เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
อ่าน: 19976 โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 02 ธ.ค. 18, 14:48

1.2 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage) ที่บ้างก็แปลตามตัวอักษรว่า “มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” นิยามแบบยาวๆ ก็คือ “การปฏิบัติ การเป็นตัวแทน การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรม อันเป็นผลจากสิ่งเหล่านั้น ซึ่งชุมชน กลุ่มชน และในบางกรณี ปัจเจกบุคคล ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน ซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง มีการทำซ้ำและพัฒนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน เป็นปฏิสัมพันธ์ของพวกเขาที่มีต่อธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของตน และทำให้คนเหล่านั้นเกิดความรู้สึกมีอัตลักษณ์ปละความต่อเนื่อง” อันนี้แหละ ที่ทั้งกัมพูชาและไทย ยื่น “โขน” ของตัวเองไป “ขึ้นทะเบียน”

โขนไทยที่ยื่น เป็นโขนแบบแผน โขนราชสำนัก ขณะที่โขนกัมพูชา ที่เรียกว่า “ละครโขน” เป็นโขนวัด โขนชาวบ้าน รูปแบบการแต่งกาย การแสดง ไม่ได้เหมือนกัน และไม่ได้แย่งชิงตำแหน่งอะไรกันทั้งสิ้น

1.3 มรดกความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World) อันนี้เป็นแผนงานที่ยูเนสโก กำหนดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 เพื่อการอนุรักษ์และการเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาของโลก ที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกไว้ในรูปแบบใดหรือของประเทศใดก็ตาม ถือว่าเป็นแหล่งรวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลาย จากสังคมในอดีตให้แก่สังคมปัจจุบัน และเพื่อที่จะสืบสานส่งต่อให้แก่สังคมในอนาคต โดยมี 3 มาตรการรองรับ คือ เพื่ออำนวยความสะดวกในการอนุรักษ์โดยวิธีที่เหมาะสมที่สุด, เพื่อช่วยเหลือให้มีการเผยแพร่เอกสารมรดกอย่างกว้างขวางที่สุด และเพื่อเผยแพร่ความตระหนักในความสำคัญของเอกสารมรดกอย่างกว้างขวางทั่วโลก

ในประเภทนี้ ของไทยเราได้รับการรับรองให้ขึ้นทะเบียนไว้ไม่น้อย อาทิ ศิลาจารึกหลักที่ 1 (พ่อขุนรามคำแหง), เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสยาม (พ.ศ. 2411-2453), จารึกวัดโพธิ์, ฟิล์มกระจกหลวงและภาพต้นฉบับ เป็นต้น

1.4 อุทยานธรณี (Geopark) คือ พื้นที่ที่ประกอบไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญอย่างโดดเด่นทางด้านธรณีวิทยา (geology) รวมถึงคุณค่าทางด้านโบราณคดี (archaeology) นิเวศวิทยา (ecology) และวัฒนธรรม (culture) ที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ ด้วย โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้

• อุทยานธรณีระดับท้องถิ่น (Local Geopark) หมายถึงอุทยานธรณีที่มีคุณสมบัติด้านธรณีวิทยาตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติอุทยานธรณีระดับท้องถิ่น

• อุทยานธรณีระดับจังหวัด (Provincial Geopark) หมายถึงอุทยานธรณีที่มีคุณสมบัติด้านธรณีวิทยาตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติอุทยานธรณีระดับจังหวัด และมีแผนการบริหารจัดการอุทยานธรณี

• อุทยานธรณีระดับประเทศ (National Geopark) หมายถึง อุทยานธรณีที่มีคุณสมบัติด้านธรณีวิทยาตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติอุทยานธรณีระดับประเทศ และมีการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 02 ธ.ค. 18, 14:51

• อุทยานธรณีระดับโลก (Global Geopark) หมายถึง อุทยานธรณีที่มีคุณสมบัติด้านธรณีวิทยาตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติอุทยานธรณีระดับโลก

อุทยานธรณีสตูล จังหวัดสตูล ได้รับการประกาศเป็น “อุทยานธรณีระดับประเทศ” ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2559 และทางยูเนสโกได้ส่งคณะเจ้าหน้าที่มาทำการประเมินในปี 2560 จนในที่สุด ยูเนสโกก็ได้ประกาศให้อุทยานธรณีสตูล เป็น “อุทยานธรณีโลก” หรือ Satun UNESCO Global Geopark แห่งแรกของประเทศไทย ทั้งยังเป็นอุทยานธรณีโลกประเทศที่ 36 ของโลก เป็นแหล่งที่ 5 ของอาเซียนอีกด้วย

สรุปว่า ในทุกประเภทที่ยูเนสโก รับขึ้นทะเบียน ของไทยเรามีครบหมดทุกประเภท

2) ดราม่าโขนไทย-กัมพูชา สิทธิในการขอขึ้นทะเบียนและผลเมื่อยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนแล้ว

เรื่องนี้ Sun Thathong โพสต์เฟซบุ๊คในประเด็น “ขอเคลียร์ #ดราม่า #โขน ไทย-กัมพูชา” ว่า

1. การขึ้นทะเบียนของ กพช. ไม่กระทบ “สิทธิ์” ทางกฎหมายใดๆ ของไทย

อย่างแรกโปรดสังเกต ผมใช้คำว่า “ขึ้นทะเบียน” ไม่ใช่ “จดทะเบียน” การ “ขึ้น” ทะเบียนไม่ใช่การอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของเหนือมรดกทางวัฒนธรรมนั้นๆ แต่อย่างใด ซึ่งแตกต่างจากการ “จด” สิทธิ์ (อาทิ สิทธิบัตร) การขึ้นทะเบียนเป็นเพียงการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับมรดกฯ นั้นๆ ว่ามีคุณค่าต่อมนุษยชาติ/ชุมชน คู่ควรแก่การรักษา เชิดชู ไม่ได้เป็นการห้าม ปท. อื่นใช้/แบ่งปัน/ปฏิบัติ/อ้างความเป็นเจ้าของแต่อย่างใด จริงๆ แล้ว นี่คือวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage Convention) ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์ ไม่ใช่การให้สิทธิ์ความเป็นเจ้าของ

โปรดอย่าสับสนระหว่างระบบของอนุสัญญาฯ ภายใต้ UNESCO กับระบบทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้ WIPO/WTO ที่ให้ exclusive rights ความเป็นเจ้าของแก่ผู้จดสิทธิ์รายบุคคล โปรดสังเกตด้วยว่า การ “ขึ้น” ทะเบียนมรดกฯ กระทำได้โดยรัฐเท่านั้น ส่วนการ “จด” สิทธิ์เหนือสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมนั้นกระทำได้โดยบุคคลหรือนิติบุคคลไม่ใช่รัฐ ต่างกันอย่างมาก โปรดอย่าสับสน และที่สำคัญ มันจะมี “ชัยชนะ” ได้อย่างไร ในเมื่อมันไม่มีการแข่งขันกันตั้งแต่ต้น?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 02 ธ.ค. 18, 14:52

2. อย่าลืมว่า ไทยก็ได้ขึ้นทะเบียน และสังเกตให้ดีด้วยว่า มันคนละ list กันกับของกัมพูชา

ก่อนอื่น เราต้องมาทำความรู้จักกับระบบของอนุสัญญาฯ คือว่า ภายใต้อนุสัญญาฯ มันมีระบบการขึ้นทะเบียน 2 lists คือ 1. List of Intangible Cultural Heritage in Need of Urgent Safeguarding และ 2. Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity

List แรกนั้น มีไว้สำหรับมรดกทางวัฒนธรรมที่เสี่ยงต่อการ “สูญพันธุ์” หากไม่ได้รับการคุ้มครองดูแลเร่งด่วน จะสูญหายไป การขึ้นทะเบียน list นี้ จะได้รับ priority ในการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลมรดกทางวัฒนธรรมของโลกโดยเฉพาะภายใต้ UNESCO อาทิ ขอความช่วยเหลือด้านเทคนิคในการเก็บบันทึกข้อมูล ขอความรู้ด้านการวางแผนบริหารจัดการ ขอความช่วยเหลือด้านการฝึกอบรม ฯลฯ

ส่วน List ที่สองนั้น มีไว้สำหรับมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าต่อมนุษยชาติและต่อชุมชนผู้เป็นผู้รักษาสืบทอดมรดกฯ นั้นๆ ส่วนใหญ่รัฐจะขอขึ้นทะเบียนนี้ เพื่อเพิ่ม visibility และเป็นการประชาสัมพันธ์มรดกฯ ของตน เพราะมรดกฯ ที่ขึ้นทะเบียนจะได้รับการเผยแพร่บนเว็บของ UNESCO และมีการลงวีดีโอ รัฐสามารถใช้การขึ้นทะเบียนเป็นเครื่องมือส่งเสริมการท่องเที่ยว ฯลฯ การขึ้นทะเบียนที่สองนี้ ก็สามารถขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนฯ ได้เช่นเดียวกับมรดกฯ ใน list แรก เพียงแต่จะต้องให้ priority แก่มรดกฯ ใน list แรกก่อนเท่านั้น

ข้อเท็จจริงคือ กัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนใน list แรก ส่วนไทยก็ได้ขึ้นทะเบียนเหมือนกัน แต่เป็น list ที่สอง (เสนอขอขึ้นทะเบียนคนละประเภทกันตั้งแต่ต้น)* ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเลย เพราะว่า (ดูคำชี้แจงในข้อ 3 ด้านล่างประกอบด้วย) สิ่งที่ กพช. ขอขึ้นทะเบียนนั้นมันใกล้ “สูญพันธุ์” จริงๆ ช่วงเขมรแดง/สงคราม มันทำให้มรดกฯ ชิ้นนี้ขาดผู้สืบทอดมากขึ้นทุกทีๆ จนตอนนี้เหลืออยู่แค่ชุมชนเดียว ย้ำ“แค่ชุมชนเดียว” ส่วนโขนของไทย โอ้ยยยย.... เมื่อเทียบกับของกัมพูชา มันอย่างฟ้ากับดิน เรามีนโยบายอนุรักษ์และส่งเสริมมาอย่างต่อเนื่อง (อาจขาดช่วงไปบ้างตอนยุคเปลี่ยนระบอบฯ แต่ก็ยังมีชีวิตอยู่และอยู่ใน nation-wide scale)

ดังนั้น หากมองจากมุมมองที่เป็นกลาง ก็สมควรแล้ว ที่มรดกฯ ของกัมพูชา จะได้ขึ้นทะเบียนแรก เพราะเขาต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุนเพื่อความอยู่รอดจริง ๆ โปรดอย่าอิจฉาโดยใช่เหตุ โปรดอย่าเหมารวมว่าเขา “ขโมย” ของๆ เรา และโปรดอย่าคิดว่าสิ่งที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมไทยนั้น มันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทยคนเดียว! เราไม่ได้อยู่ในเกาะนะครับ แต่โบราณกาล วัฒนธรรมมันลื่นไหล ผสมผสาน ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนกันระหว่างกลุ่มคน ข้ามเส้นเขตแดนที่สมมุติขึ้นภายหลัง และนี่เป็นสิ่งสวยงาม!

3.มรดกฯ ที่กัมพูชาขึ้นทะเบียน มันต่างกับ “โขน” ของไทยอย่างมีนัยสำคัญ

ท้ายที่สุด และสำคัญที่สุด ท่านควรเข้าไปศึกษารายละเอียดข้อเท็จจริงให้ถ่องแท้ก่อนที่จะด่วนสรุปว่ากัมพูชา เขา “ชิง” อะไรของเราไป มรดกฯ ของกัมพูชา ชื่อว่า “Lkhon Khol Wat Svay Andet” ส่วนของไทยใช้ชื่อว่า “Khon, masked dance drama in Thailand”

สรุปสั้น ๆ คือ “Lkhon Khol” ของกัมพูชา เป็นมรดกฯ จำกัดอยู่แค่เฉพาะชุมชนเล็กๆ ชุมชนเดียว แถววัด “Svay Andet” ผู้แสดงเป็นชาวบ้านและเป็นชายล้วนทั้งหมด และจะแสดงเพื่อขอพรและเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชุมชนชาวนา

ส่วนโขนของไทยเป็นศิลปะการแสดง เป็น “high art cultivated by the Siamese/Thai courts” แสดงได้ทั้งเพื่อความสนุกสนาน เพื่อเทิดพระเกียรติ หรือใช้ในงานมหรสพต่างๆ แสดงได้ทั้งชายและหญิง และถือเป็นมรดกของคนทั้งชาติ

Lkhon Khol และโขน แม้จะมีความเหมือนในภาพลักษณ์ แต่ก็มีความต่างในวัตถุประสงค์และรูปแบบไม่ใช่น้อย อย่างไรก็ดี ทั้งสองล้วนแต่มีความสำคัญกับกลุ่มคนผู้สืบทอดทั้งนั้น และแน่นอนว่ามีรากฐานมาจากกลุ่มคนเดียวกัน พี่น้องกัน

แทนที่เราจะมาเถียงกันเรื่องความเป็นเจ้าของ และตกเป็นเหยื่อของชาตินิยมสุดโต่ง อันบั่นทอนความสัมพันธ์ฉันญาติมิตรระหว่างไทยกับกัมพูชา เราควรหันมาฉลองมรดกทางวัฒนธรรมที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกัน เห็นความเหมือนในความแตกต่าง ชื่นชม เชิดชู และเคารพซึ่งกันและกัน เพราะในที่สุดแล้ว ไม่ว่าไทย กัมพูชา หรือชาติไหนๆ ก็เป็นคนเหมือนกัน วัฒนธรรมไทย กัมพูชา หรือชาติไหนๆ ก็ถือเป็นวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ที่ควรเป็นเหตุแห่งการเฉลิมฉลอง ไม่ใช่การทะเลาะกันนะครับ! // ด้วยความปรารถนาดี จากนักศึกษาวิชากฎหมายมรดกทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศคนหนึ่ง”

ทั้งหมดที่ผมรวบรวมมานี้ เพื่อสร้าง “ความเข้าใจที่ถูกต้อง” ต่อการขึ้นทะเบียน “มรดก” ประเภทต่างๆ ของยูเนสโก ซึ่งหัวใจสำคัญ ไม่ใช่เพื่อสร้าง “ความลำพอง-ลุ่มหลง” หรือ “คลั่งชาติ” ของตน ว่ายิ่งใหญ่เก่าแก่ดีเลิศกว่าใครไหน

แต่เพื่อให้มนุษยชาติตระหนักร่วมกันว่า มนุษย์และโลกที่เขาอยู่อาศัย พึ่งพิงและขัดเกลากันมานาน แปรเปลี่ยน ขัดเกลา ให้เกิดความงามทั้งกายภาพและวัฒนธรรม ตลอดจนจิตวิญญาณอันควร
ที่คนรุ่นหลังพึงหยั่งรู้ เรียนรู้ รักษา และส่งต่อไปยังคนรุ่นถัดไป

การประกาศขึ้นทะเบียน จึงมุ่งสร้างความตระหนักในคุณค่าร่วมกัน ไม่ใช่เอามาข่มกันหรือขัดแย้งกัน อย่างที่บางคนกำลังเป็น!!


https://www.naewna.com/politic/columnist/38100
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 02 ธ.ค. 18, 15:20

ก่อนอื่น เราต้องมาทำความรู้จักกับระบบของอนุสัญญาฯ คือว่า ภายใต้อนุสัญญาฯ มันมีระบบการขึ้นทะเบียน 2 lists คือ 1. List of Intangible Cultural Heritage in Need of Urgent Safeguarding และ 2. Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity

ความจริงมี ๓ รายการ

การขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage of Humanity) ของ UNESCO มีทั้งหมด ๓ ประเภท คือ

๑. รายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ (Representative List)
๒. รายการที่ต้องได้รับการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วน (Need of Urgent Safeguarding List)
๓. รายการมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการสงวนรักษา (Register of Good Safeguarding Practice)

https://en.wikipedia.org/wiki/UNESCO_Intangible_Cultural_Heritage_Lists
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 02 ธ.ค. 18, 16:37

ถ้าเปิดลิงก์ข้างบน ดูในรายการแรก Representative list of the Intangible Cultural Heritage of Humanity หลายวัฒนธรรมได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของมนุษยชาติร่วมกันได้ โดยไม่ต้องทะเลาะเบาะแว้งกัน อย่างเช่น เนารูซ หรือ การฉลองเทศกาลปีใหม่แบบเปอร์เซีย สามารถขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติในนามประเทศต่าง ๆ ถึง ๑๒ ประเทศ



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.035 วินาที กับ 20 คำสั่ง