เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 19975 โขนศิลปกรรมชั้นสูง และ หุ่นหลวง
ประภาวัฒน์
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


 เมื่อ 10 พ.ย. 14, 10:34

วันนี้จะมาขอรับความรู้ จากเว็บเรือนไทยครับ ว่าโขนแต่โบราณเป็นยังไงต่างกับปัจจุบันมากไหม ทำไมจึงเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูง รูปถ่ายและหลักฐานการแสดงในสมัยโบราณ พอมีไหมครับ
พอดีเมื่อวานผมได้เขาไปฟังสอนเสริมของ มสธ. วิชาไทยศึกษา พอได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับโขน และหุ่นแสดงต่างๆ ซึ่งหุ่น หลายตัวเพิ่งจะเคยได้ยินชื่อ เช่นหุ่นหลวง นี้เล่นกันอย่างไร ทุกวันนี้จะหาดูได้ยังไงครับ
หลายท่านอาจ งง ว่า และนึกในใจว่า เมื่อ สูเจ้า สงสัยใยจึงไม่สอบถามอาจารย์ มาถามพวกตูทำไม google ก็มี (ดักไว้ก่อน อิอิ กลัวเจอ แบบใน พันดริฟ) ถามแล้วครับแต่ก็ได้คำตอบแบบไม่ค่อยมากนัก อาจารย์ท่านไม่ได้ศึกษา มาทางนี้ และรูปประกอบก็ไม่ค่อยมี ส่วนพันดริฟนี้เกรียนเยอะเกินไปครับ บ้านที่ผมอยู่ค่อนข้างไกลจากแหล่งความรู้ดีดี ค่อนข้างมาก เป็นเขตอุตสาหกรรมครับ จึงอยากจะขอรบกวนทุกท่านช่วยต่อเติมความรู้สักคราครับ

ปล.ขอบคุณ คุณอา Navarat C. ด้วยนะครับ เอารถถังกับรถยนต์ไป วางไว้ให้ดู จริงๆ คราวหน้าขอเรื่อง รถพระที่นั่งจัดเต็ม สักกระทู้นะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 พ.ย. 14, 10:44

หลานคนนี้ ตามมาจากวิกโน้น

http://pantip.com/topic/32770533

ผมเคยลงเรื่องและรูปคล้ายกันในวิกนี้มาแล้ว จะลงที่นี่อีกก็คงซ้ำซาก และอยากให้ผู้ที่ชอบเรื่องทหารๆในประวัติศาสตร์ได้อ่านเรื่องทำนองนี้ให้มากๆขึ้น นานๆก็เลยแวะไปเยี่ยมที่โน่นที ไปมากไม่ได้ ขี้เกียจโต้ตอบกับเด็กแว้น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 พ.ย. 14, 10:46

อ้อ ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูกับดร.ประกอบด้วยนะครับ ที่ตามไปให้กิฟ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 พ.ย. 14, 11:10

อ้อ ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูกับดร.ประกอบด้วยนะครับ ที่ตามไปให้กิฟ

คุณชายประกอบเทพเรียนจบ เป็นดร.แล้วหรือคะ  จะได้แสดงความยินดีด้วย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 พ.ย. 14, 11:57

เราก็เรียกไปก่อนได้ครับ Ph.D Candidate ก็พอมองเห็นอนาคตใสๆ

ฟังเท่ห์ดี เหมือนเวลาเรียก ดร.ประกอบ หุตะสิงห์ แบบสั้นๆ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 10 พ.ย. 14, 13:27

ตอนนี้ยังเป็นด็อกเฉยๆ อยู่ครับ เตอร์ยังไม่มา  เตอร์มาเมื่อไหร่จะหาซื้อหอยทากกระป๋องไปฝากท่านผู้ใหญ่ทั้งหลายเลย



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 10 พ.ย. 14, 13:33

มีเต้อร์เมื่อไรบอกนะคะ  จะเชิญท่านผู้ใหญ่ทั้งหลายในเรือนไทย มาตัดริบบิ้นเปิดเรือนเลี้ยงอาหารทะเลสักมื้อ   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 10 พ.ย. 14, 14:24

พอดีเมื่อวานผมได้เขาไปฟังสอนเสริมของ มสธ. วิชาไทยศึกษา พอได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับโขน และหุ่นแสดงต่างๆ ซึ่งหุ่น หลายตัวเพิ่งจะเคยได้ยินชื่อ เช่นหุ่นหลวง นี้เล่นกันอย่างไร ทุกวันนี้จะหาดูได้ยังไงครับ

เรื่องการแสดงหุ่นเคยบรรยายไว้โดยคณาจารย์เรือนไทยแล้วในชื่อกระทู้ว่า "เจ้าชายยอร์ช วอชิงตัน แห่งสยาม กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าพระองค์สุดท้าย" กล่าวถึงหุ่น ๔ ประเภท คือ

๑.  หุ่นหลวง
๒.  หุ่นวังหน้า สมัยกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
๓.  หุ่นกระบอก  
๔.  หุ่นละครเล็ก

คุณประภาวัฒน์ลองเข้าไปอ่านดูก่อน  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 10 พ.ย. 14, 14:45

ดร.สุรัตน์ จงดา คณะไก่แก้วการละคร เพิ่งจัดแสดงหุ่นหลวงครั้งแรกหลังจากสูญหายไปกว่า 150 ปีที่ลานหน้าพระอุโบสถ วัดบวรสถานสุธาวาส เมื่อวันที่ 9 พ.ย. นี้เองค่ะ โดยหุ่นหลวงครั้งนี้เห็นว่าอาจารย์ออกทุนเอง มีได้ทุนมาจากรีเจนซี่ด้วย ซึ่งการแสดงหุ่นหลวงครั้งนี้เป็นการร่วมงานแสดงเทศกาลหุ่นโลกค่ะ เห็นว่าวันนี้มีแสดงอีกเป็นวันสุดท้ายนะคะ นี่ถ้าไม่ติดว่าต้องรีบกลับบ้านที่ชลบุรี เมื่อวานนี้ก็ว่าจะรอชมด้วยค่ะ เห็นว่าแสดงเรื่องราชาธิราช

ภาพจากเฟสบุ๊คอ.สุรัตน์ค่ะ


บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
ประภาวัฒน์
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 10 พ.ย. 14, 15:23

คุณนางมารน้อยครับ แล้วนี่เขาเล่นกันอย่างไรหรือครับ ปรกติกาลสมัยก่อนนี้เล่นในโอกาศใดบ้างครับ
บันทึกการเข้า
ประภาวัฒน์
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 10 พ.ย. 14, 15:30

อาจารย์ เพ็ญชมพู ครับ ตัวหุ่นนี้แต่เดิมในยุครุ่งเรืองนี่มีความสวยงามกว่านี้หรือไม่ครับ พอดีได้อ่านจากเว็บนึงมา ระบุว่า "ยุครุ่งเรืองของโขนละคร อยู่ในช่วงต้นกรุง เขาว่ามาเสื่อมเอาตอนรัชกาลที่ ๔" แล้วยุคนั้น หุ่นละครมีความแพร่หลายขนาดใดกันครับ
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 พ.ย. 14, 21:09

คุณประภาวัฒน์เคยไปดูการซ้อมหุ่นตะเลงพ่าย  ของอ.จักรพันธุ์หรือยังคะ? ถ้ายัง  เชียร์ให้ไปค่ะ เป็นการแสดงหุ่นที่สุดยอดจริงๆ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 07:21

โขนมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วครับ เป็นการแสดงให้เห็นระหว่างความดีกับความชั่ว (ตามที่ฝรั่งเขียนบรรยายไว้) โดยเมื่อครั้งกรุงแตก ๒๓๑๐ คณะละครของโขนก็ถูกนำตัวไปเป็นเชลยที่พม่า และยังมีหัวโขนพระราม หัวโขนยักษ์ และการไหว้ครูหลงเหลือในดินแดนพม่า

โขนโบราณที่หายไปจากสังคมไทยแล้วคือ "โขนนั่งราว" ซึ่งจะเล่นบนเวทีมีนั่งร้านให้ตัวแสดงนั่งบนไม้ไผ่

ส่วนโขนกลางแปลง ก็ยังมีให้เห็นอยู่เช่น การแสดงโขนที่อัมพวา เป็นการแสดงโขนในที่โล่ง ไม่มีเวที ก็เรียกว่าโขนกลางแปลง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 09:42

อาจารย์ เพ็ญชมพู ครับ ตัวหุ่นนี้แต่เดิมในยุครุ่งเรืองนี่มีความสวยงามกว่านี้หรือไม่ครับ พอดีได้อ่านจากเว็บนึงมา ระบุว่า "ยุครุ่งเรืองของโขนละคร อยู่ในช่วงต้นกรุง เขาว่ามาเสื่อมเอาตอนรัชกาลที่ ๔" แล้วยุคนั้น หุ่นละครมีความแพร่หลายขนาดใดกันครับ

ขออนุญาตเท้าความไปถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งมีบันทึกของลา ลูแบร์เกี่ยวกับเรื่องหุ่น (สำนวนแปลของคุณสันต์ ท. โกมลบุตร) ดังนี้

"หุ่นกระบอกในประเทศสยามนั้นเป็นใบ้ไม่ออกเสียง (คุณสันต์อธิบายตรงนี้ว่าหมายถึงไม่มีคนพากย์  ท่าลาลูแบร์จะหลงไปถนัด) หุ่นกระบอกที่มาจากประเทศลาวนั้น ยังมีคนชอบดูมากกว่าของประเทศสยามเองเสียอีก แต่ไม่ว่าจะเป็นหุ่นกระบอกของชาติไหนในสองประเทศนี้ ก็เป็นมหรสพพื้น ๆ ไม่ขึ้นหน้าขึ้นตาในประเทศด้วยกันทั้งคู่"

ในกระทู้ที่แนะนำไว้ข้างต้น มีภาพหุ่นหลวงและหุ่นวังหน้าทั้งก่อนและหลังการบูรณะโดยคุณจักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๓ หลายภาพทีเดียว คุณประภาวัฒน์คงตัดสินได้ว่ามีความสวยงามประการใด

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ หุ่นที่มีการเล่นเป็นของวังหน้าแสดงทั้งในงานหลวงและงานราษฎร (ระดับบิ๊ก) ดังที่คุณเทาชมพูเล่าไว้ดังนี้

    หุ่นวังหน้าเรื่องรามเกียรติ์ ได้แสดงถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานสมโภชช้างเผือกที่หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์  บันทึกไว้ในหนังสือข่าวราชการ เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๙ ว่า
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกประทับ ณ พลับพลาหน้าโรง    ทอดพระเนตรหุ่นอย่างใหม่ของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลได้ทรงคิดขึ้นใหม่นั้น    ปลูกโรงลงในท้องถนนตรงหน้าพลับพลา    โรงนั้นยาวประมาณ ๑๐ วา    ตัวหุ่นนั้นสูงประมาณ ๑๐ นิ้ว ฯลฯ   เมื่อเชิดนั้นไม่เห็นตัวคนเชิด    และเจรจาหรือพากย์ก็ดี   ไม่เห็นตัวคนพากย์คนเจรจา    มีแต่ตัวหุ่นออกมาเต้นรำทำท่าต่างๆ    และในโรงนั้น รางพื้น รางเพดานเพื่อจะได้เชิดแลเหาะ"


     และใน  ราชกิจจานุเบกษา บันทึกว่า
     "ในงานทำบุญสมภพในสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ครบ ๗๑ ปี    กรมพระราชวังบวรสถานมงคลจัดหุ่นไปช่วยเพลา ๑"
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 10:14

โขนมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วครับ เป็นการแสดงให้เห็นระหว่างความดีกับความชั่ว (ตามที่ฝรั่งเขียนบรรยายไว้)

ลองฟังฝรั่งอีกคนสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ คือ ลา ลูแบร์ (เจ้าเก่า) เล่าเกี่ยวกับโขนสมัยนั้นไว้ดังนี้

"โขน (Cône) นั้น เป็นการร่ายรำเข้า ๆ ออก ๆ หลายคำรบตามจังหวะซอและเครื่องดนตรีอย่างอื่นอีก ผู้แสดงนั้นสวมหน้ากาก (หัวโขน) และถืออาวุธ แสดงบทหนักไปในทางสู้รบกันมากกว่าจะเป็นการร่ายรำ และมาตรว่าการแสดงส่วนใหญ่จะหนักไปในทางโลดเต้นเผ่นโผนโจนทะยาน และวางท่าอย่างเกินสมควรแล้ว นาน ๆ ก็จะหยุดเจรจาออกมาสักคำสองคำ หน้ากาก (หัวโขน) ส่วนใหญ่นั้นน่าเกลียด เป็นหน้าสัตว์ที่มีรูปพรรณวิตถาร (ลิง) หรือไม่เป็นหน้าปีศาจ (ยักษ์)

ผู้ที่เล่นระบำ (Rabam) หรือเล่นโขนเท่านั้นที่สวมชฎาทำด้วยกระดาษทองน้ำตะโกทรงสูงปลายแหลมเกือบเหมือนลอมพอกของพวกขุนนาง แต่ครอบลงมาข้างล่างจนปรกปลายหู และประดับอัญมณีเก๊ ๆ กับตุ้มหูทำด้วยไม้ทาทองไว้ด้วย โขนกับระบำนั้นมักหาไปแสดงในงานปลงศพ ลางทีก็หาไปเล่นในงานอื่น ๆ บ้าง และมีท่าทีว่าการมหรสพประเภทนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการพระศาสนาแต่อย่างใด ด้วยเป็นสิ่งต้องห้ามมิให้พระภิกษุสงฆ์ดู"


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 19 คำสั่ง