เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 43730 สองท่อ...บนเส้นทางเดินทัพ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 24 พ.ย. 14, 13:09

สยามกับอังกฤษได้ตกลงกำหนดเส้นแบ่งเขตแดนในปีพ.ศ.๒๔๑๑  โดยจะใช้สันปันน้ำเป็นแนว ปรากฏว่าใช้เวลายาวนานมากเพราะมีปัญหาโดยตลอด  ในปี ๒๔๓๖ พบว่าแนวสันปันน้ำที่ผ่านมาบนเทือกเขาตะนาวศรีนั้น ทำให้พระเจดีย์สามองค์อยู่ลึกเข้าไปในเขตพม่า ฝ่ายไทยจึงไม่ยอมเพราะมีหลักฐานชัดเจนว่า พระศรีสุวรรณคีรี เจ้าเมือง สังขละบุรีของสยาม ได้ทำการก่อสร้างองค์พระเจดีย์ครอบทับกองหินสามกองในปี ๒๔๗๒  ยื้อกันไปยื้อกันมา อังกฤษเถียงไม่ขึ้นและอยากจะให้เรื่องจบๆ จึงยอมลากเส้นจากแนวสันปันน้ำไปครอบพระเจดีย์สามองค์ไว้เฉยๆ ตามแผนที่นี้ แล้วยกดินแดนที่เป็นแหลมยื่นเข้าไปในพม่านั้นให้สยาม ฝ่ายไทยจึงยินยอม  และตรงนั้นได้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่ประหลาดที่สุด ไม่ทราบประเทศอื่นๆจะมีอย่างนี้กันหรือไม่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 24 พ.ย. 14, 13:16

ยกทัพโยธาเวลาดึก อึกทึกทั่วลั่นสนั่นป่า
ยกทัพแบบนี้ดูทีท่าว่าจะไม่รอดแน่ๆ  คงต้องเป็นแบบเงียบๆหน่อย

มาช่วยกันวางแผนการเคลื่อนทัพนะครับ แล้วใช้เหตุการณ์เมื่อครั้งสงครามเก้าทัพมาพิจารณา (สำหรับเหตุการณ์ก่อนๆนั้น ค่อยแทรกเข้าไป) สมมุติว่าทัพพม่ามารวมพลอยู่ที่เจดีย์สามองค์ แล้วจะเคลื่อนทัพมายึดกรุงธนบุรี
 
    ผมเลือกโดยการสมมุติเอาพื้นที่ตั้งของเจดีย์สามองค์เป็นจุดเริ่มต้น ก็เพราะว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ยอดเนิน ด้านตะวันตกเฉียงเหนือเป็นร่องทอดลงไปสู่ที่ราบปากอ่าวของพม่า ด้านตะวันออกเฉียงใต้เป็นร่องทอดลงไปสู่แม่น้ำแควน้อยที่เป็นเส้นทางเข้าสู่เมืองหลวงของไทย  พื้นที่นี้กว้างมากพอที่จะเป็นที่นัดหมายรวมไพร่พล  มี landmark ที่ดี คือ เขา (นึกชื่อยังไม่ออกครับ)  สำหรับสถานที่พักสะสมกำลังของไพร่พลนั้นก็จะอยู่ต่ำลงมาประมาณ 20 กม. คือแถวสบแม่น้ำบีคลี่กับซองกาเลีย แล้วก็มีที่ราบสำหรับดำเนินการด้านการสะสมรวบรวมสะเบียงอยู่ใกล้ๆ ซึ่งก็คือพื้นที่ตั้งของบ้านหนองลูในปัจจุบัน 
 

ตอนแรกว่าจะขอความกรุณาเรื่องนี้อยู่เหมือนกันครับ กะจะรอตอนกระทู้วายแล้วจึงถาม แต่เห็นเขียนก่อน ผมจึงขอสอบถามครับว่าา ด่านเจดีย์สามองค์ของจริง สรุปแล้วจมอยู่ใต้น้ำตอนที่เขาสร้างเขื่อนกันจริงหรือไม่ครับ ?

ปัจจุบันถ้าเข้าไปดูในกูเกิลเอิร์ธ ก็จะเห็นเส้นเขตแดนไทยที่ยื่นเป็นแหลม ขนาดกว้างประมาณ ๔๕๐ เมตร ลึกเข้าไปในดินแดนพม่าประมาณ ๑๕๐๐ เมตร
 
พระเจดีย์สามองค์อยู่ตรงปลายแหลมในแผนที่สยาม-อังกฤษอย่างชัดเจนมาตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ ๕ 
ทว่าเขื่อนต่างๆเพิ่งสร้างไม่กี่สิบปีมานี้เอง แล้วคำถามดังกล่าวได้เกิดขึ้นมาอย่างไรกันครับ


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 24 พ.ย. 14, 13:49

ปัจจุบันถ้าเข้าไปดูในกูเกิลเอิร์ธ ก็จะเห็นเส้นเขตแดนไทยที่ยื่นเป็นแหลม ขนาดกว้างประมาณ ๔๕๐ เมตร ลึกเข้าไปในดินแดนพม่าประมาณ ๑๕๐๐ เมตร
 
พระเจดีย์สามองค์อยู่ตรงปลายแหลมในแผนที่สยาม-อังกฤษอย่างชัดเจนมาตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ ๕  
ทว่าเขื่อนต่างๆเพิ่งสร้างไม่กี่สิบปีมานี้เอง แล้วคำถามดังกล่าวได้เกิดขึ้นมาอย่างไรกันครับ


เบื้องต้น ขอตอบตามนี้ก่อนนะครับ (ไปประชุมก่อนครับ กลับมาค่ำ ๆ เลยครับผม  ยิงฟันยิ้ม)


คัดจาก ประชุมพระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ


วินิจฉัยเรื่องพระเจดีย์ ๓ องค์


.
.
.

อาศัยวินิจฉัยที่พรรณนามา หม่อมฉันเห็นว่าพระเจดีย์ ๓ องค์นั้น    

 ๑. มิได้สร้างเป็นเครื่องหมายเขตแดน  
 ๒. มิใช่ของหลวงสร้าง  
 ๓. เป็นของแม่ทัพไทยที่ยกออกไปรบชนะพม่ากลับมาสร้างไว้  
 ๔. ที่สร้างเป็น ๓ องค์คงเป็นเพราะกองทัพยกตามกันมา ๓ กอง  กองมาถึงก่อนสร้างไว้องค์ ๑ แล้ว  กองมาภายหลังก็สร้างกองละองค์เรียงกันต่อไป  
 ๕. แต่จะสร้างเมื่อไรไม่มีหลักฐานที่จะลงความเห็น  เพราะอาจจะมีพระเจดีย์ ๓ องค์อยู่ก่อนรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรฯแล้ว  เจ้าพระยาจักรีจึงเอาอย่างไปสร้างที่ต่อแดนทวายก็ได้  หรือแม่ทัพภายหลังเอาอย่างพระเจดีย์ของเจ้าพระยาจักรีมาสร้างพระเจดีย์ ๓ องค์ก็เป็นได้เหมือนกัน




ส่วนรูปมาจากตรงนี้ครับ






อ้างอิงที่มา : http://sangkla.sadoodta.com/travel/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C-%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 24 พ.ย. 14, 14:40

อ้างถึง
คัดจาก ประชุมพระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
วินิจฉัยเรื่องพระเจดีย์ ๓ องค์
อาศัยวินิจฉัยที่พรรณนามา หม่อมฉันเห็นว่าพระเจดีย์ ๓ องค์นั้น    

 ๑. มิได้สร้างเป็นเครื่องหมายเขตแดน  
 ๒. มิใช่ของหลวงสร้าง  
 ๓. เป็นของแม่ทัพไทยที่ยกออกไปรบชนะพม่ากลับมาสร้างไว้  
 ๔. ที่สร้างเป็น ๓ องค์คงเป็นเพราะกองทัพยกตามกันมา ๓ กอง  กองมาถึงก่อนสร้างไว้องค์ ๑ แล้ว  กองมาภายหลังก็สร้างกองละองค์เรียงกันต่อไป  
 ๕. แต่จะสร้างเมื่อไรไม่มีหลักฐานที่จะลงความเห็น  เพราะอาจจะมีพระเจดีย์ ๓ องค์อยู่ก่อนรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรฯแล้ว  เจ้าพระยาจักรีจึงเอาอย่างไปสร้างที่ต่อแดนทวายก็ได้  หรือแม่ทัพภายหลังเอาอย่างพระเจดีย์ของเจ้าพระยาจักรีมาสร้างพระเจดีย์ ๓ องค์ก็เป็นได้เหมือนกัน

ข้อที่ทรงวินิจฉัยก็คงถูกต้องเป็นจริงตามหลักฐานของพระเจดีย์สามองค์ที่อยู่ปลายแหลมของเขตแดนตามแผนที่ปัจจุบัน

แต่ในเวปที่คุณสมุน๐๐๗ทำระโยงไว้ให้ เป็นการจับแพะชนแกะ เอากองหินที่ดูแล้วเหมือนอย่างกับถูกรถแบคโฮว์ขุดขึ้นมากองๆไว้   แล้วเขียนอ้างเอาเองว่าเป็นพระเจดีย์สามองค์ของแท้


บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 24 พ.ย. 14, 15:44

ภาพนี้จากสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ ๒๔๖๘


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 24 พ.ย. 14, 18:49

ภาพใน คห.93 ของคุณนวรัตน์นั้น ใกล้เคียงกับสภาพของเจดีย์และสิ่งแวดล้อมรอบๆที่ผมเห็นเมื่อแถวๆ พ.ศ.2521

กรณีน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนเขาแหลมท่วมเจดีย์สามองค์นั้น ไม่จริงเลย  ผมทำงานอยู่แถวนั้นในช่วงที่มีการสร้างถนนโดย กฟผ. ตั้งแต่เริ่มสร้างจนเปิดใช้งาน    ได้เห็นแม้กระทั่งเริ่มการแบ่งพื้นที่บนสองฟากฝั่งของถนนช่วงที่ออกจากเขา (ยอด 687) ไปจนถึงเจดีย์สามองค์ ด้วยการใช้ไม้ไผ่มาวางแบ่งเป็นบล็อกๆ ต่อเนื่องไปจนถึงการสร้างบ้าน ร้านค้า และห้องแถว (เพียงแต่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องนี้)





บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 24 พ.ย. 14, 18:50

สมัยนั้น ณ พื้นที่ตรงนี้ พอลงเนินเข้าเขตพม่าไปนิดนึง ถูกใช้เป็นสถานที่เก็บสินค้าจากฝั่งๆไทย ที่จะทะยอยขนมาจากไทยเก็บไว้ แล้วขนถ่ายลึกเข้าไปในพม่า สินค้าหลักที่สำคัญ ได้แก่ จักรเย็บผ้า รถจักรยาน และผงชูรส    ก็คงพอจะเห็นภาพเลาๆของตลาดระบายสินค้าที่มีการผลิตในไทยเมื่อตลาดภายในไทยจำกัดและลดลง  (ไม่ต้องบอกยี่ห้อก็คงพอจะเดาได้นะครับ)  ภายหลังได้มีโอกาสเข้าไปในพม่า (เมื่อแรกเริ่มเปิดประเทศ) จึงได้เห็นสินค้าเหล่านี้เกลื่อนไปหมด ไปจากไทยทั้งนั้น  เชื่อใหมครับว่ารถยนต์ทั้งคันที่วิ่งอยู่ในพื้นที่นอกเขตอิทธิพลของทางการพม่า ก็ขนถ่ายผ่านช่องนี้เหมือนกัน ไปทีละชิ้น เอาไปประกอบกันขึ้นมาเป็นคัน  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 24 พ.ย. 14, 18:55

พระพุทธรูปหินอ่อน (alabaster) ที่วัดวังวิเกการามที่ อ.สังขละบุรี ก็ใช้เส้นทางนี้  แถมมาไกลจากเมือง Sagyin (แหล่งหินและแหล่งแกะสลักพระพุทธรูปหินอ่อนลักษณะพม่าทั้งหลายที่เราเห็นกัน ซึ่งอยู่ใกล้เมืองมัณฑะเลย์)   หากบารมีของหลองพ่ออุตตมะมีไม่มากพอ ก็คงจะไม่มีทางนำมาประดิษฐานในเมืองไทยได้ (นำเข้ามาตั้งแต่สมัยวัดเก่าก่อนที่น้ำจะท่วม)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 24 พ.ย. 14, 19:00

 พระพุทธรูปหินอ่อน วัดวังก์วิเวการาม อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัสดุหินอ่อนสีขาว ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ ศอก น้ำหนัก ๙ ตัน ศิลปะแบบประยุกต์ ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารวัดวังก์วิเวการาม หลวงพ่ออุตตมะให้ช่างมัณฑะเลย์ (เมืองแห่งหิน อ่อนสีขาว) แกะสลักเมื่อพุทธศักราช  ๒๕๑๔ ใช้เวลา ๑ ปี จึงแล้วเสร็จ โดยส่งภาพถ่ายพระพุทธชินราชเป็นตัวอย่าง ค่าจ้างเป็นทองคำหนัก ๒๕ บาท หลังจากนั้นได้ใช้เวลาอีกปีครึ่ง รอเวลาดำเนินการขนส่งผ่านเส้นทางทุรกันดาร ทั้งค่ายทหารพม่าและกะเหรี่ยง เพื่อมาประดิษฐานในเมืองไทย

http://www.danpranipparn.com/web/praput/praput133.html


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 24 พ.ย. 14, 19:03

อีกนิดนึง   ถนนที่ กฟผ.สร้างช่วงระหว่าง อ.สังขละบุรี กับ เขา 687 นั้น เป็นลักษณะของถนนที่สร้างบนหลักและฐานด้านความมั่นคง เป็นสิ่งก่อสร้างทางการยุทธโยธาแบบหนึ่งที่เราไม่ค่อยจะได้เห็นได้สัมผัสกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 25 พ.ย. 14, 22:15

ที่สังขละบุรีนี้ มีแม่น้ำที่มีน้ำไหลตลอดปีถึง 3 สาย (บีคลี่ ซองกาเลีย รันตี) เลยไปไม่ไกลนักก็มีอีกสายหนึ่ง (รันตู)  อุดมสมบูรณ์พอที่จะใช้ปักหลักตั้งค่ายกันได้อย่างยาวนานด้วยกันทั้งนั้น

เอาศาสตราวุธทั้งหลายและข้าวปลาอาหารแห้งจากฟากเมืองพม่า  ขนมาถึงเจดีย์สามองค์นั้นไม่ยากนัก เพราะเป็นทางค่อนข้างราบ ค่อยๆขึ้นเนินขึ้นมา จะใช้คนแบกหาม ใช้ช้าง ใช้ม้า หรือเกวียน ได้ทั้งนั้น ขนต่ออีกนิดเดียวก็เข้าเขตที่พอราบของลุ่มน้ำทั้ง 3      จากสังขละบุรีจะเดินทัพตามแม่น้ำแควน้อยลงไปยังกาญจนบุรี ระยะทางในระดับ 200 + กม.นี่สิ ก็จะเริ่มมีข้อจำกัดขึ้นมา

ข้อจำกัดก็พอมี อาทิ
  น้ำแควน้อยช่วงสังขละบุรีถึงทองผาภูมิ เป็นช่วงที่มีเกาะแก่งโผล่ค่อนข้างมากและอันตราย ในหน้าแล้งแทบจะไม่มีเรือสัญจรกันเลย  หากจะเป็นการต่อแพล่องลงมา ก็คงจะเป็นขนาดประมาณ 15 ลำไม้ไผ่ (5 ลำบน 10 ลำ) บรรทุกได้สัก 4 คน หรือ 3 คน+สัมภาระ  แพขนาดนี้ต่อง่าย ทำได้เร็ว กินน้ำตื้น บังคับง่าย จอดง่าย ขึ้นง่าย ลงง่าย (เมื่อต้องลงเข็นหรืองัดข้าโขดหิน) 
  หากจะเป็นการเดินเลาะตามน้ำ ก็คงจะต้องเดินกันเป็นแถวเรียงหนึ่ง   ส่วนบรรดาช้างศึกและสัตว์ต่างทั้งหลายต้องใช้วิธีเดินอยู่แล้ว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 25 พ.ย. 14, 22:40

คนเดินในที่ราบได้ด้วยความเร็วประมาณ 4-5 ต่อ ชม. หากต้องเดินแบบระวัง ความเร็วก็จะลดลงเหลือระหว่าง 2-3 กม.ต่อ ชม.

ช้างพร้อมแหย่งและบรรทุกของเดินประมาณ 2-3 กม.ต่อ ชม. ส่วนม้าต่างและลาต่าง ไปได้เร็วหน่อย ก็พอๆกับความเร็วที่คนเดิน (เพราะคนต้องเดินคุมมัน  ยิ้มกว้างๆ)  แต่ช้างกับม้ามันเดินร่วมขบวนกันไม่ได้   อยู่แยกกันมันก็เกิดอาการตื่นได้ไม่ยากนัก  หากอยู่ร่วมกันเมื่อใด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายช้างหรือฝ่ายม้าตัวใดเกิดอาการตื่นขึ้นมาเพียงตัวเดียว ก็จะกลายเป็นไฟลามทุ่งอย่างรวดเร็ว สนุกเลยครับ กว่าจะเอาอยู่  ช้างตื่นน่ะวิ่งอย่างเดียว ม้าตื่นก็กระโดดหรือเตะอย่างเดียวเหมือนกัน    เมื่อต้องเดินทางไกลและหลายวัน สัตว์ต่างเหล่านี้แต่ละตัวจะบรรทุกน้ำหนักประมาณ 100 กก.เท่านั้น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 26 พ.ย. 14, 06:30

อีกนิดนึง   ถนนที่ กฟผ.สร้างช่วงระหว่าง อ.สังขละบุรี กับ เขา 687 นั้น เป็นลักษณะของถนนที่สร้างบนหลักและฐานด้านความมั่นคง เป็นสิ่งก่อสร้างทางการยุทธโยธาแบบหนึ่งที่เราไม่ค่อยจะได้เห็นได้สัมผัสกัน

แปลว่าอย่างไร ช่วยขยายความหน่อยครับ
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 26 พ.ย. 14, 09:42

 ไม่ทราบว่าพระพุทธรูปหินอ่อนตอนนี้ประดิษฐานที่ไหนครับ ผมเข้าใจว่าวัดวังก์วิเวการาม อำเภอสังขละบุรี จมน้ำไปแล้ว
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 26 พ.ย. 14, 14:36

ไม่ทราบว่าพระพุทธรูปหินอ่อนตอนนี้ประดิษฐานที่ไหนครับ ผมเข้าใจว่าวัดวังก์วิเวการาม อำเภอสังขละบุรี จมน้ำไปแล้ว

อยู่ในโบสถ์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ครับ ไม่ได้จมน้ำตามไปด้วยหลวงพ่ออุตตมะท่านสร้างขึ้นมาใหม่ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 19 คำสั่ง