เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 11 พ.ย. 14, 10:38
|
|
โดยเมื่อครั้งกรุงแตก ๒๓๑๐ คณะละครของโขนก็ถูกนำตัวไปเป็นเชลยที่พม่า และยังมีหัวโขนพระราม หัวโขนยักษ์ และการไหว้ครูหลงเหลือในดินแดนพม่า โขนของพม่าใส่หัวโขนทั้งพระราม พระลักษมณ์ และทศกัณฐ์ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 11 พ.ย. 14, 10:45
|
|
เขมรก็มีโขนโดยรับไปจากราชสำนักสยาม  หนุมานและนางสุพรรณมัจฉา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 11 พ.ย. 14, 10:49
|
|
โขนของไทยฉากนี้ คุณ Cherokee1 บอกว่าดูแล้วน้ำตาแทบไหลเชียว อยากทราบเหมือนกันว่าหาก ลา ลูแบร์ขึ้นไทม์แมชชีนมาชมโขนไทยชุดนี้แล้ว จะวิจารณ์อย่างไร  ภาพโขนพม่า เขมร และไทย จาก มหกรรมรามายณะนานาชาติ เฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ จัดขึ้นที่โรงละครแห่งชาติ ระหว่างวันที่ ๖-๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ถ่ายโดย คุณ Cherokee1 แห่งพันทิป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
samun007
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 11 พ.ย. 14, 11:12
|
|
โขนมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วครับ เป็นการแสดงให้เห็นระหว่างความดีกับความชั่ว (ตามที่ฝรั่งเขียนบรรยายไว้) โดยเมื่อครั้งกรุงแตก ๒๓๑๐ คณะละครของโขนก็ถูกนำตัวไปเป็นเชลยที่พม่า และยังมีหัวโขนพระราม หัวโขนยักษ์ และการไหว้ครูหลงเหลือในดินแดนพม่า
โขนโบราณที่หายไปจากสังคมไทยแล้วคือ "โขนนั่งราว" ซึ่งจะเล่นบนเวทีมีนั่งร้านให้ตัวแสดงนั่งบนไม้ไผ่
ส่วนโขนกลางแปลง ก็ยังมีให้เห็นอยู่เช่น การแสดงโขนที่อัมพวา เป็นการแสดงโขนในที่โล่ง ไม่มีเวที ก็เรียกว่าโขนกลางแปลง
ไม่ทราบว่า โขนชักรอก จะจัดอยู่ในหมวดไหนได้บ้างครับ ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 11 พ.ย. 14, 11:53
|
|
โขนชักรอกต้องเล่นในโรงนะครับ โขนกลางแปลงคงเล่นไม่ได้ ไม่เนียน
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นางมารน้อย
พาลี
   
ตอบ: 306
ทำงานแล้วค่ะ
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 11 พ.ย. 14, 15:38
|
|
โดยเมื่อครั้งกรุงแตก ๒๓๑๐ คณะละครของโขนก็ถูกนำตัวไปเป็นเชลยที่พม่า และยังมีหัวโขนพระราม หัวโขนยักษ์ และการไหว้ครูหลงเหลือในดินแดนพม่า โขนของพม่าใส่หัวโขนทั้งพระราม พระลักษมณ์ และทศกัณฐ์  เขาว่าสมัยก่อนของไทยเองพระรามพระลักษณ์ก็สวมหัวโขน แต่พอเอาโขนกับละครมารวมกัน ตอนหลังตัวพระก็ไม่ใส่หัวโขน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 11 พ.ย. 14, 15:53
|
|
พระราม พระลักษมณ์ สวมหัวโขนแบบโบราณ
ภาพจาก หนังสือโขน อัจฉริยลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๒๒
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ประภาวัฒน์
อสุรผัด

ตอบ: 5
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 11 พ.ย. 14, 17:48
|
|
เอากันตามจริงๆแบบสมบรูณ์เลย โขนมีกี่ตอนกันแน่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 11 พ.ย. 14, 19:05
|
|
เอากันตามจริงๆแบบสมบรูณ์เลย โขนมีกี่ตอนกันแน่ครับ
บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ไม่ได้แบ่งเป็นตอนๆ แต่แต่งยาวกันไป ส่วนบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็แต่งเนิรมเติมกันมาเรื่อยๆ ภายหลังครูโขนละครได้แต่งต่อเนื่องกันมา และสามารถแบ่งเป็นตอนหลัก ๆ ตั้งแต่กำเนิดนนทุก จนถึงครองเมืองจักรวรรดิ์ได้ทั้งสิ้น ๑๐๙ ตอนครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 11 พ.ย. 14, 20:46
|
|
จำได้ว่าหัวโขนของตัวพระเหลือแต่ชฎาไม่มีหน้ากากเกิดจากพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๖ ตั้งแต่นั้นสืบมา โขนตัวพระเลยไม่มีหน้ากาก
อันนี้เท็จจริงไม่มีหลังฐาน เพราะตอนเรียนรำคุณครูเล่ามา
(เห็นจีนๆอย่างนี้ จริงๆเป็นโขนธรรมศาสตร์นะเออ...)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
puyum
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 25 ธ.ค. 14, 19:56
|
|
ส่งภาพจากงานอยุธยามรดกโลก เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมาประกอบครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 14:03
|
|
ดึงกระทู้นี้ขึ้นมาเพราะข่าวพิพาทเรื่อง โขนของใคร (ของใครๆ ก็ต้องหวง) เมื่อไทยตระเตรียม ขึ้นทะเบียนโขนไทยเป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ต่อยูเนสโก
ไม่กี่วันมานี้ คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ(เจ้าเก่า) เล่าเรื่องนี้ลงนสพ.มติชนว่า
ไทย-กัมพูชา ร่วมกันศึกษาโขน
โขนมาจากไหน? ไทยกับกัมพูชาควรร่วมกันค้นคว้าวิจัยให้ลุ่มลึกลงรายละเอียดรอบด้าน ซึ่งต้องใช้เวลานาน หลายปีหรืออาจตลอดไปก็ได้ เพราะไม่มีข้อยุติตายตัว โดยเลิกแสดงตนเป็นเจ้าของ เพราะเป็นไปไม่ได้ รังแต่จะก่อให้เกิดประวัติศาสตร์บาดหมางที่เพิ่งสร้างใหม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 14:05
|
|
โขน ไม่ได้มาจากอินเดียทั้งหมด (อย่างที่เข้าใจทั่วไป) แต่มีอย่างน้อย 2 ส่วน ผสมผสานปะปนกัน ได้แก่
(1.) วัฒนธรรมอินโด-เปอร์เซีย หมายถึง อินเดีย กับ อิหร่าน ได้แก่ เนื้อเรื่อง, เครื่องแต่งตัว ฯลฯ และ (2.) วัฒนธรรมพื้นเมืองดั้งเดิมของอุษาคเนย์ ได้แก่ คำว่าโขน, ท่าโขน, ดนตรี ฯลฯ
เนื้อเรื่อง รับจากรามายณะอินเดีย แล้วปรับบางอย่างเข้ากับประเพณีท้องถิ่น เรียกใหม่ว่า รามเกียรติ์
เครื่องแต่งตัว ส่วนมากรับจากวัฒนธรรมเปอร์เซีย (อิหร่าน) เช่น มงกุฎ, ชฎา, ผ้านุ่ง ฯลฯ
โขน เป็นคำมีรากจากตระกูลภาษาชวา-มลายู ว่า Legon เขมรว่า ละโคน ไทยว่า ละคอน (ปัจจุบันสะกดว่า ละคร)
ท่าโขน เป็นท่าพื้นเมืองดั้งเดิมของอุษาคเนย์ (ไม่มาจากอินเดีย) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1.) พระ กับ นาง มีหลักคือ ยืด กับ ยุบ (2.) ยักษ์ กับ ลิง มีหลักอยู่ที่ตั้งเหลี่ยม, กางขา, ย่อเข่า, ก้นเตี้ย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 17 มิ.ย. 16, 14:08
|
|
ดนตรี วงดนตรีประกอบการแสดงโขน เขมรเรียกวงพินเพียด (พิณพาทย์) ไทยเรียกวงปี่พาทย์ ประกอบด้วย เครื่องดนตรีดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ของอุษาคเนย์ (ไม่มีในอินเดีย) เช่น ฆ้องวง, ระนาด, กลองทัด, ปี่ แต่มีเครื่องดนตรี ศักดิ์สิทธิ์จากอินเดียอย่างเดียวประสมวงด้วย คือ ตะโพน (กลองสองหน้าบนขาตั้ง) ทำนองบรรเลงปี่พาทย์ เรียก เพลง มาจากภาษาเขมร ส่วนเพลงศักดิ์สิทธิ์ประกอบกิริยาเคลื่อนไหวของเทวดา เรียก ตระ เป็นภาษาเขมร แปลว่า เพลง, ทำนอง
ไทยต้องนอบน้อมเรียนรู้อีกมากจากกัมพูชา ขณะเดียวกันกัมพูชาก็ต้องเรียนรู้พัฒนาการจากไทย
และ จากคำสัมภาษณ์ คุณสุจิตต์ กล่าวถึง หม่อมเจ้าฉวีวาด ที่โครงกระดูกในตู้ ของคุณชายคึกฤทธิ์ เล่าว่า
โรงละครเขมร ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในดินแดนเขมร เพราะเกี่ยวเนื่องกับหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด หนีไปทั้ง โรงละคร นั่นเอง
คุณสุจิตต์บอกว่า ท่านป้าของคุณชายไปฝึกสอนการละครเล่นเรื่อง อิเหนา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|