เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 20063 โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 18 มิ.ย. 16, 16:22

ผมไม่ได้ติดต่อน้าเค้านานแล้ว แต่หวังว่าน้าเค้าจะยังคงจำผมได้อยู่ วันหลังผมจะส่งเป็นตัวพิมพ์ไปให้เองครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 18 มิ.ย. 16, 17:01

อ้างถึง
(ป.ล. มหากาพย์ชำแหละโครงกระดูกและตำนานท่านป้า - ยาวจัด,อ่านไม่จบ)

น่าเสียดายครับ
ถ้าเข้าไปอ่านเสียหน่อย เลือกเฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เรื่องอื่นข้ามๆไปบ้างก็ได้ ก็คงจะไม่ออกมาในแนวนี้ อาจทำให้คนนำไปอ้างอิงกันผิดๆต่อไปอีก
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5807.0
จากข้างบนนี้แสดงว่าคุณสุจิตต์เข้ามาอ่านในเรือนไทยแล้ว  แต่ไม่ได้สนใจพอจะอ่านให้จบ  
ถ้าคุณ Navarat ส่งไปให้ท่านอ่าน  ก็อาจจะลงเอยแบบเดียวกัน
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 18 มิ.ย. 16, 17:55

ป.ล.นั้นไม่ใช่ข้อความของคุณสุจิตต์ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 18 มิ.ย. 16, 19:55

งั้นเป็นของใครล่ะคะ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 19 มิ.ย. 16, 09:32

It's SILA's.

ส่วนประวัติท่านป้าในวิกกี้ซึ่งอ้างอิงถึง....ด้วย    


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 19 มิ.ย. 16, 09:33

ได้เล่าไว้ว่า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 19 มิ.ย. 16, 10:36

ประเด็นละครไทยสู่ราชสำนักเขมร   

“ละครเขมรที่เห็นกันเดี๋ยวนี้ เขมรเอาอย่างไทยชัดๆ หัดจากละครท่านป้าฉวีวาด ปราโมช ทั้งสิ้น” ก็มาดูกันครับ ม.จ.ฉวีวาด ได้เป็นผู้นำละครเจ้าจอมอำภาไปรื้อฟื้นการละครให้เขมร จริงตามที่ม.ร.ว. คึกฤทธิ์เขียนไว้หรือไม่

เจ้าจอมอำภานั้น เคยเป็นนางละครรุ่นเล็กในรัชกาลที่ ๑ เล่นบทนางกัญจะหนาในละครในเรื่องอิเหนา ซึ่งเป็นบทเด็กเล็กๆอายุไม่เกิน ๑๐ขวบ เมื่อเป็นสาวแล้วได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๒ กำเนิดพระองค์เจ้าถึง ๖ องค์ ที่เด่นๆก็คือ พระองค์เจ้ากปิตถา กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ ต้นราชสกุลกปิตถา และพระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ต้นราชสกุลปราโมช
แม้จะยังไม่พบหลักฐานว่าเจ้าจอมมารดาอำภาถึงแก่กรรมเมื่อใด แล้วละครของท่านได้เป็นมรดกตกทอดมาถึงม.จ.ฉวีวาด ผ่านใครต่อใครมาบ้างได้อย่างไร แต่ในปีเกิดวิกฤตวังหน้า เป็นปีซึ่งห่างจากปีสุดท้ายในรัชกาลที่ ๒ มาถึง ๕๐ ปี  นางละครที่เจ้าจอมมารดาอำภาได้ฝึกหัดไว้ก็คงแก่หง่อมกันไปหมดแล้ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 19 มิ.ย. 16, 10:37

" โครงกระดูกในตู้" กล่าวว่านางละครของเจ้าจอมอำภาไปเป็นครูละครโรงอื่นกันตั้งแต่รัชกาลที่ ๓  ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เมื่อสิ้นเจ้าของแล้ว ละครโรงนั้นก็วงแตกแยกย้ายกันไปหมด หากจะมีใครยังอยู่ในวังวรจักรของราชสกุลปราโมชมาได้จนถึงรัชกาลที่ ๕  ก็คงจะเป็นละครระดับตัวประกอบที่หาที่ไปไม่ได้ ลูกผัวก็ไม่มี ต้องพึ่งใบบุญเจ้านายมีข้าวกินไปวันๆ ทั้งในต้นรัชกาลที่ ๕  ก็ไม่ปรากฏว่าวังวรจักรหรือ ม.จ.ฉวีวาดจะขึ้นชื่ออยู่ในวงการละครของสยาม ดังนั้นถ้าท่านป้าตั้งใจจะหนีจากบ้านเกิดเมืองนอน ไปลงหลักปักฐานในเขมรจริง ก็อาจจะเอานังเล็กๆไปเป็นบริวาร ไม่ถึงระดับดาราที่จะไปปรากฏชื่อว่าเป็นครูละครของราชสำนักเขมร
   
ตามประวัติศาสตร์นั้น ศิลปะการฟ้อนรำของเขมรได้ถือกำเนิดมานมนานแล้ว วัตถุพยานคือภาพสลักหินที่นครวัต แสดงท่าร่ายรำของนางอัปสรา โดยเน้นกางมือ กางขา เห็นได้ชัดว่าได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียใต้ แม้จะไม่เหมือนกันเพี้ยะก็ตาม
 
ครูบาอาจารย์บอกว่านาฏศิลป์เป็นวัฒนธรรมที่เปราะบางมาก มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาให้เข้ากับสมัยนิยม ดังนั้น ช่วงเวลาสักร้อยปีเท่านั้น ก็ทำให้การฟ้อนรำของเขมร แตกต่างไปจากแม่บทอินเดียไปได้พอสมควรทีเดียว   
เมื่อกษัตริย์กรุงศรีอยุธยายกทัพไปทำลายราชอาณาจักรเขมร แล้วถ่ายโอนนาฏศิลป์มาสู่ราชสำนักสยามโดยการกวาดต้อนผู้คนเข้ามา เวลานั้นคนไทยก็มีดีของตนเองอยู่บ้างแล้ว โดยจะเอามาจากมอญ หรือยวนล้านนาก็ตามที แต่ที่เห็นแน่ๆ คือท่าฟ้อนรำแบบยกแข้งยกขานั้น ไทยไม่เอาเลย จะมีก็แต่ในท่าโขนเท่านั้น แล้วช่วงเวลาผ่านไปอีกหลายร้อยปี ก็ทำให้ไทยมีรูปแบบนาฏกรรมที่ไม่เหมือนของใคร
   
ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึง ๔ พระราชวงศ์เขมรที่เข้ามาอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ ภายใต้ร่มพระบารมีพระเจ้าแผ่นดินไทยนั้น มีถึง ๓ รุ่นด้วยกัน คือ นักองเอง ซึ่งกลับไปครองราชย์เป็นสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี เมื่อเสด็จสวรรคต พระราชโอรส ๒ องค์ คือ นักองจัน ขึ้นครองราชย์ก่อน เป็น สมเด็จพระอุทัยราชา หลังจากนั้น พระอนุชาคือนักองด้วง ที่ประทับอยู่เมืองไทยแต่ทรงพระเยาว์ จนพระชนษาสี่สิบเศษ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงโปรดให้เสด็จกลับไปมาตุภูมิพร้อมกับกองทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่ยกไปขับไล่ญวนออกจากแผ่นดินเขมร แล้วให้ทำพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี

นักองด้วงนั้น ทรงโปรดละครไทยขนาดหนัก ถึงกับขอพระบรมราชานุญาต ให้ครูละครของเจ้าพระยาบดิทรเดชาซึ่งขัดตาทัพที่เมืองอุดงค์มีไชย เมืองหลวงราชอาณาจักรกัมพูชาและได้พาละครผู้หญิงไปด้วย ให้ฝึกสอนโขนละครให้คนในพระราชสำนักของพระองค์ เดิมหัดโขนให้เล่นละครผู้ชาย ต่อมาจึงหัดละครผู้หญิงให้ ราชสำนักเขมร ซึ่งแต่เดิมมีเฉพาะละครนอกสมัยรัชกาลที่ ๑ ในรัชสมัยสมเด็จพระหริรักษ์จึงมีละครใน ที่เป็นละครผู้หญิงแต่บัดนั้น

เมื่อเสด็จสวรรคต พระราชโอรสของพระองค์ที่ได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อคือนักองราชาวดี ทรงพระนามว่าสมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ คนไทยมักจะเรียกสั้นๆว่าสมเด็จพระนโรดมที่ “โครงกระดูกในตู้” กล่าวถึงในท้องเรื่อง กษัตริย์เขมรพระองค์นี้ทรงโปรดละครเป็นชีวิตจิตใจ ละครพระราชทรัพย์หรือละครหลวงในราชสำนักนอกจากจะมี ครูเรือง ครูอิ้ว ละครผู้หญิงของเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สืบทอดจากรัชสมัยของพระราชบิดาแล้ว ยังมีครูละครชื่อนายเพ็ง จากละครกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ และนายแสง ซึ่งเป็นตัวนายโรงละครเจ้าจอมมารดาอำภา ได้ออกไปถวายตัวอยู่กับท่านตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ ที่ ๔  ไม่มีความเกี่ยวพันอันใดกับท่านป้าฉวีวาด ซึ่งไปเขมรในสมัยรัชกาลที่ ๕ เลยแม้นิดเดียว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 19 มิ.ย. 16, 10:38

คราวที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จเยือนกรุงพนมเปญ เป็นเหตุให้ทรงรู้จักสนิทสนมกับพระองค์หญิงมัลลิกา พระธิดาของสมเด็จพระนโรดม และทรงเล่าไว้ตอนหนึ่งในพระนิพนธ์ “นิราศนครวัต” ว่าละครเขมรนั้น ครั้งแรกสมเด็จกรมพระหริรักษ์ ได้ครูไทยมาจากเจ้าพระยาบดินทรเดชา หัดเล่นแต่ครั้งรัชกาลที่ ๓ แต่เล่นเป็นอย่างละครเจ้าต่างกรม ต่อมาสมัยพระนโรดม ก็หาครูละครมาจากกรุงเทพมาเพิ่ม ได้ละครวังหน้าตัวดีของเจ้าคุณจอมมารดาเอม ละครพระองค์เจ้าดวงประภา ละครพระองค์เจ้าสิงหนาท และละครโรงอื่น ๆ มาเป็นครูเพิ่มขึ้นอีกอีกหลายคน

“มีคนจำนวนหนึ่งคือผู้หญิงไทยชาวกรุงเทพฯ ที่ออกมาเป็นครูละครหรือเป็นพนักงานอยู่ในวังแต่ครั้งสมเด็จพระนโรดม ซึ่งเราได้เคยรู้จักเมื่อเขาอยู่ในกรุงเทพฯบ้าง ไม่รู้จักบ้าง พากันมาหลายคน มีนายโรงปริงตัวอิเหนาของเจ้าคุณจอมมารดาเอม ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นต้น ออกมาอยู่กรุงกัมพูชา ได้เป็นหม่อมสมเด็จพระนโรดม เปลี่ยนชื่อว่าหม่อมเหลียง พวกเหล่านี้ถึงแม้คนที่เคยรู้จักอยู่แต่ก่อน ก็จำไม่ได้เกือบทั้งนั้น ด้วยมาอยู่เมืองเขมรเสียตั้ง ๓๐-๔๐ ปี จนหัวหงอกฟันหัก แรกพบรู้ว่าเป็นไทยแต่ด้วยน้ำเสียง ต้องถามนามและโคตรจึงได้รู้ว่าเป็นใครต่อใคร พวกเหล่านี้มักยังมีความขวยเขินในข้อที่ทิ้งบ้านเมืองมา พอใจจะชี้แจงเหตุแก่เรา โดยอ้างว่ายากจนเป็นต้น ต้องตอบตัดความเสียว่าเกิดมาเป็นมนุษย์ย่อมรักสุขชังทุกข์เป็นธรรมดา จะอยู่เมืองไทยหรือเมืองเขมรที่ไหนเป็นสุขก็ควรอยู่ที่นั่น สำคัญแต่อย่าทำความชั่วให้เขาติเตียนขึ้นชื่อได้ว่าไทยเลวทราม ได้ไต่ถามถึงที่ออกมาอยู่ได้ความว่าที่เป็นครูละครครั้งสมเด็จพระนโรดมนั้น สมเด็จพระศรีสวัสดิ์ชุบเลี้ยงให้เป็นครูละครต่อมาได้รับเงินเดือนตั้งแต่ ๒๐ เหรียญ ลงมาจน ๒๑ เหรียญ ดูก็ควรจะมีความสุข”

ไม่มีคำที่ทรงกล่าวถึง ม.จ.ฉวีวาดเลย แม้จะทรงกล่าวว่าได้พบ ม.จ.ปุก ในพระนามว่าพระองค์อรรคนารี บัดนั้นอายุ ๗๖ ปี ทูลขอมาพบด้วย ทรงเล่าว่า “แต่จะแปลกๆไป กิริยาดูพันทาง จะเป็นเขมรก็ไม่ใช่ ไทยก็ไม่เชิง ไม่ชวนสมาคมเหมือนเจ้านายพวกกรุงกัมพูชา”

อย่างไรก็ดี คำว่าอรรคนารีและพระยศชั้นพระองค์เจ้า แสดงว่าม.จ.ปุกเป็นพระภรรยาเจ้าของพระนโรดมจากการสู่ขอเป็นเรื่องเป็นราว ไม่ใช่จับพลัดจับผลูได้เป็นเจ้าจอมหม่อมห้ามธรรมดาๆแล้วโปรโมทขึ้นไปแน่นอน    
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 19 มิ.ย. 16, 10:39

จากการใช้อินทรเนตรส่องตามรอยสมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์หรือนักองราชาวดีไป พบว่าพระองค์ทรงมีพระราชสมภพเดือนกุมภาพันธ์ ๒๓๗๗ ที่เสียมราฐ แต่มาทรงเติบโตในกรุงเทพ เสด็จกลับกัมพูชาเมื่อพ.ศ.๒๔๐๐ และเสด็จมากรุงเทพฯอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ ๒๔ มกราคม ๒๔๑๒

อนุมานจากข้อมูลที่ว่า ม.จ.ปุกทรงพบกับสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ คราวเสด็จกรุงพนมเปญเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗  เมื่อชนมายุ ๗๖ชันษา  ตรงกับที่ว่าท่านหญิงประสูติเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๑   
ในปีที่นักองราชาวดีเสด็จมาครั้งที่ ๒ ม.จ.ปุก ทรงมีชนมายุยี่สิบเศษนิดๆ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯโปรดเกล้าให้ราชาภิเษกเป็นกษัตริย์เขมรที่พระอุโบสถวัดโพธิ์นั้น มีความเป็นไปได้สูงว่าท่านหญิงได้ถวายตัวตามราชประเพณีโบราณอย่างเป็นพิธีการ หากเสด็จไปโดยวิธีอื่นแล้วคงไม่แคล้วพระราชอาญากันทั้งโคตร

สมัยนั้นกรุงเทพฯยังมีหลักเขตสี่ทิศ  คือมีเสาหินปักอยู่เหนือใต้ออกตก เป็นเครื่องหมายสุดเขตเหมือนเสาหินปักเขตที่ดินสมัยนี้ พระบรมวงศานุวงศ์จะเสด็จไปไหนตามพระทัยชอบไม่ได้ ถ้าจะเสด็จออกพ้นเสาหินดังกล่าวต้องกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตเสียก่อน แม้จะอยู่ในพระราชอาณาจักรก็ตาม ไม่งั้นเจอโทษสถานหนักเข้าข่ายกบฎ ถ้าเอาตัวกลับมาลงโทษไม่ได้ พ่อแม่และสามีภรรยาจะต้องรับโทษแทน

อย่างนี้ประเด็นที่ว่า ม.จ.ฉวีวาดเป็นผู้นำ ม.จ.ปุกไปเขมรก็แน่ชัดว่าไม่ใช่แล้ว  และประเด็นที่ว่าละครเขมรเอาอย่างไทยชัดๆ เพราะหัดจากละครท่านป้าฉวีวาด ปราโมช ทั้งสิ้นก็ยิ่งไม่ใช่ใหญ่ จึงเหลือปุจฉาอยู่ว่า แล้วอยู่ๆท่านป้าได้บ่ายหน้าไปเขมรทำไม ซึ่งจะวิสัชนากันต่อไป
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 19 มิ.ย. 16, 10:41

ประเด็นเรื่องชีวิตท่านป้าในเขมร

ปุจฉาที่ว่า เมื่อหนีไปเขมรเสมือนไปตายเอาดาบหน้านั้น ม.จ.ฉวีวาดบุญมาวาสนาส่งได้เป็นเจ้าจอมของสมเด็จพระนโรดม และมีพระราชโอรสชื่อพระองค์เจ้าพานคุรี จริงหรือไม่นั้น
ในหนังสือเรื่อง “สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (เล่ม ๒)” เขียนโดย ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม ราชบัณฑิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ได้เชิญพระราชหัตถเลขาฉบับหนึ่งมาลงไว้ ความว่า 
ถึงผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน   

ด้วยหม่อมฉวีวาดในกรมขุนวรจักรหนีไปครั้งนี้ ฉันมีความวิตกคงจะเป็นที่เสียเกียรติยศมาก ได้ให้ชำระความมารดาก็ไม่ได้ความตลอด เจ้าพระยาภาณุวงศ์เอาตัวบรฮิมมาถาม ความแจ้งอยู่กับเจ้าพระยาภาณุวงศ์แล้ว การมาเป็นดังนี้เป็นที่อัปยศนัก ได้ปรึกษากับคุณสุรวงศ์ และท่านกรมท่าคิดว่าจะให้เรือไฟไปตาม แต่กลัวไม่ทันการ เรื่องนี้จะควรทำอย่างไรได้ ขอให้เจ้าคุณช่วยด้วย เป็นที่อับอายทั่วกันทั้งราชตระกูล
(พระปรมาภิไธย)
วันอาทิตย์ แรม ๑๒ ค่ำเดือน ๑๑ ปีชวด อัฐศก ๑๒๓๘


ปีชวด อัฐศก ๑๒๓๘ นั้นตรงกับพุทธศักราช ๒๔๑๙ หลังเหตุการณ์วิกฤตวังหน้าจบไปแล้วถึง ๒ ปี  ถือเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าม.จ.ฉวีวาดมิได้หนีราชภัยไปเขมรในวันรุ่งขึ้นหลังจากเกิดเหตุระเบิดวังหลวง แต่ทรงหนีไปด้วยเหตุอันใดหรือ พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงเกรงว่าจะอับอายถึงเพียงนั้น 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 19 มิ.ย. 16, 10:46

เอาละครับ คัดมาให้อ่านพอหอมปากหอมคอ ใครอยากทราบคำเฉลยของปุจฉาข้างบน กรุณาคลิ๊กเข้าไปอ่านกันเอง ยาวนักเดี๋ยวจะออกนอกกรอบของกระทู้นี้มากไป


http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5807.0
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 19 มิ.ย. 16, 11:34

คราวที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จเยือนกรุงพนมเปญ เป็นเหตุให้ทรงรู้จักสนิทสนมกับพระองค์หญิงมัลลิกา พระธิดาของสมเด็จพระนโรดม และทรงเล่าไว้ตอนหนึ่งในพระนิพนธ์ “นิราศนครวัต” ว่าละครเขมรนั้น ครั้งแรกสมเด็จกรมพระหริรักษ์ ได้ครูไทยมาจากเจ้าพระยาบดินทรเดชา หัดเล่นแต่ครั้งรัชกาลที่ ๓ แต่เล่นเป็นอย่างละครเจ้าต่างกรม ต่อมาสมัยพระนโรดม ก็หาครูละครมาจากกรุงเทพมาเพิ่ม ได้ละครวังหน้าตัวดีของเจ้าคุณจอมมารดาเอม ละครพระองค์เจ้าดวงประภา ละครพระองค์เจ้าสิงหนาท และละครโรงอื่น ๆ มาเป็นครูเพิ่มขึ้นอีกอีกหลายคน




“มีคนจำนวนหนึ่งคือผู้หญิงไทยชาวกรุงเทพฯ ที่ออกมาเป็นครูละครหรือเป็นพนักงานอยู่ในวังแต่ครั้งสมเด็จพระนโรดม ซึ่งเราได้เคยรู้จักเมื่อเขาอยู่ในกรุงเทพฯบ้าง ไม่รู้จักบ้าง พากันมาหลายคน มีนายโรงปริงตัวอิเหนาของเจ้าคุณจอมมารดาเอม ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นต้น ออกมาอยู่กรุงกัมพูชา ได้เป็นหม่อมสมเด็จพระนโรดม เปลี่ยนชื่อว่าหม่อมเหลียง พวกเหล่านี้ถึงแม้คนที่เคยรู้จักอยู่แต่ก่อน ก็จำไม่ได้เกือบทั้งนั้น ด้วยมาอยู่เมืองเขมรเสียตั้ง ๓๐-๔๐ ปี จนหัวหงอกฟันหัก แรกพบรู้ว่าเป็นไทยแต่ด้วยน้ำเสียง ต้องถามนามและโคตรจึงได้รู้ว่าเป็นใครต่อใคร พวกเหล่านี้มักยังมีความขวยเขินในข้อที่ทิ้งบ้านเมืองมา พอใจจะชี้แจงเหตุแก่เรา โดยอ้างว่ายากจนเป็นต้น ต้องตอบตัดความเสียว่าเกิดมาเป็นมนุษย์ย่อมรักสุขชังทุกข์เป็นธรรมดา จะอยู่เมืองไทยหรือเมืองเขมรที่ไหนเป็นสุขก็ควรอยู่ที่นั่น สำคัญแต่อย่าทำความชั่วให้เขาติเตียนขึ้นชื่อได้ว่าไทยเลวทราม ได้ไต่ถามถึงที่ออกมาอยู่ได้ความว่าที่เป็นครูละครครั้งสมเด็จพระนโรดมนั้น สมเด็จพระศรีสวัสดิ์ชุบเลี้ยงให้เป็นครูละครต่อมาได้รับเงินเดือนตั้งแต่ ๒๐ เหรียญ ลงมาจน ๒๑ เหรียญ ดูก็ควรจะมีความสุข


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 30 พ.ย. 18, 07:03

ดึงกระทู้นี้ขึ้นมาเพราะข่าวพิพาทเรื่อง โขนของใคร (ของใครๆ ก็ต้องหวง) เมื่อไทยตระเตรียมขึ้นทะเบียนโขนไทยเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ต่อยูเนสโก


พิพาทเรื่องกันเรื่องโขนมาเนิ่นนาน  อย่างน้อยวันนี้ก็พอมีข้อสรุปในระดับหนึ่ง  ยิงฟันยิ้ม

“โขนไทย” ขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนมรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติ

การประชุมประจำปีของคณะกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของ UNESCO ที่เมืองพอร์ตหลุยส์ ประเทศมอริเชียส กลายเป็นเวทีประวัติศาสตร์ของไทย เพราะเมื่อวาน (๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑) “โขน” เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ซึ่งนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทยรายการแรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียน

การขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage of Humanity) ของ UNESCO มีทั้งหมด ๓ ประเภท คือ

๑. รายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ (Representative List)
๒. รายการที่ต้องได้รับการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วน (Need of Urgent Safeguarding List)
๓. รายการมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการสงวนรักษา (Good Safeguarding Practice)

โดยประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. ๒๕๔๖ ของ UNESCO ในลำดับที่ ๑๗๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๙ และในวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ประเทศไทยเสนอ “โขน” เข้าสู่การพิจารณาของ UNESCO เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรม ประเภท Representative List โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Khon, masked dance drama in Thailand”

ขณะที่ก่อนหน้านั้นในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ Lakhon Khol Wat Svay Andet  หรือ ละครโขลวัดสวายอันเดต (នៅ វត្តស្វាយអណ្ដែត วัดมะม่วงลอย) ของกัมพูชา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในกลุ่มจำเป็นต้องได้รับการปกป้องอย่างเร่งด่วน หรือ Need of Urgent Safeguarding โดยในเอกสารที่กัมพูชาเสนอต่อคณะกรรมการฯ ระบุว่า ทุกวันนี้มีครูละครโขลสูงวัยอยู่เพียง ๕ คน แต่ละคนอายุราว ๗๐-๘๐ ปี แม้ทุกวันนี้ยังมีการฝึกสอนเยาวชนอยู่ แต่ผลกระทบจากการปกครองโดยเขมรแดง ก็ทำให้ไม่สามารถฝึกสอนบทสำคัญ เช่น พระราม พระลักษณ์ นางสีดา ได้ ซึ่งในเอกสารยื่นเสนอ “ละครโขลวัดสวายอันเดต” เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กัมพูชาได้ระบุไว้ด้วยว่าขอให้ UNESCO ช่วยสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนบ้านด้วย

ข่าวจาก http://news.thaipbs.or.th/content/276021
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 30 พ.ย. 18, 07:29

สรุปแล้วนี่ครับ
ไทยกับกัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนโขนกันทั้งสองประเทศ

โขนกัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนประเภท ๒ คือเป็นมรดกวัฒนธรรมอันจับต้องไม่ได้ที่ต้องได้รับการปกป้องอย่างเร่งด่วน
เขมรเฮกันยกใหญ่ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีไปจนถึงประชาชนคนเดินถนนไปวันนึง  
ครั้นวันรุ่งขึ้นยูเนสโกก็ประกาศให้โขนไทยให้ขึ้นทะเบียนประเภท ๑ คือให้เป็นตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
คนไทยก็ได้เฮบ้าง เพราะศักดิ์ศรีมันต่างกันแยะ

ต่อไปทั้งเขมรและไทยก็จะมีรูปแบบโขนของตนเองให้อนุรักษ์ความแตกต่าง แบบศิลปะของใครของมัน


อนุสัญญาที่ยูเนสโกประกาศเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เปิดช่องให้ระดมเงินบริจาคระหว่างประเทศสมาชิกยูเนสโกมาใช้เพื่อการทำนุบำรุงมรดกที่ขึ้นทะเบียนแล้ว  อันนี้น่าที่ทางเขมรจะต้องการ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ของการได้ขึ้นทะเบียนในประเภท ๒
ส่วนของไทย คงไม่ต้องการเงินจากต่างชาติในเรื่องนี้มากนัก เพราะถ้าเอาแล้วเขาก็มีสิทธิ์จะเข้ามาบงการว่าคุณควรจะทำอย่างนั้นอย่างนี้  ซึ่งในกรณีย์นี้ไม่น่าจะจำเป็น

ยกตัวอย่างกระบวนเรือพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินโดยชลมารค ที่เคยมีข้อเสนอว่าเป็นมรดกวัฒนธรรมที่โดดเด่นมากที่สุดอย่างหนึ่ง ทำไมไทยไม่ขอเป็นมรดกโลก คำตอบก็ชัดเจนว่าเรามีปัญญารักษาเองได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งเงินทุนจากใคร และไม่ยินดีให้ใครมาบงการ

แต่การที่โขนไทยเป็นตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ  อันนี้น่าจะมีความหมายแฝงนิดๆ  สอดคล้องกับการที่กัมพูชาขอให้ยูเนสโก้ช่วยประสาน ขอความช่วยเหลือจากประเทศเพื่อนบ้าน(ยังหยิ่งเกินไปที่จะระบุชื่อประเทศ)ในการรักษาโขนของกัมพูชา

ดูเหมือนว่า การเป็นตัวแทนของมนุษยชาติ ก็อาจเป็นภาวะจำยอมให้ชาติอื่นมาถ่ายทอดวัฒนธรรมนั้นๆไปได้ด้วย(โดยค่าใช้จ่ายส่วนนี้กองทุนมรดกโลกคงเป็นผู้จ่าย)

ก็คอยดูกันไปครับ


Khon, masked dance drama in Thailand.
Upload to Youyube by UNESCO



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 20 คำสั่ง