เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 15002 พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 18:42

มาไม่ทันของว่างแฮะ เก็บล้างกันไปเรียบร้อยแล้ว


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 19:12

แทนที่จะบอกว่ามาไม่ทันเรียน กลับเสียดายที่มาไม่ทันกิน  มันน่า...
 โกรธ

เมื่อเด็กชายสุนีนั่งเรือบรรทุกข้าวสารของบิดาไปถึงบางกอก   สุนีขึ้นจากเรือไปเยี่ยมมารดาแล้วตัดสินใจว่าจะไม่กลับสุพรรณบุรี แต่จะขออยู่กรุงเทพกับแม่ดีกว่า ก็เลยขออนุญาตบิดาว่าจะอยู่กรุงเทพเพื่อดูแลมารดา และมีโอกาสได้เข้าโรงเรียนด้วย
ตรงนี้คือหัวเลี้ยวหัวต่อ ครั้งแรกของเด็กชายสุนี ที่จะนำอนาคตอันยาวไกลมาสู่เขา

โชคเข้าข้างเด็กชาย  นายทองอนุญาตให้สุนีอยู่กรุงเทพได้   ทั้งๆท่านก็หวังว่าจะให้บุตรชายเจริญรอยทางค้าขายตามท่าน    ส่วนคุณนายหรุ่นคิดไปอีกอย่างคืออยากให้สุนีเรียนสูงๆเพื่อประกอบอาชีพหมอ หรือครูต่อไปภายหน้า    แต่เด็กชายสุนีไม่อยากทำทั้งสองอย่าง  เขาอยากเรียนกฎหมายมากกว่า

สุนีเข้ากรุงประมาณพ.ศ. ๒๔๓๘ คือเมื่ออายุ ๘ ขวบ    เข้าเรียนในโรงเรียนหลายแห่ง  แรกทีเดียวก็โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส หรือร.ร.วัดสามปลื้ม   ไปต่อที่ร.ร.วัดมหาพฤฒาราม และจบชั้นมัธยมปีที่ ๔ จากโรงเรียนสวนกุหลาบเมื่ออายุ ๑๘ ปี

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 20:42

  หัวเลี้ยวหัวต่อครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อสุนีตัดสินใจ เลือกเส้นทางอื่นนอกจากเส้นทางกฎหมายอย่างที่ตั้งใจแต่แรก     เส้นทางนั้นคือโรงเรียนนายร้อยทหารบก  เหล่าทหารช่าง

 ประวัติของพระยาเฉลิมอากาศในช่วงนี้ ไม่ทราบว่าพิมพ์ผิดหรืออย่างไร เพราะบอกว่าท่านจบม. ๔ จากร.ร.สวนกุหลาบเมื่ออายุ ๑๘ ปี    และจบจากร.ร.นายร้อยทหารบกเมื่ออายุ ๑๘ เช่นกัน    มันน่าจะเป็นว่าท่านจบจากร.ร.สวนกุหลาบเมื่ออายุ ๑๕  แล้วมาสอบเข้าร.ร.นายร้อย เหล่าทหารช่างเมื่อพ.ศ. ๒๔๔๖  เรียนจบเมื่อพ.ศ. ๒๔๔๘ ติดยศนายร้อยตรีทหารบก  ประจำกรมทหารช่างที่ ๑ รักษาพระองค์

ทหารช่างเป็นเหล่าเทคนิค  นักเรียนที่สอบได้คะแนนดีเยี่ยมเท่านั้นจึงจะเข้าเป็นทหารช่างได้    นายร้อยตรีสุนีเป็นนักเรียนเก่งคนหนึ่ง  เห็นได้จากเมื่อเรียนจบแล้ว  ทางร.ร.นายร้อยเรียกให้ไปเป็นครูสอนแผนที่ให้นักเรียนนายร้อยรุ่นน้อง
ชีวิตนายทหารก้าวหน้าด้วยดี  เมื่ออายุ ๒๑  ได้เป็นนายร้อยเอก และเมื่ออายุ ๒๓ ปีก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 20:55

    ในช่วงเวลาที่พระเอกของกระทู้นี้เริ่มเป็นหนุ่ม    โลกกำลังตื่นเต้นกับโพยมยาน   เหล็กบินได้บนอากาศ  หลังจากเป็นแค่ความฝันของมนุษยชาติมาหลายพันปีว่าจะบินได้อย่างนก      นับแต่พี่น้องตระกูลไรต์พาเครื่องบินขึ้นทดลองบินได้สำเร็จ  เครื่องบินก็เป็นนวัตกรรมที่ตอบสนองความตื่นเต้นอัศจรรย์ใจของคนทั้งโลก
    ราชอาณาจักรสยามได้มีโอกาสต้อนรับโพยมยานเป็นครั้งแรกใน ๖ ปีต่อมา   คือปีแรกในรัชกาลที่ ๖  ห้างบางกอกด็อกสั่ง "เรือเหาะ" มาบินให้ชมเป็นครั้งแรกในปลายเดือนมกราคมต่อกับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓  (ถ้าเป็นปัจจุบันนับเป็น ๒๕๕๔) มีนักบินฝรั่งชาวเบลเยี่ยมชื่อชื่อนาย  Charles van den Born เป็นนักบินสาธิต   จุดมุ่งหมายคือจะขายประดิษฐกรรมใหม่ล้ำยุค แก่กระทรวงกลาโหมของสยาม พร้อมแถมฝึกหัดนักบินให้ด้วย
   ระหว่างนำมาแสดงการบิน  ก็หารายได้ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ดูขึ้นเครื่องบินไปชมทัศนียภาพบนพื้นดินได้  คิดเที่ยวละ ๕๐ บาท  เมื่อมีคนสนใจมากขึ้นก็เพิ่มราคาขึ้นไปเป็น ๑๐๐ บาท   ในยุคที่ปลาทูเข่งละ ๑ สตางค์  ราคานี้เห็นจะมีแต่เศรษฐีเท่านั้นขึ้นไปได้

   ถึงเวลาต้องลงเรือนไปอีกแล้วค่ะ  คราวนี้นักเรียนทั้งหลายไม่ต้องกลัวจะปิดชั้นเรียน จนอดของว่าง   ดิฉันได้ติดต่อเชิญอาจารย์พิเศษผู้เชี่ยวชาญหลายกระทู้มาสอนต่อให้แล้ว  อดใจรอท่าน NAVARAT.C   สักครู่
   เผลอๆภารโรงระดับผู้อำนวยการร.ร. จะเข้ามาแจมด้วย 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 21:29

ราชอาณาจักรสยามได้มีโอกาสต้อนรับโพยมยานเป็นครั้งแรกใน ๖ ปีต่อมา   คือปีแรกในรัชกาลที่ ๖  ห้างบางกอกด็อกสั่ง "เรือเหาะ" มาบินให้ชมเป็นครั้งแรกในปลายเดือนมกราคมต่อกับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓  (ถ้าเป็นปัจจุบันนับเป็น ๒๕๕๔) มีนักบินฝรั่งชาวเบลเยี่ยมชื่อชื่อนาย  Charles van den Born เป็นนักบินสาธิต   จุดมุ่งหมายคือจะขายประดิษฐกรรมใหม่ล้ำยุค แก่กระทรวงกลาโหมของสยาม พร้อมแถมฝึกหัดนักบินให้ด้วย

รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

ในปลายเดือนมกราคม, พ.ศ. ๒๔๕๓, ได้มีเครื่องบินเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เปนครั้งแรก ผู้ที่จัดการนำเครื่องบินเข้ามาแสดงในนี้เปนบริษัทฝรั่งเศสชื่อ "บริษัทการบินแห่งปลายบุรพเทศ" ("Societe d' Aviation de L' Extreme Orient") และนักบินชื่อวันเด็นบอร์น (Van den Born). ได้ขออนุญาตเก็บเงินคนดูโดยปิดถนนสนามม้า, ปะทุมวัน, และใช้สนามม้าของราชกรีฑาสโมสรเปนสนามบิน. การบินมี ๕ วัน, คือวันที่ ๑, ที่ ๒, ที่ ๔, ที่ ๕, ที่ ๖ มีผู้รับให้รางวัลทุกวัน, และของกะลาโหมมีเปนประจำทุกวัน, เพราะเขารับฝึกหัดนายทหารของเราให้ใช้เครื่องบินด้วย. เครื่องที่นำเข้ามาครั้งแรกเปนเครื่องปีก ๒ ชั้น ไม่มีที่คนโดยสารขึ้น, ฉนั้นถ้าใครอยากจะโดยสารก็ต้องยืนเกาะไปข้างหลังคนขับ, ออกจะน่าเสียวใส้อยู่บ้าง. ได้มีคนไทยลองขึ้นกันหลายคน, เจ้านายมีกรมอดิศร, กรมกำแพงเพ็ชร์ และกรมสรรควิสัยนรบดี, พวกเหล่านี้กล่าวว่าไม่น่ากลัวกว่าขึ้นรถยนตร์, แต่ในเวลานั้นออกจะมีคนเห็นด้วยน้อยทีเดียว. ตามความจริงเครื่องบินในเวลานั้นก็ยังไม่ดีเท่าในเวลานี้จริง ๆ ด้วย, และยังมีข่าวตกหล่นและเกิดอุปัทวเหตุบ่อย ๆ นัก. เมื่อฉันยังอยู่ที่ยุโรปนั้น ได้มีผู้คิดสร้างเครื่องบินขึ้นบ้างแล้ว, แต่ฉันยังหาได้เคยเห็นใครขึ้นเครื่องบินแล่นในอากาศไม่, ฉนั้นฉันเองก็ออกจะตื่นมากอยู่ ในการที่ได้มีเครื่องบินเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ครั้งนั้น.

ตามจดหมายเหตุรายวันปรากฏว่า ฉันได้ไปดูการบินถึง ๔ วัน. วันที่ ๑ กุมภาพันธ์เปนวันแรกที่ไปดู. ฉนั้นอยู่ข้างจะตื่นมาก, แต่ก็ไม่ปรากฏว่านักบินได้แสดงอะไรผาดโผนยิ่งไปกว่าขึ้นจากสนามม้าแล่นไปรอบ ๆ แล้วก็กลับลง. วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ได้ไปดูอีกครั้ง ๑, และครั้งนี้เขาเชิญให้ไปดูเครื่องในที่ใกล้ วันที่ ๔ ได้ไปดูอีก, และเสด็จแม่กับเจ้านายฝ่ายในเสด็จไปทอดพระเนตร์ด้วย, แต่ประทับที่โรงเรียนตำรวจพระนครบาล, ไม่ใช่ที่ราชกรีฑาสโมสร. การบินในวันนี้ไม่ได้กระทำเต็มตามกำหนด, เพราะเขาว่าลมบนแรงนัก. วันที่ ๕ เขาได้บินจากราชกรีฑาสโมสรไปสวนดุสิต, ทิ้งหนังสือลงไปที่พระลานฉบับ ๑, แล้วบินกลับไปภายในเวลา ๘ นาที. ฉันได้ให้ถ้วยเงินเปนรางวัลถ้วยหนึ่ง.

จากหนังสือประวัติต้นรัชกาลที่ ๖

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 21:34

อ้างถึง
ถึงเวลาต้องลงเรือนไปอีกแล้วค่ะ  คราวนี้นักเรียนทั้งหลายไม่ต้องกลัวจะปิดชั้นเรียน จนอดของว่าง   ดิฉันได้ติดต่อเชิญอาจารย์พิเศษผู้เชี่ยวชาญหลายกระทู้มาสอนต่อให้แล้ว  อดใจรอท่าน NAVARAT.C   สักครู่
  
เผลอๆภารโรงระดับผู้อำนวยการร.ร. จะเข้ามาแจมด้วย  

มาเร็วประดุจนั่งโพยมยาน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 21:52

ข้อมูลบางตอนจากหนังสือ “เจ้าชีวิต” ประพันธ์โดย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงเขียนถึงการบินครั้งแรกในสยามว่าสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ และกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินผลัดกันขึ้นเสด็จประทับบนเครื่องบินที่ฝรั่งนำมาแสดงสาธิตที่สนามม้าปทุมวัน  แต่ไม่มีหลักฐานบันทึกว่าพระองค์ใดเสด็จขึ้นก่อน จึงไม่มีทางทราบได้ว่าใครเป็นคนไทยคนแรกที่ขึ้นเครื่องบิน แล้วขึ้นบินจริงๆ

ในหนังสือก็มีพระรูปทูลกระหม่อมพ่อของท่าน และกรมพระกำแพงประทับนั่งบนเครื่องบินที่แม้จะจอดอยู่กับพื้น แต่นักบินก็นั่งประจำที่พร้อมจะทำการบิน ดูทะมัดทะแมงยิ่งนัก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 22:00

ผมก็เคยผ่านตาว่าเคยเห็นหนังสือพระประวัตินายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน และหลายเวปเช่นรถไฟไทยที่ถือพระองค์เป็นพระบิดาของการรถไฟไทยก็ลงพระประวัติทำนองเดียวกัน ว่าพระองค์ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ขึ้นบินกับนักบินฝรั่งที่มาแสดงนั้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 22:03

เรื่องราวเหตุการณ์ในตอนนั้น ที่เล่าไว้ละเอียดข้อมูลแน่นหนาน่าเชื่อถือมากมาจากเวปของกรมยุทธการทหารอากาศ เขียนโดย น.อ.ศักดิ์พินิต พร้อมเทพ ผู้ใดไม่สะใจย่อความของผมข้างล่าง อยากอ่านยาวๆก็สามารถตามไปดูได้ ผมแปะที่อยู่ไว้ให้แล้ว

http://www.do.rtaf.mi.th/%5CArticle/detail.asp?id=6

ใจความมีว่า
นายชาร์ล ฟัน เดน บอร์น นักบินลูกครึ่งเบลเยียม-ฝรั่งเศส นำเครื่องบินแบบอังรี ฟาร์มัง 4ชื่อแวนด้า ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเครื่องบินแบบฟลายเออร์ ของสองพี่น้องตระกูลไรท์มาทำการบินเพื่อหาทางขายเครื่องบินให้แก่ประเทศทางเอเซีย เริ่มที่ไซ่ง่อน เมื่อจบแล้วก็บรรทุกลงเรือต่อมากรุงเทพฯ และได้แสดงการบินให้ชาวไทยได้ชมที่ราชกรีฑาสโมสรหรือที่ส่วนใหญ่เรียกกันว่าสนามม้าสระปทุม  เป็นครั้งแรก ในระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 6กุมภาพันธ์ 2453

ชาร์ล ฟัน เดน บอร์น ยังได้บันทึกไว้อีกว่า เขานำเครื่องบินของเขาขึ้นบินทดสอบก่อนหน้าการแสดงการบินจริงวันนึง ดังนั้นผู้เขียนจึงได้สรุปว่าการบินครั้งแรกในประเทศไทย หรือประเทศสยามในขณะนั้น เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2453 และอย่างเป็นทางการในวันที่ 31มกราคม 2453 จากนั้นก็มีการแสดงการบินทุกวันจนถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ และแสดงเพิ่มเติมอีกหนึ่งวัน ในวันที่ 9กุมภาพันธ์2453

วันที่ 2กุมภาพันธ์ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาทอดพระเนตรการแสดงการบินโดยมิได้มีหมายกำหนดการมาก่อน ไม่ใช่วันแสดงการบินวันแรกตามที่กองทัพอากาศบันทึกไว้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 22:08

แต่ในเวปนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้แจ้งว่าแล้วคนไทยผู้ใดล่ะ ที่ได้ขึ้นทำการบินกับนายชาร์ล ฟัน เดน บอร์น เป็นคนแรก

ผมก็ท่องเนทต่อๆไปจนพบร่องรอยจากหนังสือสารานุกรม พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ข้อความในหน้าที่เอามาให้ดูนี้ เอ่ยถึงนายทหารไทยที่ได้รับเชิญให้ขึ้นบินด้วยชื่อ นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 22:11

ดูจากประวัติของท่านจากเวปคลังปัญญาไทยก็ชัดเจน

เริ่มจากการรับราชการทหารบก และได้เลื่อนเป็นนายร้อยเอกหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2454 ได้ยศเป็นนายพันตรี และในช่วงเมื่อต้นปี พ.ศ. 2454 มีฝรั่งนำเครื่องบินชื่อออร์วิลล ไรท์ ใช้เครื่องยนต์ 50 แรงม้า ความเร็วชั่วโมงละ 50 กิโลเมตร เป็นเครื่องบินใบพัด ปีกสองชั้น มาแสดง การบินให้ประชาชนชมที่สนามม้าสระปทุม เมื่อฝรั่งบินให้ประชาชนชมแล้ว เชิญไทยขึ้นเครื่องบินทดลอง ทางฝ่ายทหารไทย ให้หลวงศักดิ์ศัลยาวุธขึ้นเป็นคนแรก พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธตกลงด้วยความเต็มใจ ขึ้นเครื่องบินนั่งคู่กับฝรั่งบินร่อนอยู่ได้สองสามรอบแล้วกลับลงสู่พื้นดิน พอลงมาพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธพูดว่า "เมื่อเครื่องบินอยู่ใน อากาศนั้นไม่มีความรู้สึกอย่างไร สบายเหมือนนั่งรถยนต์"


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 22:15

ถ้าไม่มีทั้งหนังสือทั้งอินเตอร์เนท ผมคงมิอาจสรุปความเชื่อส่วนบุคคลของผม ซึ่งถึงแม้จะหาเอกสารชั้นต้นจริงๆไม่พบ ดังนี้

ผมเชื่อว่า ในวันที่ 30 มกราคม 2454 (1911)  นายชาร์ล ฟัน เดน บอร์น เมื่อประกอบเครื่องบินเสร็จแล้ว จะต้องนำเครื่องบินของเขาขึ้นบินทดสอบก่อนหน้าการแสดงการบินจริงที่จะมีในวันรุ่งขึ้นแน่นอน  ดังนั้นแม้จะเป็นการบินทดสอบ ก็ต้องถือว่าเป็นการบินครั้งแรกในประเทศไทยโดยมิอาจปฏิเสธได้ แต่นักบินคงจะยังไม่กล้าให้มีผู้ใดโดยสารขึ้นไปด้วยในการบินเพื่อทดสอบเครื่องนี้

ในวันที่ 31 มกราคม 2454 (1911) วันแรกที่แสดงการบินต่อสาธารณะชน ซึ่งคงจะอนุญาตเฉพาะบุคคลระดับVIP  สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินคงเสด็จในวันนั้น หลังจากแสดงการบินโชว์แบบเดี่ยวจนแน่ใจแล้ว นายชาร์ล ฟัน เดน บอร์น คงจะเชิญคนไทยให้ร่วมทดสอบ ตรงนี้ผมเชื่อว่าเขาคงไม่กล้าทูลเชิญเจ้านายทั้งสองพระองค์โดยตรง หรือมิฉนั้นแล้วจะเป็นการเสี่ยงเกินสำหรับนายทหารชั้นผู้ใหญ่และทรงเป็นพระเจ้าน้องยาเธอด้วย เพราะตามธรรมเนียมแล้ว จะต้องมีนายทหารอาสาขึ้นไปลองของก่อน ตอนนั้นพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ผู้บังคับกองพันพิเศษที่ 5เป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุด อาจจะเข้าทางของท่านอยู่แล้วด้วย ความคิดที่จะมีทหารนักบินคงจะไม่ใช่ว่าจะมาพูดกันหลังจากที่ฝรั่งเอาเครื่องบินมาโชว์ คำว่ากองพันพิเศษนี่ก็บ่งบอกอะไรอยู่ไม่น้อย เพราะหลังจากนั้นไม่นานพันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ได้เดินทางพร้อมด้วยนายร้อยเอกหลวงวุธสิขิกร (นายพันเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ - หลง สินสุข) กับนายร้อยโททิพย์ เกตุทัต (นาวาอากาศเอกพระยาทยานพิฆาฏ) เพื่อศึกษาการบินในฝรั่งเศส เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้จัดซื้อเครื่องบินรุ่นแรกของกองทัพบกรวม7ลำมาประกอบ และบินขึ้นที่สนามม้าปทุมวันดังรูปข้างล่างนี้ ก่อนจะย้ายไปฐานบินดอนเมือง แล้วพัฒนาเป็นกองทัพอากาศในที่สุด

ในวันนั้นเองหลังจากที่พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ลงจากเครื่องมาแล้วกราบทูลว่าสบายเหมือนนั่งรถยนต์ ผู้บังคับบัญชาจึงได้ทรงขึ้นทดลองด้วยพระองค์เอง เมื่อเป็นที่พอพระทัยมาก จึงได้กราบบังคมทูลในหลวง จนพระองค์สนพระทัยต้องเสด็จมาทอดพระเนตรเองโดยไม่มีหมายกำหนดการสองวันหลังจากนั้น  คือในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2454 (1911)

ส่วนในวันทดสอบ พระองค์ใดจะทรงได้บินขึ้นก่อนหรือขึ้นหลัง ผมคงไม่ต้องหาคำตอบ
.
.
เพราะประวัติศาสตร์ได้ถูกสร้างขึ้นแล้ว ว่าใครเป็นคนไทยคนแรกที่ขึ้นบินกับเครื่องบินในประเทศสยาม แม้จะไม่มีรูปถ่ายของท่านปรากฏเป็นหลักฐานก็ตาม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 22:18

จากเว็บนี้ครับ

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/07/K8138478/K8138478.html

คืนนี้ขอลาไปนอนก่อน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 12 พ.ย. 14, 08:33

ลูกหลานของพระยาเฉลิมอากาศก็คิดเช่นเดียวกับพระยาศรีนวรัตน
เพราะเล่าว่าในความทรงจำและความรับรู้ที่ถ่ายทอดกันมาในครอบครัวและกองทัพอากาศ  พระยาเฉลิมอากาศเป็นคนไทยคนแรกที่มีโอกาสขึ้นไปเหินฟ้าอย่างนก เหนือพื้นพสุธา
เหตุผลง่ายๆที่ชัดเจนคือ  การที่เจ้านายระดับพระเจ้าน้องยาเธอตั้งหลายพระองค์จะทรงขึ้นโพยมยานซึ่งเป็นของใหม่  ไม่รู้จะอันตรายมากน้อยแค่ไหน  ย่อมไม่มีใครปล่อยให้ท่านเสด็จขึ้นไปโดยไม่มีการ "เคลียร์ทาง"  คือสำรวจความเรียบร้อยปลอดภัยเสียก่อน   เรียกว่าต้องมี "กระบวนนำ"  จนทุกวันนี้ ธรรมเนียมการเสด็จของเจ้านายก็ยังต้องมีกระบวนนำกันอยู่

เมื่อนายพลตรีพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นกำแพงเพชรฯ (พระยศในขณะนั้น) จเรทหารช่างจะเสด็จโดยสารเครื่องบิน     ก็ต้องมีนายทหารไทยใจกล้าสักคนขึ้นไปเป็น "กระบวนนำ" สำรวจความเรียบร้อยปลอดภัยของการนั่งโพยมยาน     คุณหลวงศักดิ์ศัลยาวุธซึ่งเป็นนายทหารช่าง  ประจำแผนกจเรทหาร จะถูกคัดเลือกหรืออาสาขึ้นไปเองก็ตามแต่   ก็ชอบด้วยเหตุผลที่ท่านจะได้ขึ้นไปก่อนเจ้านาย   
เมื่อนั่งเครื่องบิน เหาะขึ้นเหาะลง พบว่าการนั่งบนเครื่องเรียบร้อยปลอดภัยดีไม่มีอะไรน่าวิตกกังวล    ก็กลับมากราบทูลเจ้านาย  จากนั้นกรมหมื่นกำแพงเพชรถึงเสด็จขึ้นไปอย่างเป็นทางการ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 12 พ.ย. 14, 08:53

ในบันทึกที่ผ่านมายังขาดพระองค์นี้ไปอีกหนึ่ง ทรงขึ้นไปทดลองบินในโอกาสนั้นด้วย


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 20 คำสั่ง