เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 43805 สองท่อ...บนเส้นทางเดินทัพ
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 08 พ.ย. 14, 19:04

คิดว่า คงจะต้องเล่าเรื่องตัวตนของ สองท่อ  ที่ละเอียดพอสมควรเสียก่อนแล้วนะครับ ซึ่งจะพอช่วยทำให้ท่านผู้ติดตามได้มีมโน และเห็นเงาของภาพที่ผมเห็น ก่อนที่จะเอาไปผูกกัน ไปถกกัน ให้เป็นเรื่องราวและวิเคราะห์หาความจริงหรือความเป็นไปได้ต่อไปครับ

เรื่องราวของ สองท่อ ที่เราจะพอได้รับรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆในปัจจุบัน คงจะมีเป็นเพียงพื้นฐานว่า เป็นพื้นที่ทำเหมืองแร่ตะกั่ว ทำเหมืองแบบขุดเจาะอุโมงค์ลงไป ต่อมามีการขยายตัวของชุมชนรอบเขตนอกเหมือง มีการจัดที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมพร้อมไปกับการหักล้างถางพง มีการทำไร่ทำสวน จนกลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรมขนาดใหญ่

ซึ่ง เรื่องราวที่ผมจะเล่าต่อไปนี้ เป็นเรื่องที่ผมได้มาทั้งจากการอ่านรายงานและบทความต่างๆ ทั้งของไทยและของเทศ   จากการได้เข้าไปคลุกอยู่ในพื้นที่ในย่านนั้นค่อนข้างยาวนาน แถวๆ 15 ปีได้กระมัง  จากการได้พูดได้คุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ชาว (เขา) ถิ่นเมื่อครั้งยังทำงานคลุกคลีอยู่ในพื้นที่  และจากการเดิน...เดิน... เดิน แล้วก็เดินเดินเดินสำรวจทางธรณ๊วิทยา
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 09 พ.ย. 14, 21:20

ถ้าผ่านไปใกล้แถวๆเซซาโว่ ขอแวะหน่อยนะครับ เดี๋ยวนี้ไม่เห็นมีใครพูดถึงเลย สมัยนั้นโด่งดังมากๆ  ไม่ทราบอยู่ใกล้เส้นทางนี้ใหมครับ

ก็ยังมีคนเข้าไปอยู่นะครับ แต่เป็นพวกขา 4X4 เสียเป็นส่วนมาก นัยว่าเข้าไปอวดศักยภาพของรถที่ตัวเองแต่งมาครับ ประเภทว่าจะเป็นนักเดินทางด้วยเท้าเข้าทุ่งใหญ่แบบโบราณเดี๋ยวนี้หายากแล้วครับ

อีกอย่าง เซซาโว ตอนนี้ทางกรมป่าไม้ก็ตั้งเป็นหน่วยพิทักษ์ป่าเหมือนกันครับ เลยทำให้เข้าไปยากลำบากมากยิ่งขึ้นเพราะถือเป็นผืนป่าที่สำคัญมาก ๆ ของทุ่งใหญ่ฝั่งตะวันตกครับ

แต่จะว่าไป ก็ยังมีบุคคล ๆ หนึ่งซึ่งเดินทางระหว่างหน่วยต่าง ๆ ของทุ่งใหญ่ฝั่งตะวันตกด้วย .....เท้าเปล่า.......... และมีเพียงเสื้อผ้าติดตัว ๑ ชุด พร้อมของสำคัญคือ........ไฟแชค.........เท่านั้น เดินอยู่อย่างนี้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด เขาผู้นั้นชื่อ......ก๊อง.........ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 10 พ.ย. 14, 17:40

ผมไม่ค่อยคุ้นกับผืนป่าทุ่งใหญ่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้มากนัก  สมัยที่ผมทำงานอยู่นั้นเข้ายากออกยากมากๆ  ผมเริ่มห่างออกมาจากพื้นที่เมื่อได้เริ่มมีการขยายจุดตั้งด่านตรวจ หรือสถานีย่อยของหน่วยอนุรักษ์พันธุ์สัตว์รอบๆผืนป่าอนุรักษ์ผืนนี้

ในปัจจุบันนี้มีหน่วยรักษาพันธุ์สัตว์กระจัดกระจายอยู่แทบจะรอบพื้นที่ด้านตะวันตกของไทยนี้   จึงมีเส้นทางรถบ้างและทางเดินแทบจะรอบขอบผืนป่า ส่วนด้านขอบด้านตะวันตกของป่าทุ่งใหญ่เลาะชายแดนนั้น เท่าที่ทราบก็เป็นเส้นทางที่ใช้เป็นเส้นทางหลักสำหรับการเข้าถึงสถานีแถบขอบผืนป่าด้านตะวันตก แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นทางสะดวกและราบเรียบ ก็ยังมีระดับของความลำบากแปรผันไปตามฤดูกาล

ดูเหมือนท่าน samun007 จะคุ้นเคยพื้นที่และคนในแถบนี้ดีทีเดียว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 10 พ.ย. 14, 18:13

อ้อ   สำหรับที่ว่าพกไฟแชค นั้น  ผมก็ต้องทำครับ เพียงแต่ผมใช้ยี่ห้อที่ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ใหม้ (ในสมัยนั้นมีอยู่ 2 ยี่ห้อที่นิยมกันในหมู่คนเดินดง ยี่ห้อหนึ่งเป็นของอเมริกา อีกยี่ห้อหนึ่งเป็นของเช็คโกฯ ?) ไม่ดับเวลาถูกลมพัด   แล้วก็อำนวยความสะดวกเพิ่มให้กับตัวเองอีกนิดนึง วยการพกน้ำมันไฟแชคของมันไปอีกกระป๋องนึง เพื่อการจุดง่าย จุดติด และจุดได้ในทุกสถานการณ์ ซ่ึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งยวด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 10 พ.ย. 14, 19:07

สองท่อ เป็นชื่อเรียกสถานที่ๆคนทำเหมืองแร่ตะกั่ว-สังกะสีเขาเรียกกันเมื่อแรกเริ่มสำรวจพบว่ามีสายแร่ตะกั่ว-สังกะสีในหินปูนที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวดิน

ผมคิดว่าชื่อนี้ คงจะแรกเริ่มเรียกเมื่อประมาณ พ.ศ.2510  เมื่อได้เกิดการร่วมทุนระหว่าง บ.เหมืองแร่ของไทย กับ บ.เหมืองแร่ของเยอรมัน โดยการสนับสนุนของรัฐบาลเยอรมัน ในโครงการความร่วมมือการสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยาอย่างเป็นระบบทั่วประเทศไทย ซึ่งเริ่มเมื่อปี พ.ศ.2508  (ซึ่งโครงการสำรวจทางธรณีฯ นี้ ทำให้เกิดระบบข้อมูลปฐมภูมิบนฐานของข้อมูลระดับมาตราส่วน 1:50,000 ที่ได้ประมวลและนำแสดงอยู่ในแผนที่มาตราส่วน 1:250,000    อันทำให้เกิดการค้นพบทรัพยากรพลังงานมหาศาลในอ่าวไทยและในพื้นที่ทับซ้อนในทะเลระหว่างไทย เขมร มาเลเซีย และเวียดนาม ในเวลาต่อๆมา)

ตัวสองท่อจริงๆนั้น มิได้พบในพื้นที่ตั้งของตัวเหมืองแร่ แต่พบในพื้นที่ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือรอบๆตัวเหมืองแร่ (แต่ที่ผมได้เห็นได้สัมผัสรูปร่างและรูปทรงนั้น อยู่ในพื้นที่ บ.เกริงกราเวีย)

ในสมัยแรกๆนั้น ที่ตัวเหมืองสองท่อไม่มีชุมชนหรือหมู่บ้านใดๆตั้งอยู่ มีเพียงหมู่บ้านกะเหรี่ยงเล็กๆไม่เกิน 10 หลังคาเรือน ชื่อบ้านห้วยเสือ ตั้งอยู่ห่างไปประมาณ 3 กม.   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 10 พ.ย. 14, 19:24

การเดินทางมาสองท่อในสมัยนั้น มิได้ใช้เส้นทางเลาะตามลุ่มแม่น้ำแควน้อย ผ่านตัว อ.ทองผาภูมิ มาที่ บ.เกริงกราเวีย แล้วขึ้นเขาไปหาตัวเหมือง  หากแต่ใช้เส้นทางในพื้นที่ของแควใหญ่ คือ (ท่องเป็นสูตรเลยครับ) ลำสะด่อง ช่องสะเดา ดงเสลา เตาเหล้า ท่าสนุ่น   ข้ามแม่น้ำแควใหญ่ที่ อ.ศรีสวัสดิ์ แล้วก็ขึ้นเขาลึกเข้าไปในที่ราบระดับสูงในแอ่งเขา (ประมาณ 600 ม.เหนือระดับน้ำทะเล) อันเป็นพื้นที่อยู่ของกล้วยไม้พันธ์ุหายากและเลี้ยงยาก (สำหรับในพื้นที่ราบลุ่ม)   ฟ้ามุ่ย ครับ เป็นฟ้ามุ่ยของศรีสวัสดิ์ แล้วก็ พญานาคราช (ไหล? ของไม้พวกกระเช้าสีดา) ที่นำมาแช่ในเหล้าขาว ใช้ทาแก้เริมงูสวัสดิ์ได้ชงัดนักแล
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 10 พ.ย. 14, 21:21

อ้อ   สำหรับที่ว่าพกไฟแชค นั้น  ผมก็ต้องทำครับ เพียงแต่ผมใช้ยี่ห้อที่ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ใหม้ (ในสมัยนั้นมีอยู่ 2 ยี่ห้อที่นิยมกันในหมู่คนเดินดง ยี่ห้อหนึ่งเป็นของอเมริกา อีกยี่ห้อหนึ่งเป็นของเช็คโกฯ ?) ไม่ดับเวลาถูกลมพัด   แล้วก็อำนวยความสะดวกเพิ่มให้กับตัวเองอีกนิดนึง วยการพกน้ำมันไฟแชคของมันไปอีกกระป๋องนึง เพื่อการจุดง่าย จุดติด และจุดได้ในทุกสถานการณ์ ซ่ึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งยวด


 ยิ้มกว้างๆ

ของคุณลุงเอาไว้จุดเพื่อการอย่างหนึ่ง แต่สำหรับก๊อง ไฟแชคเอาไว้สำหรับจุดสูบยาเส้นเท่านั้นครับ  ยิงฟันยิ้ม 


อีกนิดครับ จากที่ได้ยินผู้ที่อยู่ในพื้นถิ่นเรียกมา ชื่อภาษากะเหรี่ยงที่ถูกต้องจริง ๆ จะต้องออกเสียงว่า เซซาโหว่ นะครับ

บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 01:04

อยากออกความเห็นนะครับ แต่ว่า ไม่สามารถ


ผมแค่หลงไปซื้อที่แถวลุ่มสุ่ม ท่าเสา ทางผ่านไปสองท่อ แต่จนบัดนี้ถามมอญพม่าแถวนั้น ยังไม่มีใครมีความรู้ประวัติศาสตร์พอจะมาเล่าสู่กันฟังได้เลย
แถวที่ผมไปซ์้อที่ทำสวนแถวนั้น ได้แต่เล่าเรื่องกะเหรี่ยงก็อดอามี่


ก็เลยขอแค่มาลงชื่อรอฟังเรื่องสองท่อต่อนะครับ
แต่ถ้าเรื่องสองห่อ เดี๋ยวจัดให้ครับ

 เจ๋ง เจ๋ง เจ๋ง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 11:19

 ยิงฟันยิ้ม ดูท่าพี่ตั้งท่านเดินทัพแล้ว สองห่อไม่พอแน่ครับ จะจัดก็ต้องจัดเยอะๆหน่อยจะได้ไว้กินนานๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 18:25

อีกนิดครับ จากที่ได้ยินผู้ที่อยู่ในพื้นถิ่นเรียกมา ชื่อภาษากะเหรี่ยงที่ถูกต้องจริง ๆ จะต้องออกเสียงว่า เซซาโหว่ นะครับ

รับฟังครับ
 
แต่ที่ผมได้ประสบมา แต่เดิมก็ออกเสียงว่า ...โว่ กัน จนกระทั่งเกิดเหตุเฮลิคอปเตอร์ที่เข้าไปล่าสัตว์ในทุ่งใหญ่ตก เป็นข่าวใหญ่ในหน้าหนังสือพิมพ์ จากนั้น...โว่ ก็กลายเป็น...โหว่ 
แล้วก็อีกประการหนึ่ง ผมไม่คุ้นกับบันไดเสียงในภาษากะเหรี่ยงที่ออกเสียงคล้ายกับ โหว่ แต่คุ้นกับการออกเสียงที่ใกล้กับ โว่ มากว่า เช่น ไล่โว่ จากาโว่ ทุกาโพ่ กะโพล่ว

ยังไงก็ได้ครับ   ก็คงเช่นเดียวกับ คำว่าเตียง (bed) ในภาษาอังกฤษ ที่เราจะได้ยินการออกเสียงทั้งที่ไปทาง bet (ไปทางเสียงสูง) กับทาง bade (ไปทางเสียงต่ำ)

ส่วนการสะกดชื่อสถานที่ที่ปรากฏอยู่ในแผนที่ภูมิประเทศนั้น ก็มีต่างกันระหว่างแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 Series L708 (รุ่นแรกๆ) กับรุ่นหลังๆ เช่น series L7014 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ?
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 18:32


ผมแค่หลงไปซื้อที่แถวลุ่มสุ่ม ท่าเสา ทางผ่านไปสองท่อ แต่จนบัดนี้ถามมอญพม่าแถวนั้น ยังไม่มีใครมีความรู้ประวัติศาสตร์พอจะมาเล่าสู่กันฟังได้เลย
แถวที่ผมไปซ์้อที่ทำสวนแถวนั้น ได้แต่เล่าเรื่องกะเหรี่ยงก็อดอามี่

ก็จะต้องเอ่ยถึงชื่อสถานที่เช่่น ลุ่มสุ่ม สุ้มสุ่ย สามชั้น ทับศิลา แถบนั้นอยู่แล้วครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 19:11

พอขึ้นเขาไปจาก อ.ศรีสวัสดิ์ (เดิม) ก็จะต้องผ่านสถานที่ๆเรียกว่าช่องแคบ เป็นจุดสูงชันสุดท้ายก่อนที่จะเข้าพื้นที่ค่อนข้างราบ แล้วก็จะมีทางแยกขวาไปสู่บ้านพุเตย ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็น ภูเตย ดื้อๆแบบไม่สื่อเรื่องราวใดๆเลย  เส้นทางนี้จะไปพบกับเส้นทางจากสองท่อก่อนที่จะข้ามห้วยลำเขางูบนเส้นทางไปบ้านคลิตี้และทุ่งใหญ่นเรศวร

แทนที่จะแยกขวา หากตรงไปก็จะเข้าสู่อีกช่องแคบหนึ่ง (ทางแคบๆบนสันเนินเขา) เรียกกันว่า ช่องแคบบ่อน้อย    ก่อนที่จะเข้าตัวบ่อน้อย (และต่อไปถึงจุดที่เรียกว่า เนินสวรรค์ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ และซึ่งมีทางลงไปเชื่อมกับถนนสาย อ.ไทรโยค - อ.ทองผาภูมิ ) ทางด้านซ้ายของถนนจะมีพื้นที่ราบขนาดไม่มากนัก เรียกกันว่า หนานยะ

จากบ่อน้อย - เนินสวรรค์ - บ่อใหญ่ ก็จะต้องผ่านอีกช่องแคบหนึ่ง ก่อนที่จะเข้าสู่เขตตัวเหมืองสองท่อ

บรรยายมาเป็นเพียงภาพคร่าวๆของพื้นที่ เผื่อว่าจะมีกิจกรรมตามลายแทง  ยิงฟันยิ้ม

   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 19:30

กล่าวถึงหลายชื่อเฉพาะทางทิศใต้ของ บ.หมู่เหมืองสองท่อ ก็เพราะ

ชื่อ หนานยะ บ่อน้อย บ่อใหญ่ สองท่อ เหล่านี้ คือแหล่งที่พบ ตระกัน (slag) จากการถลุงเอาโลหะเมื่อนานนับร้อยๆปีมาแล้ว จะมีปริมาณทั้งหมดมากน้อยเพียงใดก็ไม่รู้ได้  รู้แต่ว่ามีการทำเหมืองแร่นำตระกรันนี้ออกไปในตัวเลขแถบๆแสนตัน +/- 

ซึ่งจากการนำตระกันไปวิเคราะห์หาอายุ (c14) โดยหน่วยงานทางธรณีวิทยาของประเทศเยอรมัน (ทราบจากการพูดคุยกับนักธรณีวิทยาชาวเยอรมันผู้สำรวจแหล่งแร่ที่สองท่อก่อนการตัดสินใจทำเหมืองอุโมงค์ในเวลาต่อมา) พบว่ามันมีอายุอยู่ สองช่วงใหญ่ๆ คือ ช่วงประมาณ 800 ปี และช่วงประมาณ 400 ปี     
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 20:14

โอ้โฮ
ขออนุญาตอุทานดังๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 11 พ.ย. 14, 21:55

ด้วยความสนใจและมีช่วงเวลาทำงานที่ต้องผ่านพื้นที่นี้มากขึ้น เหมืองก็กำลังพัฒนา มีคนงานจำนวนมากขึ้น  ตัวเองก็ต้องทำงานโดยต้องใช้เส้นทางขึ้น-ลงที่โหดและสุดชัน ระหว่าง บ.เกริงกราเวีย กับ เหมืองสองท่อ ผ่านทุ่งนางครวญ มากขึ้น   ก็มีโอกาสพบกับคนท้องถิ่นมากขึ้น ได้คุยได้ถามมากขึ้น

ก็ได้พบกับชาวบ้านเกริงกราเวียคนหนึ่ง เป็นชาวลั้วะ อายุคงจะประมาณแถบๆ 60 ปี  ชื่อนาย ขะเซ่ง (ผมจำชื่อนี้ได้แม่นครับ) จับความจากที่แกเล่าให้ฟังได้ว่า ยายของเขาเล่าให้ฟังว่า เมื่อสมัยยายยังเป็นเด็กเล็กอยู่นั้น ที่สองท่อนี้มีคนมาทำงานขุดแร่อยู่จำนวนมากพอดู มีการขนแร่ระหว่างสองท่อกับเกริงกราเวีย แบบแทบจะทั้งวันทั้งคืน (ตามคำบอกเล่า คือ ขนาดช้างแม่ลูกอ่อนยังแทบจะไม่มีเวลาให้ลูกกินนม)

ผมก็ลองย้อนคำนวนดู ก็คะเนได้ว่า ก็คงเป็นเหตุการณ์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์  จนหลายปีต่อมา จึงได้พบบทความในหนังสือศิลปวัฒนธรรม ว่า ในสมัย ร.3 นั้น เราได้ส่งตะกั่วไปขายเมืองจีนนับเป็นหมื่นตันเหมือนกัน

ก็ชักจะเริ่มได้ภาพความเป็นมาเป็นไปของพื้นที่นี้แล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.097 วินาที กับ 20 คำสั่ง