เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 20074 โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 30 พ.ย. 18, 07:34

ในเอกสารที่กัมพูชาเสนอต่อคณะกรรมการฯ ระบุว่า ทุกวันนี้มีครูละครโขลสูงวัยอยู่เพียง ๕ คน แต่ละคนอายุราว ๗๐-๘๐ ปี แม้ทุกวันนี้ยังมีการฝึกสอนเยาวชนอยู่ แต่ผลกระทบจากการปกครองโดยเขมรแดง ก็ทำให้ไม่สามารถฝึกสอนบทสำคัญ เช่น พระราม พระลักษณ์ นางสีดา ได้

กัมพูชาได้ระบุไว้ด้วยว่าขอให้ UNESCO ช่วยสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนบ้านด้วย

ข้อความทั้งหมดในเอกสารสามารถอ่านได้จากลิงก์ข้างล่าง

https://ich.unesco.org/doc/download.php?versionID=47550

เรื่องที่จะดำเนินต่อไปมีแนวโน้มว่า ไทยอาจจะต้องเป็นครูสอนโขนให้เขมรอีกคราหนึ่ง ดังข้อสังเกตของคุณ YPG แห่งพันทิป  ยิงฟันยิ้ม

https://pantip.com/topic/38052931
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 30 พ.ย. 18, 09:35

จาก FB ของคุณ Kornkit Disthan

30 สิงหาคม

ปัญหาของ Troll คลั่งชาติจากกัมพูชาคือ ไม่ค่อยจะหาความรู้ใส่ตัว ทั้งๆ ที่ปัจจุบันจะศึกษาที่มาของโขนไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ถ้าไม่เชื่อหลักฐานฝ่ายไทย ก็ศึกษาจากงานวิจัยของสถาบันระดับโลกได้ ล้วนแต่บอกว่า "ลโคนโขล" ของเขมรรับไปจากโขนของไทย

แต่ผมไม่อยากทวงหรอกครับ โขนไทยเหมือนรากแก้ว ลโคนโขลเหมือนรากฝอย ความยิ่งใหญ่โอฬารมันเทียบกันไม่ติด มองด้วยตาก็เห็นชัดว่าความละเอียดสู้กันไม่ได้ โชคร้ายที่เขมรหลายคนถูกอาการคลั่งชาติบังตา จึงมองไม่เห็นข้อเท็จจริง มีแต่ปัญญาชนเขมรเท่านั้นที่เห็น แม้จะน้อยแต่ก็ใช่ว่าไม่มีเลย

ดังนั้นเราไม่ควรเสวนากับคนที่มืดบอดทางปัญญา พึงสนทนาอย่างคนมีความรู้จะดีกว่า

ไทยเรียกโขน เขมรเรียกลโคนโขล โปรดสังเกตว่าแค่คำเรียกก็ต่างกันแล้ว มิพักจะเอ่ยว่าคำ ลโคนโขล (ល្ខោនខោល) ของเขมรมันก็คำมาจากไทยเสียครึ่งหนึ่ง

ในพจนานุกรมฉบับสมเด็จพระสังฆราช (จวน นาถ) แห่งกัมพูชา ท่านอธิบายว่า

ลโคน (ល្ខោន) เป็นคำนามศัพท์ มาจากภาษาสยาม (ភាសាសៀម) มาจากคำว่า ละคร (លះគរ) อ่านว่า ละคร (ល៉ៈខន) - หมายเหตุ คำหลังสะกดด้วย ข เพราะตัว ค ในภาษาเขมรออกเสียงก้องแบบ ก

โขล (ខោល) เป็นคำนามศัพท์ หมายถึง พวกละครบุรุษ (รำเรื่องรามเกียรติ์) เรียกว่า ลโคนโขล - หมายเหตุ ผมแปลคำอธิบายตรงๆ จากพจนานุกรม

พจนานุกรมนี้เป็นที่ยอมรับอย่างสูงทั้งในกัมพูชาและต่างประเทศ ใครจะกล้าเถียงสมเด็จพระสังฆราช (จวน นาถ) พหูสูตแห่งกรุงกัมพูชาธิบดีเล่า?

พิเคราะห์จากศัพท์ ผมคิดว่า โขล (ออกเสียงว่า เขาล) ที่เขมรบอกว่าใช้ผู้ชายเล่น ตรงกับที่ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวว่า เดิมโขนนั้นผู้ชายเล่น แต่ครูผู้ชายเสียไปหมดสมัยรัชกาลที่ ๓ เพราะรัชกาลที่ ๓ ไม่ทรงโปรดละคร ในรัชกาลที่ ๕ มีการฟื้นฟูจึงต้องใช้ครูผู้หญิง (ละครใน) มาสอนท่ารำโขนจึงไม่ขึงขังดังเดิม

ต่อมานักองค์ด้วง เจ้าเขมรในบางกอกกลับไปครองแผ่นดินในรัชกาลที่ ๓ ก็ทูลขอครูโขนในราชสำนักไทยไปสอนที่กัมพูชาด้วย (เรียกว่า ละครพระราชทรัพย์ หรือ ละครหลวง ល្ខោនហ្លួង คำหลังเป็นภาษาไทย ตามที่พจนานุกรมฉบับสมเด็จพระสังฆราชระบุไว้) ชะรอยว่าจะเป็นทีมงานผู้ชาย นิยามของ "โขล" ของเขมรจึงบอกว่าเป็นพวกละครบุรุษ

ดังนั้น นาฏศิลป์นี้เขมรรับมาจากกรุงเทพฯ แน่นอนล้านเปอร์เซนต์ด้วยหลักฐานลายลักษณ์อักษรฝ่ายไทย และการยืนยันจากปากของคนละครในวังชาวเขมรเอง

หลักฐานที่ทนโท่ที่สุดคือเทปสัมภาษณ์ครูละครโขนชาวเขมรโดย Khmer Dance Project ล้วนแต่บอกว่าโขนมาจากไทย สอนด้วยภาษาไทย และร้องเพลงไทย

ท่าน Son Soubert นักการเมืองคนสำคัญและนักชาตินิยมเขมร ยังบอกว่า เคยได้ยินคนละครร้องเพลงไทย และบอกว่า "เราควรจะตระหนักว่าองค์ด้วงเคยอยู่ที่บางกอก พระเจ้าแผ่นดินไทยช่วยให้องค์ด้วงได้บัลลังก์กัมพูชา ขับไล่พวกเวียดนามออกไป เมื่อองค์ด้วงกลับมาก็ทรงพาคนไทยมาด้วย (และพูดถึงการนำเข้านิกายธรรมยุติ) จะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ในเวลานั้นกัมพูชาอยู่ใต้อิทธิพลไทย" ท่านยังบอกว่า ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ต้นศตวรรษที่ 20 เพลงละครร้องเป็นภาษาไทย เพิ่งจะเปลี่ยนเป็นภาษาเขมรในสมัยพระเจ้าสีสุวัตถิ์ ในอดีตยังไม่ใช่พิณพาทย์เขมร แต่ใช้ปี่พาทย์ ไทย ท่าน Son ยังตั้งข้อสังเกตส่วนตัวว่า เดิมไทยรับไปจากกัมพูชา แล้วรักษาไว้ จากนั้นส่งคืนกลับกัมพูชา

Em Theay นางละครเก่าในวังหลวง บอกว่าไม่รู้ว่าครูสอนละครมาจากไหน แต่ในวังหลวงพูดภาษาไทยกันทั้งนั้น เจ้าแผ่นดินก็พูดไทย (ตัวท่านเองก็รู้เพลงไทย)

Yit Sarin ครูโขนวัดสวายอัณแดตบอกว่า ท่านก็อยากรู้ว่าโขนสำนักท่านมาจากไหน จึงถามครู ปรากฎว่าครูของท่านไปเรียนท่ารำมาจากเมืองไทย (ตอนไปพนมเปญปีที่แล้ว ผมซื้อหนังสือเรื่องโขนวัดสวายอัณแดตมาด้วย ถามว่ามีเขมรคนไหนได้อ่านบ้าง?) หลังถูกเขมรแดงกำจัดไป ปัจจุบันโขนวัดสวายอัณแดตเป็นลโคนโขลท้องถิ่นแห่งเดียวที่เหลืออยู่ และเชื่อว่าสืบทอดมาแต่ครั้งหลังองค์ด้วงสุรคต เมื่อสุรคตแล้วคนละครชายล้วนในราชสำนักไปตั้งกลุ่มในชนบท

นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของปากคำเท่านั้น

ไทยรับวัฒนธรรมเขมรมาก็ไม่เคยโกหกว่าไม่ได้รับมา เพราะปัจจุบันไทยเราเริ่มตระหนักในความหลากหลายทางประวัติศาสตร์ และความหลากหลายมันเป็นดีเอ็นเอหนึ่งของวัฒนธรรมไทยไปแล้ว

เขมรรับละครจากไทยไปก็ไม่ควรจะโกหกเช่นกัน ความจริงไม่มีวันตาย คนที่ไม่รับความจริงต่างหากที่จะละอายในภายหลัง ทั้งยังเป็นการทำลายประวัติศาสตร์ตัวเอง ดูถูกบรรพชน และครูของบรรพชน อย่าลืมว่า คนละครเขานับถือครูกันมาก ไปตู่ครูท่านไม่ได้

อาจกล่าวได้ว่า โขนจึงไม่ใช่ของเขมร และลครโขลก็ไม่ใช่ของไทย แม้ว่ามันจะมาจากไทย ครูอาจารย์เขมรได้คิดเติมขึ้นมา แปลงคำพากษ์และเพลงร้องจากไทยเป็นเขมร หากท่านยังจำได้ไม่ลืมว่าครูคือไทย

เหมือนละครมโหรี งะงักกุ (雅楽) ของญี่ปุ่น รับมาจากมโหรีหงาง็อก (雅樂) สมัยราชวงศ์สุยของจีน แต่ปรับให้เป็นของตัวเอง

งะงักกุ กับหงาง็อก มันเป็นคำเดียวกัน แต่ออกเสียงต่างกัน เหมืองโขนกับโขลนั่นเอง และจีนถ่ายวิธีเล่นให้ ญี่ปุ่นรักษาของเดิมเป็นแกน แต่ต่อยอดจนมีเอกลักษณ์เฉพาะ พอจะจดทะเบียนกับ UNESCO เป็น Oral and Intangible Heritage of Humanity ก็ไม่เห็นจีนจะโวยวาย เอ็งขโมยของข้ามา

เขาไม่ทำ เพราะแสดงถึงความโง่เขลาทางวัฒนธรรมไงครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 30 พ.ย. 18, 11:11

จาก FB ของคุณ Kornkit Disthan

https://www.facebook.com/719626953/posts/10155595175501954/
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 30 พ.ย. 18, 11:12

เมื่อวานคุณกรกิจ ดิษฐานก็ได้เขียนแนะนำละครโขลวัดสวายอันเดตของเขมร  ที่เพิ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

หนังสือ "ละเขานเขาล วัตตสวายอัณแดต" (ល្ខោនខោល វត្តស្វាយអណ្ដែត) ซื้อมาจากกัมพูชา ว่าด้วยละคอนโขลวัดสวายอัณแดตของเขมรที่ยูเนสโกเพิ่งจะขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม

ตอนนี้ไม่ต้องดราม่าแล้วนะครับ เขมรกับไทยได้ไปทั้งคู่ และส่งชิงกันคนละสาขา ของไทยเป็นสาขาเอกลักษณ์ของชาติ ของเขมรเป็นสาขาใกล้สาบสูญ

ส่วนเรื่องใครเป็นต้นตำรับว่ากันตามหลักฐาน ซึ่งหลักฐานมี จะมาเหมาว่าเป็น "วัฒนธรรมร่วม" หมดไม่ได้หรอก

เคยเขียนไปตั้งแต่วิวาทะโขนไทย -โขลเขมรเมื่อหลายเดือนก่อนว่า คณะวัดสวายอัณแดตเรียนมาจากขนบโขนไทยโบราณในราชสำนักกัมพูชาที่นักองค์ด้วงขอมาจากราชสำนักบางกอก เป็นโขนชายล้วนซึ่งต่อมาของไทยขาดผู้สืบทอดไป ซึ่งคณะนี้เป็นคณะเชลยศักดิ์  ต่อมาสิ้นองค์ด้วงแล้วคณะผู้ชายหมดความนิยมลง ในราชสำนักเขมรจึงเลิกเล่นโขนผู้ชายเหมือนบางกอก พวกมหาดเล็กเก่าเอาของในวังมาเล่นกันต่อนอกวัง จึงเหลือเวอร์ชั่นชายที่วัดสวาย

ต่อมาละคอนโขลเขมรเจอพิษภัยสงคราม ครูละครดี ๆ หายไปเกือบหมด คณะวัดสวายอัณแดตรอดมาได้คณะเดียว แต่เพราะมันเป็นคณะเชลยศักดิ์ เครื่องแต่งกาย หัวโขนเป็นของพื้นบ้านไปหมด (ทั้งยังนิยมเล่นตอนกุมภกรรณทดน้ําเป็นหลัก) เทียบไม่ได้กับโขนหลวง ยิ่งไม่ต้องเทียบกับต้นฉบับคือของไทย

แต่คณะวัดสวายอัณแดตไม่ใช่ของไทย มันมีวิวัฒนาการของตัวเองที่ห่างจากไทยมาพอสมควรแล้วโดยเฉพาะเครื่องแต่งกายที่ออกพื้น ๆ ตอนนี้ยังหาคนสืบทอดได้ยาก ทางกัมพูชาขอให้ยูเนสโกประสานงาน "เพื่อนบ้าน" ให้ไปช่วยอนุรักษ์ ซึ่งผมเข้าใจว่าไทยนั่นเอง (ก็เรียกไทยไปเลยง่ายกว่า) ปัญหาคือ โขนไทยวิจิตรพิสดารกว่า เกรงว่าจะครอบของพื้น ๆ เวอร์ชั่นเขมรจนเสียของเดิมไป

ที่เรียกว่าวัฒนธรรมร่วมมันร่วมแค่บทรามเกียรติ์นะครับ รายละเอียดปลีกย่อยของใครของมัน

https://www.facebook.com/719626953/posts/10155783160861954/


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 30 พ.ย. 18, 11:42

ลโคนโขล

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 30 พ.ย. 18, 11:49

อีกชุดหนึ่งค่ะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 30 พ.ย. 18, 11:51

มาดูโขนไทยบ้าง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 30 พ.ย. 18, 11:53

ชอบฉากนี้และตอนนี้มากค่ะ  เลยเอาคลิปมาให้ดูกัน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 30 พ.ย. 18, 12:03

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 30 พ.ย. 18, 15:58

ละครโขลวัดสวายอันเดต เป็นการแสดงของชุมชนแห่งหนึ่งห่างจากกรุงพนมเปญไปทางตะวันออกราว ๑๐ กิโลเมตร ชุมชนนี้เป็นชุมชนเกษตร และทุกปีจะต้องจัดการแสดงละครโขล เพื่อบวงสรวง “เนียกตา” ผู้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน ผู้จะบันดาลให้การเพาะปลูกได้ผลดี การแสดงมีลักษณะเป็นพิธีกรรมสูง มีการเข้าทรง และละครโขลต้องแสดงจนเป็นที่พอใจของเนียกตา

http://oknation.nationtv.tv/blog/paikaew/2018/11/30/entry-1

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 02 ธ.ค. 18, 10:41

นี้เป็นข้อความจากหน้าฟบ. อ.Surapone Virulrak (สุรพล วิรุฬห์รักษ์)

              การที่ประเทศไทยได้รับการขึ้นทะเบียน โขน เป็นมรดกโลกเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง
ผมใคร่ขออนุญาตทำความกระจ่างตรงนี้สักเล็กน้อย

กล่าวคือ ก่อนวันประกาศผลของประเทศไทยหนึ่งวัน เราก็ได้ทราบข่าวว่าคณะกรรมการสหประชาชาติได้
ประกาศผลการขึ้นทะเบียนมรดกโลก "ละคอลโขล" ของกัมพูชา

อันที่จริง "ละคอลโขล" ของกัมพูชา ถ้าว่าอย่างทางไทย ก็คือละครผู้หญิงเล่นเป็นแนว"ละครใน" สวมหัวคือ"โขน"
แสดงเรื่องรามเกียรติ์ จึงเรียกว่า ละครโขน สหประชาชาติจัดเป็นการแสดงประเภท endanger คืออยู่ในภาวะวิกฤติ
ใกล้จะสาบสูญ จึงจำเป็นต้องจดทะเบียนไว้เป็นมรดกโลกสำคัญ จะได้หาทางคุ้มครองต่อไป

ส่วน "โขน" ของไทย อยู่ในประเภทที่เป็น"ตัวแทนศิลปะการแสดง"ที่มีการทำนุบำรุง การพัฒนา การส่งเสริม อุดมด้วย
ศิลปะวัฒนธรรมประจำชาติ การอนุรักษ์ การสืบทอด การศึกษา การฝึกหัดอย่างเข้มงวด และการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
ดังจะเห็นได้จากโขนพระราชทานของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 รวมทั้งโขนกรมศิลปากร
โขนสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โขนสถาบันอุดมศึกษาและโรงเรียนต่างๆ

ในการจดทะเบียนมรดกโลกส่วนที่เป็นศิลปะที่จับต้องไม่ได้โดยเฉพาะเรื่องโขนคงต้องให้ชื่นชมกับรัฐบาลไทยโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ท่านได้เอาใจใส่มุ่งมั่นดำเนินการมาโดยตลอดแต่ในที่นี้
ผมขออนุญาตชื่นชมคนที่ทำงานหนักที่สุดในเรื่องนี้ อย่างต่อเนื่องมานานหลายปี คือ คุณสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ คณะทำงาน
และคณะเลขานุการ ผมจึงขอเสนอว่ารัฐบาลควรเรียนเชิญท่านมาแถลงความเป็นมา ความละเอียดอ่อนในการดำเนินงาน และ
ความสำเร็จที่เกิดขึ้น เพื่อให้คนทั่วไปได้ทราบและร่วมกันภาคภูมิใจ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกัน

สุรพล วิรุฬห์รักษ์
๑ ธันวาคม ๒๕๖๑
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 02 ธ.ค. 18, 11:51

อันที่จริง "ละคอลโขล" ของกัมพูชา ถ้าว่าอย่างทางไทย ก็คือละครผู้หญิงเล่นเป็นแนว"ละครใน" สวมหัวคือ"โขน"

ตรงนี้ต่างจากที่คุณศรีสรรเพชญ์เขียนไว้ใน เฟซบุ๊กวิพากษ์ประวัติศาสตร์

โขนของกัมพูชาเรียกว่า “ลโคนโขล” (ល្ខោនខោល) คำว่า ลโคน (ល្ខោន) มาจากคำภาษาไทยคือ ละคร ส่วน โขล (ខោល) แปลว่า “ละครผู้ชาย” แตกต่างจากไทยที่เรียกแยก “โขน” กับ “ละคร” เป็นมหรสพคนละประเภทมาตั้งแต่สมัยอยุทธยา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 02 ธ.ค. 18, 12:00

คุณศรีสรรเพชญ์ยังอธิบายเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง ลโคนโขลของเขมร และ โขนของไทย ด้วยว่า

น่าเชื่อว่ากัมพูชาได้อิทธิพลจากโขนของไทยตั้งแต่สมัยอยุทธยาแล้ว เนื่องจากมีการพบคำพากย์รามเกียรติ์อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึง ๒๓ แต่เพิ่งปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงการแสดง “ลโคนโขล” อย่างชัดเจนในรัชสมัยสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี (นักองค์ด้วง) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓ ถึง ๔ ของไทย

เหตุที่กัมพูชาเรียกมหรสพว่าเป็น “ลโคนโขล” ซึ่งหมายถึงละครผู้ชายนั้น ผู้เขียนสันนิษฐานว่าเป็นเพราะได้รับอิทธิพลโขนผ่านทางละครของไทย ทั้งนี้ปรากฏว่าในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ยกเลิกละครหลวง บรรดาเจ้านายผู้มีบรรดาศักดิ์จึงฝึกหัดละครขึ้นเองทำให้ละครเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น เจ้านายหลายองค์แต่เดิมทรงฝึกหัดโขนอยู่ก่อน ก็หัดโขนให้เล่นละครด้วย ครูโขนหลายคนก็ผันตัวมาเป็นครูละคร เช่น นายเกษ เป็นตัวพระราม เป็นโขนข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นครูละครของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ ในรัชกาลที่ ๓

เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ก็หัดโขนให้เล่นเป็นละครผู้ชาย ต่อมาจึงหัดละครผู้หญิงขึ้น เมื่อคราวยกไปขัดตาทัพอยู่ที่เมืองอุดงค์มีชัยพาละครผู้หญิงไปด้วย ซึ่งได้ไปเป็นครูหัดละครผู้หญิงของสมเด็จพระหริรักษ์ขึ้นอีกโรง ทำให้มีละครในกัมพูชานับแต่นั้น (เดิมมีแต่ละครนอกซึ่งสมเด็จพระอุทัยราชา (นักองค์จัน) ทรงได้ครูละครออกไปจากกรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ) เขมรเอาละครนอก-ละครในมาปะปนกันเล่น เรียกรวมว่า “ละครพระราชทรัพย์” (របាំព្រះរាជទ្រព្យ) หรือ “ละครหลวง” (ល្ខោនហ្លួង) ซึ่งมีการนำวรรณคดีของไทยหลายเรื่องไปเล่น

สันนิษฐานว่าอาจจะมีครูละครที่เป็นโขนเข้าไปยังกัมพูชาในเวลานั้นด้วย จึงเป็นไปได้ว่าทางเขมรจะเข้าใจว่าโขนเป็นละครประเภทหนึ่งสำหรับผู้ชาย เลยปรากฏเรียกว่า “ลโคนโขล” มานับแต่นั้น

ลโคนโขลเองได้รับอิทธิพลจากโขนของไทยในราชสำนักสมัยรัตนโกสินทร์เข้าไปมาก เพราะมีกระบวนพากย์และเจรจาเป็นตัวอย่างเหมือนกับของไทย เพราะคำพากย์รามเกียรติ์ของเขมรฉบับโบราณนั้นไม่มีการแบ่งเป็นบทพากย์บทเจรจา มีแต่บทพากย์อย่างเดียวเหมือนกับบทพากย์รามเกียรติ์ของไทยสมัยอยุทธยา

ลโคนโขลนั้นกล่าวกันว่ากำเนิดในชนบทก่อน แล้วไปเฟื่องฟูในราชสำนักภายใต้การอุปถัมภ์ของสมเด็จพระหริรักษ์ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต ลโคนโขลจึงกระจัดกระจายไปอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ โดยในช่วงต้นทศวรรษที่ ๑๙๗๐ พบว่ามีชุมชนโขนเหลืออยู่ประมาณ ๘ แห่ง ซึ่งหลายครั้งก็ถูกเชิญให้ไปแสดงในราชสำนัก แต่หลังจากการกวาดล้างวัฒนธรรมของยุคเขมรแดงแล้วจึงเหลือเพียงแห่งเดียวที่ยังคงอยู่มาถึงปัจจุบัน คือ โขนวัดสวายอัณแดต (Vat Svay Andet) ยังคงขนบเล่นโขนชายล้วนอย่างโบราณเหมือนโขนไทยสมัยอยุทธยาถึงรัชกาลที่ ๒ ต่างจากโขนปัจจุบันที่ได้อิทธิพลของละครในเข้าไปในสมัยรัชกาลที่ ๕ และมีผู้หญิงเล่นด้วย

Yit Sarin ครูลโคนโขลอาวุโสแห่งวัดสวายอัณแดต ได้ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒ ว่า ไม่แน่ใจว่า "ลโคนโขล" นั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากไหน ครูของท่านเล่าไว้ว่าลโคนโขลไม่ได้มาจากราชสำนัก แต่มีครูมาจากอำเภอเกียนสวาย (Kien Svay) ซึ่งมีตำรารามเกียรติ์มาเป็นผู้สอนเต้นท่ายักษ์ท่าลิงและการพากย์ให้กับคนในชุมชนวัดสวายอัณแดต และได้เริ่มไปแสดงในราชสำนักในยุคที่กัมพูชาอยู่ในอารักขาของฝรั่งเศส ตัวท่านเองเรียนมาจากครูที่ไปศึกษาโขนมาจากไทยและลาว   และเคยได้ยินว่าในอดีตเคยมีการประลองระหว่าง "ลโคนโขล" ของกัมพูชากับ "โขน" ของไทยในพระที่นั่งโพชนี ในพระราชวังหลวงกรุงกัมพูชาด้วย

ลโคนโขลที่จัดแสดงในกัมพูชาปัจจุบันมีการฟื้นฟูขึ้นใหม่ในช่วงทศวรรษ ๑๙๘๐ ถึง ๑๙๙๐ ซึ่งก็มีผู้หญิงเล่นด้วยเหมือนกันโขนของไทยในปัจจุบัน

นอกจากลโคนโขล ยังคงมีการเล่นละครหลวงเรื่องรามเกียรติ์อยู่ นาฏศิลป์ของกัมพูชาในช่วงรัชกาลสมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ (นักองค์ราชาวดี) และ สมเด็จพระสีสุวัตถิ์ (ช่วงรัชกาลที่ ๔ ถึง ๗) เมื่อศึกษาจากหลักฐานภาพถ่ายแล้วพบว่ามีความใกล้เคียงกับโขนของราชสำนักสยามมาก จนหลายครั้งแทบแยกไม่ออก ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนว่านาฏศิลป์ของกัมพูชาในยุคนั้นได้รับอิทธิพลจากไทยมาก มีครูนาฏศิลป์เป็นชาวไทย และเดิมใช้ภาษาไทยเป็นหลักก่อนจะเปลี่ยนเป็นภาษาเขมรภายหลัง ดังที่ปรากฏใน “นิราสนครวัด” ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวถึงการเสด็จประพาสกัมพูชาใน พ.ศ. ๒๔๖๗ ว่า

“ละคอนหลวงกรุงกัมพูชานี้ ทราบเรื่องตำนานว่าแรกมีขึ้นเมื่อครั้งสมเด็จพระหริรักษ์ ได้ครูไทยมาจากเจ้าพระยาบดินทรเดชาสิงห์เสนี หัดเล่นแต่ครั้งรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร แต่เล่นเปนอย่างละคอนเจ้าต่างกรม ต่อมาถึงสมเด็จพระนโรดมจึงเล่นเอาอย่างละคอนหลวงครั้งรัชกาลที่ ๔ เมื่อสมเด็จพระนโรดมครองกรุงกัมพูชาอยู่นั้น พยายามหาครูละคอนมาจากกรุงเทพฯ ได้ใครออกมาก็ยกย่องชุบเลี้ยงได้ละคอนตัวดีของเจ้าคุณจอมมารดาเอมบ้าง ละคอนพระองค์เจ้าดวงประภาบ้าง ละคอนพระองค์เจ้าสิงหนาทบ้าง และละคอนโรงอื่น ๆ มาเปนครูอิกหลายคน ละคอนหลวงครั้งสมเด็จพระนโรดมเล่นแต่ภาษาไทยอย่างเดียว มาถึงครั้งสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ก็โปรดเล่นละคอน ได้ละคอนของสมเด็จพระนโรดมประสมโรงเล่นต่อมาบ้าง หัดขึ้นใหม่บ้าง แต่เล่นทั้งภาษาไทยและภาษาเขมร”

ข้อความนี้สอดคล้องกับคำให้การของครูนาฏศิลป์และข้าราชสำนักกัมพูชาหลายคนที่ระบุว่าโขนละครในยุคนั้นได้รับอิทธิพลจากไทยมามาก

และทรงมีพระวิจารณ์ไว้ว่า “กระบวนรำเต้น ถึงเทียบกับละคอนกรุงเทพ ฯ ที่ควรชมว่ารำดีก็มี กระบวรร้องและเจรจาเปนภาษาไทย ที่ชัดเหมือนชาวกรุงเทพฯ ก็มี ที่แปร่งก็มี เครื่องแต่งตัวมีผิดกับละคอนกรุงเทพฯ แต่บางอย่าง คือมงกุฎสัตรี มีแต่กระบังหน้ากับยอดตั้งตรงกลางกระหม่อมสูงโทงเทงดูน่าเกลียด ชฎาทรงก็อยู่ข้างสูงไป ผ่าห่มนางตัวดีห่มสะไบเฉียง (ว่าเปนแบบของสมเด็จพระหริรักษ์) ก็ไม่น่าดู ด้วยต้องปล่อยแขนเปล่าให้แลเห็นรักแร้อยู่ข้างหนึ่ง เครื่องแต่งตัวยักษ์นั้น เจียรบาททำเปนชายปลิวอย่างรูปปั้น” ก็สะท้อนให้เห็นว่าแม้กัมพูชาจะรับวัฒนธรรมจากไทย แต่ก็ค่อย ๆ มีการปรับให้เป็นรูปแบบที่เฉพาะตนมากขึ้น จนต่างออกไปจากไท

ดังที่กล่าวไว้ตอนต้น ศิลปวัฒนธรรมของแทบทุกอารยธรรมบนโลกล้วนแต่มีความเป็น “พลวัต” ที่มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนกันไปมาเป็นธรรมดา ในแต่ละอารยธรรมก็สามารถนำศิลปวัฒนธรรมของอารธรรมอื่นมาประยุกต์ ต่อยอด และพัฒนาจนมี “อัตลักษณ์” หรือ “เอกลักษณ์” เฉพาะตัวมากกว่าเดิมได้

ในยุคพระนครที่เขมรมีอิทธิพลเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของภูมิภาค ก็ส่งต่ออิทธิพลทางวัฒนธรรมให้สังคมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุทธยา และส่งผลมาถึงกรุงศรีอยุทธยาตอนกลาง จนต่อมา กรุงศรีอยุทธยาสืบเนื่องมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ได้พัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมของตนเองจนเป็น “เอกลักษณ์” กลายเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักของภูมิภาค ก็ได้ส่งต่อวัฒนธรรมของตนกลับไปยังกัมพูชาที่มีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมน้อยลงกว่าในอดีต ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปก็มีการประยุกต์ให้มีความเฉพาะตัวมากขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นได้ในวัฒนธรรมทั่วโลก

โขนของไทย ลโคนโขลของกัมพูชา รวมถึงโขนของชาติอื่น ๆ ในภูมิภาคอุษาคเนย์ เป็นศิลปวัฒนธรรมที่มีความเชื่อมโยงกัน ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดทางวัฒนธรรม และพัฒนาต่อยอดจนมีรูปแบบเป็นของตนเองตามกระบวนการดังกล่าว มีสถานะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความสอดคล้องต่อสังคมที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศเหมือนกัน

ทั้งนี้ หากมีความเข้าใจได้ว่าศิลปวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันได้ ใช้ร่วมกันได้ ก็คงไม่มีปัญหาความพยายามผูกขาดวัฒนธรรมไว้กับชาติตนเพียงชาติเดียวครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 02 ธ.ค. 18, 12:06

คุณศรีสรรเพชญ์ได้หมายเหตุต่อท้ายไว้ว่า

บทความทั้งหมดเรียบเรียงโดยผู้ดูแลเพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์ ผู้ดูแลเพจขอสงวนสิทธิไม่อนุญาตให้นำข้อมูลที่เผยแพร่ในเพจไปแก้ไข ตัดทอน ดัดแปลง คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่ต่อด้วยวิธีการใด ๆ ทั้งสิ้น และห้ามนำไปแสวงหาผลกำไรทางพาณิชย์โดยเด็ดขาด หากมีความประสงค์จะขอบทความของเพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์ไปเผยแพร่ต่อด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตามต้องได้รับการยินยอมจากผู้ดูแลเพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์ในทุกกรณี ยกเว้นแต่การ "แชร์ (share)" ในเฟซบุ๊กจากหน้าเพจวิพากษ์ประวัติศาสตร์โดยตรงที่สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

จึงเรียนขออนุญาตมา ณ ที่นี้  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 02 ธ.ค. 18, 14:48

เส้นใต้บรรทัด
จิตกร บุษบา
วันอาทิตย์ ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2561, 02.00 น.
โขน’ ไทย...ไม่ใช่มรดกโลก

มีความเข้าใจผิด สับสน กับข่าวการขึ้นทะเบียน “โขน” (Khon) ขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientificand Cultural Organization) หรือที่คนไทยรู้จักในนาม“ยูเนสโก” ว่าเป็นการขึ้นทะเบียน “มรดกโลก” ความเข้าใจผิดนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะกับประชาชนและพลเมืองออนไลน์ แต่สำนักข่าวหลายแห่งก็เข้าใจผิดเช่นกัน

ทั้งยังมีดราม่า เรื่อง “โขนไทย” กับ “ละครโขน” ของกัมพูชาปะปนเข้ามาอีก บางคนเดือดแค้นพลุ่งพล่าน ว่ากัมพูชาชิงตัดหน้าเอาโขนไปขึ้นทะเบียนกับยูเนสโกแล้ว ประเทศไทยมัวแต่ทำอะไรอยู่ บวกรวมกับก่อนหน้านี้ ในโลกไซเบอร์ มีสงคราม (war) ย่อยๆ ถกเถียงกันว่าโขนเป็นของไทยหรือของกัมพูชากันแน่

ดึงสติกลับมา แล้วเรียนรู้เรื่องนี้ไปด้วยกัน

1) ยูเนสโก เป็นหน่วยงานหนึ่งของสหประชาชน มีการ “ขึ้นทะเบียน” (ขึ้น คือ ประกาศ ไม่เกี่ยวกับการแสดงความเป็นเจ้าของหรือลิขสิทธิ์ใดๆ ทั้งนั้น) มรดกสำคัญๆ ของโลกและมนุษยชาติอยู่ 4 เรื่องด้วยกัน คือ
   1.1 มรดกโลก (World Heritage Site) แบ่งเป็น2 แบบ คือ มรดกโลกทางวัฒนธรรมกับทางธรรมชาติ

มรดกโลกทางวัฒนธรรม อันหมายถึง พื้นที่ สถานที่ แหล่งอารยธรรมทางกายภาพ ที่จับต้องได้ เที่ยวชมได้ เช่น นครประวัติศาสตร์อยุธยา, นครประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร, แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง, นครหลวงพระบาง, เมืองโบราณฮอยอัน ในเวียดนาม, บุโรพุทโธ ในอินโดนีเซีย, โบสถ์บาโรกแห่งฟิลิปปินส์ เป็นต้น

มรดกโลกทางธรรมชาติ ก็หมายถึง พื้นที่ สถานที่ที่มีความสมบูรณ์ในทางธรรมชาติ หรือบางแห่งนิยามว่า สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะ ทางกายภาพและชีวภาพ อันมีคุณค่าโดดเด่นในด้านความล้ำเลิศ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง, ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่, หมู่เกาะกาลาปาโกส, นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ (Rice Terraces of the Philippine Cordilleras) อุทยานปะการังทางทะเลทุบบาตาฮะ ของฟิลิปปินส์, อุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู ของมาเลเซีย เป็นต้น

มรดกโลกแต่ละแห่ง เป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้รับการพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น เป็นสถานที่ จับต้องได้ทางกายภาพ ดังนั้น “โขน” จึงไม่อาจเป็น “มรดกโลก” ได้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง