เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7]
  พิมพ์  
อ่าน: 15099 พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 14 พ.ย. 14, 08:47

ดูเหมือนว่าจะครบประวัติท่านตามที่มีในเว็บแล้ว

ยังมีประวัติตอนสำคัญของท่านในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ ๑ ใน กระทู้ของคุณนวรัตนที่พันทิป เขียนถึงเหตุการณ์ตอนนี้ไว้สั้น ๆ ว่า

๑๙ มีนาคม ๒๔๖๑ กระทรวงกลาโหมยกฐานะกองบินทหารบกขึ้นเป็นกรมอากาศยานทหารบก ในระหว่างเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระยาเฉลิมอากาศไปราชการสงครามร่วมศึกกับพันธมิตร เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ปีเดียวกันเสร็จสงครามแล้ว เดินทางกลับถึงเมืองไทย เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๔๖๒

คุณวีมีเล่าถึงเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ค่อนข้างละเอียดดังนี้

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางคือ เยอรมนี และออสเตรีย - ฮุงการี (สะกดแบบเก่า) เมื่อวันอาทิตย์ที่  ๒๒  กรกฎาคม  ๒๔๖๐  (คือพอเลยเวลา ๒๔.๐๐ น. ของวันที่  ๒๑  กรกฎาคม แล้ว  ก็ได้ลงพระปรมาภิไธยประกาศสงคราม)  พร้อมกันนั้นนายทหาร นายตำรวจ และเสือป่าก็ได้แยกย้ายกันเข้าจับกุมชนชาติศัตรู  บางคนถึงถูกควบคุมตัวจากที่นอนเลยทีเดียว

เมื่อทรงมีพระราชดำริที่จะประกาศสงครามนั้น  ได้มีพระราชกระแสกับคุณมหาดเล็กผู้ใกล้ชิดว่า  ถ้ามีเสนาบดีสภาคัดค้านแม้เพียงเสียงเดียวก็จะทรงสละราชสมบัติทันที  แต่เป็นโชคดีของประเทศไทยที่ไม่มีเสนาบดีท่านใดคัดค้าน  ทั้งที่เวลานั้นเยอรมันกำลังขยายแนวรบไปทั่วยุโรป  คนไทยส่วนมากที่ไม่ชอบอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว  ต่างก็คิดว่าเยอรมันจะต้องชนะจึงเอาใจช่วยเยอรมันกันเป็นส่วนใหญ่  แต่ด้วยพระปรีชาญาณทางการทหารที่ทรงคาดการณ์ไว้แล้วว่า เยอรมันจะต้องพ่ายแพ้จึงทรงเลือกประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางดังกล่าว

เมื่อประกาศสงครามแล้วโปรดให้กระทรวงกลาโหมออกประกาศรับสมัครพลอาสาไปร่วมรบในสงครามยุโรปจำนวน ๑,๕๐๐ คน  จัดเป็นกองบินทหารบก ๕๐๐ คน  มีนายพันเอก พระยาเฉลิมอากาศเป็นผู้บังคับกอง  และกองทหารบกรถยนต์ ๑,๐๐๐ คน ในบังคับบัญชา นายพันตรี หลวงรามฤทธิรงค์ (ต๋อย  หัสดิเสวี) ซึ่งต่อมาได้เป็น นายพันโท พระอาสาสงคราม แล้วลาออกจากราชการ โดยมี นายพลตรี พระยาพชัยชาญฤทธิ์ (ผาด  เทพหัสดิน ณ อยุธยา) หัวหน้ากองทูตทหาร  เป็นผู้บัญชาการสูงสุดในสนาม

กองทหารที่ส่งไปในการพระราชสงครามครั้งนี้มีเฉพาะนายทหารที่เป็นทหารประจำการ  ส่วนพลทหารล้วนเป็นพลอาสามัคร  ที่น่าสังเกตอย่างยิ่งคือ เมื่อประเทศไทยคิดที่จะจัดตั้งกองบินทหารบกขึ้น  ได้จัดส่งนายทหารไปเรียนการบินที่ฝรั่งเศส ๓ คน คือ พระยาเฉลิมอากาศ  พระยาเวหาสน์ยานศิลปประสิทธิ์ (ทิพย์  เกตุทัต)  และพระยาทยานพิฆาต (...  ทัตตานนท์ ) ต้องขอประทานอภัยหากออกนามเดิมของท่านผิดไป  ที่ส่งไปเพียง ๓ ท่านเพราะมีเงินอยู่เท่านั้น  เมื่อทั้งสามท่านเรียนจบกลับมารับราชการแล้วได้ช่วยกันฝึกหัดนายทหารไทยเป็นนักบินได้อีก ๕ ท่าน  รวมเป็น ๘ ท่าน  ส่วนที่ส่งไปอีก ๕๐๐ คนนั้นไปเรียนขับเครื่องบินส่วนหนึ่ง  อีกส่วนหนึ่งไปเรียนวิศวกรรมอากาศยาน  สงครามเลิกแล้วยังเรียนไม่จบ  รัฐบาลฝรั่งเศสก็เอื้อเฟื้อช่วยฝึกต่อจนสำเร็จเป็นนักบินกว่า ๑๐๐ คน  และเป็นช่างอากาศอีกจำนวนหนึ่ง  ท่านเหล่านี้ต่อมาได้ร่วมกันสร้างเครื่องบินขึ้นใช้ในกองทัพไทยได้สำเร็จในต้นรัชกาลที่ ๗

นายทหาร ๓ นายนั้นไปเรียนการบินที่ประเทศฝรั่งเศสแล้วกลับมาได้ฝาฝึกนายทหารไทยเป็นนักบินได้แก ๕ ตน  ก็พอดีเกิดสงครามในยุโรป (สงครามโลกครั้งที่ ๑) ขึ้น  เมื่อประเทศสยามประกาศสงครามกับเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี ในปี พ.ศ. ๒๔๖๐  ได้มีพระบรมราชโองการให้กระทรวงกลาโหมรับพลอาสามสมัครไปร่วมรบในสงครามทวีปยุโรป  โดยจัดเป็นกองบินทหารบกกว่า ๓๐๐ คน ในบังคับนายพันเอก พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี  สุวรรณประทีป)

เมื่อเดินทางถึงประเทศฝรั่งเศสได้มีการทดสอบร่างกาย  มีผู้ผ่านการทดสอบร่างกายไปเรียนการบิน ๑๒๕ นาย  ส่วนที่เหลือได้ไปเรียนการซ่อมสร้างเครื่องบิน  เมื่อสงครามเลิกมีผู้สอบไล่ได้ประกาศนียบัตรนักบิน ๙๗ คน  กับนายช่างซ่อมสร้างเครื่องบินอีกกว่า ๒๐๐ นาย  เมื่อเดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ แล้ว ท่านเหล่านี้ได้ช่วยกันสร้างและพัฒนากรมอากาศยานทหารบกจนเป็นกองทัพอากาศในเวลาต่อมา  และได้นำความรู้ที่ร่ำเรียนกันมานั้นมาออกแบบจัดสร้างเครื่องบินแบบ "บริตร" ขึ้นในช้ในราชการในตอนต้นรัชกาลที่ ๗

สงครามสงบลงแล้ว  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้กองบินทหารบกเดินทางกลับกรุงเทพฯ  แต่โปรดเกล้าฯ ให้นายพันเอก พระยาเฉลิมอากาศ คงอยู่ที่ฝรั่งเศสเพื่อเลือกซื้อเครื่องบินรบที่เหลือใช้จากสงครามที่ยังมีสภาพดีกลับมาใช้ในราชการอีกด้วย

พระเฉลิมอากาศ หรือต่อมาได้เป็นพระยาเฉลิมอากาศนั้น  ท่านเป็นผู้บังคับกองบินทหารบก  และทำหน้าที่เป็นผู้บังคับกองทหารอาสาสมัครทั้งกองบินทหารบกและกองทหารบกรถยนต์  ขึ้นการบังคับบัญชาตรงต่อพระยาพิชัยชาญฤทธิ์ (ผาด  เทพหัสดิน ณ อยุธยา) หัวหน้ากองทูตทหาร  ซึ่งโดยทางราชการได้รายงานตรงต่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบกซึ่งประทับอยู่ที่กรุงเทพฯ  แต่ในขณะเดียวกันก็มีพระราชกระแสดำรัสสั่งเป็นทางลับให้ นายพลตรี พระยาพิชัยชาญฤทธิ์ หัวหน้ากองทูตทหารกราบบังคมทูลรายงานตรงถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวองค์จอมทัพไทยด้วย  จึงอาจกล่าวได้ว่า ในทางปฏิบัติแล้วผู้ที่บัญชาการกองกำลังทหารไทยในยุโรปโดยตรง คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นเอง

หากมีส่วนไหนที่คุณวีมีคิดว่ายังไม่สมบูรณ์ หรือมีรายละเอียดมากกว่านี้ ขอเชิญเข้ามาเสริม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 14 พ.ย. 14, 09:54

ขออนุญาตเสริมตรงนี้

เมื่อทั้งสามท่านเรียนจบกลับมารับราชการแล้วได้ช่วยกันฝึกหัดนายทหารไทยเป็นนักบินได้อีก ๕ ท่าน  รวมเป็น ๘ ท่าน

หลังจากที่มีการตั้งแผนกการบิน และมีแผนที่จะย้ายสนามบินจากสนามม้าสระปทุม มายังสนามบินดอนเมือง ในช่วงปลายปี ๒๔๕๗ (สมัยนั้นยังนับเอาวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่) กรมจเรการช่างทหารบก ออกประกาศไปยังเจ้าพนักงานกรมบัญชาการ  กรมเสนาธิการทหารบก แจ้งความต้องการนายทหารชั้นสัญญาบัตร เพื่อเรียกมาฝึกการใช้เครื่องบิน พร้อมทั้งกำหนดลักษณะของผู้ที่จะเป็นนักบิน เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ซึ่งถือว่าเป็นการรับสมัครนักบินเป็นครั้งแรก มีผู้มาสมัครมากมาย

๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ มีศิษย์การบินชั้นปฐมชุดแรก สอบไล่ได้ตามหลักสูตรเลื่อนขึ้นเป็นศิษย์การบินชั้นมัธยมรุ่นแรก และรับเงินเดือนเพิ่มพิเศษเดือนละ ๓๐ บาท  จำนวน ๕ ท่าน คือ

นายร้อยโทปลื้ม สุคนธสาร




นายร้อยตรีนพ เพ็ญกูล



ส่วนอีกสามท่านสอบได้ในครั้งต่อมา

นายร้อยโทเหม ยศธร




นายร้อยตรีปิ่น มหาสมิติ




นายร้อยตรีช่วง  นิตินันท์



ข้อมูลจาก  “ศิษย์การบินรุ่นแรกที่สำเร็จการศึกษาในประเทศไทย” โดย พ.อ.อ.รัชต์ รัตนวิจารณ์  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 17 พ.ย. 14, 08:39

ประวัติศาสตร์ของกองทัพอากาศกล่าวถึงท่านอีกครั้งหนึ่ง เมื่อท่านได้รับพระราชทานยศพลอากาศโทเป็นกรณีย์พิเศษ และเมื่อไทยได้รับเครื่องบินไอพ่น ๓เครื่องแรกในปี ๒๔๙๘ ท่านพลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศได้มาปรากฏตัวที่ฐานทัพอากาศดอนเมืองเพื่อชื่นชมยินดีด้วย

ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร

สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๖            เป็นนักเรียนนายร้อย
มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๘           เป็นว่าที่นายร้อยตรี
๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๘       เป็นนายร้อยตรี
๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๙         เป็นนายร้อยโท
๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๑     เป็นนายร้อยเอก
๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔      เป็นนายพันตรี
๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๖     เป็นนายพันโท
๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙        เป็นนายพันเอก
๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖       เป็นนายพลตรี
๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๓          เป็นนายพลโท
พ.ศ. ๒๔๗๕                     ยกเลิกยศนายทหารชั้นนายพล ใน กองทัพบก
๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๙         เป็นนายนาวาอากาศเอก
๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๓    เป็นพลอากาศโท

จาก คุณวิกกี้
จาก ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๔๗ หน้า ๔๕๙๑-๔๕๙๒ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๓  ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 17 พ.ย. 14, 09:20

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 18 พ.ย. 14, 15:08

พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๘ และพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๙


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง