เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 43732 สองท่อ...บนเส้นทางเดินทัพ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 22:23

อ้างถึง
คือแหล่งที่พบ ตระกัน (slag) จากการถลุงเอาโลหะเมื่อนานนับร้อยๆปีมาแล้ว จะมีปริมาณทั้งหมดมากน้อยเพียงใดก็ไม่รู้ได้  รู้แต่ว่ามีการทำเหมืองแร่นำตระกรันนี้ออกไปในตัวเลขแถบๆแสนตัน +/-  

อ้างถึง
จนหลายปีต่อมา จึงได้พบบทความในหนังสือศิลปวัฒนธรรม ว่า ในสมัย ร.3 นั้น เราได้ส่งตะกั่วไปขายเมืองจีนนับเป็นหมื่นตันเหมือนกัน

ถามจริงครับท่านตั้ง ผลผลิตปริมาณนี้จะต้องใช้คนงานกี่คนในเหมืองเนี่ย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 18:01

คำถามนี้แหละครับที่ทำให้ผมเกิดความสนใจในเรื่องราวของสองท่อขึ้นมา และควานหาข้อมูลที่คิดว่ามีความเกี่ยวพัน ดั้นด้นไปดูที่ต่างๆเท่าที่มีการพบ slag หรือร่องรอยอื่นใด ก็ไปได้เท่าที่เท้าหรือรถจะเข้าไปถึงได้และตามช่วงจังหวะของการทำงานอยู่ในพื้นที่หรือผ่านพื้นที่นี้

จากคำถามของท่านนวรัตน์     

ดูจากสภาพของพื้นที่ๆยังเป็นป่าสภาพธรรมชาติในขณะนั้นแล้ว ผมเห็นว่าที่อยู่อาศัยนั้นแยกออกไปจากที่ทำเหมือง 

พื้นที่อาศัยที่เป็นชุมชนใหญ่จริงๆและค่อนข้างจะถาวร น่าจะอยู่ในพื้นที่รอบๆบึง บ.เกริงกราเวีย    ส่วนในพื้นที่อื่นๆน่าจะเป็นชุมชนเล็กๆในลักษณะเป็นที่พักอาศัยชั่วคราวตามฤดูกาลขุดหาแร่และถลุงแร่

สำหรับประเด็นที่ว่า จะเป็นชุมชนจำนวนคนเพียงใดนั้น ผมเดาไม่ออกเลย    เพราะแม้ว่าปริมาณตะกรันขนาดนั้น มันเป็นตัวบ่งบอกอย่างหนึ่งของจำนวนคนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง  แต่มันก็มาจากการทำเหมืองแบบต่อเนื่องมาตั้งแต่ยุคต้นสมัยสุโขทัยจนถึงสมัย ร.3 อีกด้วย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 18:16

พื้นที่ของชุมชนคนทำเหมืองนั้น นอกจากที่เกริงกราเวียแล้ว ผมเห็นว่ายังมีเล็กอยู่อีกในพื้นที่ของ ทุ่งนางครวญ และทิขุ (ใกล้ๆสองท่อ) แล้วก็ที่หนานยะ

แล้วค่อยๆขยายหรือผูก jigsaw เรื่องที่กล่าวมานี้ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 18:42

ไป jigsaw อีกตัวหนึ่ง     ตัวนี้ชื่อ บ่องาม

บ่องาม เป็นชื่อสถานที่ๆอยู่ไปทางเหนือของหมู่บ้านคลิตี้ หรือทุ่งเสือโทน (ที่มีปัญหาร้องเรียนเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมปนเปื้อนสารตะกั่ว) บ่องามอยู่ห่างออกไปประมาณ 5-6 กม. เป็นสถานที่ๆพบทั้งตะกรันและโลหะตะกั่วแบบเม็ดทราย (ขนาดเมล็ดงาและถั่วเขียวคละกัน) และที่เป็นทรงหยดน้ำ (ขนาดประมาณเมล็ดถั่วดำ) 

ที่นี่ก็มีการทำเหมืองขนออกไปในหลักหลายหมื่นตันเหมือนกัน

ที่อยู่อาศัยของชุมชนโบราณที่ทำเหมืองบริเวณนี้ น่าจะตั้งอยู่ภายในพื้นที่นี้เอง แล้วก็แถวๆ บ.คลิตี้ นั่นแหละครับ   ที่บ่องามนี่ได้พบเครื่องใช้และภาชนะหลายอย่างที่บอกว่ามีกลุ่มคนไทยอยู่ร่วมด้วย หรือจะเป็นชุมชนคนไทยก็อาจจะเป็นได้
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 18:50

แต่ละเรื่องที่เล่ามา น่าจะเป็นตัว Jigsaw ที่น่าสนใจและนำมาต่อกัน (พอ)ได้

จากที่ผมเล่ากระท่อนกระแท่นมา จากนี้ก็คงจะพอเล่าผูกเป็นเรื่องได้มากขึ้น โดยจะเริ่มขยายรายละเอียดเท่าที่พอมีของแต่ละตัว jigsaw

 
บันทึกการเข้า
แมวเซา
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 20:17

ไป jigsaw อีกตัวหนึ่ง     ตัวนี้ชื่อ บ่องาม

บ่องาม เป็นชื่อสถานที่ๆอยู่ไปทางเหนือของหมู่บ้านคลิตี้ หรือทุ่งเสือโทน (ที่มีปัญหาร้องเรียนเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมปนเปื้อนสารตะกั่ว) บ่องามอยู่ห่างออกไปประมาณ 5-6 กม. เป็นสถานที่ๆพบทั้งตะกรันและโลหะตะกั่วแบบเม็ดทราย (ขนาดเมล็ดงาและถั่วเขียวคละกัน) และที่เป็นทรงหยดน้ำ (ขนาดประมาณเมล็ดถั่วดำ) 

ที่นี่ก็มีการทำเหมืองขนออกไปในหลักหลายหมื่นตันเหมือนกัน

ที่อยู่อาศัยของชุมชนโบราณที่ทำเหมืองบริเวณนี้ น่าจะตั้งอยู่ภายในพื้นที่นี้เอง แล้วก็แถวๆ บ.คลิตี้ นั่นแหละครับ   ที่บ่องามนี่ได้พบเครื่องใช้และภาชนะหลายอย่างที่บอกว่ามีกลุ่มคนไทยอยู่ร่วมด้วย หรือจะเป็นชุมชนคนไทยก็อาจจะเป็นได้
 
คราวนี้ผมเจอแหล่งวัตถุดิบใช้ทำลูกกระสุนปืนครั้งสยามรบญวนในสงครามอานามสยามยุทธ อย่างน้อยก็ต้องได้ใช้ในกองทหารมอญบ้างละครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 13 พ.ย. 14, 22:22


 
คราวนี้ผมเจอแหล่งวัตถุดิบใช้ทำลูกกระสุนปืนครั้งสยามรบญวนในสงครามอานามสยามยุทธ อย่างน้อยก็ต้องได้ใช้ในกองทหารมอญบ้างละครับ


สงครามระหว่าสยามกับญวนในช่วงนั้น ส่วนใหญ่จะเกณฑ์เลกในพื้นที่เขมรเป็นหลักนะครับ เนื่องจากยังมีเมืองอย่าง เสียมราฐ พระตะบอง อุดงมีชัย ที่ยังขึ้นกับสยามอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ตั้งแต่ต้นสกุลคือ ฟ้าทะละหะ จนถึง บิดาของคุณควง อภัยวงศ์ ครับ) และตัวเจ้าพระยาบดินทรเดชาเอง ท่านก็แทบไม่ได้กลับมาพระนครเลยเป็นเวลาถึง ๑๕ ปีเต็ม ๆ ที่ท่านอยู่แต่ในเมืองเขมรครับ

ส่วนกองทหารมอญ ถ้าดูตามกองอาสาแล้วไม่มีเกี่ยวกับปืนไฟเลยนะครับ ตะกั่วและทองแดงที่ได้ น่าจะถูกส่งไปขายเมืองจีนอย่างที่คุณลุง Naitang บอกมามากกว่าครับ

อีกประการ กองทหารอาสามอญถ้าจะถูกใช้ ก็น่าจะโดนเกณฑ์เพื่อเตรียมไปทำศึกกับพม่า ตั้งแต่สงครามอังกฤษ-พม่า รอบแรกแล้วล่ะครับ เพราะมีส่วนล่วงหน้าของพระยายมราชได้เข้าไปถึงเมืองพม่าแล้ว ทัพใหญ่ยังพักอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี เพราะฉะนั้นไม่น่าจะมีกองอาสามอญเข้าไปร่วมรบในสมรภูมิด้านเขมรนะครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 14 พ.ย. 14, 21:40

อีก jigsaw หนึ่ง เกี่ยวพันกับสอง ค.ห.ก่อนหน้านี้ ครับ   อาจจะเป็น jigsaw วงนอกที่ใช้เชื่อมเรื่องราวทางประวัติศาตร์ได้บ้าง    แม้ว่าอาจจะห่างไกลในเชิงของพิกัดตำแหน่ง แต่ก็น่าจะมีเรื่องราวของเขาอยู่ในประวัติศาสตร์การรบพุ่งของกองทัพของไทย?

เคยได้ยินชื่อ เขาอึมครึม ไหมครับ ?    จะตั้งอยู่ในเขต อ.บ่อพลอย หรือ อ.หนองรี ของ จ.กาญจนบุรี (ก็ไม่แน่ใจนัก)   แต่อยู่ในพื้นที่ของที่ต้องอาศัยน้ำกินน้ำใช้จาก ลำอีซู และ ลำตะเพิน แน่นอน

เขาอึมครึมเป็นเขาหินปูนลูกเล็กๆ ตั้งอยู่ในพื้นที่ค่อนข้างราบ เป็นภูเขาที่ๆพบแร่เหล็กสะสมตัวเป็นกระเปาะอยู่   จัดเป็นแหล่งแร่เหล็กขนาดจิ๊บจ้อยตามมาตรฐานของแหล่งแร่เหล็กในปัจจุบัน    ผมได้เห็น ได้สัมผัส แต่ไม่มีโอกาสได้เดินสำรวจและเก็บข้อมูลได้อย่างที่ใจนึกครับ

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 14 พ.ย. 14, 21:58

ตวามสนใของผมเริ่มอย่างนี้ครับ

บนเส้นทางหลวงจังหวัดสาย บ.ลาดหญ้า ไป อ.บ่อพลอย อ.หนองรี อ.หนองปรือ ฯลฯ ของ จ.กาญจนบุรีนี้  เมื่อเลยตัว อ.บ่อพลอยไปสัก 10 +/- กม. จะมีบ้านหลุมรัง  บริเวณพื้นที่ด้านเหนือของหลุมรังนี้  จะพบ slag ทรงลอนคลื่นที่มีผิวเรียบและมันที่ผิวด้านหนึ่ง และราบเรียบแบบด้านๆในอีกด้านนึ่ง    เป็นทรงแบนๆอยู่ในพื้นที่ราบ ผมไม่รู้ปริมาณจริงๆว่ามีมากน้อยเพียงใด 

ความน่าสนใจของแหล่งนี่คือ
   - มันเป็น slag  ของแร่เหล็กหรือไม่ และเป็นของแร่เหล็กชนิดใด
   - มันมีอายุเพียงใด
   -
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 15 พ.ย. 14, 18:49

ง่วงมากไปนิดนึงครับ เลยละไว้อย่า่งนั้น

ครับ  แม้ผมจะเรียกว่า slag แต่มันจะใช่หรือไม่ใช่ และ หรือเรียกชื่อถูกหรือไม่ถูกก็ไม่รู้  ลักษณะของเนื้อคล้ายกับพลอยสะเก็ดดาว
(Tectite)    แต่รู้แน่ๆว่าไม่ใช่ Tectite    และรู้ว่ามันเกิดมาจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็ว (quenching) ของหินที่หลอมละลาย และมาจากการกระทำของคน 

จำได้อีกว่า ชาวบ้านแถบนั้นเล่าให้ฟังว่า เคยพบพวกเศษกระเบื้อง เศษถ้วยชาม เมื่อทำการขุดหลุมฝังเสาบ้าน

ผมเลยก็เดาเอาจากความรู้งูๆปลาๆที่พอจะมีว่า ในเมื่อพื้นที่ในบริเวณนี้อยู่ในย่านของพื้นที่ทางยุทธการในการศึกกับพม่าหลายครั้ง ประกอบกับมีแหล่งแร่เหล็กที่เขาอึมครึมที่อยู่ไม่ห่างไปมากนัก (ที่เกิดอยู่ร่วมกับหินปูน _ หินปูนเป็นสาร flux ตัวหนึ่งที่ช่วยลดอุณหภูมิและช่วยในการหลอมละลายของแร่เหล็ก)   ตามค่ายต่างๆก็ย่อมต้องมีการผลิตศาสตราวุธเพิ่มเติม และมีการปรับเพิ่มคุณภาพของศาสตราวุธทั้งหลายให้ดีขึ้น  ก็เลยคิดว่า ที่ผมเรียกว่า slag นี้ มันก็คือกากที่มาจากกระบวนหลอมในการการทำหรือปรับคุณภาพของศาสตราวุธนั้นเอง   
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 17 พ.ย. 14, 07:19

slag คืออย่างนี้มั้ยคะ ชิ้นขวามีแร่เหล็กผสมกับทองแดง


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 17 พ.ย. 14, 18:45

ใช่ตามภาพครับ

slag นั้นมีลักษณะทางกายภาพต่างๆกัน รวมทั้งเนื้อของมันก็มีความต่างกันทั้งในเชิงของปริมาณ (quantity) และคุณภาพ (quality) ของธาตุที่ปรากฎอยู่ในเนื้อของมัน

ภาพด้านขวาเป็นลักษณะรวมๆของ slag ที่พบในแหล่งแร่ตะกั่วที่ผมได้กล่าวถึงในกระทู้นี้  ส่วนภาพด้านซ้ายออกไปทางที่พบแถวบ้านหลุมรังที่กล่าวถึง ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 17 พ.ย. 14, 18:55

คำว่า slag ที่เราแปลกันว่า ตะกรัน นั้น  เราอาจจะต้องปรับภาพความเข้าใจบ้าง

ตะกรัน หรือคราบตะกรัน (ที่เรารู้จัก เข้าใจ และเห็นภาพเหมือนๆกันตามปกติ) คือตะกอนหรือสิ่งที่ติดค้างสะสมอยู่ที่บริเวณผิวของภาชนะ เช่น ที่ก้นกาต้มน้ำ นั้น  ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า residual ซึ่งตรงกับคำว่า คราบ  ในภาษาไทย
    
แต่คำว่า ตะกรัน ที่หมายถึงคำว่า slag ที่เราเห็นทิ้งเป็นกองอยู่ในพื้นที่ของบรรดาโรงถลุงแร่ทั้งหลายนั้น ซึ่งที่คำเรียกในภาษาไทยให้ภาพว่าเป็นสิ่งที่อยู่ที่ก้นเบ้าเตาหลอม นั้น   ที่จริงแล้วคือของเหลวที่ลอยอยู่ส่วนบนในเบ้าหลอมของเตาถลุงโลหะทั้งหลาย
  
ส่วนสำหรับตะกอนที่อยู่ที่ก้นเบ้าหลอมในขณะยังเป็นของไหลอยู่นั้น เรียกว่า sludge

ครับ ตะกรันที่ก้นกาต้มน้ำ คือ residual   ตะกอนที่ก้นกระทะทอดอาหารที่เราตักทิ้ง คือ sludge    แล้วคำใดคือ slag ?  ผมยังนึกไม่ออกครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 17 พ.ย. 14, 19:08

ติดตามอ่านมานานก็ยังสองท่อ

Slag หรือตะกรันที่เคยเห็นจะลอยเป็นฝ้าเหนือน้ำโลหะที่กำลังหลอม เขาจะเอาเหล็กเขี่ยๆ ให้สิ่งที่ลอยอยู่เหนือน้ำทองออกไป ก็จะได้ตะกรัน (คงเหมือนน้ำเต้าหู้ที่มีฝ้าเต้าหู้ลอย  ยิงฟันยิ้ม)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 17 พ.ย. 14, 19:36

slag มีคำภาษาไทยเรียกอย่างหนึ่งว่า ขี้ตะกรัน ครับ

มันผิดกับตะกรันตรงที่ว่า ตะกรันมันจะยังเกาะติดกับผนังอยู่ แต่ขี้ตะกรัน คือส่วนที่หลุดลอยออกมาฟ่องอยู่บนของเหลว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 20 คำสั่ง