เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 43721 สองท่อ...บนเส้นทางเดินทัพ
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 05 พ.ย. 14, 08:07

ความน่าสนใจของสองท่อก็คือ ตั้งอยู่ในทิวเขาหินปูนยุคหนึ่งซึ่งวางตััวเป็นแนวยาวเข้าไปในพม่า ไปยุติที่ขอบแอ่งที่ราบกลางประเทศของพม่า
    (หินปูนยุคนี้ในพื้นที่ย่านเรา (ไทย พม่า) พบผลึกแร่ตะกั่วชื่อ Galena ประปรายอยู่ในเนื้อ และก็พบแหล่งแร่ตะกั่วในเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีการ
      ทำเหมืองเป็นช่วงๆต่อเนื่ิองกันมาดังที่ได้กล่าวถึงแล้ว)

ในพม่า แถบรัฐฉานตอนบน แถวบ้านน้ำตู ก็ได้พบแหล่งแร่ตะกั่ว สังกะสี และเงิน ในหินอีกชุดหนึ่ง พบมาตั้งแต่ประมาณต้นยุคสุโขทัยโน่น  แหล่งนี้จัดเป็นแหล่งใหญ่ระดับโลกเลยทีเดียว  ซึ่งทั่วโลกรู้จักกันในชื่อเหมือง Bawdwin   จีนก็ได้เอาเงิน สังกะสี และตะกั่วจากแหล่งนี้ไปใช้มากมายตั้งแต่แรก     ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง แหล่งแร่นี้ผลิตเงินออกไปมากที่สุดในโลกเลยทีเดียว

ผมคงต้องเล่าเป็นท่อนๆ ในบางขณะ แล้วค่อนเอาเรื่องมาผูกกันนะครับ

เรื่องแร่ตะกั่ว ชวนให้นึกถึงเหมืองคลิตี้ และหมู่บ้านบริเวณรอบๆ แต่ชื่อบ้านนี้ชื่อแปลกดี "คลิตี้"
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 05 พ.ย. 14, 08:41

สองท่อนี้เป็นหลุมที่คนขุดขึ้นมา ก็เพื่อเอาแร่ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นก้อนแบนๆขนาดเขื่องกว่าขนาดของขนมคุ๊กกี้ประกบกัน บางก้อนก็ใหญ่ขนาดเกือบฝ่ามือ มีสีชมพู  เป็นแร่ที่เกิดในธรรมชาติจากการผสมกันของสารละลายจากแร่สังกะสี ชื่อ Smithsonite กับ สารละสายเหล็ก  สมัยโบราณเรียกว่าแร่ Calamine (ชื่อและสีเช่นเดียวกับยาทาแก้ผื่นคัน calamine )

แร่ตัวนี้ในสมัยก่อนใช้เป็นตัวให้ธาตุสังกะสีที่เอามาหลอมรวมกับทองแดง ซึ่งจะกลายเป็นทองเหลือง ซึ่งเป็นโลหะยุทธภัณฑ์ประเภท alloy ที่สำคัญชนิดหนึ่งในการทำศึกสงคราม

จากสนทนากับชาวบ้าน  เขาก็ได้เล่าเรื่องราวที่รับรู้สืบทอดกันมาว่า มันหลอมละลายได้ง่ายมาก โดยใช้ฟืนไม้ไผ่ ซึ่งจะให้ความร้อนที่สูงมากพอที่จะทำให้มันหลอม และได้โลหะออกมา 

ก้อนนี้ เจ้าของภาพบรรยายว่า
Pink botryoidal Smithsonite Calamine

มันเป็นอย่างนี้นี่เอง ฉะนั้นที่ว่าก้อนแบนๆขนาดเขื่องกว่าขนาดของขนมคุ๊กกี้ประกบกัน บางก้อนก็ใหญ่ขนาดเกือบฝ่ามือนั้น คงหลุดออกมาจากหินแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 05 พ.ย. 14, 10:05


ในพม่า แถบรัฐฉานตอนบน แถวบ้านน้ำตู ก็ได้พบแหล่งแร่ตะกั่ว สังกะสี และเงิน ในหินอีกชุดหนึ่ง พบมาตั้งแต่ประมาณต้นยุคสุโขทัยโน่น  แหล่งนี้จัดเป็นแหล่งใหญ่ระดับโลกเลยทีเดียว  ซึ่งทั่วโลกรู้จักกันในชื่อเหมือง Bawdwin   จีนก็ได้เอาเงิน สังกะสี และตะกั่วจากแหล่งนี้ไปใช้มากมายตั้งแต่แรก     ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง แหล่งแร่นี้ผลิตเงินออกไปมากที่สุดในโลกเลยทีเดียว

ผมคงต้องเล่าเป็นท่อนๆ ในบางขณะ แล้วค่อนเอาเรื่องมาผูกกันนะครับ
ก่อนหน้าพม่าจะเสียเอกราช พระเจ้ามินดงและพระเจ้าสีป่อเคยให้สัมปทานบริษัทของอังกฤษชื่อ Skaries Brothersจากย่างกุ้งมาทำเหมืองในรัฐฉานที่บ้านบ่อวิน (Bawdwin) เมื่อปี๑๙๐๓ แต่ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนมือหลายครั้งหลายหนในมือของกลุ่มทุนรายใหญ่ของอังกฤษ แต่ก็ไม่ประสพความสำเร็จจวบจนจับกังจีนขุดเจอสายแร่ในปี๑๙๑๔(๒๔๕๗ ตรงกับรัชกาลที่๖ของไทย) หลังจากนั้นฝรั่งก็ทำการขุดโดยการเจาะปล่อง แบบที่คุณตั้งเรียกว่าท่อแล้วผมอ่านว่าห่อนั่นแหละ ขนแร่ขึ้นมาเป็นการใหญ่ แล้วต่อรางรถไฟเอาขึ้นรถโบกี้กระบะไปถลุงที่บ้านน้ำตู(Namtu) ซึ่งเดี๋ยวนี้อยู่ในพม่าก็จริงแต่เป็นเขตอิทธิพลของจีน จนถึงปี๑๙๔๒ ประมาณว่าบริษัทนี้ขนสินแร่ไปถลุงถึงปีละ ๕๐๐,๐๐๐ตัน หลังจากนั้นก็เกิดสงคราม ระหว่างที่ญี่ปุ่นเข้าครอบครองนั้น เชื่อกันว่าสินแร่ชั้นดีได้รับการถลุงจากที่นี่ถึง ๒๐๐,๐๐๐ตันในช่วง ๓ปี ซึ่งญี่ปุ่นนำไปแยกเป็น ตะกั่ว สังกะสีและเงินบริสุทธิ์ (แล้วเอาไปไหนข่าวก็ไม่แจ้ง อาจฝังอยู่ในขุมทรัพย์โกโบริก็ได้นะผมว่า)

หลังสงครามรัฐบาลพม่าขอเข้ามามีสัดส่วนถือครองหุ้นของบริษัท และในที่สุดก็ยึดเป็นของรัฐในปี ๑๙๖๕ และได้เปลี่ยนชื่อไปเรื่อยๆ สุดท้ายในปี ๑๙๗๖ได้เปลี่ยนเป็น No. 1 Mining Enterprise of the Ministry of Mine


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 05 พ.ย. 14, 10:06

อยากให้เข้าไปดูตามระโยงนี้ครับ ยิ่งใหญ่ย้อนอดีตจริงๆ

http://www.internationalsteam.co.uk/trains/burma15.htm
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 05 พ.ย. 14, 14:51

เกริงกราเวียตั้งอยู่บนเส้นทางเดินทัพทั้งของไทยและพม่า ซึ่งผมเข้าใจว่าน่าจะมีการใช้ตั้งแต่สมัยอยุธยา และมาใช้ครั้งสุดท้ายในสมัยสงครามเก้าทัพ  
ทั้งไทยและพม่าคงจะได้มีการจัดลำดับให้ความสำคัญกับเส้นทางนี้อย่างต่อเนื่องมานานและมากพอควรเลยทีเดียว สำหรับของไทยเรานั้น ก็จนล่วงเข้ามาถึงสมัย ร.5 ซึ่งยังคงได้ทรงตั้งกะเหรี่ยงเป็นผู้ดูแลเมือง (อำเภอ) สังขละบุรี  ชื่อ พระศรีสุวรรณคีรี    อันชื่อเมืองสังขละซึ่งเป็นเมืองแรกหน้าด่านนับจากเจดีย์สามองค์นี้ ว่ากันว่าเพี้ยนมาจากคำว่าสามแคว (แม่น้ำบีคลี่ ซองกาเลีย และรันตี) ซึ่งชนพื้นบ้านออกเสียงไม่ชัดเจน เป็น แซงแคล  ก็เลยเพี้ยนต่อมาเป็นสังขละ

แต่ก่อนสมัย ร.๕  ผู้ดูแลแถบนั้น น่าจะเป็นมอญมาก่อนนะครับ เพราะตามประวัติของ  เจี๊ยะเดิงฮ่ะเป๊าะ ไทรโยค ท่าขนุน ท่ากระดาน ท่าตะกั่ว ลุ่มสุ่ม สิงห์ และทองผาภูมิ ล้วนแล้วแต่เป็นคนมอญทั้งนั้นครับ ซึ่งโดยปกติกองตระเวนด่านแถวนั้นก็เป็นมอญอยู่แล้ว ภายหลังเมื่อมีการแบ่งการปกครองที่ชัดเจนมากขึ้น ก็เลยน่าจะให้กะเหรี่ยงปกครองแทน

ส่วนเส้นทางเดินทัพนั้น น่าจะใช้มาเรื่อยจนถึงสงครามตีเมืองทวาย ปีฉลู พ.ศ. ๒๓๓๖ ครับ ไม่ได้หยุดแค่สงครามเก้าทัพ เพราะกองทัพของพระยายมราช ที่เดินทางไปทวายก็ต้องผ่านเส้นทางนี้  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 05 พ.ย. 14, 18:31

รับฟังคุณ samun007 และบันทึกเป็นข้อมูลและความเห็นที่น่าสนใจครับ

  สำหรับผมที่เดินท่อมๆอยู่ในพื้นที่นานโขอยู่ (แถวๆ 20 ปี)  ผมเห็นว่าพื้นที่แถบบตะวันตกของไทยในเขตพื้นที่รับน้ำของแม่น้ำแควน้อยนั้น เป็นพื้นที่อ้างสิทธิของชนชาติมอญมาแต่โบราณ แม้กระทั่งของมอญอพยพในปัจจุบัน   แต่ผู้อยู่อาศัยจริงๆในพื้นที่เป็นพวกกะเหรี่ยง ซึ่งแม้กระทั่งชื่อสถานที่ต่างๆ ก็แทบจะไม่มีชื่อที่ส่อว่าเป็นภาษามอญเลย   
  คนมอญเป็นพวกที่นิยมอยู่ในพื้นที่ราบ มีน้ำอุดมสมบูรณ์  ต่างกับกะเหรี่ยงที่นิยมอยู่ในพื้นที่เนินสูงๆต่ำๆ (undulated terrain) และในพื้นที่แอ่งในหุบเขาระดับสูง 
  กะเหรี่ยงเองก็แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ (เท่าที่พวกเขาเล่าให้ฟังและที่ได้เคยคุยกับชาวสวีเดน 2 คนที่มาทำวิทยานิพนธ์และฝังตัวอยู่ในหมู่บ้านเกริงไกร ห้วยขาแข้ง ก่อนถูกน้ำท่วม ราวๆ พ.ศ.2514 โน่น) คือ พวกกะเหรี่ยงในพื้นที่ป่าเขา กับ กะเหรี่ยงในพื้นที่ราบ   ส่วนตัวสำเนียงภาษาที่ใช้สื่อสารกันก็แยกออกเป็น 4 dialect   ที่ผมพอจะรู้และพอจะฟังออกบ้างอย่างน้อยนิด ก็คือความต่างของ 2 dialect ที่กะเหรี่ยงต่างก็จะกล่าวว่าพวกที่พูดอีก dialect นั้นเป็นพวกกะหร่าง ส่วนพวกตนเองนั้นจะเป็นพวกกะเหรี่ยง อาทิ พาโด๊ะ กับ พาดู๊ ที่แปลว่าใหญ่ หรือคำทักทายว่า ไปใหนกัน ระหว่าง แลซือล่อ กับ ลีคือแล่      ซึ่งโดยภาพสรุปที่ประสบมา คือ กะเหรี่ยงจากประมาณใต้ อ.อุ้มผาง จ.ตาก ลงมาในเขต จ.กาญจนบุรี ราชบุรี พวกนี้จะทักทายกันว่า ลีคือแล่   เหนือขึ้นจากแถบ อ.แม่สอด จ.ตาก ขึ้นไป จะทักกันว่า แลซือล่อ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 05 พ.ย. 14, 19:00

ส่วนที่ว่ากองลาดตะเวนแถวๆด่านก็เป็นมอญ ซึ่งกะเหรี่ยงเข้ามาภายหลังนั้น  ก็คงเป็นเช่นนั้น ก็คงเป็นช่วงเวลาของการปรากฎตัวระหว่างคนมอญกับคนกะเหรี่ยงในพื้นที่นั้น

ชื่อสถานที่ในแถบใกล้ๆกับพื้นที่บริเวณสบห้วยทั้งสามของ อ.สังขละบุรี (ซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนหลักแต่เดิม) นั้น ผมเห็นว่ามีความคละกันทั้งภาษาไทย ภาษามอญ และภาษากะเหรี่ยง  อาทิ ทุ่งมาลัย (ไทย_พื้นที่ตั้งปัจจุบันของตัว อ.สังขละบุรี)  ห้วยรันตีและซองกาเรีย (มอญ ?) ห้วยบีคลี่ (กะเหรี่ยง คลิ หมายถึงเย็น อาจจำผิด?)  หนองลู (ไทย) ปิเต่ง (กะเหรี่ยง) ทิพุเย (กะเหรี่ยง) แม่น้ำรันตู (มอญ ?) ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ผมได้เคยไปบ้านลูกหลานของ พระศรีสุวรรณคีรี  ซึ่งเขาเป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้เห็นภาพของคุณพระแขวนอยู่   แต่การสื่อสารด้วยภาษาไทยกับผู้ใหญ่ไม่ค่อยจะสะดวกนัก ไม่มีเวลา ก็เลยเก็บความมาเล่าไม่ได้มากนัก จำได้คลัคล้ายคลับคลาว่า เป็นต้นสายของสกุลหนึ่งที่ทำเหมืองแร่ในพื้นที่ปิล็อกที่เรียกว่า ผาแป 3 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 05 พ.ย. 14, 19:11

ก็สนทนากับลูกหลานคุณพระฯ ด้วยภาษาไทยปนกะเหรี่ยง แบบเดากันไปเดากันมาครับ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 05 พ.ย. 14, 19:34

ช่วยขยายความจากข้อมูลที่ท่าน N.C. ได้กรุณานำมาเผยแพร่ครับ

แหล่งแร่ที่ Bawdwin นั้นจัดว่ามีความสมบูรณ์และมีความสลับซับซ้อนในทางวิชาการพอสมควรเลยทีเดียว ซึ่งก็ยังไม่กระจ่างอย่างสุดๆในปัจจุบันนี้
โลหะหลักๆที่ถลุงได้จากเหมืองนี้ คือ ตะกั่ว และ สังกะสี  แต่ผลพลอยได้ที่มีค่ามากกว่าโลหะทั้งสองชนิดนี้ คือ เงิน (ปริมาณมาก) และ ทองคำ (ปริมาณน้อยๆ)    แล้วก็ได้โลหะพื้นฐาน ซึ่งคือ ทองแดง  ซึ่งเป็นโลหะพื้นฐานหลักที่เมื่อเอาโลหะอื่นๆมาผสมในปริมาณและสัดส่วนต่างๆกันแล้ว ก็จะได้โลหะผสม (alloy) ที่มีความแข็งแรงต่างกัน เหมาะสมที่จะใช้ในภาระกิจต่างๆกัน ทั้งภาชนะเครื่องใช้ ศาสตราวุธ และวัตถุทางศิลปกรรมต่างๆ   
     [ทองแดงผสมดีบุก ได้เป็นโลหะสัมริด (เครื่องภาชนะลงหิน?)     ทองแดงผสมสังกะสี ได้เป็นเครื่องทองเหลือง]
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 05 พ.ย. 14, 22:07

ส่วนที่ว่ากองลาดตะเวนแถวๆด่านก็เป็นมอญ ซึ่งกะเหรี่ยงเข้ามาภายหลังนั้น  ก็คงเป็นเช่นนั้น ก็คงเป็นช่วงเวลาของการปรากฎตัวระหว่างคนมอญกับคนกะเหรี่ยงในพื้นที่นั้น
 

ขอขอบพระคุณ คุณลุง Naitang ที่ได้เมตตาให้ความรู้แก่ผมและท่านอื่น ๆ ในกระทู้นี้ครับ 

ส่วนตัวผมเห็นด้วยครับตามหัวข้อที่ได้ Quote ข้อความมานี้  แต่คิดว่ากองตระเวนมอญ คงไม่ได้อยู่ประจำที่ แต่ใช้การเดินทางไปฝังตัวในแดนมอญเขตพม่า เมื่อมีข่าวอะไรก็จะส่งคนกลับเข้ามาบอกยังเมืองกาญจนบุรี แล้วจึงมีใบบอกกลับเข้ามาที่เมืองหลวงอีกรอบครับ ส่วนกะเหรี่ยงนั้น โดยส่วนตัวเชื่อว่าเขาก็อยู่มานานแล้ว แต่ไม่ได้มีส่วนร่วมกับสังคมพื้นราบเท่าไร เพราะฉะนั้นการได้รับแต่งตั้งจึงสู้ทางฝ่ายมอญ ที่คุ้นชินกับทางฝ่ายสยามมากกว่าครับ

ทั้งนี้เรื่องสถานที่ ที่มีหลายภาษานั้น ส่วนตัวผมเชื่อว่าขึ้นกับว่าบริเวณนั้นใครอยู่อาศัยมานานจนเป็นเจ้าถิ่นมากกว่ากันครับ เมื่อเจ้าถิ่นกลุ่มหนึ่งออกไป เจ้าถิ่นกลุ่มใหม่เข้ามา ก็น่าจะเรียกชื่อต่างกันไปทำนองนี้ล่ะครับ


ใจจริงอยากจะถามคุณลุง Naitang ในหลาย ๆ เรื่อง แต่คิดว่าไว้รอปลาย ๆ กระทู้ก่อนแล้วค่อยถามดีกว่าครับ 


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 06 พ.ย. 14, 19:54

ท่านทั้งหลายคงจะไม่คุ้นเคยกับชื่อและพิกัดหยาบๆของสถานที่ๆกล่าวถึงในทั้งหลายในกระทู้นี้  ผมเลยขออนุญาติอ้างอิงตำแหน่งคร่าวๆโดยใช้พิกัดจาก google earth   (ลองเข่้าไปเปิดดูครับ) ซึ่งจะยังได้แสดงถึงลักษณะภูมิประเทศอีกด้วย  แต่คงจะต้องนึกย้อนกลับไปสัก 40+ ปี สำหรับสภาพป่าที่ผมได้สัมผัส ประเภทว่าระยะทาง 60 กม. ต้องใช้เวลาเดินทางระหว่าง 4 - 24 ชม. หรือกว่านั้น  ดังเช่น เป็นเรื่องปกติที่ผมจะใช้เวลาเดินทางจาก อ.สังขละบุรี ไปเจดีย์สามองค์ ประมาณ 3 ชม. สำหรับระยะทางประมาณ 27 กม.  แล้วก็คงจะต้องนึกย้อนไปในระดับ 200 ++ ปีขึ้นไป สำหรับสภาพพื้นที่ สังคม และป่าเขาในสมัยกระโน้น  แล้วก็ลองนึกถึงลักษณะของขนาดของกองทัพ การเดินทัพ กระบวนการรักษากำลังใจและระดับพลังความฮึกเหิม ตลอดจนการรักษาขีดความสามารถของกำลังพลและการสะสมศาสตรวุธเพิ่มเติม

ดังนี้ครับ

   - ตัวสถานที่ๆเป็นที่แรกเริ่มของชื่อ สองท่อ  อยู่ระมาณละติจูด 14 องศา 51 ลิปดา 8 ฟิลิปดา ตะวันออก  และลองติจูด 98 องศา 47 ลิปดา 50 ฟิลิปดา เหนือ     (ต่อไปจะใช้รูปแบบของตำแหน่ง ดังนี้ 14-51-8 N และ 98-47-50 E)

   - พื้นที่ๆผมได้เคยเห็นบ่อแฝดสองท่อในเขตหมู่บ้านเกริงกราเวีย คือ 14-56-19 N  และ 98-39-57 E
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 06 พ.ย. 14, 20:45

   - พื้นที่ๆผมได้เคยเห็นบ่อแฝดสองท่อในเขตหมู่บ้านเกริงกราเวีย คือ 14-56-19 N  และ 98-39-57 E

น่าจะแถวๆนี้


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 06 พ.ย. 14, 21:50

ใช่เลยครับ โดยเฉพาะในบริเวณที่ราบด้านบนขวา หรือพื้นที่ด้านขวาของถนนเส้นตั้งและถนนเส้นนอนตัดกัน

ส่วนพื้นที่ตรงบริเวณที่มีข้อความเขียนว่า โรงเรียนบ้านเกริงกระเวีย ตรงบริเวณคำว่า เกริง นั้น คิดว่าใช่พื้นที่เดิมที่เป็นโป่ง (salt lick) ที่สัตว์มาหากินกัน  เป็นโป่งน้้าซับเล็กๆ มีด่าน (ทางเดินของสัตว์) เข้ามารอบทิศทาง ผมเคยเข้าไปเดินทำงานในพื้นที่ย่านนี้ จำได้ว่าไม่พบรอยช้าง พบแต่กวาง เก้ง และหมูป่า ก็จัดว่าเป็นพื้นที่ๆค่อนข้างจะสมบูรณ์ได้ในระดับที่ดีทีเดียว คือ ชุ่มชื้น เขียวขจี มีไม้ใหญเช่นพวกไทร เลยเห็นมีพวกนกกินผลไม้อยู่หลากหลาย เช่น นกกกหรือกาฮัง  ก็นกแกง เขาเปล้า เขาเขียว แล้วก็เหยี่ยวอีลุ้ม และอื่นๆ อยู่ชุมพอควรเลยทีเดียว 

แล้วจะค่อยเล่าต่อถึงข้อสันนิษฐานและและมโนความเห็นของผมว่า ทำไมจึงไม่พบรอยเท้าช้างป่าบ้าง

เส้นทางรถจากทองผาภูมิมาเกริงกราเวียนั้นจัดว่าสุดโหดเหมือนกัน ขนาดรถสูง Unimog ยังร่อแล่ ใช้เวลาเดินทางราวๆค่อนวัน
บันทึกการเข้า
แมวเซา
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 07 พ.ย. 14, 20:27

ถ้าผ่านไปใกล้แถวๆเซซาโว่ ขอแวะหน่อยนะครับ เดี๋ยวนี้ไม่เห็นมีใครพูดถึงเลย สมัยนั้นโด่งดังมากๆ  ไม่ทราบอยู่ใกล้เส้นทางนี้ใหมครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 08 พ.ย. 14, 17:55

ก็พอได้อยู่ครับ

เส้นทางเดินทัพจริงๆคงไม่ผ่านพื้นที่ๆเรียกกันว่า เซวาโว่ นี้  แต่อาจจะ (ซึ่งผมเองก็คิดว่าน่จะ) ผ่านเฉียดๆเลาะตามตะเข็บเส้นแบ่งเขตแดนในปัจจุบัน เช่น มีอยู่ห้วยหนึ่งในย่าน บ้านพุจือ มีชื่อว่า ห้วยแม่กษัตริย์ แล้วก็มีอีกหลายหมู่บ้านตลอดแนวชายแดนในปัจจุบันนี้ (ระหว่างเจดีย์สามองค์ กับ อ.อุ้มผาง)  เช่น บ.เลตองคุ  หรือระหว่าง บ.พุจือ กับ เจดีย์สามองค์ เช่น บ.สะเนพ่อง เป็นต้น

แล้วค่อยๆขยายความไปนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 20 คำสั่ง