เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 43736 สองท่อ...บนเส้นทางเดินทัพ
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 26 พ.ย. 14, 18:29

อีกนิดนึง   ถนนที่ กฟผ.สร้างช่วงระหว่าง อ.สังขละบุรี กับ เขา 687 นั้น เป็นลักษณะของถนนที่สร้างบนหลักและฐานด้านความมั่นคง เป็นสิ่งก่อสร้างทางการยุทธโยธาแบบหนึ่งที่เราไม่ค่อยจะได้เห็นได้สัมผัสกัน
แปลว่าอย่างไร ช่วยขยายความหน่อยครับ

สำหรับท่านนวรัตน์ ผมเพียงเขียนว่า Baron Fon Richthofen ท่าจะเข้าใจดีเลยทีเดียว แต่ก็จะเป็นการเอาเปรียบท่านอื่น

ครับ หากท่านทั้งหลายได้มีโอกาสเดินทางไปเจดีย์สามองค์  จะเห็นว่ามีช่วงหนึ่งของถนนที่เป็นเส้นตรง กว้างกว่าปกติ ราบเรียบในระดับเดียว สองข้างทางไม่มีต้นไม้ใดๆ      เผื่อไว้ใช้สำหรับเครื่องบินขนาดเล็ก จะได้ขึ้น-ลงได้สบายๆครับ     ผมไม้่ได้เข้าไปนานมากแล้ว จึงไม่รู้สภาพในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม หากต้องการใช้งานก็เพียงปรับพื้นผิวเท่านั้น ฐานรากไม่ต้องพูดถึง แน่นเปรี๊ยะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 26 พ.ย. 14, 19:04

เอาละครับ ได้ให้ตัวเลขความเร็วในการเดินทางไปแล้ว

ผมก็จะสรุปเป็นภาพให้เห็นได้ดังนี้นะครับ

    กรณีคนเดิน....จากประสบการณ์จริงๆของตัวผม สำหรับระยะใน 1 วัน ที่เป็นการเดินทางเต็มที่แบบเช้ายันเย็น (คือแต่เช้ามืดพอเห็นหน้ากัน เริ่มหุงหาอาหารกินอิ่มท้อง แล้วก็เดิน เดิน เดิน) แบกเป้หลังที่ใส่ของของหนักประมาณ 20-25 กก.     เมื่อร่างกายสมบูรณ์เต็มที่ ระยะเวลาที่ใชกำลังงานจนสุดพลังที่มีก็ไม่เกิน 10-12 ชม. แล้วก็ต้องหาที่พักและหุงหาอาหารเย็นกัน    ตามปกติแล้วช่วงประมาณบ่าย 2 ถึงบ่าย 3 โมงเย็นก็จะเดินช้าลงเพราะต้องคอยเก็บหาอาหารไปด้วย  ระยะทางเดินที่ได้มักจะอยู่ระหว่าง 25-40 กม.   
   กรณีเดินบนทางราบ - ระดับเจ๋งๆจะเดินได้ 40 - 50 กม.   หากเดินเลาะตามตลิ่งแม่น้ำ ก็คงจะได้ระหว่าง 15-20 กม.   และหากเดินป่าตามทางด่าน (สัตว์) ตามห้วย ข้ามเขาบ้าง ก็คงได้ระยะทางแถวๆ 15-20 กม.
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 26 พ.ย. 14, 19:36

   กรณีช้างเดิน...เดินช้างนี้มีข้อจำกัดมากทีเดียว  (ก็จากประสบการณ์ในการทำงานในพื้นที่ของผม) ดังนี้
     - จะใช้ต่างของก็ได้ไม่มากนัก (ในกรณีต้องเดินทางไกล หลายๆวัน)  ช้างใช้ลากของที่มีน้ำหนักมากๆในขนาดสูสีกับน้ำหนักตัวของมัน (ประมาณ 4 ตัน) ได้อย่างสบายๆ  บรรทุกน้ำหนักขนาด 200 -300 กก.ได้เหมือนกันแต่ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ หากเป็นระยะหลายๆวัน ก็ควรจะไม่เกิน 100 กก. (ไม่รวมน้ำหนักอละอุปกรณ์ของแหย่ง)
     - อาหารที่กินของช้างที่เหมือนอาหารหลักในแต่ละมื้อข้าวของเราก็จำกัด อาหารการกินของช้างป่ากับของช้างเลี้ยงนั้นต่างกัน (แล้วค่อยแทรกเล่าถัดไป)
    - กว่าจะเดินช้างได้จริงๆ ก็มักจะเริ่มในช่วงเวลาประมาณ 7-8  โมงเช้า  จะเดินได้ไกลเพียงใดก็ไม่รู้ล่ะ แต่ไม่เกินประมาณบ่าย 3 โมงแน่ๆ
    - เดินช้างออกจากบ้านไปไกลๆ จะช้ากว่าเดินช้างกลับบ้านเสมอ   ครับ ช้างก็อู้เป็นเหมือนกัน ก็ไม่อยากไปไกลบ้าน เข้ารกเข้าพงเหมือนกัน

     ฯลฯ

คิดอยู่ว่า น่าจะแยกเล่าเรื่องเดินช้าง เป็นกระทู้แทรกสั้นๆน่าจะดีกว่านะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 26 พ.ย. 14, 21:48

อีกนิดนึง   ถนนที่ กฟผ.สร้างช่วงระหว่าง อ.สังขละบุรี กับ เขา 687 นั้น เป็นลักษณะของถนนที่สร้างบนหลักและฐานด้านความมั่นคง เป็นสิ่งก่อสร้างทางการยุทธโยธาแบบหนึ่งที่เราไม่ค่อยจะได้เห็นได้สัมผัสกัน
แปลว่าอย่างไร ช่วยขยายความหน่อยครับ

สำหรับท่านนวรัตน์ ผมเพียงเขียนว่า Baron Fon Richthofen ท่าจะเข้าใจดีเลยทีเดียว แต่ก็จะเป็นการเอาเปรียบท่านอื่น

ครับ หากท่านทั้งหลายได้มีโอกาสเดินทางไปเจดีย์สามองค์  จะเห็นว่ามีช่วงหนึ่งของถนนที่เป็นเส้นตรง กว้างกว่าปกติ ราบเรียบในระดับเดียว สองข้างทางไม่มีต้นไม้ใดๆ      เผื่อไว้ใช้สำหรับเครื่องบินขนาดเล็ก จะได้ขึ้น-ลงได้สบายๆครับ     ผมไม้่ได้เข้าไปนานมากแล้ว จึงไม่รู้สภาพในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม หากต้องการใช้งานก็เพียงปรับพื้นผิวเท่านั้น ฐานรากไม่ต้องพูดถึง แน่นเปรี๊ยะ

ถ้าท่านตั้งเขียนว่า Baron Fon Richthofen ผมคงงงเต้กเป็นไก่ตาแตกว่าฮีโร่เยอรมันคนนี้จะเอาเครื่องปีกสามชั้นมาสังขละบุรีทำไม แต่ถ้าเขียนว่าพระยาเฉลิมอากาศ ผมจึงอาจจะเข้าใจได้ เพราะเครื่องบินสมัยท่านต้องลงฉุกเฉินบ่อยๆ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 26 พ.ย. 14, 21:55


สำหรับท่านนวรัตน์ ผมเพียงเขียนว่า Baron Fon Richthofen ท่าจะเข้าใจดีเลยทีเดียว แต่ก็จะเป็นการเอาเปรียบท่านอื่น


Red Baron เสืออากาศแห่งจักรพรรดิไกเซอร์ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ หรือเปล่าครับ ?
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 26 พ.ย. 14, 21:58

เอาละครับ ได้ให้ตัวเลขความเร็วในการเดินทางไปแล้ว

ผมก็จะสรุปเป็นภาพให้เห็นได้ดังนี้นะครับ

    กรณีคนเดิน....จากประสบการณ์จริงๆของตัวผม สำหรับระยะใน 1 วัน ที่เป็นการเดินทางเต็มที่แบบเช้ายันเย็น (คือแต่เช้ามืดพอเห็นหน้ากัน เริ่มหุงหาอาหารกินอิ่มท้อง แล้วก็เดิน เดิน เดิน) แบกเป้หลังที่ใส่ของของหนักประมาณ 20-25 กก.     เมื่อร่างกายสมบูรณ์เต็มที่ ระยะเวลาที่ใชกำลังงานจนสุดพลังที่มีก็ไม่เกิน 10-12 ชม. แล้วก็ต้องหาที่พักและหุงหาอาหารเย็นกัน    ตามปกติแล้วช่วงประมาณบ่าย 2 ถึงบ่าย 3 โมงเย็นก็จะเดินช้าลงเพราะต้องคอยเก็บหาอาหารไปด้วย  ระยะทางเดินที่ได้มักจะอยู่ระหว่าง 25-40 กม.    
   กรณีเดินบนทางราบ - ระดับเจ๋งๆจะเดินได้ 40 - 50 กม.   หากเดินเลาะตามตลิ่งแม่น้ำ ก็คงจะได้ระหว่าง 15-20 กม.   และหากเดินป่าตามทางด่าน (สัตว์) ตามห้วย ข้ามเขาบ้าง ก็คงได้ระยะทางแถวๆ 15-20 กม.

ในพงศาวดารอย่างกรณีไปรบพม่าท่าดินแดง ระบุไว้ครับว่าเดินเลาะตามลำแม่น้ำไปครับ และเดินอย่างนี้จนไปถึงตัวเมืองกาญจนบุรีเก่าครับ ซึ่งต้องผ่านทุ่งลาดหญ้าก่อน จึงจะเข้าตัวเมืองกาญจนบุรีเก่าครับ

ที่น่าสนใจก็คือ คราวรบพม่าท่าดินแดง+สามสบนั้น มีพ่อค้า(จากไหนก็ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ) นำเอาสินค้ามาจำหน่ายให้ทางฝ่ายพม่าด้วยเช่นกัน ถึงกับขนาดตั้งเป็นร้านค้ากันได้ ดังในเพลงยาวพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพรรณาไว้ในนิราศท่าดินแดงดังนี้



   อ้ายพม่าตั้งอยู่ท่าดินแดง
ตกแต่งค่ายรายไว้ถ้วนถี่
ทั้งเสบียงอาหารสารพัดมี
ดังสร้างสรรค์ธานีทุกประการ
มีทั้งพ่อค้ามาขาย
ร้านรายกระท่อมพลทุกสถาน
ด้านหลังทำทางวางสะพาน
ตามละหานห้วยธารทุกตำบล
ร้อยเส้นมีฉางหว่างค่าย
ถ่ายเสบียงอาหารทุกแห่งหน
แล้วแต่กองร้อยอยู่คอยคน
จนตำบลสามสบครบครัน
อันค่ายคูประตูหอรบ
ตบแต่งสารพัดเป็นที่มั่น
ทั้งขวากหนามเขื่อนคูป้องกัน
เป็นชั้นชั้นอันดับมากมาย



ไม่แน่ใจว่า จะเกี่ยวกับบรรดาชุมชนปะกากญอแถว ๆ นั้นหรือเปล่านะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 02 ธ.ค. 14, 23:19

ไปเจอเรื่องนี้เข้า ก็เลยเอามาลงไว้ให้อ่านกันครับ แล้วเพื่อเป็นการเร่งท่านตั้งไปด้วยในตัว ไม่ทราบไปหลงป่า หรือหลงสาวมอญอยู่ที่ไหนแล้ว

อาตมา กับท่านชาติชาย ขึ้นไปนั่งกับมัคคุเทศก์ชื่อน้อย อดีตเสือพราน บอกลาหัวหน้าสากล รถพาพวกเราลึกเข้าไปในป่า ผ่านทางฝุ่นคดเคี้ยวไปไม่นาน……
…..ถึงทางเข้าเหมืองสองท่อ ขอผ่านทางเข้าไปข้างใน พอรู้ว่าเป็นคนของป่าไม้ ก็รีบเปิดไม้กั้นให้ น้อยบอกว่าจะพาไปเข้าอุโมงค์ มันเป็นทางที่เขาขุดแร่ มีบางสายที่ยาวจนไม่รู้ว่าไปโผล่ที่ไหน “บางทีแถวทุ่งใหญ่ อาจถูกดำดินไปขนแร่หมดแล้วก็ได้..” อดีตเสือพรานบอก เมืองไทยก็อย่างนี้แหละ ใครทำตามกฎหมายตรง ๆ ถือว่าโง่..!

มีอุโมงค์ดำมืดอยู่ทางขวามือ น้อยบอกให้เลี้ยวต่อไปทางซ้าย อุโมงค์นี้ไม่ใช่ ขืนเข้าไปมีหวังไปโผล่ที่เมืองพม่าเอาง่ายๆ


 


บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 03 ธ.ค. 14, 08:06

มี ๓ ท่อด้วยค่ะ


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 03 ธ.ค. 14, 10:04

ไปเจอเรื่องนี้เข้า ก็เลยเอามาลงไว้ให้อ่านกันครับ แล้วเพื่อเป็นการเร่งท่านตั้งไปด้วยในตัว ไม่ทราบไปหลงป่า หรือหลงสาวมอญอยู่ที่ไหนแล้ว

อาตมา กับท่านชาติชาย ขึ้นไปนั่งกับมัคคุเทศก์ชื่อน้อย อดีตเสือพราน บอกลาหัวหน้าสากล รถพาพวกเราลึกเข้าไปในป่า ผ่านทางฝุ่นคดเคี้ยวไปไม่นาน……
…..ถึงทางเข้าเหมืองสองท่อ ขอผ่านทางเข้าไปข้างใน พอรู้ว่าเป็นคนของป่าไม้ ก็รีบเปิดไม้กั้นให้ น้อยบอกว่าจะพาไปเข้าอุโมงค์ มันเป็นทางที่เขาขุดแร่ มีบางสายที่ยาวจนไม่รู้ว่าไปโผล่ที่ไหน “บางทีแถวทุ่งใหญ่ อาจถูกดำดินไปขนแร่หมดแล้วก็ได้..” อดีตเสือพรานบอก เมืองไทยก็อย่างนี้แหละ ใครทำตามกฎหมายตรง ๆ ถือว่าโง่..!

มีอุโมงค์ดำมืดอยู่ทางขวามือ น้อยบอกให้เลี้ยวต่อไปทางซ้าย อุโมงค์นี้ไม่ใช่ ขืนเข้าไปมีหวังไปโผล่ที่เมืองพม่าเอาง่ายๆ






ช่วยแปะ Link ให้ครับ

http://www.grathonbook.net/inthai/7.1.html


ท่านชาติชาย อดีตเคยเป็นป่าไม้ประจำเขตทองผาภูมิครับ ขึ้นชื่อเรื่องการไล่ล่าและปราบปรามขบวนการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ขนาดเคยยืนด่าลูกผู้มีอิทธิพลกลางตลาดทองผาภูมิมาแล้ว  มาภายหลังได้ออกบวช เพราะเบื่อระบบการทำงาน

น่าจะเป็นรุ่นน้องของ อ.ศักดิ์ดา สกุลพนารักษ์ อดีตป่าไม้ตงฉินที่เคยประจำอยู่ในเขตนี้เหมือนกัน และก็ขึ้นชื่อเรื่องบู๊เหมือนกัน แต่สุดท้ายก็ต้องลาออกจากงาน ด้วยเหตุผลเดียวกับท่านชาติชาย

 
ส่วนท่านผู้เขียนเรื่องนี้ อดีตเคยเป็นนายทหารแห่งกองทัพบก แต่เบื่อหน่ายในระบบการทำงาน (เหมือนสองท่านข้างบน) จึงลาออกมา ต่อมาภายหลังได้บวชเป็นพระในพระบวรพุทธศาสนา ปัจจุบันก็ยังบวชอยู่ครับ เป็นที่รู้จักกันดีในเขต ทองผาภูมิ, สังขละบุรี ถ้าจะบอกว่าคณะสงฆ์ภาค ๑๔ รู้จักท่านเกือบหมด ก็ไม่ผิดนัก

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 03 ธ.ค. 14, 20:51

เก้ๆกังๆ จดๆจ้องๆ ว่าจะเดินต่อไปอย่างไรดี   ก็พอดีถูกไม้มาเขี่ยบั้นท้ายเต่า   สดุ้งตื่นขึ้นมา ฟ้าก็แจ่มใส เห็นว่าจะเดินเรื่องต่อไปอย่างไรถึงจะดี

เดินมาช้าๆ ก็เพราะกังวลในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องของ
  - ชื่อเรียกสถานที่ในหลากหลายแผนที่ไม่ตรงกับพิกัดตำแหน่งที่ควรจะเป็น และไม่ตรงกันระหว่างแผนที่ต่างๆที่เผยแพร่กัน
  - การใช้แผนที่เปรียบเทียบระหว่างภาพถ่ายดาวเทียมกับแผนที่ภูมิประเทศมาตรส่วนต่างๆ สำหรับผู้ไม่คุ้นเคย
  - สถานที่ๆอ้างถึงถูกน้ำในอ่างทั้งสองเขื่อนท่วม (เจ้าเณรและเขาแหลม)
  - และอื่นๆ

ก็สรุปได้แล้วว่าจะเดินเรื่องอย่างไร  ก็ข้อคิดจากคนที่เอาไม้มาเขี่ยก้นนั่นเอง    แต่ก็อีกแหละครับ บังเอิญผมต้องไป ตจว.ช่วงวันศุกร์นี้ถึงวันศุกร์หน้า  เลยขออนุญาตเว้นการเล่าเรื่องในช่วงเวลานั้น



บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 04 ธ.ค. 14, 09:44

เก้ๆกังๆ จดๆจ้องๆ ว่าจะเดินต่อไปอย่างไรดี   ก็พอดีถูกไม้มาเขี่ยบั้นท้ายเต่า   สดุ้งตื่นขึ้นมา ฟ้าก็แจ่มใส เห็นว่าจะเดินเรื่องต่อไปอย่างไรถึงจะดี

เดินมาช้าๆ ก็เพราะกังวลในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องของ
  - ชื่อเรียกสถานที่ในหลากหลายแผนที่ไม่ตรงกับพิกัดตำแหน่งที่ควรจะเป็น และไม่ตรงกันระหว่างแผนที่ต่างๆที่เผยแพร่กัน
  - การใช้แผนที่เปรียบเทียบระหว่างภาพถ่ายดาวเทียมกับแผนที่ภูมิประเทศมาตรส่วนต่างๆ สำหรับผู้ไม่คุ้นเคย
  - สถานที่ๆอ้างถึงถูกน้ำในอ่างทั้งสองเขื่อนท่วม (เจ้าเณรและเขาแหลม)
  - และอื่นๆ

ก็สรุปได้แล้วว่าจะเดินเรื่องอย่างไร  ก็ข้อคิดจากคนที่เอาไม้มาเขี่ยก้นนั่นเอง    แต่ก็อีกแหละครับ บังเอิญผมต้องไป ตจว.ช่วงวันศุกร์นี้ถึงวันศุกร์หน้า  เลยขออนุญาตเว้นการเล่าเรื่องในช่วงเวลานั้น





ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 14 ธ.ค. 14, 19:14

รวบรวมความกล้ามายืนอยู่หน้าชั้น เพื่อเล่าความเรื่องทางมนุษย์วิทยาและประวัติศาสตร์ที่ฉีกมุมออกไป จากมุมมองของผมซึ่งเป็นบุคคลในวิชาชีพอื่น

เอาละครับ...

ขอเริ่มต้นดังนี้ครับ   

ผมเคยได้ฟังบรรยายและได้อ่านหนังสือและบทความในระหว่างการไปอบรมเรื่อง  Mineral Exploration ที่ออสเตรเลียเมื่อประมาณ พ.ศ.2522 ว่า ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติเรานั้น ล้วนแต่ขยับเขยื้อนเคลื่อนไปก็ด้วยความประสงค์ในเรื่องของทรัพยากร ซึ่งทรัพยากรที่ประสงค์เหล่านั้น เกือบทั้งหมดจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ตั้งแต่เรื่องของหอยเบี้ย (cowrie shells ทั้งหลาย)    จนแม้กระทั่งสงครามครูเสด (ที่รู้ๆกันอยู่ว่าเป็นสงครามทางศาสนานั้น) ในเนื้อในก็ยังเป็นเรื่องของการแย่งการครอบครองทรัพยากร (แหล่งแร่เหล็กที่ถลุงออกมาเป็น steel มิใช่ ถลุงออกมาเป็น iron)

colonialism ที่อยู่ในตรรกะกระบวนคิดของผู้ปกครองและคนในประเทศในยุโรปทั้งหลายต่างๆ  ต่างก็ตั้งอยู่บนฐานหรือหลักนิยมในเรื่องของทรัพยากรทั้งสิ้น   แล้วก็มีต่อเนื่องตลอดมาจนเข้าสู่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งไทยเราก็อยู่ในสนามการแย่งชิงจากทั้งสองฝั่งขั้วมหาอำนาจ  จนกระทั่งเข้าสู่ยุค digital จึงได้ยุติไป 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 16 ธ.ค. 14, 18:32

มีโลหะอยู่หลายชนิดที่พบว่าเกิดอยู่ในธรรมชาติ ศัพท์ทางวิชาการเรียกโลหะธาตุที่พบในธรรมชาติเหล่านี้ว่า native metal    ที่เรารู้จักกันดีก็ได้แก่ ทองแดง ทองคำ และเงิน     ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มนุษย์เราต่างก็ใช้ประโยชน์จากโลหะที่พบในธรรมชาติเหล่านี้ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป  ทองแดงถูกใช้หนักไปในทางการผสมกับโลหะอื่นๆเพื่อสร้างสรรค์เครื่องมือและเครื่องใช้ต่างๆ (...as  essential resource)     ทองคำถูกใช้หนักไปในทางการแสดงความมีอำนาจบารมีและความร่ำรวย (...as wealth & commodity)    ส่วนเงินนั้นถูกใช้หนักไปในทางของมูลค่าราคาของสินค้าที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน (...as quasi money & exchange ref.)   

สำหรับเงินนั้น แม้จะพบว่ามีการใช้ในวัฒนธรรมของยุโรปตั้งแต่ยุคกรีก โรมัน    แต่ก็ยังไม่มีเรื่องราวสำคัญในบันทึกของหน้าประวัติศาสตร์เท่ากับการใช้ในวัฒนธรรมจีน  ซึ่งย้อนกลับไปได้ไกลกว่าสมัยราชวงค์ถัง (แถวๆ ค.ศ.600 - 900) และดูเหมือนว่าจะย้อนไปไกลถึงยุคของราชวงค์ฮั่น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 16 ธ.ค. 14, 19:18

เหตุการณ์ความเคลื่อนไหวของจีนในสมัยก่อนยุคราชวงค์ฮั่นนั้น เกือบทั้งหมดจำกัดอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง (floodplain) ของแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห) และแม่น้ำแยงซีเกียง    จนเข้าสู่ยุคราชวงค์ฮั่น จึงมีการขยายเขตอาณาครอบคลุมลงมาทางใต้ โดยเฉพาะทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน   ซึ่งเป็นพื้นที่ๆอุดมไปด้วยพืชผลทางเกษตรกรรมและทรัพยากรแร่ธาตุหลากหลาย

ยุคฮั่นเป็นยุคที่จีนมีพัฒนาการทางโลหะวิทยาที่สำคัญ คือ ความสามารถในการถลุงเหล็กให้เป็น steel และเปลี่ยนไปใช้เหล็ก (กล้า) นี้ทำเป็นศาสตราวุธแทนโลหะผสม bronze 

     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 16 ธ.ค. 14, 19:37

ดูไกลจากเรื่องของสองท่อไปหน่อยนะครับ   

ผมมิได้ตั้งใจจะปาฐกในเรื่องของประวัติศาสตร์ แต่กำลังพยายามจะเล่ากล่าวเรื่องในเชิง anthropology 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 20 คำสั่ง