เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4418 ราชทินนามท้ายบรรดาศักดิ์นี้ หมายความว่าอย่างไร
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


 เมื่อ 31 ต.ค. 14, 14:44

ราชทินนามท้ายบรรดาศักดิ์นี้ "พระมหุสสวานุกิจ" หมายความว่าอย่างไร
ดิฉันลองค้นดูความหมายจากพจนานุกรมแล้ว "มหุสสวา"หมายถึง มหรสพ
ไม่แน่ใจถามท่านอาจารย์ผู้รู้ดีกว่าค่ะ รบกวนนะคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 01 พ.ย. 14, 09:31

คนที่น่าจะตอบได้คือคุณ V_Mee ค่ะ  ดิฉันค้นเจอเพียงว่า

ลำดับ ๐๕๑๑ นามสกุลภมรสูต ( Bhamarasuta ) พระราชทานให้ พระมหุสสวานุกิจ ( เลื่อน ) กรมวัง กระทรวงวัง หลานพระยาโบราณบุรานุรักษ์ ( ผึ้ง )
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 01 พ.ย. 14, 10:22

ทราบอย่างหนึ่งว่า บรรดาศักดิ์ของกรมวังนั้น จะออกแนวเกี่ยวกับมหรสพเยอะมาก อย่างเช่นบูรพาจารย์ท่านหนึ่งของผม พระยาภะรตราชา อย่าไปอ่านว่าภาระตะ+ราชาเข้าเชียว เดี๋ยวท่านจะต้องไปประจำการแถวพาหุรัต
 
ราชทินนามของท่านนั้นอ่านว่า พะ-รด-ราชา แปลว่า เจ้าแห่งการฟ้อนรำ ชะรอยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯท่านจะทรงมีญาณทัศนวิสัยไกลโพ้นที่พระราชทานบรรดาศักดิ์นี้ให้เป็นกรณีย์พิเศษ ต่างจากข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการคนอื่นๆ เพราะตอนที่ท่านเป็นผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยนั้น ท่านฟ้อนทุกวัน ผิดไปนิดเดียวที่ไม่ได้รำ แต่ใช้อุ้งมือหนาเตอะตบนักเรียนที่ทำอะไรไม่เข้าท่าแล้วไปเข้าตาท่าน ส่วนใหญ่กระบวนรำมือของพระยาภะรตราชามักจะมาทั้งเพลงด้วย ไม่ใช่มาตุ่บเดียวแล้วเลิก

เอ้า..รอคุณ V_Mee อีกคน
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 01 พ.ย. 14, 18:18

ราชทินนาม มหุสวานุกิจ  ดูจากรูปคำน่าจะเป็น มหุสสว + อนุกิจ  ถ้าามหุสสว แปลว่า มหรสพ  ราชทินนามนี้ก็น่าจะมาจากชื่อเทพยดาที่มีหน้าที่ขับกล่อมพระเป็นเจ้า  ซึงก็ตรงกับตำแหน่งหน้าที่ในกระทรวงวัง  ถ้าทราบตำแหน่งหน้าที่ได้ก็พอจะคะเนความหมายของราชทินนามนี้ได้  เพราะปกติราชทินนามจะผูกติดกับตำแหน่ง  เช่น พระดึกดำบรรพ์ประจง  พระไพเราะเสียงซอ พวกนี้จะสังกัดกรมมหรศพ  แต่ถ้าเป็นกรมวังสังกัดกระทรวงวัง  ก็จะมีราชทินนามว่า อนุรักษ์ราชมณเฑียร  สังกัดกรมพระตำรวจหลวงก็จะมีราชทินนาม เช่น ราชมานู  หรือเป็นทหารบกก็จะเป็น สีหราชเดโชชัย ดังนี้เป็นต้น   

สำหรับรายพระยาภะรตราชทานนั้นเดิมท่านมีบรรดาศักดิ์เป็น พระปรีชานุสาสน์ สังกัดกระทรวงธรรมการ  เมื่อจะเลื่อนเป็นพระยานั้น  เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้ขอพระราชทานเลื่อนเป็นพระยาทศทิศอิศรเสนา  เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วมีพระราชกระแสว่า ไม่มีธรรมเนียมเอาชื่อตัวกับนามสกุลมาตั้งเป็นราชทินนาม  จึงทรงคืดพระราชทานให้ใหม่ว่า พระยาภะรตราชา  มีความหมายว่า ราชาที่ชื่อ ภะรต  ซึ่งปรากฏในเรื่องรามเกียรติ์  ราชทินนามโปรดให้เป็นราชทินนามพิเศษของกรมมหาดเล็ก  แต่เวลานั้นตัวท่านเจ้าคุณท่านรับราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 พ.ย. 14, 18:39

ท่านอาจจะรับราชการอยู่กรมมหรสพ ซึ่งมีพลเอก เจ้าพระยารามราฆพเป็นผู้บัญชาการกรม

กรมมหรสพเป็นการรวมกรมโขนหลวง กรมปี่พาทย์หลวง กรมช่างมหาดเล็กและกองเครื่องสายฝรั่งหลวงไว้ด้วย ซึ่งเดิมขึ้นกับกระทรวงวัง  แต่โดยเหตุที่เจ้าพระยารามราฆพเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกรมมหาดเล็ก และมิได้ขึ้นกับกระทรวงวัง  จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ฝากคุณ V_Mee กรุณาเช็คอีกทีว่าข้อความข้างบนนี้ถูกต้องหรือไม่นะคะ   ดิฉันได้มาจากกูเกิ้ล
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 พ.ย. 14, 19:52

ทำไมกรมมหรสพถึงบัญชาการโดยทหารล่ะคะ  ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 พ.ย. 14, 19:59

เจ้าพระยารามราฆพ ไม่ได้เป็นนายทหารสังกัดกระทรวงกลาโหม  แต่เป็นผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก รอ. ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และจเรกรมทหารรักษาวัง รอ. ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ค่ะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 พ.ย. 14, 08:29

เจ้าพระยารามราฆพนั้นท่านถวายตัวเป็นมหาดเล็กมาแต่ก่อนเสด็จเสวยราชย์  เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วทรงพระราชดำริว่า การที่มีทหารประจำรับราชการในพระราชสำนักนั้นเป็นการสิ้นเปลืองทั้งยังทำให้กำลังทหารที่มีอยู่อย่างจำกัดต้องมาทำหน้าที่ที่มิใช่หน้าที่ของทหารโดยตรง  จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมวังนอกซึ่งเป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงวังขึ้นเป็นกรมทหารรักาาวัง  ทำหน้าที่เป็นเวรยามรักษาประตูพระราชฐานแทนทหารรักาาพระองค์ที่โปรดให้ถอนกลับไปทำหน้าที่ทหารป้องกันประเทศ  และเมื่อรายพลโท พระยาสุรเสนา (กลิ่น  แสง - ชูโต) ลาพักราชการเพราะเจ็บป่วยทุพพลภาพแล้ว  ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารามราฆพเป็นสมุหราชองครักษ์เสือป่าและเป็นผู้ช่วยสมุหราชองครักษ์  จนหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลโท พระยาเทพอรชุน (อุ่ม  อินทรโยธิน - เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน) สมุหราชองครักษ์ย้ายไปเป็นจเรทัพบก  ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เคยทรงดำรงครั้งทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  เพื่อนำความรู้ความสามารถไปพัฒนากองทัพแล้ว  จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารามราฆพเป็นสมุหราชองครักษ์  ด้วยเหตุนี้เจ้าพระยารามราฆพจึงมียศเป็นนายพลทหารบกทหารเรือ  และภายหลังจากที่ จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทิวงคต  ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารามราฆพดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์อีกตำแหน่ง

กล่าวถึงตำแหน่งสมุหราชองครักษ์  มีความปรากฏในพระราชหัตถเลขาที่พระราชทานไปถึงจอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราชฯ เมื่อเกิดเหตุกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ โดยทรงพระราชดำริว่า ตำแหน่งสมุหราชองครักษ์นั้นทรงถือเป็นหัวหน้าข้าราชสำนักฝ่ายทหาร  และทรงใช้สมุหราชองครักษ์ทำหน้าที่คล้ายเป็นราชเลขานุการฝ่ายทหาร  นอกจากนั้นกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์นั้นก็เป็นส่วนราชการที่เนื่องในพระราชสำนัก  เพราะมีหน้าที่ถวายอารักขาโดยใกล้ชิด  ฉะนั้นการที่โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารามราฆพมีตำแหน่งยศเป็นทหารจึงเป็นการใช้ข้าราชสำนักให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่เป็นการเบียดบังการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน  เพราะค่าใช้จ่ายในพระราชสำนักทั้งหมดล้วนเบิกจ่ายจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์

ราชการในพระราชสำนักรัชกาลที่ ๖ นั้นแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ กระทรวงวัง รับผิดชอบงานพระราชพิธีต่างๆ  งานประณีตศิลปกรรม  และการถวายอารักขา  มีส่วนราชการในความรับผิดชอบ เช่น กรมพระราชพิธี  กรมพระตำรวจหลวง  กรมทหารรักษาวัง  กรมศิลปากร  กรมโหรหลวง  ฯลฯ  มีเสนาบดีกระทรวงวังรับผิดชอบขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ส่วนกรมมหาดเล็กมีหน้าที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท  ส่วนราชการในสังกัดจึงประกอบด้วย กรมมหาดเล็กรับใช้  กรมพระอัศวราช รับผิดชอบเรื่องพระราชพาหนะ  กรมชาวที่ รับผิดชอบดูแลรักษาพระราชฐาน  กรมมหรสพ รับผิดชอบงานต่างๆ ดังที่ท่านอาจารย์ใหญ่ได้กล่าวไว้แล้ว  แต่ละคมล้วนมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชา  เว้นแต่กรมมหรสพเรียกว่า ผู้บัญชาการ  ขึ้นการบังคับบัญชาตรงต่อผู้สำเร็จราชการมหาดเล็กที่รับผิดชอบตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เหตุที่กรมมหรสพมีผู้บัญชาการแทนอธิบดี  เห็นจะเป็นเพราะข้าราชการในกรมมหรสพนี้ส่วนใหญ่เป็นพลยักษ์และพลลิงในสังกัดกรมโขนหลวง  รวมทั้งผู้มีทีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับโขนเกือบทั้งหมด  อีกทั้งเกือบทั้งหมดยังเป็นเสือป่าพรานหลวงรักษาพระองค์  ซึ่งเสือป่าเหล่าพรานนี้เปรียบได้กับหน่วยทหารพรานของอังกฤษที่เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว  เช่นเดียวกับ "หน่วยพลรบพิเศษ" ของกองทัพบกในปัจจุบัน  การปครองบังคับบัญชาข้าราชการกรมมหรสพจึงออกแนวกึ่งๆ ทหาร
                                                     
บันทึกการเข้า
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 02 พ.ย. 14, 19:06

ขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านอย่างสูง ที่ให้ความรู้เพิ่มเติมมากมาย
ดิฉันเข้ามาเรือนไทยด้วยเรื่องนามสกุลตัว พอค้นไม่เจออะไรแล้ว(ยังไม่ว่างไปหอสมุดแห่งชาติเลยค่ะ)
ก็มาค้นนามสกุลเพื่อนๆและคนรู้จัก ก็พอดีพระมหุสสวานุกิจบรรพบุรุษของรุ่นพี่มัธยมปลายท่านนี้ ทำให้สงสัยนะคะ
ท่านอื่นๆระบุชัดเจนว่ารับราชการในอาชีพใด
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง