เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
อ่าน: 15073 พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นักบินไทยหมายเลข ๑
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 10:34

ไม่มีจ๊อบนอกเช่นเขาอื่น แต่บาดเจ็บอยู่ จะหมุนขวากลายเป็นหมุนซ้ายเลยตีลังกา จะพิมพ์ต่อเลยไม่ค่อยถนัด


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 10:45

.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 11:05

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 11:16



ระหว่างรอนักเรียนรายงานตัว

ขออนุญาตส่งเทียบเชิญอาจารย์ผู้ชำนาญการอีก ๒ ท่านคือ คุณวีมี และ คุณหนุ่มสยาม มาเป็นกำลังเสริมด้วย  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 12:42

สงสัยท่านอาจารย์ใหญ่ต้องเปลี่ยนตำแหน่งให้ใหม่ซะแล้วละครับ รู้สึกว่าตำแหน่งเดิมจะไม่ค่อยได้งานเท่าไหร่ เห็นคุณวีมี และคุณหนุ่มสยามหลบกันวูบวาบ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 13:57

ดำเนินความตามท้องเรื่องต่อจากคราวที่แล้ว

เมื่อเรียนจบการบินทหารและการบินพลเรือนแล้ว เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๖

เมื่อนายทหารทั้ง ๓ นาย สำเร็จการศึกษาวิชาการบินและเดินทางกลับถึงประเทศไทย กระทรวงกลาโหมจึงได้เริ่มงานกิจการบินอย่างจริงจัง โดยตั้ง “แผนกการบินทหารบก” ให้ขึ้นอยู่ในการบังคับบัญชาของนายพลโทพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (พระอิสริยยศในขณะนั้น) จเรการช่าง มีการสร้างโรงเก็บเครื่องบินหลังโรงเรียนพลตำรวจ ปทุมวัน และใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของสนามม้าสระปทุม (ราชกรีฑาสโมสร) เป็นสนามบิน สนามบินสระปทุมจึงเป็นสนามบินแห่งแรกของประเทศไทย

ในวันที่ ๒๙ ธันวาคม ปีเดียวกัน ประมาณ ๒ เดือนหลังจากเดินทางกลับจากฝรั่งเศส สามทหารเรือได้ทำการบินเพื่อทดลองเครื่องบินที่ซื้อมาที่สนามม้าสระปทุม ครั้งนั้นจอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยา ภาณุพันธุวงศ์วรเดช กับนายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ เสด็จมาประทับทอดพระเนตร พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน กับประชาราษฎร พากันดูอย่างคับคั่ง

เครื่องบินที่ใช้ทดลองบินในวันนั้นเป็นแบบนิเออปอร์ตปีกชั้นเดียว ๓ เครื่อง ใช้เครื่องยนต์โนม ๕๐ แรงม้า ๒ เครื่อง และใช้เครื่องยนต์นิเออปอร์ต ๒๘ แรงม้า ๑ เครื่อง

ผลการทดลองในวันนั้น ได้มีข่าวปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์สมัยนั้นดังต่อไปนี้

"ณ เวลา ๗.๓๐ นาฬิกา เครื่องยนต์ของเครื่องบินลำแรกได้ติดเครื่อง และเครื่องบินลำนั้นก็แล่นออกไปข้างหน้า คนดูพากันโห่ร้อง เมื่อเครื่องบินบินขึ้นไปในอากาศและบ้านข้ามสนามม้าไปอย่างรวดเร็ว เครื่องบินลำนั้นเลี้ยวที่ศาลาแดง และนักบินก็บินเวียนสนามม้าและบินข้ามไปลงดิน เครื่องกีดขวางในสนามม้านั้นน่ากลัวอยู่แต่นักบินก็สามารถเลือกที่ลงได้ และเมื่อตอนที่เครื่องบินล่อนลงสู่พื้นดินนั้น เสียงเครื่องยนต์ก็เบาลงจนเงียบ เครื่องบินลำที่สองบินขึ้นสู่อากาศและบินข้ามโรงเรียนพลตำรวจไป แล้วก็เลี้ยวขวา บินหักมุมโค้งอย่างกว้างไปทางศาลาแดง ก่อนที่จะบินกลับมาลงที่สนาม ต่อมาลำที่ ๓ ก็บินขึ้นไปโดยไม่มีเหตุขัดข้องใด ๆ ในการร่อนลงซึ่งนับว่าทำยากที่สุดนั้น ก็มิได้มีเหตุร้ายอันใดเกิดขึ้น"

เครื่องบินแบบนิเออปอร์ตปีกชั้นเดียวที่ใช้ในการทดลองบินวันนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร คุณนวรัตนคงจัดหามาแสดงได้ในไม่ช้า  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 14:27

๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปที่โรงเก็บเครื่องบิน ทอดพระเนตรเครื่องบินแล้ว เสด็จออกประทับยังสนาม เพื่อทอดพระเนตรการบิน  สามทหารเสือขึ้นเครื่องบินโปรยข้าวตอกดอกไม้ ถวายพระพรชัยมงคล การบินได้ดำเนินไปด้วยความราบรื่นทุกประการ เสร็จแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา แก่นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ

ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จไปทอดพระเนตรและทรงพระราชบันทึกถึงเรื่องนี้ไว้ในพระราชบันทึกจดหมายเหตุ (Diary) รายวันส่วนพระองค์ พ.ศ. ๒๔๕๖ เล่ม ๒ ทรงพระราชบันทึกไว้ระหว่างวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ดังนี้

"เครื่องบินของกองทัพบก วันอังคารที่ ๑๓ เวลาบ่ายได้ไปดูเครื่องบินของกองทัพบก ซึ่งฃึ้นบินจากสนามม้าราชกรีฑาสโมสร ส่วนโรงที่ไว้เครื่องบืนนั้น ปลูกไว้ทางริมโรงเรียนพลตระเวณ ได้ไปที่โรงนั้นก่อน แล้วจึ่งออกไปดูบินกลางสนาม เครื่องมีอยู่และได้เห็นเปน ๒ เครื่อง หรือถ้าจะว่าให้ถูกว่า ๒ ชนิด คือ ชนิดปีกชั้นเดียวของเบ็ลริโอต์ ๒ เครื่อง เปนเครื่องประจำตัวของนายร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร ๑  นายร้อยเอก หลวงทยานพิฆาฏ ๑  อีกชนิดหนึ่งเปนเครื่องปีก ๒ ชั้นของเบรเคต์ (Breguet) เปนเครื่องประจำตัวแห่งนายพันตรี หลวงศักดิศัลยาวุธ เมื่อดูเครื่องแล้วจึ่งดูบินต่อไป  หลวงทยานขึ้นก่อน ขึ้นโดยเรียบร้อยและบินผ่านไป แต่พะเอินเครื่องจักรไปขลุกขลัก ต้องไปลงในทุ่งนาแห่งอื่น หลวงอาวุธได้ขึ้นเปนที่ ๒ บินวนไปแล้วกลับลงโดยเรียบร้อย ในที่สุดหลวงศักดิ์จึ่งขึ้นเครื่องปีก ๒ ชั้น ดูน่าจะขึ้นยาก แต่แท้จริง ดูขึ้นง่ายดายจริง ๆ และมื่อได้บินไปแล้วกลับมาลงก็โดยเรียบร้อยสนิทสนมดีมาก เห็นได้ว่าหลวงศักดิ์นี้เปนผู้ที่มีความรู้ในวิชาบินดีจริง ได้ประกาศนิยบัตรอย่างชั้นสูง เราจึ่งให้เหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา เพื่อเปนเกียรติยศ ที่นายทหารเราที่ได้บินวันนี้ ไม่เลวกว่านักบินฝรั่งชื่อวันเด็นบอร์นซึ่งได้มาบินให้ดูเมื่อ ๒ ปีล่วงมาแล้วนี้เลย ที่จริงดูไม่มีพิธีรีตองมากเท่าฝรั่งด้วยซ้ำ ในเวลาบ่ายวันนี้ไปยืนดู ๆ อยู่รูสึกปลื้มใจ ที่ไทยเรามิได้แพ้ฝรั่งเลยทำอะไรทำได้เท่ากันจริง ๆ ได้ทราบฃ่าวว่าคนไทย ๆ เราพากันตื่นเต้นมาก และวันนี้พากันไปดูการบินแน่นไปทุกด้าน"

ข้อมูลจาก คุณวีมี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 14:43

หลังจากแผนกการบินได้จัดตั้งขึ้นเป็นเวลาประมาณ ๑ ปี พลเอกเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (ม.ร.ว. อรุณ ฉัตรกุล) เสนาบดีกระทรวงกลาโหมได้มีดำริให้ย้ายแผนกการบินจากตำบลปทุมวัน เนื่องจากสถานที่เดิมเป็นที่ลุ่ม พื้นที่คับแคบ ไม่สะดวกในการขยายสนามบิน นายพันโท หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (ได้รับเลื่อนยศเป็นนายพันโทเมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๖) จึงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการหาสถานที่และได้พบที่นาดอนทางตอนเหนือของอำเภอบางเขน ห่างจากพระนครประมาณ ๒๔ กิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถใช้ประโยชน์ในการบินได้ตลอดปี อีกทั้งยังมีรถไฟสายเหนือวิ่งผ่าน และเหมาะจะพัฒนาเป็นสนามบินขนาดใหญ่ต่อไปได้ในอนาคต พื้นที่บริเวณนั้นชาวบ้านเรียกว่า “ดอนอีเหยี่ยว” เพราะมีฝูงเหยี่ยวบินจับกลุ่มมารวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ หลังจัดตั้งกองบินแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ดอนเมือง”

ต้น พ.ศ. ๒๔๕๗ กระทรวงกลาโหมสั่งการให้กรมเกียกกายทหารบกดำเนินการปรับพื้นที่ให้เป็น สนามหญ้าที่เครื่องบินสามารถวิ่งและบินขึ้นลงได้ พร้อมก่อสร้างโรงเก็บเครื่องบิน อาคารสถานที่ และบ้านพักอาศัย เมื่อการก่อสร้างสำเร็จบางส่วนแล้ว จึงได้มอบสถานที่ดังกล่าวให้กองบินทหารบกเข้าใช้เป็นที่ตั้งแห่งใหม่ของแผนกการบิน

วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๗ พลเอกเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ย้ายแผนกการบินไปตั้งอยู่ที่ตำบลดอนเมืองตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ จากนั้นจึงเริ่มขนสัมภาระเข้าสู่ที่ตั้งแห่งใหม่

วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ นายทหารนักบินทั้ง ๓ นาย ได้ขับเครื่องบินจากสนามบินสระปทุมไปลง ณ สนามบินดอนเมือง รวม ๓ ลำเป็นปฐมฤกษ์ หลังจากการเคลื่อนย้ายเสร็จเรียบร้อย แผนกการบินจึงได้เริ่มปฏิบัติภารกิจที่ดอนเมืองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ข้อมูลจาก กรมการบินพลเรือน  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 15:09

จะได้เริ่มต่อได้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 16:18

ย้อนสยามตามรอยบุพการีทหารอากาศ

ตอน "ผู้ให้กำเนิด"

http://youtube.com/watch?v=JkSDIyAgw3s#ws


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 16:20

ตอน "จากสยามสู่ฝรั่งเศส"

http://youtube.com/watch?v=n6ttZP6Dufk#ws
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 16:22

ตอน "วันแห่งประวัติศาสตร์"

http://youtube.com/watch?v=tW8vaIFaOGs#ws




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 16:24

ตอน "เหนือน่านฟ้าฝรั่งเศส"

http://youtube.com/watch?v=qqnb9BbnPp4#ws



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 16:26

ตอน "นำสยามสู่ความรุ่งเรือง"

http://youtube.com/watch?v=WkuZAiqihvA#ws
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 20:36

ดูเหมือนว่าจะครบประวัติท่านตามที่มีในเว็บแล้ว

โปรดสังเกตุว่า ประวัติของบุพการีทหารอากาศท่านนี้ช่วงท้ายเลือนหายไปเฉยๆ ในหนังสือก็บอกแต่ว่า ท่านลาออกหลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ (แบบน่าเคลือบแคลงว่าอะไรได้เกิดขึ้นแก่ท่านบ้างในตอนนั้น)

ตามประวัติแบบรวบรัดกล่าวไว้อีกว่า ท่านได้กลับเข้ารับราชการอีกในหลายปีหลังจากนั้น ในกรมการบินพลเรือน แต่ไม่กี่ปีก็ลาออกไป ประวัติศาสตร์ของกองทัพอากาศกล่าวถึงท่านอีกครั้งหนึ่ง เมื่อท่านได้รับพระราชทานยศพลอากาศโทเป็นกรณีย์พิเศษ และเมื่อไทยได้รับเครื่องบินไอพ่น ๓เครื่องแรกในปี ๒๔๙๘ ท่านพลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศได้มาปรากฏตัวที่ฐานทัพอากาศดอนเมืองเพื่อชื่นชมยินดีด้วย

ถ้าใครมีเรื่องราวของท่านในช่วงที่ผมกล่าวมา ขอความกรุณามาเล่าไว้ในกระทู้นี้หน่อยเถิดครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง