าเสียหายที่ต้องจ่ายชดใช้สัมพันธมิตรนั้น จะมีคณะกรรมการผสมที่มีอเมริกันอยู่ด้วย จะทำการประเมินปริมาณข้าว และจำนวนเงินค่าเสียหายอีกทีในตอนนั้น แล้วจะได้กำหนดให้เหมาะสมไม่เกินกำลังที่พวกยูจะจ่ายได้

แปลอีกทีหนึ่งว่า เรื่องที่ไทยกับอังกฤษยังเกี่ยงกันอยู่โดยอังกฤษจะเอามากไทยจะจ่ายน้อยนั้น  อเมริกันบอกให้ลงนามไปก่อนแล้วค่อยไปว่ากันทีหลัง เมื่อถึงเวลาแล้ว อเมริกันจะช่วยอีกทีหนึ่งให้ไทยจ่ายเท่าที่จะจ่ายได้

ดังนั้นไทยกับอังกฤษจึงจบกันได้ และร่วมลงนามในสัญญาความตกลงสมบูรณ์แบบกันในวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๙


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 16 ธ.ค. 14, 10:26

คราวใดที่ผมอ่านเรื่องที่เขาเขียนยกย่องท่านโน้นบ้างท่านนี้บ้างที่ทำให้เรื่องคอขาดบาดตายครั้งสงครามโลกจบลงได้อย่างที่เห็น ผมจึงนึกถึง ร.ต.อ. โพยม จันทรัคคะขึ้นมาทุกครั้งไป  พวกเสรีไทยกี่สายๆที่ส่งกันมาถูกตำรวจของหลวงอดุลจับได้หมดไม่เหลือรอดสักคน  หมดโอกาสติดต่อกับกองบัญชาการของสัมพันธมิตรหากไม่มีคนอย่างร.ต.อ. โพยมที่ยอมเสี่ยงด้วย หากโชคชะตาของไทยต้องเป็นไปตามเกมของหลวงอดุล จนจบสงครามโดยไร้ผลงานของเสรีไทยอย่างสิ้นเชิงแล้ว คำพูดและการกระทำของอังกฤษจะรุนแรงอย่างไร และอเมริกันจะช่วยเราไหม มีใครจะพอนึกออกบ้างไหมครับ

สุดท้ายก็คือ การประกาศสงครามของไทยครั้งนี้ถือเป็นโมฆะ ไทยต้องคืนดินแดนที่ได้มาในช่วงสงครามให้อังกฤษและฝรั่งเศสพร้อมเงินชดเชยค่าเสียหายให้กับเขาอีกห้าล้านสองแสนปอนด์ และส่งมอบข้าวสาร 1.5 ล้านตันให้สหประชาชาติผ่านอังกฤษ  ซึ่งพอส่งไปได้หน่อยหนึ่งก็ส่งไม่ได้ ด้วยว่าไม่มีใครมาขายข้าวให้รัฐบาลในราคาซื้อที่ตั้งไว้ เพราะพ่อค้ารับซื้อในตลาดมืดในราคาสูงกว่า เกินกำลังรัฐบาลจะเข้าไปแย่งซื้อได้  ทั้งนี้เพราะยามนั้นข้าวเป็นที่ต้องการของตลาดโลกมาก ข้าวจึงถูกลักลอบส่งไปขายนอกประเทศโดยรัฐบาลไม่สามารถหยุดยั้งได้ อังกฤษก็ไม่ทราบจะบังคับรัฐบาลไทยอย่างไร เพราะไทยอ้างว่าขาดบุคคลากรและเครื่องไม้เครื่องมือในการบริหารจัดการ เพราะขาดงบประมาณที่ถูกรีดไปจ่ายค่าชดเชยให้อังกฤษหมดกระเป๋า  จนอังกฤษต้องเปลี่ยนจากการให้เปล่าเป็นซื้อในราคาตลาดนั่นแหละ  อังกฤษจึงได้ข้าวในปริมาณที่ต้องการไปเลี้ยงคนของตัว

นี่แหละหนา ทำไมผมจึงว่าโอกาสของไทยที่จะรักษาอธิปไตยหลังสงครามครั้งนี้ให้รอดได้ จึงเกือบสายเกิน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 16 ธ.ค. 14, 11:35

เป็นการรอดปากเหยี่ยวปากกามาให้อย่างน่าใจหายใจคว่ำ
ขอยกย่องวีรบุรุษตัวจริง ที่ช่วยกันอย่างไม่เห็นแก่ชีวิต อนาคต การงาน เพื่อบ้านเมือง  ท่านเหล่านี้มีผลงานที่ยิ่งใหญ่ แต่การตอบแทนน้อยมาก บางท่านก็ไม่เป็นที่รับรู้แม้แต่ในยุคหลัง อย่าว่าแต่ในยุคของท่านเลย

ขอคารวะ


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 16 ธ.ค. 14, 19:32

"เรื่องสั้นสันติภาพ" ที่ดิฉันได้รับมาจากงานเสวนารำลึกถึง"เสนีย์ เสาวพงศ์" เมื่อวานก็มีเรื่องของเสรีไทย เป็นจดหมายเหตุรายวันของ "จำกัด พลางกูร" อ่านแล้วยกย่องในความเสียสละของท่านและภรรยาเป็นอย่างมาก

เสียดายที่ดิฉันเพิ่งมาสนใจเรื่องนี้เอาตอนนี้ เมื่อครั้งเป็นเด็ก ดิฉันเคยมีโอกาสได้คุยกับเสรีไทยสายอเมริกาท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ของเพื่อนสนิท ยอมรับว่าตอนนั้นท่านเล่าอะไรให้ฟัง มันฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง จึงได้แต่เออออคะขาไปตามมารยาท ตอนนี้อยากฟังท่านเล่าแทบขาดใจ...แต่ท่านก็ไม่อยู่เล่าให้ฟังเสียแล้ว ร้องไห้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 17 ธ.ค. 14, 17:14

"เรื่องสั้นสันติภาพ" ที่ดิฉันได้รับมาจากงานเสวนารำลึกถึง"เสนีย์ เสาวพงศ์" เมื่อวานก็มีเรื่องของเสรีไทย เป็นจดหมายเหตุรายวันของ "จำกัด พลางกูร" อ่านแล้วยกย่องในความเสียสละของท่านและภรรยาเป็นอย่างมาก

๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๖
นายจำกัด พลางกูร ถึงแก่กรรมที่จุงกิง
(ถือว่าเป็นเสรีไทยคนแรกที่ได้สละชีพเพื่อชาติ ภายหลังสงครามอดีตเสรีไทยผู้นี้ได้รับยศทหารเป็นพันตรี รวมทั้งได้รับการจารึกชื่อไว้ ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)


วันนี้วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นวาระ ๑ ศตวรรษ จำกัด พลางกูร วีรบุรุษเสรีไทย ผู้ถูกขานชื่อและเรื่องราวสั้น ๆ ว่า เสียชีวิตในเมืองจีน ระหว่างภารกิจส่งสารไปถึงฝ่ายสัมพันธมิตร

กษิดิศ อนันทนาธร เขียนเรื่องจำกัดไว้ใน “ป๋วย” จุลสารเตรียมงานรำลึก ๑๐๐ ปีชาตกาล ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ว่า จำกัด (๓๐ ต.ค. ๒๔๕๗ - ๗ ต.ค. ๒๔๘๖) เป็นบุตรคนโตของพระยาผดุงวิทยาเสริม (กำจัด พลางกูร) เจ้ากรมแต่งตำรา กระทรวงธรรมการ

สอบชิงทุนรัฐบาลสยามได้ที่ ๑ ศึกษาต่อมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สาขาวิชาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์

ปี ๒๔๗๙ เขียนหนังสือ ปรัชญาแห่งสยามใหม่ เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ เป็นดั่งเรเนสซองค์ของสยามทลายฝากั้นฝั่งราษฎรและวัฒนธรรม เปิดทางให้สยามเข้าสู่โลกใหม่อันมีฐานมาจากราษฎร

เขียนบทความวิจารณ์รัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม ท่านผู้นำไม่พอใจสั่งให้ขอขมา จำกัดปฏิเสธ ถูกสั่งห้ามไม่ให้เข้ารับราชการ จำกัดเดินหน้าต่อไป รวบรวมนักเรียนไทยในอังกฤษ เมื่อกลับไทย ร่วมมือกับ เตียง ศิริขันธ์ จัดตั้งคณะกู้ชาติ

การต่อสู้อีกด้าน จำกัดกับฉลบชลัยย์ พลางกูร ภรรยาเปิดโรงเรียนดรุโณทยาน มุ่งหมายไม่เพียงสอนให้เด็กมีวิชาความรู้เท่านั้น ยังมุ่งมั่นบ่มเพาะให้เด็กเป็นพลเมืองที่รักบ้านเมืองและรักประชาธิปไตย

สงครามโลกครั้งที่ ๒ ปี ๒๔๘๔ จำกัดรับมอบหมายจากนายปรีดี พนมยงค์ เดินทางไปเมืองจุงกิง เมืองหลวงของจีนเวลานั้น เพื่อติดต่อให้ฝ่ายสัมพันธมิตร ทราบถึงการทำงานของขบวนการเสรีไทยในประเทศ

ปี ๒๔๘๖ จำกัดแต่งงานกับฉลบชลัยย์ได้ ๓ ปี เดินทางเสี่ยงการจับกุมของทหารญี่ปุ่น ไปจนถึงเมืองจุงกิง

ภารกิจสำคัญ คือการเจรจากับจอมพลเจียงไคเช็ก ให้รับรองคณะเสรีไทย และรับรองอิสรภาพของไทยหลังสงคราม

เมื่อจีนเป็นต้นเสียงใหญ่...รับรองอิสรภาพให้ไทย สหรัฐฯและอังกฤษก็ต้องออกเสียงตามความคิดของบางประเทศมหาอำนาจ...ที่จะยึดไทยเป็นรัฐในอารักขา แบ่งประเทศไทยออกเป็นไทยเหนือ ให้ฝ่ายคณะราษฎรปกครอง และไทยใต้ให้ฝ่ายเจ้าปกครอง จึงเป็นอันล้มเลิกไป

กล่าวได้ว่า ไทยได้เป็นเอกราชได้มาถึงทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการเจรจาของจำกัด ที่เมืองจุงกิงนี่เอง

อีกภารกิจที่สำคัญไม่น้อยกว่า ในเมืองจุงกิงนั่นเอง จำกัดได้เจรจากับ ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ ผู้นำเสรีไทยในอังกฤษ นอกจากได้ความร่วมมือระหว่างเสรีไทยในไทยและในต่างประเทศ

การเจรจาครั้งนั้น เป็นสมานไมตรีระหว่างฝ่ายเจ้ากับฝ่ายคณะราษฎร ที่บาดหมางกันมาตั้งแต่เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕

เป็นการสมานไมตรีที่ได้ผลดี แม้จะไม่ได้รับความร่วมมือจาก ราชนิกุล ผู้นำเสรีในสหรัฐอเมริกา อย่างเท่าที่ควร

ข้อเขียนของกษิดิศ อนันทนาธร ชี้ว่า ผลงานของจำกัดพลางกูร ยิ่งใหญ่ยืนยาว...เป็นคุณูปการอันใหญ่หลวง ที่คนไทยทั้งปวงจะต้องจดจำ...จึงไม่ใช่เรื่องราวสั้น ๆ จำกัดตายระหว่างการเดินทาง...แต่อย่างใดเลย

ภารกิจเพื่อชาติจบ...ชีวิตจำกัด พลางกูรก็จบ หลังการเดินทางอันยากลำบาก ภายใต้สภาพแวดล้อมเลวร้าย การทำงานที่มีความกดดันสูง ในเมืองจุงกิง จำกัด พลางกูร วัย ๒๘ ปี ก็เสียชีวิตลง

แพทย์ลงความเห็น จำกัดเป็นมะเร็งตับและโรคกระเพาะอาหาร...แต่ฝ่ายสืบราชการลับของฝ่ายสัมพันธมิตร สงสัย เขาอาจถูกวางยาพิษ จากฝ่ายจีนหรือญี่ปุ่น

วันนี้ นับจากวันที่จำกัด พลางกูร เกิดมาครบ ๑๐๐ ปีพอดี เขายังเป็นวีรบุรุษเสรีไทย...เป็นเสรีไทยขนานแท้

เป็นเสรีไทย ท่ีสละชีวิตเพื่อชาติ เพื่อคนไทย...ชื่อของเขาจึงยังดังก้อง กล่าวขาน ไม่เคยตายไปจากหัวใจคนไทยด้วยกันเลย.

กิเลน ประลองเชิง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.101 วินาที กับ 19 คำสั่ง