เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 120 เมื่อ 30 พ.ย. 14, 11:45
|
|
"ผมเป็นคนไทยแท้ๆ ผมมาทำงานเพื่อชาติ ไม่ควรยิงผมเลย"หวังว่าคำขอสุดท้ายของพันตรีสมพงษ์ ศัลยพงษ์ จะเป็นข้อคิดเตือนใจสำหรับคนไทยทุกคนในปัจจุบัน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 121 เมื่อ 10 ธ.ค. 14, 11:09
|
|
เรื่องราวของ ร.ต.อ.โพยม จันทรัคคะ คงจะยังไม่สมบูรณ์ หากผมไม่ขยายความต่อ ตามหัวเรื่องที่ผมกล่าวว่า ไทยอาจเสียอธิปไตยได้ นั้นน่ะ จะเสียอะไรแค่ไหนอย่างไร จริงอยู่ที่บางท่านจะคิดว่าผลงานของเสรีไทยเท่าที่ปฏิบัติมาน่าจะเพียงพอแล้วที่จะทำให้ประเทศชาติรอดตัวจากสภาพของของผู้แพ้สงคราม แต่ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นแต่ละตอนนั้น มันก็ไม่ง่ายนักทีเดียว
พอสงครามสงบแล้ว ผู้แทนกองทัพอังกฤษได้เข้าพบนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เพื่อขอให้ส่งตัวแทนไปเจรจากับอังกฤษที่เมืองแคนดี้ เกี่ยวกับข้อการปฏิบัติหลังสงคราม ซึ่งรัฐบาลไทยได้แต่งตั้ง พลเอก หลวงเสนาณรงค์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกเป็นหัวหน้าคณะ ไปประชุมกับฝ่ายอังกฤษที่เมืองแคนดี้ ในวันที่ ๔ กันยายน ๒๔๘๘
คณะผู้แทนฝ่ายไทยได้รับการต้อนรับอย่างดี ก่อนเริ่มการเจรจา พลเอก ลอร์ดหลุยส์ เม้าท์แบตแตน ได้มานั่งหัวโต๊ะเป็นประธานในการเลี้ยงอาหารกลางวัน หัวโต๊ะอีกด้านหนึ่งนั้น นายเอสเลอร์ เดนนิ่ง (ภายหลังเป็น Sir Esler Denning) ที่ปรึกษาฝ่ายการเมืองของแม่ทัพอังกฤษนั่ง ครั้นรับประทานอาหารเสร็จ นายเดนนิ่งก็นำเอกสารมาแจกคนละปึกใหญ่ โดยลอร์ดหลุยส์กล่าวนำว่า เพื่อให้การปลดอาวุธญี่ปุ่นและการคืนสถานการณ์ปกติกับประเทศไทย นายเดนนิ่งจึงได้เสนอข้อตกลงนี้เพื่อให้ผู้แทนรัฐบาลไทยลงนามให้เรียบร้อย อังกฤษจะได้ดำเนินการต่อตามความมุ่งหมายของไทย คือยุติการเป็นปฏิปักษ์ระหว่างไทยกับอังกฤษได้
คณะผู้แทนฝ่ายไทยพออ่านเสร็จก็ถึงกับเหงื่อแตกพลั่กไปตามๆกัน
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 ธ.ค. 14, 21:53 โดย เทาชมพู »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 122 เมื่อ 11 ธ.ค. 14, 07:26
|
|
พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ ได้เขียนบันทึกความจำ ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพตัวท่านเอง กล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงนี้ว่า
ข้าพเจ้าอ่านข้อความเป็นเลาๆและเรียนต่อท่านหัวหน้าคณะว่า ไม่ไหว ถ้าเราขืนเซ็นต์ไปก็เท่ากับเรายกเอาประเทศไทยให้เป็นเมืองขึ้นเขา เซ็นต์ไม่ได้แน่ คุณทวี ตะเวทิกุลหน้าแดง บ่นว่ากำลังจะเป็นไข้ ดร.เสริม พูดอะไรไม่ออกเลย พ.อ.สุรจิต และ พ.อ.เนตร หันมาทางประธานแล้วพูดว่า อย่าเซ็นต์ ๆ ดร.ป๋วยบอกว่าไม่เคยเห็นสัญญานี้มาก่อน หันมาทางข้าพเจ้าว่าจะทำอย่างไรดี ท่านประธานจึงให้ข้าพเจ้าแปลคำพูดแจ้งไปว่า ขอเวลานำไปพิจารณาเสนอรัฐบาลก่อน แต่นายเดนนิ่งบอกว่าไม่จำเป็น เพราะทางรัฐบาลไทยได้ยืนยันมาแล้วว่าคณะของเรามีอำนาจเต็มทุกประการ แต่อำนาจเต็มของเราในความหมายของเราคืออำนาจเต็มในการเจรจา แต่ไม่มีอำนาจเต็มในการที่จะหยิบยื่นอธิปไตยของชาติไปให้ใคร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 123 เมื่อ 11 ธ.ค. 14, 08:35
|
|
พลอากาศเอกทวี หรือที่ตอนที่ท่านดังสุดๆนั้น หนังสือพิมพ์จะเรียกท่านว่าเสธฯวี ในอดีตเป็นนักบินมือเยี่ยมของกองทัพอากาศช่วงสงครามโลก และได้เข้าร่วมขบวนการเสรีไทยด้วยความเข้มข้นจนได้การยอมรับนับถือจากนายทหารอเมริกัน ชีวิตของท่านโลดโผนกว่าบทพระเอกจอเงินที่ท่านเคยเป็นพระเอกมาแล้วตั้งแต่ครั้งที่ยังติดยศเรืออากาศเอกในหนังดังเรื่อง “บ้านไร่นาเรา” ขณะที่ไปปฏิบัติราชการที่แคนดี้ครั้งนี้ท่านเป็นนาวาอากาศโทแล้ว นายปรีดีคัดเลือกให้นายทหารผู้นี้ไปเพราะเคยไปฝึกปฏิบัติการลับอยู่ที่นั่นนาน คุ้นเคยกับนายทหารสหรัฐที่ยังคงประจำการอยู่เป็นอย่างดี
บรรยากาศในห้องประชุมเสธฯวีบอกว่าอึดอัดเต็มที จึงลุกขึ้นคำนับท่านประธาน ขออนุญาตออกไปเพราะไม่สบาย ปวดท้องเหลือกำลัง ลอร์ดหลุยส์ก็พยักหน้าแถมบอกให้แวะไปหาหมอในกองบัญชาการของท่านเสียด้วย เสธฯวีออกมาได้ก็ดิ่งไปหาพลจัตวาทิมเบอร์แมน ผู้แทนกองทัพอเมริกันที่พักอยู่ในเรือนรับรองเดียวกัน แล้วส่งสัญญาฉบับนั้นให้อ่าน ซึ่งเขาอ่านอย่างรวดเร็วจนถึงหน้าสุดท้ายก็ร้องดังๆว่า เฮ้ ไทยไม่ใช่ศัตรู อังกฤษไม่ควรทำขนาดนี้นี่นา แล้วบอกเสธฯวีว่าจะรีบติดต่อวอชิงตันเดี๋ยวนั้นเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 124 เมื่อ 12 ธ.ค. 14, 07:13
|
|
พลจัตวาทิมเบอร์แมนหายไปชั่วครู่ก็กลับมาบอกว่า คุยกับพลตรี วิลเลียม โดโนแวน ผู้บัญชาการ O.S.S.แล้ว พลตรีวิลเลียมกำลังไปพบเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของกระทรวงต่างประเทศ ขอให้แจ้งกับคณะว่าอย่าให้คนไทยไปเซ็นต์สัญญาอะไรฉบับนี้เข้าเป็นอันขาดทีเดียว เสธฯวีก็โทรศัพท์เข้าไปที่ห้องประชุม ขอพูดกับพลตรีเฉลิมศักดิ์นายทหารคนสนิทของหัวหน้าคณะ เรื่องคำแนะนำของฝ่ายอเมริกันทันที
สักพักใหญ่ในห้องประชุมนั้น ทหารเข้ามาตามนายเดนนิ่งออกไปรับโทรศัพท์นอกห้อง เขากลับเข้าอีกครั้งเพื่อกระซิบอะไรบางอย่างกับลอร์ดหลุยส์ ผู้ซึ่งซึ่งหลังจากนั้นได้แจ้งกับผู้แทนรัฐบาลไทยว่ารัฐบาลอังกฤษไม่ติดใจที่จะให้ฝ่ายไทยลงนามในข้อตกลงฉบับนั้นแล้ว เพราะยังมีอีกหลายประเด็นที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ
เป็นอันว่าอังกฤษถูกบีบด้วยมือที่ใหญ่กว่าให้คลายมือที่กำลังบีบไทยให้แบนแต๊ดแต๋ ด้วยกำหนดเวลาภายใน ๔๘ชั่วโมงของลอร์ดหลุยส์ที่ฝ่ายไทยจะต้องลงนามให้เสร็จสิ้น ส่วนเรื่องว่าอเมริกันทราบเรื่องที่กำลังประชุมกันอยู่ได้อย่างไร จึงมีปฏิกิริยาโดยทันทีนั้นไม่มีที่ใดกล่าวถึงนัก นอกจากในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ ซึ่งเจ้าตัวบันทึกเหตุการณ์ช่วงนี้ไว้สองสามย่อหน้า จากหนังสือที่มีความหนาสักหกร้อยหน้าเห็นจะได้ ถ้าผมไม่ได้บังเอิญซื้อมาจากร้านขายหนังสือเก่าในงานสัปดาห์หนังสือครั้งที่แล้ว ก็คงไม่ได้เขียนความตอนนี้อย่างนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 125 เมื่อ 12 ธ.ค. 14, 07:40
|
|
บทความเรื่อง “การเจรจาทางทหารระหว่างไทยกับฝ่ายสัมพันธมิตรหลังสงครามโลกครั้งที่ 2” หาได้ในเว็บ เขียนถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า
นโยบายและข้อเรียกร้องของอังกฤษต่อไทยนั้นกำหนดขึ้นในระหว่างสงคราม และเตรียมไว้บังคับใช้กับไทยไปจนกว่าสงครามจะยุติ และมีข้อผูกมัดไทยไปจนถึงหลังสงครามยุติแล้ว อังกฤษมีความคิดว่า หลังจากสัมพันธมิตรขับไล่ญี่ปุ่นออกไปแล้ว และมีการจัดตั้งรัฐบาลปลดปล่อยของไทย (Siamese Liberation Government) รัฐบาลปลดปล่อยต้องยอมรับข้อเรียกร้องทางการเมืองและทางทหารของอังกฤษ ที่ใช้บังคับในระหว่างสงคราม (การต่อสู้กับญี่ปุ่นจนประสบชัยชนะ) และผูกมัดไทยต่อไปหลังสงคราม (การร่วมมือทางเศรษฐกิจและทหาร) ที่สำคัญก็คือ สถานะสงครามระหว่างไทยกับอังกฤษจะสิ้นสุดลง และอังกฤษจะฟื้นคืนความสัมพันธ์กับไทยก็ต่อเมื่อรัฐบาลปลดปล่อยของไทยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ อังกฤษใช้การรับรองรัฐบาลไทยและการฟื้นคืนความสัมพันธ์ทางการทูต เป็นตัวบีบให้ไทยยอมรับข้อเรียกร้องของตน… …คณะทูตทหารของไทยเห็นว่า การลงนามในสัญญา จะทำให้ไทยตกอยู่ภายใต้การยึดครองของอังกฤษ จึงนำความไปบอกทหารอเมริกันหน่วย OSS (Office of Strategic Services) อันนำไปสู่การแทรกแซงของสหรัฐฯ การเข้าแทรกแซงนี้ทำให้อังกฤษต้องยอมแก้ไขสัญญาดังกล่าว
เป็นที่เปิดเผยภายหลังว่า เมื่อ OSS ที่แคนดี้โดยนายพลทิมเบอร์แมนรายงานไปยังนายพลโดโนแวนที่วอชิงตันสำนักงานใหญ่นั้น ได้กลายเป็นเรื่องเร่งด่วนถึงขั้นที่นายดีน อาชีสัน (Dean Acheson) รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอเมริกัน ได้โทรศัพท์สายตรงไปยังนายเออร์เนสท์ เบวิน (Ernest Bevin)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษทันที แต่นายเบวินไม่อยู่ จึงสั่งการให้นายกิลเบอร์ต ไวนันท์ (Gilbert Winant) เอกอัครทูตประจำกรุงลอนดอนเข้าพบนายเคลมองท์ แอทท์ลี(Clement Attlee) นายกรัฐมนตรีอังกฤษโดยตรงในกลางดึกของคืนนั้น โดยหลักการ สหรัฐได้บอกกับอังกฤษและฝรั่งเศสไว้ก่อนหน้าแล้วว่าไม่เห็นด้วยที่โลกจะกลับไปอยู่ในระบอบมหาอำนาจกับอาณานิคมเช่นครั้งก่อนสงคราม โดยเฉพาะสหรัฐได้ลงทุนไปมากเพื่อการเอาชนะสงครามครั้งนี้ จึงไม่อยากเห็นอังกฤษและฝรั่งเศสฉกฉวยประโยชน์ อย่างเช่นที่กำลังจะปฏิบัติต่อไทย ด้วยค่าใช้จ่ายของสหรัฐ โดยทั่วไปจะสรุปกันว่าอังกฤษยอมแก้ไขสัญญา โดยส่งให้สหรัฐเห็นชอบก่อนที่จะบังคับให้ไทยลงนามต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 126 เมื่อ 12 ธ.ค. 14, 07:49
|
|
ยังครับ ยังไม่จบ เรื่องที่ว่านี้ไม่มี Happy Ending
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Anna
|
ความคิดเห็นที่ 127 เมื่อ 12 ธ.ค. 14, 17:59
|
|
ติดตามอย่างจดจ่อ รอลุ้นตอนต่อไปค่ะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 128 เมื่อ 13 ธ.ค. 14, 09:21
|
|
^  เอกสารที่อังกฤษเสนอปึกใหญ่นั้นเป็นข้อความทั่วๆไปที่พอรับได้ แต่ที่ระบุว่าเป็นข้อตกลงที่รัฐบาลไทยจะต้องรับปฏิบัติ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๒๑ข้อนั้น บางข้อถือเป็นเรื่องใหญ่ที่หากรับไปแล้วจะเท่ากับการมอบอธิปไตยของชาติ ยอมอยู่ใต้บงการของอังกฤษอย่างไม่มีกำหนดเวลาโดยปริยาย ผมได้ลอกหนังสือ “ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ ๒” ของท่านศาสตราจารย์ ดร. ดิเรก ชัยนาม อดีตนักการทูตที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งได้เปิดเผยไว้โดยไม่ตัดตอน มาลงไว้ในกระทู้นี้สำหรับผู้ที่สนใจโดยเฉพาะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 129 เมื่อ 13 ธ.ค. 14, 09:29
|
|
เพื่อเจรจาเรื่องนี้ที่เมืองแคนดี้ เกาะลังกา รัฐบาลไทยตกลงและได้ส่งคณะผู้แทนไปเมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. ๑๙๔๕) เพื่อเจรจารายละเอียดเกี่ยวกับการทหารของสัมพันธมิตร ซึ่งจะจัดการให้ญี่ปุ่นทำพิธียอมแพ้และปลดอาวุธของกองทัพญี่ปุ่น ฝ่ายอังกฤษได้เสนอร่างความตกลง ๒๑ ข้อต่อคณะผู้แทนไทย มีความดังนี้
๑.ให้ยุบองค์การทหาร องค์การกึ่งทหาร องค์การการเมือง ซึ่งกระทำการโฆษณาเป็นปฏิปักษ์ ต่อสหประชาชาติ ๒.ส่งมอบบรรดาเรือทั้งหมดที่เป็นของสหประชาชาติ ซึ่งอยู่ในท่าเรือให้แก่เจ้าหน้าที่ สัมพันธมิตร ๓.จะกระทำทุกวิธีทางเพื่อปลดเปลื้องบรรเทาทุกข์เชลยศึก และผู้ที่กักกันสัมพันธมิตร และจะ ออกค่าใช้จ่ายในการจัดอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยา อนามัย และการขนส่ง ให้มีจำนวนเพียงพอ โดยปรึกษา กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสัมพันธมิตร ๔.จะรับผิดชอบในการป้องกันรักษาและซ่อมแซมชดใช้ซึ่งทรัพย์สินของสัมพันธมิตรทั้งหมด ๕.ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทางการทหารฝ่ายสัมพันธมิตรในเรื่อง ก.ปลดอาวุธญี่ปุ่นในประเทศไทย และส่งมอบให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ข.ยึดและมอบเครื่องอุปกรณ์ในการสงครามของญี่ปุ่นให้แก่เจ้าหน้าที่ทางการทหารฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งจะได้จัดตั้ง รวมทั้งเรือรบ เรือสินค้าทุกชนิด เครื่องบิน อาวุธ กระสุน ยานยนต์ และยานอื่นๆ คลังทหารต่าง ๆ รวมทั้งน้ำมันที่ใช้ในการบิน และน้ำมันอื่นๆ กับเชื้อเพลิง เสื้อผ้า เครื่องมือเครื่องของวิทยุ และทรัพย์สมบัติอื่นๆ ซึ่งเป็นของกองทัพญี่ปุ่น ๖.ห้ามทำการค้ากับศัตรูของสัมพันธมิตร ๗.ยึดทรัพย์ของญี่ปุ่นทั้งหมด (และศัตรูอื่น) มอบให้กับสัมพันธมิตร ๘.ร่วมมือในการฟ้องร้องและสอบสวนบุคคลซึ่งต้องหาว่าเป็นอาชญากรสงคราม หรือผู้ที่ร่วมมือ กับญี่ปุ่น หรือกับศัตรูของสัมพันธมิตรโดยเปิดเผย ๙.ส่งมอบตัวกบฏซึงเป็นชนชาติสัมพันธมิตรให้แก่เจ้าหน้าที่สัมพันธมิตร ๑๐.จะบำรุงรักษา และพร้อมที่จะช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ฝ่ายสัมพันธมิตร ทั้งทางทัพเรือ ทัพบก และทัพอากาศ ตลอดจนท่าเรือ สนามบิน สิ่งก่อสร้าง เครื่องมือเครื่องใช้ ทางคมนาคม อาวุธและคลังทุกชนิด ตามที่จะได้ระบุ และนอกจากนั้น รวมทั้งสิ้นปลูกสร้างบนพื้นดินและคลังสัมภาระอื่นๆ ตามแต่เจ้าหน้าที่ทหารสัมพันธมิตรจะได้แจ้งความประสงค์เป็นครั้งคราว เพื่อใช้เป็นที่พักทหารในการที่จะเข้ามาปลดอาวุธญี่ปุ่น และเป็นที่เก็บของด้วย ๑๑.จะให้ใช้ท่าเรือและให้ความสะดวกในการจราจรแก่เจ้าหน้าที่ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรในดินแดนไทยได้ตามความประสงค์ ๑๒.จัดการตามความประสงค์ของเจ้าหน้าที่สัมพันธมิตรในการควบคุมหนังสือพิมพ์ ตรวจตรา และควบคุมวิทยุ การติดต่อทางสายต่าง ๆ การติดตั้งหรือกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการคมนาคมภายใน ๑๓.จะดำเนินการปกครองทางพลเรือนต่อไปโดยปฏิบัติตามความประสงค์ของเจ้าหน้าที่ทหารฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติกิจการของเขาได้ ๑๔. ในกรณีที่ต้องการจะให้มีความสะดวกการการเกณฑ์แรงงาน และในการใช้ประโยชน์ในดินแดนไทย ซึ่งการประกอบการอุตสาหกรรมขนส่ง ตลอดจนการคมนาคม โรงไฟฟ้า สาธารณกิจ และความสะดวกอื่น ๆ คลังเชื้อเพลิง และวัตถุอื่น ๆ ตามแต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารสัมพันธมิตรจะแสดงความประสงค์มา ๑๕. เรือสินค้าของชาวไทย ไม่ว่าจะอยู่ในน่านน้ำไทยหรือต่างประเทศ ต้องอยู่ในความควบคุมของสัมพันธมิตร เมื่อสัมพันธมิตรต้องการเพื่อผลประโยชน์ของสัมพันธมิตร ๑๖. ยอมให้จัดตั้งคณะผู้แทนทางทหาร ซึ่งแต่งตั้งโดยเจ้าหน้าที่ทางการทหาร เพื่อเป็นที่ปรึกษาในการจัดกำลัง การฝึก และการจัดเครื่องมือเครื่องใช้กำลังของกองทัพไทย ๑๗. ห้ามไม่ให้นำข้าว ดีบุก ยาง และไม้สัก ออกนอกประเทศชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่สัมพันธมิตรจะเห็นว่าจำเป็น โดยพิจารณาจากเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นอยู่ในขณะนั้น เว้นแต่ในความอำนวยของคณะกรรมการผสมฝ่ายสัมพันธมิตร หรือเจ้าหน้าที่คล้ายกัน ที่จะมาแทนคณะกรรมการคณะนี้ ๑๘. ตลอดเวลาที่โลกยังขาดแคลนข้าว ตามความเห็นของคณะกรรมการผสมสัมพันธมิตร หรือเจ้าหน้าที่สัมพันธมิตร จะต้องปรับปรุงข้าวให้ได้ผลเป็นจำนวนมากที่สุด และจำนวนที่เหลือจะต้องมีไว้ให้กรรมการข้าวสัมพันธมิตร ด้วยราคาที่จะตกลงกับคณะกรรมการข้าว โดยถือราคาควบคุมข้าวที่อยู่ในประเทศอื่นๆในเอเชีย ๑๙. จะตกลงรายละเอียดกับคณะกรรมการข้าวของสัมพันธมิตรในเรื่องเกี่ยวกับวิธีการที่จะให้บังเกิดผลตามข้อตกลงข้างบนนี้ ข้อตกลงดังกล่าวนี้จะต้องกินความถึงรายละเอียดตามภาคผนวกแห่งข้อตกลงนี้ และนอกจากนั้นจะจัดให้มี ก. สัมพันธมิตรจะเข้าควบคุมเพื่อให้กิจการต่างๆที่สัมพันธมิตรต้องการ ให้เป็นไปตามความประสงค์ จนกว่ารัฐบาลไทยจะมีประกันให้แก่สัมพันธมิตร ข. เพื่อให้มีการร่วมมือภายหลังต่อไปอีก ระหว่างรัฐบาลไทยกับคณะกรรมการข้าวสัมพันธมิตร ในการที่จะบริการข้อผูกพันใดๆ ซึ่งได้มีขึ้นแล้วนั้นต่อไป ๒๐. การวางนโยบายการเงินของไทย (รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งกำหนดเมื่อเริ่มต้น) ต้องเป็นไปตามคำแนะนำของผู้แทนฝ่ายสัมพันธมิตร โดยยึดหลักความสะดวกที่จะให้การปลูกข้าวมีผลมากที่สุด และให้บังเกิดอุปโภคอื่นๆ ที่ยังขาดแคลนอยู่ และเพื่อหลีกเลี่ยงการยุ่งยากทางเศรษฐกิจ ๒๑. จะให้ข่าวที่ประสงค์โดยเร็วที่สุด และจะปฏิบัติตามภาคผนวก ซึ่งได้แนบมาด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 130 เมื่อ 13 ธ.ค. 14, 09:32
|
|
ภาคผนวก A
วิธีการซึ่งคิดว่าจำเป็นเพื่อประกันให้จำนวนข้าวเป็นสินค้าออกได้มากที่สุด
(ก) ให้เจ้าของข้าวแจ้งปริมาณข้าวเปลือก และข้าวสาร (ข) ให้คาดคะเนข้าวที่เหลือใช้ในประเทศไทย (ค) เก็บข้าวที่เหลืออยู่หรือได้มาจากองค์การตุนข้าว หรือถ้าจำเป็นให้เกณฑ์ (ง) ให้จัดข้าวที่เหลือนี้ขายให้คณะกรรมการข้าวสัมพันธมิตร ดังปรากฏในข้อ ๑๓ ในราคาที่ไมเกินราคาข่าวของพม่าที่ตั้งไว้ (จ) ห้ามส่งข้าวเปลือกหรือข้าวสารออกนอกประเทศ เว้นแต่จะโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสัมพันธมิตร (ฉ) ห้ามเก็บภาษีสินค้าออกหรือภาษีข้าวสารหรือข้าวเปลือก เว้นไว้แต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ข้าวฝ่ายสัมพันธมิตร (ช) สนับสนุนให้มีการปลูกข้าวให้มากที่สุดในประเทศไทย (ซ) จะทะเบียนโรงสีทุกแห่ง และจำกัดราคาซื้อขายข้าวโรงสีไม่ให้เกินราคาที่กะไว้ (ด) บูรณะโรงสีใหม่โดยทุก ๆ ทางที่สามารถ รวมทั้งการสับเปลี่ยนเครื่องจักรจากโรงสีที่เสียหายมากไปยังโรงสีที่เสียหายน้อย เพื่อให้โรงสี่ที่ ใช้งานได้มีพอเพียงที่จะสีข้าว (ต) ในการขนส่งข้าวจากนาไปโรงสี จากโรงสีไปท่าเรือ ให้มีการขนส่งที่เพียงพอกับข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ (ถ) ให้รีบจัดการบูรณะท่าเรือให้เพียงพอ (ท) ควบคุมการแจกจ่ายเครื่องบริโภค ในลักษณะที่ชักจูงให้เกิดชาวกสิกรรมจำนวนมากที่สุด (น) การควบคุมข้าวข้างบนนี้จะทำชั่วระยะเวลาหนึ่ง จนกว่าความอัตคัดข้าวจะสิ้นสุดลง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 131 เมื่อ 13 ธ.ค. 14, 10:02
|
|
จะเห็นได้ว่าหากไทยต้องปฏิบัติตามนั้นแล้ว ก็จะต้องสูญเสียอธิปไตยทางการทหาร(ข้อ๑ และข้อ๑๖) การศาล โดยสัมพันธมิตรจะเข้ามาร่วมจัดตั้งศาลอาชญาการสงครามในประเทศไทย(ข้อ๘) การปกครอง ต้องเป็นไปตามความประสงค์ของสัมพันธมิตร(ข้อ๑๓) การเศรษฐกิจ ในเรื่องสินค้าออกที่สำคัญของไทย(ข้อ๑๗) โดยเฉพาะเรื่องข้าว ที่ต้องขายให้สัมพันธมิตรในราคาที่เขากำหนด(ข้อ๑๘ และ ๑๙) การเงิน การคลัง จะต้องดำเนินนโยบายตามที่เขาจะแนะนำ(ข้อ๒๐)
ทั้งนี้ ไม่มีการกำหนดเวลาแน่นอนว่าจะสิ้นสุดพันธะกันได้เมื่อไหร่ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Anna
|
ความคิดเห็นที่ 132 เมื่อ 13 ธ.ค. 14, 20:25
|
|
อ่านแล้วเดือดปุดๆ  หน็อย! ทำยังกะเราเป็นเมืองขึ้น ขอโทษค่ะ...เผลอสติหลุดไปนิด 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 133 เมื่อ 14 ธ.ค. 14, 07:06
|
|
คือเขาก็คิดอย่างนั้นกลายๆแหละครับ
เรื่องนี้ทำให้นายปรีดีต้องวางหมากการเมืองใหม่ ให้นายทวี บุณยเกตุลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลีกทางให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาและหัวหน้าเสรีไทยที่รัฐบาลอเมริกันรับรอง เข้ามารับหน้าเสื่อเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศแทน โดยหวังว่าจะมีประโยชน์ในการเจรจาต่อรองกับอังกฤษ
หลังจากการเข้ารับตำแหน่งดังกล่าวเพียง ๕ วัน อังกฤษก็ให้ทูตเข้าพบเพื่อแจ้งว่า ให้รัฐบาลไทยส่งคณะทูตไปแคนดี้ เพื่อเจรจาเกี่ยวกับการคืนความสัมพันธ์ระดับปกติระหว่างอังกฤษกับไทยต่อโดยเร็วที่สุด รัฐบาลไทยจึงแต่งตั้งคณะผู้แทนซึ่งส่วนใหญ่ก็คือบุคคลหน้าเดิมยกเว้นตัวประธาน ซึ่งเปลี่ยนจาก พลเอกหลวงเสนาณรงค์ ซึ่งเป็นทหาร ไปเป็นหม่อมเจ้าวิวัฒน์ไชย ไชยันต์ (ต่อมาทรงเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย) ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์การเงิน ขาดนาวาอากาศโท ทวี จุลละทรัพย์ไปคนเดียว ทำให้ท่านน้อยใจอยู่ไม่น้อยสังเกตุได้จากบันทึกของท่าน แต่เรื่องนี้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าอังกฤษเคืองๆอยู่ในเรื่องคราวที่แล้ว ขืนไปให้เห็นหน้าเห็นจะมีรายการเสียมู๊ด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 134 เมื่อ 14 ธ.ค. 14, 08:38
|
|
ครั้งแรกที่ผู้แทนคณะนี้ไปเจรจา ปรากฏว่าฝ่ายไทยก็ได้รับร่างสัญญาฉบับใหม่หนักไปกว่าเดิมอีก จากคราวที่แล้ว ๒๑ข้อ อังกฤษเรียบเรียงใหม่เป็น ๕๑ข้อ นำไปสู่ความเข้าใจของไทยว่าอังกฤษโกรธที่นำความไปบอกสหรัฐ ข้อที่เพิ่มให้ชัดเจนจากครั้งที่แล้วก็คือ ไทยจะต้องให้ข้าวแก่อังกฤษเป็นจำนวน ๑ล้าน ๕แสนตันโดยไม่คิดราคา มูลค่าขณะนั้นไม่ต่ำกว่า ๒๕๐๐ล้านบาท เดี๋ยวนี้เป็นเท่าไหร่คงต้องคงต้องลองเทียบกับราคาก๋วยเตี๋ยวชามละบาทในสมัยเดียวกันดู โดยอังกฤษอ้างว่าจะนำไปเลี้ยงดูผู้ที่อดอยากยากจนจากผลกระทบจากสงครามทั่วโลก ที่อยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ
ผู้แทนไทยได้ส่งร่างสัญญาฉบับนี้มาให้รัฐบาลพิจารณาอย่างด่วน แม้ว่าอังกฤษจะบอกว่าแก้ไขถ้อยคำน่ะได้ แต่ถ้อยความแก้ไขไม่ได้ รัฐบาลไทยก็ยังยืนยันที่จะขอให้แก้ไขหลายข้อ โดยเฉพาะเรื่องจำนวนของข้าวที่ไทยขอลดหย่อนบ้าง เพราะไทยได้บริจาคข้าวผ่านอังกฤษไปแล้ว ๒๔๐,๐๐๐ตันครั้งสงครามเลิกใหม่ๆ หากต้องกระทำตามที่ถูกบังคับ ไทยอาจจะกลายเป็นประเทศยากไร้ต้องขอรับบริจาคเสียเอง ฝ่ายอังกฤษจึงยอมรับไปปรึกษากับทางลอนดอน การเจรจาเริ่มยืดเยื้อ แต่ในที่สุดอังกฤษก็แจ้งว่า ถ้าไทยยอมรับเรื่องข้าว อังกฤษก็จะยอมแก้ไขเรื่องอื่นๆที่ไทยขอไป
เมื่อไม่ได้ข้อยุติ คณะผู้แทนไทยจึงขอกลับกรุงเทพก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|