เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 20087 โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 14:11

ต่อ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 14:12

ต่อ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 14:13

ต่อ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 14:14

บทความ  โขน มาจากไหน? อย่างละเอียด โดยคุณ สุจิตต์ วงษ์เทศ

http://www.sujitwongthes.com/wp-content/uploads/2013/04/khon3april1530.pdf
 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 14:47

๑.
             โขนมาจากไหน? ไทยกับกัมพูชาควรร่วมกันค้นคว้าวิจัยให้ลุ่มลึกลงรายละเอียดรอบด้าน ซึ่งต้องใช้เวลานาน
หลายปีหรืออาจตลอดไปก็ได้ เพราะไม่มีข้อยุติตายตัว
           โดยเลิกแสดงตนเป็นเจ้าของ เพราะเป็นไปไม่ได้ รังแต่จะก่อให้เกิดประวัติศาสตร์บาดหมางที่เพิ่งสร้างใหม่

เรื่องนาฏศิลป์และดนตรี ถ้าเทียบกันระหว่างลาวและเขมร ของเขมรจะมีส่วนคล้ายไทยมากกว่า จนหลายคนเข้าใจว่าไทยรับเอามาจากเขมร และคนเขมรเองก็อาจเช่นนั้น

ความจริงแล้ว วัฒนธรรมมีการถ่ายเทกันไปมา อินเดียถ่ายทอดเรื่องนาฏศิลป์ให้เขมร ต่อมาสมัยอยุธยาตอนต้นก็รับอิทธิพลมาจากเขมรอีกทอดหนึ่ง จนเมื่อตอนต้นของสมัยรัตนโกสินทร์ไทยก็ถ่ายทอดวิชากลับให้เขมร


๒.
จากคำสัมภาษณ์  คุณสุจิตต์ กล่าวถึง หม่อมเจ้าฉวีวาด ที่โครงกระดูกในตู้ ของคุณชายคึกฤทธิ์ เล่าว่า

           โรงละครเขมร ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในดินแดนเขมร เพราะเกี่ยวเนื่องกับหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด หนีไปทั้ง
โรงละคร นั่นเอง


            คุณสุจิตต์บอกว่า ท่านป้าของคุณชายไปฝึกสอนการละครเล่นเรื่อง อิเหนา


เรื่องนี้หม่อมเจ้าฉวีวาดคงไม่เกี่ยวกระมัง

ประวัติละครเขมรนั้น เริ่มต้นขึ้นใหม่สมัยสยามยกทัพไปช่วยเขมรรบญวนครั้งรัชกาลที่ ๓ เจ้าพระยาบดินทรเดชาก็ได้นำละครติดกองทัพไปด้วย และเมื่อว่างศึกสงครามก็ช่วยสอนละครให้กับนางในราชสำนักเขมร
ต่อมาสมัยสมเด็จพระนโรดมพรหมหริรักษ์ ก็ให้หาครูละครมาจากกรุงเทพมาเพิ่ม ได้ครูละครวังหน้าของท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอม ละครพระองค์เจ้าดวงประภา ละครพระองค์เจ้าสิงหนาท และละคอนโรงอื่นๆ ไปเป็นครูอีกหลายคน ตัวอิเหนาของท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอม ได้เป็นเจ้าจอมในสมเด็จพระนโรดม เปลี่ยนชื่อเป็นหม่อมเหลียง

แม้แต่ครูละครเดี่ยวๆ ประวัติทางเขมรยังบันทึกชื่อไว้ ถ้าละครเจ้าจอมอำภาทั้งโรงมีจริง ในรัชกาลที่๕ ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังรัชกาลที่ ๓ หลายสิบปี  ย่อมมีตัวตนหลักฐานยืนยันได้มากกว่า  แต่ไม่ปรากฏว่ามีใครบันทึกถึงละครที่ม.จ.ฉวีวาดพาไปแต่อย่างใด ดังนั้น ที่ว่าละครเขมรเดี๋ยวนี้หัดจากละครท่านป้าฉวีวาดทั้งสิ้น จึงเป็นการกล่าวตู่อย่างที่สุด
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 15:38

           ความหมายนั้นคือว่า ที่บางคนเข้าใจว่า ม.จ.ฉวีวาด นำโขนไทยไปเขมรนั้น - ไม่ใช่, หากแต่เป็น
ละครอิเหนา
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 20:49

          ดนตรี วงดนตรีประกอบการแสดงโขน เขมรเรียกวงพินเพียด (พิณพาทย์) ไทยเรียกวงปี่พาทย์ ประกอบด้วย
เครื่องดนตรีดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ของอุษาคเนย์ (ไม่มีในอินเดีย) เช่น ฆ้องวง, ระนาด, กลองทัด, ปี่ แต่มีเครื่องดนตรี
ศักดิ์สิทธิ์จากอินเดียอย่างเดียวประสมวงด้วย คือ ตะโพน (กลองสองหน้าบนขาตั้ง)
 
          ทำนองบรรเลงปี่พาทย์ เรียก เพลง มาจากภาษาเขมร ส่วนเพลงศักดิ์สิทธิ์ประกอบกิริยาเคลื่อนไหวของเทวดา
เรียก ตระ เป็นภาษาเขมร แปลว่า เพลง, ทำนอง

          ไทยต้องนอบน้อมเรียนรู้อีกมากจากกัมพูชา ขณะเดียวกันกัมพูชาก็ต้องเรียนรู้พัฒนาการจากไทย

และ จากคำสัมภาษณ์  คุณสุจิตต์ กล่าวถึง หม่อมเจ้าฉวีวาด ที่โครงกระดูกในตู้ ของคุณชายคึกฤทธิ์ เล่าว่า

           โรงละครเขมร ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในดินแดนเขมร เพราะเกี่ยวเนื่องกับหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด หนีไปทั้ง
โรงละคร นั่นเอง


            คุณสุจิตต์บอกว่า ท่านป้าของคุณชายไปฝึกสอนการละครเล่นเรื่อง อิเหนา

โอ้ นาร้ายน์ นารายน์
จนป่านนี้ น้าสุจิตต์ยังเชื่อเรื่องท่านป้าฉวีวาดอีกหรือ ? ?
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 20:52

           ความหมายนั้นคือว่า ที่บางคนเข้าใจว่า ม.จ.ฉวีวาด นำโขนไทยไปเขมรนั้น - ไม่ใช่, หากแต่เป็น
ละครอิเหนา

แล้วคุณSILAเข้าใจว่าอย่างไรละครับ ขอประทานโทษ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 21:01

            คุณสุจิตต์บอกว่า ท่านป้าของคุณชายไปฝึกสอนการละครเล่นเรื่อง อิเหนา

โอ้ นาร้ายน์ นารายน์
จนป่านนี้ น้าสุจิตต์ยังเชื่อเรื่องท่านป้าฉวีวาดอีกหรือ ? ?

คุณลุงท่านไม่ได้เข้ามาอ่านเรือนไทยมั้งคะ 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 18 มิ.ย. 16, 08:12

บทความเรื่องโขน ละคร โดยคุณธนิต อยู่โพธิ์ พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2496


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 18 มิ.ย. 16, 09:40

            ประโยคสัมภาษณ์สั้นๆ(ไม่ได้จด;จำมา) ของคุณสุจิตต์นั้น หาไม่พบแล้ว หากแต่พบบทความนี้โดยคุณสุจิตต์
จากมติชน

      ท่านป้าฉวีวาด ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ขนละครไทยไปอยู่เขมร ไม่ได้ไปสอนเขมรเล่นโขน แต่ไปหลบราชภัย

               http://www.matichon.co.th/news/169698

(ป.ล. มหากาพย์ชำแหละโครงกระดูกและตำนานท่านป้า - ยาวจัด,อ่านไม่จบ)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 18 มิ.ย. 16, 11:42

อ้างถึง
(ป.ล. มหากาพย์ชำแหละโครงกระดูกและตำนานท่านป้า - ยาวจัด,อ่านไม่จบ)

น่าเสียดายครับ
ถ้าเข้าไปอ่านเสียหน่อย เลือกเฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เรื่องอื่นข้ามๆไปบ้างก็ได้ ก็คงจะไม่ออกมาในแนวนี้ อาจทำให้คนนำไปอ้างอิงกันผิดๆต่อไปอีก


 
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5807.0


 
 
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 18 มิ.ย. 16, 12:15

             คิดว่า ไม่น่ามีใครนำไปอ้างอิงผิด ครับ เพราะจากที่คุณสุจิตต์กล่าวก็เข้าใจได้ว่า

          ท่านป้าฉวีวาด ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ขนละครไทยไปอยู่เขมร ไม่ได้ไปสอนเขมรเล่นโขน แต่ไปหลบราชภัย
          ท่านป้ามีส่วนอะไรในละครเขมร - ยังไม่พบหลักฐาน
          อาจ มีส่วนเพิ่มเติมละครในราชสำนักเขมรบ้างก็ได้ (ในละครอิเหนา ที่ทางเขมรไม่ได้แต่ง)
          จะให้เชื่อว่าละครเขมรได้จากไทยย่อมเป็นไปไม่ง่าย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 18 มิ.ย. 16, 13:02

ท่านป้าฉวีวาด ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ขนละครไทยไปอยู่เขมร ไม่ได้ไปสอนเขมรเล่นโขน แต่ไปหลบราชภัย
          ท่านป้ามีส่วนอะไรในละครเขมร - ยังไม่พบหลักฐาน
          อาจ มีส่วนเพิ่มเติมละครในราชสำนักเขมรบ้างก็ได้ (ในละครอิเหนา ที่ทางเขมรไม่ได้แต่ง)
          จะให้เชื่อว่าละครเขมรได้จากไทยย่อมเป็นไปไม่ง่าย

ด้วยความเคารพ ตรงที่เน้นสีแดงก็ผิดแล้วครับ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 18 มิ.ย. 16, 15:22

อ้างถึง
อาจทำให้คนนำไปอ้างอิงกันผิดๆต่อไปอีก
เช่นนั้นก็คงต้องแจ้งคุณสุจิตต์ด้วยวิถีใดที่ไม่ใช่อินทรเนตรที่คุณสุจิตต์บอกว่าตัวเองโลวเทค
ใช้ไม่เป็น(อาศัยคนอื่นทำเว็บให้,ไม่มีช่องติดต่อ)


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.143 วินาที กับ 20 คำสั่ง