เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 43722 สองท่อ...บนเส้นทางเดินทัพ
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 18 พ.ย. 14, 07:03

slag มีคำภาษาไทยเรียกอย่างหนึ่งว่า ขี้ตะกรัน ครับ

มันผิดกับตะกรันตรงที่ว่า ตะกรันมันจะยังเกาะติดกับผนังอยู่ แต่ขี้ตะกรัน คือส่วนที่หลุดลอยออกมาฟ่องอยู่บนของเหลว

นึกถึงโรงงานถลุงแร่แทนทาลัม ที่ภูเก็ต
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 20 พ.ย. 14, 18:40

ครับ 

สั้นๆกับมัน สำหรับผู้สนใจ ดังนี้ครับ

แทนทาลัม - โคลัมเบียม (ไนโอเบียม) เป็นธาตุโลหะประเภทราคาแพง ใช้ในสินค้าประเภทเทคโนโลยีสูง (เครื่องยนต์เจ๊ท คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) และในโลหะคุณภาพเลิศ (จรวด ดาวเทียม ฯลฯ)  แล้วก็ในทางการแพทย์ (ดามกระดูก เครื่องเอ็กเรย์ MRI ฯลฯ)  พบได้ไม่มากสถานที่ในโลกนี้ ซึ่งไทยเราก็เป็นหนึ่งในนั้น  นอกจากพบในลักษณะแร่ตามธรรมชาติแล้ว ก็ยังพบในตะกรันที่เป็นกากจากการถลุงแร่ดีบุกในพื้นทื่เกาะภูเก็ต  ราคาของมันสูงมากกว่าโลหะดีบุกที่ได้จากการถลุงกันเสียอีก ก็สูงมากพอที่คิดจะขุดเมืองภูเก็ตกันเลยทีเดียว
แล้วก็มีการกล่าวล่วงไปถึงเรื่องของกัมมันตภาพรังสีโดยลืม (?) นึกไปถึง airborne radon gas ที่พบกันได้เป็นปกติทั่วๆไปในพื้นที่ๆรองรับด้วยหินแกรนิตชนิดที่เนื้อแร่ฟันม้า (feldspar) อุดมไปด้วยธาตุโซเดียม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 20 พ.ย. 14, 19:24

เดิมว่าจะเล่าเป็นแต่ละตัว jigsaw แล้วเอามาค่อยๆต่อกัน แต่ก็ดูจะอืดอาดช้าไป ก็เลยจะขอเล่าแบบโครงใหญ่ ส่วนรายละเอียดนั้น ค่อยๆว่ากันทีหลัง

ครับ   ก็เป็น 2 ลักษณะของการทำงานสำรวจหรือศึกษา ที่ผมมักจะกล่าวว่า   ก็มีแบบหนึ่ง ที่ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลแล้วนำมาสร้างบ้านพอเป็นเลาๆว่าบ้านมันเป็นทรงไทย ทรงจีน หรือทรงฝรั่ง แล้วค่อยๆหาเฟอร์นิเจอร์ (รายละเอียด  การพิสูจน์) มาใส่ มาพินิจดูซิว่ามันลงตัว ไม่ลงตัว และว่ามันน่าจะเป็นบ้านทรงใหนกันแน่    หรือในอีกแบบหนึ่ง คือ หาเฟอร์นิเจอร์ (รายละเอียด) มาให้ได้มากที่สุด แล้วค่อยๆนำมาจัดดูว่ามันน่าจะลงตัวเป็นเรื่องของบ้านทรงใด

ซึ่งทั้งสองวิธีการนี้ ต่างก็ทำให้เกิดความน่าเบื่อ คือ เบื่อมโน กับ เบื่อยืดยาด     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 20 พ.ย. 14, 19:38

อีกนิดนึงกับเรื่องของ slag ครับ

เท่าที่พอจะมีข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณธาตุตะกั่วและเงินใน slag ในแถบนั้น ผนวกกับสภาพของพื้นที่ ผนวกกับเส้นทางคมนาคมที่น่าจะใช้กันในอดีตกาล ผนวกกับเครื่องใช้ส่วนบุคคลที่พบ  และจากการสัมผัสจริง (จากการเดินสำรวจในงานที่รับผิดชอบ)  

ผมเห็น (เดา) ว่า slag ที่หนานยะน่าจะเป็นพวกเศษจากกระบวนการ roasting ของแร่ดิบ ก่อนที่จะขนย้ายไปถลุงที่สองท่อเพื่อเอาโลหะตะกั่ว  สำหรับที่เกริงกราเวีย อาจจะเป็นเรื่องของการ refine โลหะให้บริสุทธิ์มากขึ้นหรือการทำโลหะผสม (alloy) ให้มีคุณสมบัติที่ดีทากขึ้น   และสำหรับบ่องามนั้น ดูลักษณะน่าจะเป็นเรื่องสนใจจะเอาเงินมากกว่าโลหะตะกั่ว    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 22 พ.ย. 14, 19:20

ก็จะขอย้ำอีกครั้งว่า ผมมีความรู้ทางประวัติศาสตร์น้อยมาก ความรู้ทางทหารและการเดินทัพก็ไม่มี    เรื่องราวที่จะได้กล่าวถึงต่อๆไปจากนี้นั้น ผมใช้ประสบการณ์ที่ได้พบได้สัมผัสในพื้นที่จริงเป็นพื้นฐานในการสร้างภาพต่างๆ  อาทิ หลักคิดหลักปฏิบัติของคนพื้นบ้านในการเดินท่องป่าไปในถิ่นที่ไม่รู้จักดี  การเตรียมตัวเตรียมความพร้อม  ข้อจำกัดในการดำรงชีพตลอดช่วงการเดินทางที่ต้องใช้ระยะเวลามากกว่าสัปดาห์ ทั้งอาหาร ทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐานที่จำเป็น รวมถึงการสัตว์ต่าง (ช้าง ม้า) ในขบวนการเดินทาง ฯลฯ

แล้วก็ใช้เรื่องของชื่อเรียกขานสถานที่ต่างๆ ความเก่าแก่ของที่ตั้งชุมชนต่างๆ  เส้นทางการคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มชุมชน ระยะทางและระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางระหว่างชุมชนต่างๆ 

ความเป็นไปได้ในเรื่องราวของกระทู้นี้  ก็จึงอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นเพียงเรื่องที่มาจากการพินิจพิจารณาและการวิเคราะห์ของบุคคลผู้หนึ่งที่ใช้เสี้ยวหนึ่งของชีวิตคลุกคลีอยู่ในป่าผืนหนึ่งที่มีการเคลื่อนไหวของการเดินทัพของไทยกับพม่าในประวัติศาสตร์ของประเทศทั้งสอง ซึ่งก็อาจจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้องเลยก็ได้  (มีแนวโน้มว่าจะเป็นด้านไม่ถูกเสียมากกว่า)
   
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 22 พ.ย. 14, 19:49

เก็บ slag เต็มโพล่แล้วค่ะ รอนายทางออกเดินทาง แล้วเรื่องเส้นทางเดินทัพจะขออนุญาตแทรกแซงเป็นบางเวลา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 22 พ.ย. 14, 19:55

แบกอุปกรณ์มาส่งคุณกะออมค่ะ  เดินตามรพินทร์ ไพรวัลย์ไปดีๆนะคะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 22 พ.ย. 14, 20:25

จะไปแล้วเหรอครับ ไปด้วย ๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 22 พ.ย. 14, 20:47

อ้าว  ลืมห่อ  ของสำคัญ
ดีจริง คุณนวรัตนอุตส่าห์หิ้วมาส่งให้ด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 22 พ.ย. 14, 20:59

หน้า..เดิ้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 22 พ.ย. 14, 21:00

เอ๋ ^ นี่เราเดินไปหรือเดินกลับหว่า
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 23 พ.ย. 14, 22:53

ยกทัพโยธาเวลาดึก อึกทึกทั่วลั่นสนั่นป่า
ยกทัพแบบนี้ดูทีท่าว่าจะไม่รอดแน่ๆ  คงต้องเป็นแบบเงียบๆหน่อย

มาช่วยกันวางแผนการเคลื่อนทัพนะครับ แล้วใช้เหตุการณ์เมื่อครั้งสงครามเก้าทัพมาพิจารณา (สำหรับเหตุการณ์ก่อนๆนั้น ค่อยแทรกเข้าไป) สมมุติว่าทัพพม่ามารวมพลอยู่ที่เจดีย์สามองค์ แล้วจะเคลื่อนทัพมายึดกรุงธนบุรี
 
    ผมเลือกโดยการสมมุติเอาพื้นที่ตั้งของเจดีย์สามองค์เป็นจุดเริ่มต้น ก็เพราะว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ยอดเนิน ด้านตะวันตกเฉียงเหนือเป็นร่องทอดลงไปสู่ที่ราบปากอ่าวของพม่า ด้านตะวันออกเฉียงใต้เป็นร่องทอดลงไปสู่แม่น้ำแควน้อยที่เป็นเส้นทางเข้าสู่เมืองหลวงของไทย  พื้นที่นี้กว้างมากพอที่จะเป็นที่นัดหมายรวมไพร่พล  มี landmark ที่ดี คือ เขา (นึกชื่อยังไม่ออกครับ)  สำหรับสถานที่พักสะสมกำลังของไพร่พลนั้นก็จะอยู่ต่ำลงมาประมาณ 20 กม. คือแถวสบแม่น้ำบีคลี่กับซองกาเลีย แล้วก็มีที่ราบสำหรับดำเนินการด้านการสะสมรวบรวมสะเบียงอยู่ใกล้ๆ ซึ่งก็คือพื้นที่ตั้งของบ้านหนองลูในปัจจุบัน 
 
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 23 พ.ย. 14, 23:51

ยกทัพโยธาเวลาดึก อึกทึกทั่วลั่นสนั่นป่า
ยกทัพแบบนี้ดูทีท่าว่าจะไม่รอดแน่ๆ  คงต้องเป็นแบบเงียบๆหน่อย

มาช่วยกันวางแผนการเคลื่อนทัพนะครับ แล้วใช้เหตุการณ์เมื่อครั้งสงครามเก้าทัพมาพิจารณา (สำหรับเหตุการณ์ก่อนๆนั้น ค่อยแทรกเข้าไป) สมมุติว่าทัพพม่ามารวมพลอยู่ที่เจดีย์สามองค์ แล้วจะเคลื่อนทัพมายึดกรุงธนบุรี
 
    ผมเลือกโดยการสมมุติเอาพื้นที่ตั้งของเจดีย์สามองค์เป็นจุดเริ่มต้น ก็เพราะว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ยอดเนิน ด้านตะวันตกเฉียงเหนือเป็นร่องทอดลงไปสู่ที่ราบปากอ่าวของพม่า ด้านตะวันออกเฉียงใต้เป็นร่องทอดลงไปสู่แม่น้ำแควน้อยที่เป็นเส้นทางเข้าสู่เมืองหลวงของไทย  พื้นที่นี้กว้างมากพอที่จะเป็นที่นัดหมายรวมไพร่พล  มี landmark ที่ดี คือ เขา (นึกชื่อยังไม่ออกครับ)  สำหรับสถานที่พักสะสมกำลังของไพร่พลนั้นก็จะอยู่ต่ำลงมาประมาณ 20 กม. คือแถวสบแม่น้ำบีคลี่กับซองกาเลีย แล้วก็มีที่ราบสำหรับดำเนินการด้านการสะสมรวบรวมสะเบียงอยู่ใกล้ๆ ซึ่งก็คือพื้นที่ตั้งของบ้านหนองลูในปัจจุบัน 
 

ตอนแรกว่าจะขอความกรุณาเรื่องนี้อยู่เหมือนกันครับ กะจะรอตอนกระทู้วายแล้วจึงถาม แต่เห็นเขียนก่อน ผมจึงขอสอบถามครับว่าา ด่านเจดีย์สามองค์ของจริง สรุปแล้วจมอยู่ใต้น้ำตอนที่เขาสร้างเขื่อนกันจริงหรือไม่ครับ ?

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 24 พ.ย. 14, 10:10

แผนที่แสดงการเดินทางของทัพพม่าจากด่านเจดีย์สามองค์ ถึงสมรภูมิทุ่งลาดหญ้า

ที่มาแผนที่ รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์. (2544). สงครามประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 24 พ.ย. 14, 13:02



ร่วมด้วยครับ

แผนที่เส้นทางเดินทัพจากกรุงธนบุรีถึงกรุงอังวะ ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี



โดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงส่งแผนที่นี้ไปถวายจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งต้าชิง เมื่อราว ๆ พ.ศ. ๒๓๒๔ ครับ

โดยวิธีการวางแผนที่ให้ทิศเหนืออยู่ทางขวามือ ทิศใต้อยู่ซ้ายมือ ทิศตะวันออกอยู่ด้านล่าง ส่วนทิศตะวันตกอยู่ด้านบน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง