เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 12468 บทสุดท้าย นิยายชีวิต(จริง)ของ Brittany Maynard
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 15:28

         ส่วนพระฉันนะนั้น ท่านฆ่าตัวตายเนื่องจากอาพาธ

          พระพุทธองค์ตรัสว่า ดูกรสารีบุตร บุคคลใดละทิ้งกายนี้และยึดมั่นกายนี้บุคคลนั้นเราเรียกว่า
ควรถูกตำหนิ ฉันนะหามีลักษณะเช่นนั้นไม่ ฉันนะภิกษุหาศัสตราฆ่าตัวตายอย่างไม่ควรถูกตำหนิ ฯ
 
           อธิบายขยายความว่า แม้ในลำดับจิตแรกของอัตวินิบาตกรรมเป็นอกุศล แต่ในลำดับจิตหลัง
เมื่อท่านได้ลงมือฆ่าตัวเองแล้วได้ยกจิตขึ้นสู่กระแสแห่งความหลุดพ้นและจบชีวิตไปพร้อมกับสิ้น
อาสวะลักษณะเช่นนี้การทำอัตวินิบาตกรรมไม่ถือว่าเป็นบาป

           สรุปคือ ฆ่าตนเองโดยปราศจากจิตเศร้าหมอง จิตหลุดพ้นสิ้นอาสวะ พระพุทธองค์ไม่ทรง
ติเตียน แต่แน่นอนว่าผู้ที่จะทำเช่นนั้นได้ก็คือผู้ศึกษาปฏิบัติจนเข้าถึงธรรมแล้ว


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 15:31

          เช่นกัน ในกรณีที่พระไพศาลท่านว่า
อ้างถึง
            ศีลธรรมทางพุทธศาสนา..ตระหนักถึงศักยภาพของจิตที่สามารถจะเป็นอิสระเหนือความเจ็บปวดได้

             ข้อนี้ น่าจะเป็นศักยภาพความสามารถของคนส่วนน้อยมากที่จะทำได้, อยู่เหนือความเจ็บปวด
จากโรคร้ายได้ (จิตใจคนเจ็บขณะที่ได้รับทุกขเวทนาทางกายขนาดนั้นส่วนใหญ่ไม่พ้นต้องมีโทสะ)
อ้างถึง

           การทำจิตให้สงบด้วยการน้อมใจนึกถึงสิ่งดีงาม หรือทำสมาธิภาวนา อีกทั้งยังสามารถเรียนรู้จาก
ความเจ็บป่วย ใช้ความเจ็บป่วยเป็นเครื่องมือสอนธรรม  
           หลายคนที่เห็นความจริงดังกล่าวสามารถทำใจปล่อยวางจากความเจ็บปวดได้ คืออยู่กับความเจ็บ
ปวดได้โดยไม่ทุกข์ใจ เพราะเห็นว่ามันเป็นธรรมดาของสังขาร
           จิตมีสมาธิ มีสติ ไม่ปล่อยใจถลำจมอยู่ในความเจ็บปวด และมีปัญญาคือแลเห็นว่ามันเป็นธรรมดา
ไม่คิดผลักไสความเจ็บปวด ทำให้ปวดแต่กาย ส่วนใจไม่ปวด
         
              โดยส่วนตัวแล้วก็ปรารถนาจะทำให้ได้เช่นนี้ แต่ก็คงเป็นสิ่งที่ยากยิ่ง เป็นแนวทางในอุดมคติที่
เฉพาะบางบุคคลที่ได้ฝึกสั่งสมมาเท่านั้นจะไปถึง
              โดยเฉพาะในคนเจ็บป่วยระยะสุดท้ายที่ส่วนใหญ่ต้องใช้ยาระงับความเจ็บปวดอย่างแรง ซึ่ง
แน่นอนย่อมมีฤทธิ์กดจิตประสาทด้วย
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 15:36

           พระไพศาลท่านปฏิเสธการุณยฆาตแต่ท่านก็เห็นด้วยกับการปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วย
ที่ไม่มีโอกาสหายและอยู่ในระยะสุดท้าย นอกจากนี้ ท่านยังเปิดทาง? ไว้ว่า
อ้างถึง
           บางกรณีที่ถอดท่อแล้ว ผู้ป่วยยังสามารถหายใจเองได้และมีชีวิตอยู่พักใหญ่ก่อนจะหมดลม
ในกรณีนี้ย่อมไม่ถือว่าเป็นปาณาติบาต

            แต่เมื่อถึงยามนั้นแล้วจริงๆ ก็พบว่ายังมีรายละเอียดข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามนั้น

เป็นความเห็นและข้อมูลให้พิจารณา ครับ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 15:48

21-year-old Mike Petrosino, Cancer Patient, Says Final Goodbye To His Childhood Dog, Rusty
at Massachusetts General Hospital
(December 2013)

โรงพยาบาลใจดีหลาย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 16:48

อยากให้ LIKE คุณSILA

แต่กลัวว่ามันจะไปลดค่าคำว่าขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 17:21

ขอบพระคุณครับ


บันทึกการเข้า
kulapha
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 19:58

เพิ่มเติมคุณ SILA ว่าด้วยความตายในทัศนะคติของพระไพศาล
จากบทเกริ่นนำในหนังสือของ สุภาพร พงศ์พฤกษ์
ผู้อ่านจะเห็นชัดเจนขึ้นถึงการประมวลจิตประภัสสร์ให้เหนือกว่าความเจ็บปวด

http://www.visalo.org/article/person23Supaporn.htm


แม้ว่าความเจ็บปวดจะคุกคามเธอ แต่สุภาพรเลือกที่จะใช้สมาธิภาวนา
โดยเฉพาะอานาปานสติภาวนา ในการรับมือกับทุกขเวทนา
เธอให้เหตุผลว่ายาระงับปวดนั้นทำให้สติของเธอพร่าเลือน
เธอต้องการดำรงสติให้มีความรู้ตัวทั่วพร้อมนานที่สุดเท่าที่จะนานได้
ธรรมโอสถเป็นสิ่งเดียวที่สุภาพรต้องการมากที่สุดในยามนั้น
เธอจึงมีความสุขที่มีพระมาสวดมนต์และมีเพื่อนมาแนะนำการปฏิบัติธรรมอยู่เป็นระยะๆ
รวมทั้งได้ฟังคำบรรยายจากครูบาอาจารย์ที่เคารพนับถือ
เป็นเพราะธรรมโอสถ ผู้ที่มาเยี่ยมจึงอดแปลกใจไม่ได้ที่เธอนอกจากมีสติดีแล้ว
ยังมีความร่าเริง และพูดจาเล่นหัวกับเพื่อนๆ ทั้งๆ ที่มะเร็งลุกลามถึงขั้นที่สี่แล้ว
แม้แต่แพทย์และพยาบาลก็ประหลาดใจที่เธอสามารถประคองกายและใจมาได้อย่างดีโดยแทบไม่ใช้ยาเลย
เธอโชคดีที่มีแพทย์และพยาบาลที่เข้าใจความต้องการของเธอ
และพยายามช่วยเหลือให้เธอจากไปอย่างสงบและเจ็บปวดน้อยที่สุดตามวิถีทางที่เธอเลือก
ขณะเดียวกันครอบครัวและมิตรสหายก็ให้ความร่วมมือกับเธอด้วยดี
โดยเฉพาะการสร้างบรรยากาศแห่งความสงบรอบตัวเธอ
เพื่อให้เธอได้เจริญสมาธิภาวนาอย่างเต็มที่

เมื่อความตายใกล้เข้ามา ทุกขเวทนาแรงกล้าจนต้องอาศัยมอร์ฟีน
ขณะเดียวกันการหายใจก็ติดขัด จนต้องพึ่งออกซิเจนจากถัง
แต่ดูเหมือนจิตใจของเธอจะเบาขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับอาการทางกาย
เธอได้ปล่อยวางสิ่งต่างๆ ไปเป็นลำดับ เริ่มจากสิ่งนอกตัว เข้ามาจนถึงเรื่องในตัว
ปล่อยวางความรู้สึกติดค้างใจที่เคยมีกับบางคน ปล่อยวางความห่วงกังวลต่างๆ สุดท้ายก็มาถึงโลภะ โทสะ และโมหะ
ในสัปดาห์สุดท้ายเธอรู้สึกว่าโลภะและโทสะได้เบาบางลงไปมาก
คงมีแต่โมหะ นั่นคือความติดยึดในตัวตน ถึงตอนนั้นแม้จะพูดไม่ค่อยได้แล้ว
แต่ก็สนใจสดับฟังคำแนะนำในการปล่อยวางตัวตน เธอซาบซึ้งกับบทสวดมนต์หลายบท โดยเฉพาะ ‘ปฐมพุทธภาสิตคาถา’ ตรงข้อความที่ว่า

“ นี่แน่ะนายช่างปลูกเรือน เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป
โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว
จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา”

เธอหมดความรู้สึกตัวไปในสองวันสุดท้าย แต่ระหว่างนั้นบทสวดมนต์ คำบรรยายธรรม
และเสียงระฆังซึ่งกังวานเป็นระยะ ยังกล่อมเกลาจิตใจของเธอเช่นเคย ไม่ต่างจากตอนที่เธอยังมีสติรู้ตัวอยู่
เมื่อวาระสุดท้ายของเธอมาถึง สุภาพรก็จากไปอย่างเบา สงบ
เป็นการจากไปไม่ต่างจากใบไม้ที่เธอเคยพรรณนาไว้ว่า
“ควงตัวล้อเล่นสายลม พลิกไหวร่างใบหน้าหลัง แจ่มใสเบิกบานก่อนทิ้งร่างใบจากขั้วก้าน”

แม้โรคมะเร็งจะคร่าชีวิตของเธอไป แต่สุภาพรพ่ายแพ้ก็เฉพาะกับมะเร็งทางกายเท่านั้น
 หากเธอประสบชัยชนะในการต่อสู้กับมะเร็งใจ ก้อนมะเร็งไม่สามารถบั่นทอนจิตใจของเธอได้
ตรงกันข้ามเธอกลับเข้มแข็งและโปร่งเบามากขึ้น มะเร็งกายไม่สามารถทำให้เธอมองโลกและชีวิตอย่างสิ้นหวัง
ตรงกันข้ามเธอกลับรู้สึกว่า ‘แต่ละวัน...นั้นน่ามหัศจรรย์’ อยู่เสมอ

เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ สุภาพรเคยกล่าวว่า ก้อนมะเร็งหายไปหรือไม่ ไม่สำคัญเท่ากับว่า
 เธอยังสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติเหมือนทุกวัน
บัดนี้เธอได้จากไปแล้ว หลายคนคงรู้สึกผิดหวังเสียใจที่ตัวเธอและวิธีการของเธอไม่สามารถเอาชนะโรคมะเร็งได้
การจากไปของเธออาจหมายถึงความพ่ายแพ้ของผู้ป่วยมะเร็งอีกหลายคน
แต่สำหรับสุภาพร นั่นไม่ใช่บทเรียนสำคัญที่พึงสรุปจากชะตากรรมของเธอ
สิ่งสำคัญกว่านั้นที่ควรเป็นบทเรียนสำหรับทุกคนก็คือ ตายเพราะมะเร็งหรือไม่ ไม่สำคัญเท่ากับการตายอย่างสงบ
ถึงที่สุดแล้วจะจากไปเพราะเหตุใดก็ไม่สำคัญเท่ากับว่า มีชีวิตอยู่อย่างไรและพร้อมเผชิญความตายอย่างมีสติแค่ไหน
 นี้ต่างหากคือบทเรียนสำคัญที่สุดจากชีวิตช่วงสุดท้ายของเธอ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 20:14


http://www.visalo.org/article/person23Supaporn.htm  ยิงฟันยิ้ม

http://youtube.com/watch?v=ArPcBAgiJGw#ws
บันทึกการเข้า
kulapha
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 20:23




ขอบคุณคุณเพ็ญชมพู มากค่ะ ที่ทำ link ใหม่ให้
เออ..พอเปิดของตัวเองภายหลังทำไมไม่ติดก้อไม่รู้
ตอนทำก้อเปิดได้อยู่น้า...... ร้องไห้
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 08 พ.ย. 14, 10:59

          ขอบคุณครับ ที่นำมาลงไว้ตรงนี้ให้ได้อ่านอีกครั้งหลังจากเคยอ่านเมื่อหลายปีแล้ว
เป็นการจากไปของคนที่ได้ฝึกปฏิบัติมา แม้ว่ากายจะพ่ายโรคร้ายแต่ก็พยายามรักษาใจไว้
ในวาระสุดท้าย

ปล. ความเจ็บปวดจากมะเร็งนี้ร้ายจริง ไม่พ้นต้องใช้ยาระงับความเจ็บปวดอย่างแรงประเภท
วัตถุเสพติด


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 09 มี.ค. 16, 14:39

     บทสุดท้ายของชีวิตลิขิตเอง บทนี้เป็นของคุณย่าวัย 90 ปีแห่งมิชิแกน เริ่มต้นเมื่อราวกลางปีที่แล้ว

              วันนั้น คุณย่า นอร์มา ผู้สูญเสียสามีที่อยู่คู่กันมากว่า 60 ปีได้ 2 วัน มาโรงพยาบาลที่โอพีดี
แผนกนรีเวชเพื่อฟังผลการตรวจ ผลปรากฏว่าคุณย่าเป็นมะเร็งมดลูก
              คุณย่ามาพร้อมลูกชายและลูกสะใภ้ เมื่อคุณหมอแจ้งผลการตรวจและขบวนการรักษาต่างๆ
(ผ่าตัด,ฉายแสง,เคมีบำบัด) จบลง คุณย่าผู้ผอมบางร่างเล็กกล่าวกับคุณหมอด้วยน้ำเสียงที่เข้มแข็งว่า

                 “I’m 90-years-old, I’m hitting the road.”


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 09 มี.ค. 16, 14:42

          ก่อนหน้านี้ลูกทั้งสองได้แจ้งแก่คุณย่าแล้วถึงผลการตรวจที่อาจจะออกมาเป็นเนื้อร้ายและคุณย่าก็ได้
ตัดสินใจพร้อมบอกกล่าวอย่างชัดเจนว่า ไม่สนใจที่จะรับการรักษาใดๆ ทั้งสิ้น ลูกทั้งสองยอมรับและเห็นด้วย
          ยิ่งกว่านั้นทั้งสองยังได้ตัดสินใจที่จะพาคุณย่า"ออกท่องท้องถนน" ไปด้วยกัน แทนที่จะให้คุณย่าอาศัย
อยู่ในบ้านที่บัดนี้ไม่มีคุณตา หรือว่าไปอยู่ในสถานพยาบาลรอวันสุดท้ายคล้ายกับคุณตาที่จากไป

          ทั้งสองจึงแจ้งแก่คุณหมอว่าจะไม่รับการรักษาแต่จะพาคุณย่าออกท่องไปทุกแห่งหนที่คุณย่าปรารถนา
คุณหมอเห็นด้วยและอวยพร
          วันนั้นมีนักศึกษาแพทย์หญิงออกตรวจเคสกับคุณหมอด้วย ก่อนหน้านี้เธอได้ผ่านแผนกสูติศาสตร์,ได้ทำ
คลอด,ได้เห็นการกำเนิด-การเริ่มต้นชีวิตใหม่ คราวนี้ที่แผนกนรีเวช คุณย่าคือครูผู้สอนเธอถึงอีกฟากฝั่งของชีวิต

คุณย่าที่ Lafayette Cemetery, New Orleans


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 09 มี.ค. 16, 14:45

            ทีมท่องถนนประกอบด้วยคุณย่า,ลูกชาย,ลูกสะใภ้และน้องหมา ริงโก้ เริ่มออกตระเวนไปด้วย
รถบ้าน เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 09 มี.ค. 16, 14:46

            เฟซบุค Driving Miss Norma ที่เปิดเพื่อให้ญาติๆ และเพื่อนๆ ได้ติดตามข่าวสารการเดินทาง
กลับมีผู้ที่ไม่ใช่ญาติติดตามอีกนับแสนจากทั่วโลก


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 09 มี.ค. 16, 14:47

           สื่อต่างๆ ให้ความสนใจและตามไปทำข่าวคุณย่า


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง