เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 12440 บทสุดท้าย นิยายชีวิต(จริง)ของ Brittany Maynard
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 06 พ.ย. 14, 10:02

           ก่อนหน้านั้นเธอศึกษาพิจารณาดูเรื่องการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
(palliative care) และได้พบว่าร่างกายที่ยังแข็งแรงของเธอน่าจะยังคงสภาพลากยาวได้นาน
           แต่ ระหว่างนั้นมะเร็งร้ายก็จะกินเนื้อสมองของเธอไปเรื่อยๆ จนในที่สุดเธอก็จะเกิดอาการ
ต่างๆ ตามมา เช่น ตาบอด แขนขาอ่อนแรง ทำอะไรด้วยตัวเองไม่ได้ และซึมลงจนโคม่าในที่สุด
ในขณะที่ครอบครัวของเธอต้องรับรู้และทนทุกข์ทรมานอย่างยาวนานจนกว่าเธอจะจากไป


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 06 พ.ย. 14, 10:04

           เขาว่าช่วงเวลาแห่งความสุขนั้นมักจะผ่านไปอย่างรวดเร็ว ความฝันที่จะร่วมกันสร้าง
ครอบครัวที่สมบูรณ์ต้องสะดุดยุติลง เมื่อบริททนีย์มีอาการปวดศีรษะเรื้อรังที่ทวีความรุนแรงขึ้น
           เธอได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งสมองชนิดร้ายแรงเมื่อต้นปีนี้  9 วันหลังจากนั้น
เธอก็ได้รับการผ่าตัดเนื้อสมองส่วนร้ายออกไป แต่ไม่ทันไรมะเร็งก็กลับมาใหม่อย่างดุร้ายกว่า
เดิมในเดือนเมษายน คราวนี้แพทย์พยากรณ์การดำเนินของโรคว่าเธอจะอยู่ได้อีก 6 เดือน และ
สั่งการรักษาด้วยวิธีการฉายแสงทั้งสมอง
           เธอศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่เธอเป็นจนรอบรู้และได้พบความจริงที่เจ็บ
ปวดว่ามะเร็งร้ายชนิดนี้ไม่มีทางรักษาให้รอด การรักษาอย่างเต็มที่มีแต่จะเบียดเบียนทำลายช่วง
เวลาสุดท้ายอันมีค่าที่เหลืออยู่ไม่มากนี้


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 พ.ย. 14, 10:07

           เจ้าสาวแสนงามพร้อมความฝันที่จะสร้างครอบครัวสมบูรณ์แบบตามฝันอเมริกันดรีม        
           เธอพบและคบกับแดนซึ่งมีอายุมากกว่าสิบปีเศษเมื่อห้าปีก่อน แล้วตัดสินใจใช้ชีวิต
ร่วมกัน ทั้งสองจัดพิธีวิวาห์ในเดือนกันยายน 2012


บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 06 พ.ย. 14, 10:39

เอามาให้ท่านอาจารย์ใหญ่ครับ

A Vatican bioethics official has condemned the death by assisted suicide of American Brittany Maynard, a terminally ill 29-year-old who ended her life over the weekend, as an undignified "absurdity".

"This woman (took her own life) thinking she would die with dignity, but this is the error," Monsignor Ignacio Carrasco de Paula, head of the Pontifical Academy for Life, told the Italian news agency Ansa.

"Suicide is not a good thing. It is a bad thing because it is saying no to life and to everything it means with respect to our mission in the world and towards those around us," the head of the Vatican think tank on life issues said in a report on the Ansa website.

He described assisted suicide as "an absurdity."

http://www.independent.co.uk/news/people/brittany-maynards-decision-to-end-her-life-labelled-reprehensible-by-the-vatican-9840093.html

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 09:40

             ก่อนเป็นเจ้าสาวหนึ่งเดือนบริททนีย์ สาวสวยสดใสผู้มีชีวิตชีวา รักสัตว์ รักการผจญภัย
ได้เดินทางไปแอฟริกา ที่ Tanzania เธอปีนขึ้นถึงยอดเขา Kilimanjaro
             เธอเคยไปดำน้ำที่ Zanzibar, Caymans, Galapagos และท่องโลกกว้างไปใน
อเมริกากลางต่อลงอเมริกาใต้


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 09:42

          สาวน้อยผู้มาดมั่น มีเสน่ห์ เก่ง จิตใจงาม รักเรียน จบการศึกษาจาก Berkeley แคลิฟอร์เนีย
ชื่นชอบการเดินทาง เคยมาเยือนทั้งเวียตนาม ลาว สิงคโปร์ ไทย และได้ไปเป็นครูสอนเด็กกำพร้าที่เนปาล


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 09:44

           เด็กหญิงบริททนีย์


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 09:45

            หนูน้อยบริททนีย์


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 09:46

และข้อความสุดท้ายที่เธอฝากไว้ให้ทุกคน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 10:47


"Suicide is not a good thing. It is a bad thing because it is saying no to life and to everything it means with respect to our mission in the world and towards those around us," the head of the Vatican think tank on life issues said in a report on the Ansa website.

He described assisted suicide as "an absurdity."

ขอค้านหลวงพ่อ    จะตกนรกไหมเนี่ย
หลวงพ่อแน่ใจได้ยังไงว่า สิ่งที่บริททนีย์ทำไม่ใช่ mission  ของเธอที่พระเจ้าส่งให้เธอมาเป็นผู้นำทาง     ถ้าหากว่าเธอป่วย แล้วก็นอนรับความตายอย่างทุกข์ทรมานจนขาดใจไปเอง   จากนั้นญาติก็เอาไปฝังในสุสาน   นั่นหรือคือ mission ที่หลวงพ่อคิดว่าเธอควรมี
เธอก็ไม่ต่างอะไรจากคนอีกพันล้านหมื่นล้านที่เกิดมาแล้วก็ป่วยตายไปโดยไม่มีใครนอกจากญาติรู้จักหรือจดจำ

แต่นี่เธอสามารถทำตัวเป็นแบบอย่างของผู้ป่วยที่ไม่ยอมท้อถอย เอาแต่นอนรอความตาย  แม้โรคร้ายก็ไม่อาจเอาชนะเธอได้   เธอไม่ยอมให้มันกลืนกินเธอไปอย่างทุกข์ทรมานเช่นเดียวกับคนป่วยอื่นๆอีก 99.99%   แต่เธอเลือกที่จะเดินสู่จุดจบอย่างสงบสันติ ด้วยมือเธอเอง เป็นตัวอย่างให้คนอื่นๆอีกมากรู้ว่า แม้เราหนีความตายไม่พ้น เราก็เลือกกำหนดทางตายที่เหมาะสมกับตัวเราได้

นอกจากนี้เธอยังได้จัดตั้งมูลนิธิ Brittany Maynard Fund โดยการสนับสนุนของกลุ่ม Compassion & Choices เพื่อรณรงค์ให้สิทธิในการเลือกการุณยฆาตนี้ได้รับการรับรองทางกฎหมายในรัฐอื่นๆ

การุณยฆาตไม่ใช่ suicide  ถ้าเธอผูกคอห้อยต่องแต่ง หรือโดดตึก นั่นคือ suicide  เธอได้ทำร้ายชีวิตเธอด้วยความสิ้นคิด  หาทางออกดีกว่านี้ไม่ได้   แต่นี่เธอไตร่ตรองไว้แล้ว  หาทางออกด้วยสติจนนาทีสุดท้าย    เธอยังทิ้งมูลนิธิของเธอเป็นทางเลือกให้คนอื่นๆที่ประสบปัญหาอย่างเธอได้มีทางออกอีกทางหนึ่งด้วย
พระเจ้าอาจต้องการคนอย่างเธอมากกว่าคนที่ปล่อยตัวเองตายไปเฉยๆ  โดยไม่ได้ทำให้โลกมีทางออกมากขึ้น  แบบนี้ไม่ควรจะใช้คำว่า absurd กับเธอเลยนะคะ ขอค้าน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 11:00

คุณเทาชมพูคงต้องค้านหลวงพ่ออีกรูปหนึ่ง  ยิงฟันยิ้ม

การุณยฆาตในมิติของพุทธศาสนา

สัมภาษณ์ พระไพศาล วิสาโล โดย กองบก.IMAGE นิตยสาร IMAGE ฉบับเดือนกันยายน ๒๕๕๔


ในทัศนะของพุทธศาสนา การกระทำใดที่มีเจตนาเพื่อยุติชีวิตหรือทำให้ชีวิตตกล่วงไป ไม่ว่าชีวิตของตนหรือชีวิตของผู้อื่น ถือว่าเป็นอกุศลกรรม จัดว่าเป็นบาป เพราะปุถุชนจะทำกรรมดังกล่าวได้ย่อมต้องมีอกุศลจิตเจือปนอยู่ไม่มากก็น้อย เช่น โทสะหรือความโกรธเกลียด ตัณหาหรือความอยากที่จะไปให้พ้นจากสภาพที่เป็นอยู่ (เรียกว่าวิภวตัณหา) เป็นต้น แม้ผู้กระทำนั้นจะมีเจตนาดีเป็นจุดเริ่มต้น แต่ทันทีที่ตั้งใจทำลายชีวิตหรือทำให้ชีวิตจบสิ้น อกุศลจิตก็เกิดขึ้นทันที ดังนั้นไม่ว่าผู้กระทำการุณยฆาตจะเป็นหมอหรือญาติ ก็ถือว่าได้ทำอกุศลกรรม

ทั้งนี้ยังไม่ได้พูดถึงประเด็นว่าหมอและญาติมีสิทธิในชีวิตของผู้ป่วยหรือไม่ ส่วนผู้ป่วยเอง แม้มีสิทธิในชีวิตของตน แต่เมื่อตั้งใจจบชีวิตตัวเอง (จะโดยฆ่าตัวตายหรือขอให้ผู้อื่นช่วยทำการุณยฆาตให้ก็ตาม) ก็มักจะมีอกุศลจิตเข้ามาเกี่ยวข้อง หากตายไปในสภาพจิตดังกล่าว ย่อมไปอบาย ไม่ได้ไปสุคติ

การุณยฆาตหากเป็นการกระทำกับพ่อแม่ของตนเอง ก็ถือว่าเป็นอนันตริยกรรม ในพระไตรปิฎก พูดถึงลูกที่หยิบยื่นอาวุธเพื่อให้พ่อแม่ฆ่าตัวตาย หรือลงมือฆ่าพ่อแม่ตามคำสั่งของท่าน ก็ถือว่าเป็นอนันตริยกรรมเช่นกัน อนันตริยกรรมนั้นเป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาตอยู่แล้ว

ปาณาติบาตนั้น ไม่ได้หมายความถึงการลงมือฆ่าเท่านั้น แม้แต่การชักชวนให้เขาฆ่าตัวตาย ก็เข้าข่ายปาณาติบาต เช่น พระที่ชักชวนให้ผู้อื่นฆ่าตัวตายเพื่อปลดเปลื้องความทุกข์ หากเขาฆ่าตัวตายสำเร็จ พระรูปนั้นก็ถือว่าต้องปาราชิกข้อที่ ๓ อันได้แก่ การจงใจฆ่ามนุษย์ให้ตาย

จริงอยู่ที่ว่ามนุษยธรรมกับศีลธรรมหรือข้อบัญญัติทางศาสนานั้น บางครั้งก็ไม่ได้ไปด้วยกัน (เช่นบางศาสนาส่งเสริมการบูชายัญด้วยชีวิตสัตว์ ซึ่งย่อมขัดกับสำนึกทางมนุษยธรรมอยู่แล้ว) อย่างไรก็ตามหากพูดจำเพาะศีลธรรมทางพุทธศาสนา มีข้อพิจารณาเพิ่มเติมเมื่อเปรียบเทียบกับมนุษยธรรม กล่าวคือศีลธรรมทางพุทธศาสนา ไม่ได้คำนึงแต่เฉพาะผลกระทบที่มองเห็นชัด จับต้องได้ (เช่น ค่าใช้จ่าย หรือภาระแก่ผู้ที่ดูแล) แต่ยังคำนึงถึงมิติทางจิตใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องด้วย โดยลงลึกไปถึงสภาวะจิตเช่น จิตที่เป็นกุศลและอกุศล รวมทั้งตระหนักถึงศักยภาพของจิตที่สามารถจะเป็นอิสระเหนือความเจ็บปวดได้ ในขณะที่มนุษยธรรม (ซึ่งมีความหมายกว้างมาก และแตกต่างกันไปตามทัศนะของแต่ละคน) อาจจะมองข้ามประเด็นดังกล่าวไป หรือมองไม่ถี่ถ้วนรอบด้าน

ยกตัวอย่างเช่น การทำการุณยฆาต ส่วนใหญ่มักให้เหตุผลว่า การมีชีวิตอยู่ต่อไปของผู้ป่วย ไม่มีประโยชน์แล้ว เป็นการอยู่อย่างไร้ศักดิ์ศรี เพราะนอกจากเจ็บปวดทุกข์ทรมานแล้ว ยังไม่สามารถพึ่งตนเองได้ มองในแง่ของมนุษยธรรม การช่วยให้ผู้ป่วยจบชีวิตโดยเร็ว ย่อมเป็นสิ่งที่ดีเพราะทำให้เขาพ้นจากความทุกข์ความเจ็บปวด แต่พุทธศาสนามองว่าชีวิตนั้นมีคุณค่า ตราบใดที่เรายังมีลมหายใจอยู่ แม้เจ็บป่วยเพียงใดก็ยังสามารถทำสิ่งดี ๆ ให้เกิดขึ้นได้ อย่างน้อยกับจิตใจของตน อาทิ การทำจิตให้สงบด้วยการน้อมใจนึกถึงสิ่งดีงาม หรือทำสมาธิภาวนา อีกทั้งยังสามารถเรียนรู้จากความเจ็บป่วย หรือใช้ความเจ็บป่วยเป็นเครื่องมือสอนธรรม คือเห็นความจริงของชีวิตอย่างชัดเจนว่า ชีวิตนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจของเรา หลายคนที่เห็นความจริงดังกล่าว สามารถทำใจปล่อยวางจากความเจ็บปวดได้ คืออยู่กับความเจ็บปวดได้โดยไม่ทุกข์ใจ เพราะเห็นว่ามันเป็นธรรมดาของสังขาร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 11:02

ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงพระอรหันต์จำนวนไม่น้อยซึ่งบรรลุธรรมขณะที่ป่วยหนักมีทุกขเวทนาแรงกล้า อาศัยความเจ็บป่วยและทุกขเวทนานี้เองท่านเหล่านั้นจึงเกิดปัญญาเห็นความจริงของชีวิตจนไม่ยึดติดถือมั่นสังขารร่างกายต่อไป แม้ว่าคนเจ็บป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถจะทำได้อย่างพระอรหันต์ท่านที่กล่าวมา แต่ก็มีไม่น้อยที่สามารถอยู่กับความเจ็บปวดได้โดยไม่ทุรนทุราย เพราะจิตมีสมาธิ มีสติ ไม่ปล่อยใจถลำจมอยู่ในความเจ็บปวด และมีปัญญาคือแลเห็นว่ามันเป็นธรรมดา ไม่คิดผลักไสความเจ็บปวด ทำให้ปวดแต่กาย ส่วนใจไม่ปวด

นี้คือศักยภาพหรือความสามารถที่มนุษย์ทุกคนสามารถทำได้ อยู่ที่ว่าจะตระหนักหรือไม่ และเตรียมตัวมามากน้อยเพียงใด จริงอยู่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักถึงประเด็นนี้ ดังนั้นเมื่อตนเองป่วยหนักหรือเห็นคนรักป่วยหนักถูกความเจ็บปวดรุมเร้า จึงคิดว่าทางออกจากความทุกข์ดังกล่าวมีทางเดียวเท่านั้นคือ จบชีวิตให้เร็วที่สุด

แต่อาตมาอยากจะย้ำว่า คนป่วยมีทางเลือกมากกว่านั้น คือ แม้ทุกข์กายเพียงใด แต่ใจไม่ทุกข์ ก็ได้ ประเด็นนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ความเข้าใจแบบโลกย์ ๆ (หรือสำนึกทางมนุษยธรรม)อาจจะนึกไม่ถึงหรือมองข้ามไป จึงนึกแต่เพียงว่าการุณยฆาตเท่านั้นที่จะเป็นคำตอบได้ แต่ถ้าหากเราคิดแต่จะใช้การุณยฆาตเป็นคำตอบสำหรับผู้ป่วยหนักที่หมดหวังในการรักษา นั่นก็เท่ากับเรามองข้ามหรือตัดโอกาสที่ผู้ป่วยจะได้ทำหรือประสบสิ่งที่ดีกว่านั้น ยังไม่ต้องพูดถึงถึงผลเสียด้านอื่นอีก เช่น เรื่องอกุศลจิตหรือการกระทำที่เป็นบาป ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วตอนต้น

ดังนั้นแทนที่จะช่วยให้ผู้ป่วยที่หมดหวังในการรักษา จบชีวิตโดยเร็ว เราน่าจะช่วยให้เขาสามารถอยู่กับความเจ็บป่วยและทุกขเวทนาได้โดยไม่ทุกข์ใจ เช่น ช่วยให้เขาวางใจอย่างถูกต้อง รู้จักการทำสมาธิภาวนา แนะนำเขาให้ยอมรับความเจ็บป่วย และอยู่กับมันได้โดยไม่ผลักไส เพราะยิ่งผลักไสปฏิเสธความเจ็บปวด ก็ยิ่งทุกข์

อันที่จริงสิ่งหนึ่งที่มักถูกมองข้ามไปก็คือ ความเจ็บปวดที่รุมเร้าผู้ป่วยนั้น ไม่ได้เกิดจากความเจ็บป่วยทางกายเท่านั้น แต่ยังเกิดจากความทุกข์ใจ เช่น ความวิตกกังวล ความห่วงหาอาลัย ความคับแค้นโกรธเกรี้ยว ความรู้สึกผิด ความน้อยเนื้อต่ำใจ ซึ่งอาจเกิดจากประสบการณ์ชีวิตในอดีต หรือจากความสัมพันธ์ที่ร้าวฉานกับคนบางคน มีหลายกรณีที่เมื่อแก้ปมในใจดังกล่าวแล้ว ความเจ็บปวดทุรนทุรายลดลง ในทางตรงข้ามหากปมดังกล่าวยังไม่ได้แก้ แม้ให้ยาระงับปวด ก็ลดความทุรนทุรายได้ชั่วคราว สักพักอาการก็จะกลับมาหรือกำเริบอีก ดังนั้นแทนที่จะนึกถึงแต่การบรรเทาความทุกข์ของเขาด้วยเทคโนโลยี จนไปไกลถึงขั้นจบชีวิตของเขาให้เร็วที่สุด ควรหันมาใส่ใจกับการบรรเทาความทุกข์ในใจของเขาควบคู่ไปกับการบรรเทาความปวดทางกาย จะทำเช่นนั้นได้หมอ พยาบาลและญาติ นอกจากจะต้องมีเมตตากรุณาแล้ว ยังต้องมีเวลาให้แก่ผู้ป่วย เข้าใจความรู้สึกของเขา และมีสัมพันธภาพที่ดีกับเขา จนเขาศรัทธาหรือมีความไว้วางใจ จึงจะสามารถให้ความช่วยเหลือทางจิตใจแก่เขาได้

จะว่าไปแล้ว ความเจ็บปวดหรือทุกข์ทรมานของผู้ป่วย ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากกระบวนการรักษาหรือการเยียวยาของหมอเอง เช่น การเจาะคอ ใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งหากผู้ป่วยมีโอกาสหายหรือรอด ก็น่าทำ แต่ถ้าผู้ป่วยไม่มีโอกาสหาย และอยู่ในระยะสุดท้ายแล้ว การทำเช่นนั้นก็เป็นการเพิ่มความทุกข์ให้แก่เขา การทำให้เขามีชีวิตหรือลมหายใจยืนยาวขึ้นกลับกลายเป็นการยืดความทรมานให้ยาวกว่าเดิม ในกรณีที่ผู้ป่วยยังพอทำใจได้ หรือรู้จักใช้ธรรมะรักษาใจ ก็อาจไม่เป็นปัญหา (ผู้ป่วยที่โคม่าหรือแม้แต่เป็นผัก มีหลักฐานที่ชี้ว่า ยังสามารถรับรู้ได้ หรือมีความรู้สึกนึกคิดได้ แม้ไม่อาจแสดงออกให้คนอื่นรู้ได้ก็ตาม) แต่หากผู้ป่วยทำใจไม่ได้ ก็จะทุกข์ทรมานมาก ในกรณีอย่างนี้จะเป็นการดีหากผู้ป่วยแจ้งความจำนงล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรว่า หากไม่รู้สึกตัวเมื่อใด จะไม่ขอรับการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าว เมื่อเป็นที่แน่ชัดว่าจะมีชีวิตอยู่รอดได้ไม่นาน ทั้งนี้เพื่อลดความทุกข์ทรมานอันจะเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตามการแสดงเจตนารมณ์ดังกล่าวควรทำหลังจากที่ได้ปรึกษาหารือกับหมอและญาติพี่น้อง จนเป็นที่เห็นพ้องต้องกัน จะได้ไม่เกิดปัญหาเวลาที่ผู้ป่วยโคม่าและหมอทำตามที่ผู้ป่วยร้องขอ คือไม่ใช้มาตรการแทรกแซงใด ๆ เพียงเพื่อให้มีลมหายใจและหัวใจเต้นต่อไปชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น

การปฏิเสธการรักษาหรือการแทรกแซงทางการแพทย์เมื่ออยู่ในภาวะดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการฆ่าตัวตาย แต่เป็นการยอมรับความตายที่กำลังจะมาถึงและเมื่อรู้ว่าใกล้จะตายแล้วก็เลือกที่จะตายอย่างสงบโดยให้เป็นไปตามธรรมชาติของสังขาร แต่ถ้าไม่แสดงเจตจำนงล่วงหน้าหรือไม่ได้มีการพูดคุยกับญาติจนเห็นพ้องต้องกัน หากผู้ป่วยหมดสติ ไม่รู้สึกตัว ญาติและหมอก็อาจจะเจาะคอ ใส่ท่อ หรือใช้วิธีการทางการแพทย์อื่น ๆ อย่างเต็มที่ ซึ่งมักสร้างความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วย และต่อมาก็อาจก่อความทุกข์และความเดือดร้อนแก่ญาติได้ ถึงตอนนั้น หากจะถอดท่อ ก็จะกลายเป็นเรื่องยากแล้ว เพราะถ้าถอดแล้วผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตทันที ก็จะกลายเป็นปาณาติบาตได้ (แต่ก็มีบางกรณีที่ถอดท่อแล้ว ผู้ป่วยยังสามารถหายใจเองได้และมีชีวิตอยู่พักใหญ่ก่อนจะหมดลม ในกรณีนี้ย่อมไม่ถือว่าเป็นปาณาติบาต)

ดังนั้นเพื่อเป็นการตัดปัญหา ผู้ป่วยจึงควรแสดงเจตจำนงล่วงหน้าให้ชัดเจนหากไม่ต้องการให้มีการยื้อชีวิตในสภาพที่ไม่รู้สึกตัวและใกล้ตายแล้ว

อย่างไรก็ตามในกรณีที่เจาะคอหรือใส่ท่อไปแล้ว และลำบากใจที่จะถอดอุปกรณ์เหล่านั้นหรือยุติการยื้อชีวิตของผู้ป่วย หมอและญาติควรหันมาให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือทางจิตใจของผู้ป่วย เช่น แนะนำผู้ป่วยให้ถอนจิตออกจากความเจ็บปวด โดยมาจดจ่ออยู่กับสิ่งอื่นแทน เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือ ความดีงามที่ตนเคยทำและภาคภูมิใจ หรือชวนสวดมนต์และทำสมาธิภาวนา เพื่อให้จิตเกิดความสงบ รวมทั้งตั้งสติให้อยู่กับความเจ็บปวดได้โดยไม่ทุรนทุราย วิธีเหล่านี้สามารถเป็นประโยชน์แม้กระทั่งผู้ป่วยที่โคม่าหรือเป็นผัก เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ยังรู้สึกตัวแต่ถูกความเจ็บปวดรุมเร้า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 11:28

คุณเทาชมพูคงต้องค้านหลวงพ่ออีกรูปหนึ่ง  ยิงฟันยิ้ม

ถ้าปล่อยวางจริงๆ ต้องปล่อยวางคติทางพุทธด้วย
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 15:23

            กรณีบริททนีย์นี้แน่นอนว่าเข้าข่าย อัตวินิบาตกรรม ฆ่าตัวตาย และ ปุถุชนที่ฆ่าตัวตายนั้น
ไม่พ้นเป็นเช่นที่พระไพศาลท่านว่า
อ้างถึง
     
              เป็นอกุศลกรรม จัดว่าเป็นบาป เพราะปุถุชนจะทำกรรมดังกล่าวได้ย่อมต้องมีอกุศลจิตเจือปน

             เรื่อง ฆ่าตัวตาย, การุณยฆาต(Euthanasia) นี้เป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก พอๆ กับ
เรื่องการทำแท้ง          

             เมื่ออ่านดูกรณีฆ่าตัวตาย ในทางพุทธศาสนา จะพบว่ามีกรณี

            เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ประทับที่ป่ามหาวัน นครเวสาลี ได้ทรงแสดงอสุภกถาแก่เหล่าภิกษุ
แล้วรับสั่งว่า พระองค์จะหลีกเร้นเป็นเวลากึ่งเดือน
            เหล่าภิกษุต่างก็ได้พากันประกอบความเพียรเจริญอสุภกรรมฐาน แต่ไม่ได้เกิดปัญญา
สู่ทางหลุดพ้น หากกลับเกิดโทสะ ระอา เกลียดชังร่างกายตัวเอง จึงปลงชีวิตตัวเองบ้าง ให้คนอื่น
มาปลงให้บ้าง
            เมื่อพระพุทธองค์ออกจากสมาบัติแล้วทรงทราบเรื่องก็เรียกประชุมสงฆ์และทรงติเตียน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 15:25

           แต่ก็ยังมี 2 กรณีที่ภิกษุฆ่าตัวตายและพระพุทธองค์ไม่ทรงติเตียน ได้แก่ พระโคธิยะและ
พระฉันนะ
  
            พระโคธิยะ นั้นได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์แล้วก็ได้เสื่อมจากเจโตวิมุติครั้งแล้วครั้งเล่า
เป็นจำนวนถึง 6 ครั้ง จึงได้ตัดสินใจนำศัสตรามา(เพื่อฆ่าตัวตาย)

           ทุกขเวทนาทั้งหลายก็เกิดขึ้น พระเถระข่มเวทนาแล้วกำหนดเวทนานั้นเป็นอารมณ์ตั้งสติมั่น
พิจารณามูลกัมมัฏฐานก็บรรลุพระอรหัต เป็นสมสีสี ปรินิพพานแล้ว
(บุคคลใดสิ้นอาสวะและสิ้นชีพไม่ก่อนไม่หลัง บุคคลนี้เรียกว่า สมสีสี)

           พระพุทธองค์ตรัส(ตอบมาร) ว่า นักปราชญ์ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยธิติ มีปรกติเพ่งพินิจ ยินดีแล้ว
ในฌานทุกเมื่อ พากเพียรอยู่ตลอดวันและคืน ไม่มีความอาลัยในชีวิต ชนะเสนาของมัจจุราชแล้ว
ไม่กลับมาสู่ภพใหม่ นักปราชญ์นั้นคือ โคธิกกุลบุตร ได้ถอนตัณหาพร้อมด้วยราก ปรินิพพานแล้ว ฯ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 20 คำสั่ง