เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14
  พิมพ์  
อ่าน: 43696 สองท่อ...บนเส้นทางเดินทัพ
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 15 มี.ค. 15, 19:29

ไปทางด้านแควน้อยบ้าง
 
ในภาพรวมๆ ลุ่มน้ำแควน้อยมีลักษณะภูมิประเทศค่อนข้างจะราบและเป็นแอ่งกว้างกว่าแอ่งของลุ่มน้ำแควใหญ่ ตัวลำน้ำเองก็มีเกาะแก่งน้อยกว่าและมีอันตรายน้อยกว่าแควใหญ่ โดยเฉพาะตั้งแต่ใต้ตัว อ.ทองผาภูมิลงมา แต่หากเหนือทองผาภูมิขึ้นไปก็จะมีเกาะแก่งที่มีอันตรายมากกว่าทางแควใหญ่มาก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงตั้งแต่ปากห้วยขาแข้งขึ้นไป

ความหนาแน่นของการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนก็ต่างกัน ตั้งแต่จุดบรรจบของสองแควขึ้นเหนือน้ำขึ้นไป ด้านแควน้อยจะมีชื่อสารพัดที่ตั้งต้นด้วยคำว่า ท่า (ท่ากระดาน ท่าเสา ท่าขนุน ฯลฯ)   ต่างกับทางแควใหญ่ที่มีน้อยมากๆและยังเป็นชื่อที่เรียกตามลักษณะพื้นที่เสียมากกว่า (แก่งแคบ แก่งรูงู แก่งยาว ฯลฯ)

แสดงว่า ตามลำน้ำแควน้อยมีทั้งการตั้งบ้านเรือนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มากโขอยู่เลยทีเดียว เป็นภาพของพื้นที่ๆมีความคึกคัก มีการคมนาคมคึกคักทั้งทางน้ำและทางบก ไม่เงียบเหงาเหมือนด้านแควใหญ่
   
สำหรับเส้นทางตัดเชื่อมกันระหว่างสองแควนี้ จากด้านแควน้อยน่าจะเริ่มจากบริเวณใต้จุดที่เราเรียกว่า ถ้ำกระแซบนเส้นทางรถไฟสายมรณะ   ลัดเลาะผ่านช่องเขาที่เรียกว่า ทับศิลา ไปโผล่แถวๆพื้นที่ใต้น้ำตกเอราวัณ (ชื่อเดิม ตาม่องล่าย) เช่น แถวแก่งแคบ แถวท่ามะนาว แล้วก็ใช้เขาชนไก่เป็น Landmark  เป็นพื้นที่รวมพล เป็นพื้นที่เก็บสะสมสะเบียงในการทำสงครามระหว่างไทยกับพม่า  ซึ่งผมเห็นว่าแถวนี้แหละครับ คือพื้นที่ strategic area ที่สำคัญของทั้งสองฝ่าย เป็นพื้นที่ๆมีทั้งแหล่งน้ำจากลำตะเพินและแควใหญ่ มีทั้งที่ราบสำหรับปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ หุงหาอาหาร แถมใกล้เมืองหลวงของไทยใม่ว่าจะเป็นอยุธยาหรือเป็นบางกอก 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 15 มี.ค. 15, 20:19

ยืดยาวมาเพียงเพื่อให้เห็นภาพกิจกรรมทางสังคมที่พอจะสนับสนุนบันทึกทางประวัติศาสตร์สงครามในเรื่องปริมาณคนในพื้นที่ตามลำน้ำแควน้อย

ก็มาถึงประเด็นว่า ความคึกคักของผู้คนนั้นจะเป็นผลเนื่องมาจากเพียงกิจกรรมด้านเกษตรเท่านั้นหรือ หรือจากด้านอื่นๆด้วย

ก็น่าจะต้องมีนะ ซึ่งผมเห็นว่า น่าจะเป็นพวกทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ หนังสัตว์ เขาสัตว์ แร่ธาตุ (ทองคำ เงิน ดีบุก) ไม้หายาก(อาทิ ไม้แจง หรือต้นแจง ที่เอามาเผาเป็นถ่านดินปืนคุณภาพชั้นเลิศ) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 15 มี.ค. 15, 20:54

ผลิตภัณฑ์จากสัตว์นั้นต้องมีอยู่แน่ๆ เพราะว่ามีความต้องการสูงจนสามารจัดได้เป็นวัสดุหรือสินค้ายุทธปัจจัย เช้่น เนื่้อใช้กิน (รมควัน หรือหมกขี้เถ้า) เก็บไว้เป็นสะเบียง หนังใช้ทำเกราะ อวัยวะบางส่วนใช้ทำยาหรือทำกินตามลักษณะความเชื่อในเรื่องพละกำลังบ้าง ในเรื่องความอยู่ยงคงกระพันบ้าง และในเรื่องของยารักษาโรคบ้าง  ซึ่งก็มีทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ

ส่วนผลิตภัณฑ์ด้านแร่ธาตุนั้น ก็ต้องมีแน่นอนเช่นกัน ทั้งทองคำ เงิน และดีบุก     
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 16 มี.ค. 15, 06:56

ลัดเลาะผ่านช่องเขาที่เรียกว่า ทับศิลา

ชื่อนี้ที่เดียวกันกับ ทับศาลา มั้ยคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 16 มี.ค. 15, 19:46

ผมไม่ทราบครับ ห่างเหินจากพื้นที่และแผนที่มานานมากแล้วครับ ผมรู้จักแต่ชื่อทับศิลา หากเป็นชื่ออยู่บนเส้นทางที่ผมเล่ามา ก็น่าจะเป็นสถานที่เดียวกันครับ
 
ในระยะประมาณ 25 ปีที่ผ่านมา ชื่อสถานที่ต่างๆในพื้นที่ของแควใหญ่และแควน้อยถูกเปลี่ยนไปมากครับ  แม้กระทั่งตำแหน่งที่ตั้งของชื่อเหล่านั้นก็อยู่คนละสถานที่กับสถานที่เดิม  บ้างก็เพราะต้องย้ายสถานที่เนื่องจากน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนท่วม เช่น อ.ศรีสวัสดิ์ เดิมก็อยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ทางฝั่งตะวันตก ปัจจุบันอยู่ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ ใกล้ห้วยแม่ละมุ่น    บ้างก็ถูกเปลี่ยนชื่อไปตามความคิดที่ว่าใช่ ว่าว่าแต่เดิมนั้นเขียนผิด เช่น บ้านพุเตย ก็กลายเป็นบ้านภูเตย  ฯลฯ   นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีชื่อเดิมที่รู้อยู่ว่าเรียกผิด เช่น เดิมชื่อทุ่งย่างค่าง แต่ก็เรียกกันในชื่อทุ่งก้างย่าง เหล่านี้เป็นต้น

ผมใช้ชื่อตามที่ได้มีการสำรวจและใช้อยู่ในสมัยประมาณปี ค.ศ.1953 (พ.ศ.2496) ซึ่งสำรวจโดยกรมแผนที่ทหารในสมัยทำแผนที่ภูมิประเทศ series L708

ทำงานค้นหาเรื่องราวในพื้นที่ทางตะวันตกนี้ จึงมีเหตุจะต้องสอบทานสอบย้อนในหลายๆ aspects 

อันที่จริง ช่องทับศิลานี้ คงจะเป็นช่องทางลัดระหว่างสองแม่น้ำมานานโขเลยทีเดียว   เพราะมีรูปบนผาหินปูนทางฝั่งตะวันตกของเขื่อนท่าทุ่งนา ซึ่งผมเรียกว่า ภาพสี่คนหามสามคนแห่  จะเป็นภาพที่เขียนเมื่อยุคใดทางโบราณคดี หรือสมัยใดทางประวัติศาสตร์ ก็ลองสืบค้นดูกันนะครับ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 16 มี.ค. 15, 20:44

ไปที่ความมีของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ราบลอนคลื่นทางเหนือของ อ.ทองผาภูมิ

พื้นที่ราบลอนคลื่นนี้ คือ พื้นที่ๆเรียกกันว่า ห้วยเขย่ง (ปัจจุบ้นอยู่ใต้น้ำของอ่างเขื่อนเขาแหลม) ที่มีเจดีย์บุอ่องหรือโบอ่องตั้งอยู่   พื้นที่ห้วยเขย่งนี้เป็นพื้นที่ตะพักลำน้ำ (River terrace) มีลักษณะพื้นที่ค่อนข้างราบ เป็นป่าโปร่งประกอบด้วยต้นไม้ขนาดเล็กและไผ่ตระกูลไผ่รวก (ไม้รวก) คล้ายกับที่เรีัยกว่าป่าแพะทางภาคเหนือ หรือป่าดิบแล้ง

กรวดและตะกอนของ Terrace ที่รองรับอยู่ใต้พื้นที่ห้วยเขย่งนี้  มีทองคำปะปนอยู่ด้วย   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 19:19

แต่มีทองคำอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก  ผมเคยขอดูตัวอย่างและเคยถามชาวบ้าน ได้ทราบว่า เลียง (ร่อน) อยู่นับเป็นเดือนได้มายังไม่ถึงไม่ถึงสลึงนึงเลย  ชื่อทองผาภูมินี้สื่อความหมายได้สมกับชื่อจริงๆ
อันที่จริงแล้ว ก็เคยมีการร่อนทองในแควน้อยตอนล่าง โดยการขุดเอากรวดทรายท้องน้ำมาเลียง ก็พบแต่ในปริมาณไม่มากเช่นกัน เรียกว่าไม่คุ้มกับเวลาการนั่งแช่น้ำ  ไม่เหมือนกับที่โต๊ะโม๊ะ จ.นราธิวาส

ทองคำในลุ่มแควน้อยนี้ ก็พอจะบอกได้ว่าเป็นทองคำที่กำเนิดอยู่ใน Quartz vein (สายแร่ควอร์ซ) ที่แทรกอยู่ในหินแกรนิตที่เป็นเทือกเขาตะนาวศรีนั่นเอง ที่ถูกชะล้างและพัดพาลงมาตามแม่น้ำที่มีขุนห้วยอยู่ในเทือกเขานี้  ที่ห้วยเขย่งก็น่าจะลงมาตามห้วยบีคลี่ ทางช่วงล่างของแควน้อยก็มีหลายห้วย เช่นห้วยเต่าดำ (ด่านเต่าดำ) ห้วยบ้องตี้ (ด่านบ้องตี้) แม่น้ำน้อยไทรโยค เป็นต้น  ทองคำบางสะพานของประจวบฯ ก็มาในลักษณะเดียวกัน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 20:23

พื้นที่ค่อนข้างราบแบบห้วยเขย่งนี้ ยังมีอีกแห่งหนึ่ง คือ ทุ่งมาลัย ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัว อ.สังขละบุรี ในปัจจุบัน   ผมไม่ได้ติดตามว่ามีการขุดค้นทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในพื้นที่ทั้งสองแห่งมากน้อยเพียงใด (ก่อนที่น้ำในอ่างน้ำเขื่นเขาแหลมจะท่วม)

พื้นที่ทั้งสองนี้ เหมาะแก่การตั้งชุมชน หรือใช้ในการรวมไพร่พล   ผมมีข้อสังเกตว่า ทั้งสองพื้นที่ไม่มีต้นไม้ใหญ่เลย มีลักษณะเป็นป่าแพะ ต้นไม้น่าจะถูกโค่นไปใช้ประโยชน์จนหมด แต่ไม่ทราบช่วงเวลาต่างๆ   พื้นที่ห้วยเขย่งนั้นคงเหลือแต่เจดีย์บุอ่องที่แสดงถึงการมีชุมชนหรือกลุ่มคนเข้ามาใช้พื้นที่ในช่วงเวลาหนึ่ง และน่าจะเป็นช่วงเวลานานด้วย    สำหรับพื้นที่ทุ่งมาลัยนั้น ยังมีชุมชนและกลุ่มคนอยู่มาอย่างต่อเนื่อง

ก็มีเรื่องน่าสนใจว่า บ้านวังปาโท่ ซึ่งเป็นส่วนของพื้นที่ห้วยเขย่งที่อยู่ติดลำน้ำแควน้อยนี้ ชาวบ้านที่อยู่อาศัยเป็นพวกเชื้อสายแม่สอด และก็เป็นสถานที่ๆมีคนไทยที่อยู่ในหมู่บ้านหนองบัวในพม่ามาติดต่อ มาหางานทำ มาอยู่อาศัย  นอกจากนั้นแล้ว ชื่อบ้านวังปาโท่นี้ก็เพี้ยนมาจากชื่อเดิม ตำรอง/ตะลองพาดู๊ ที่แปลว่าตลิ่งยาวหรือตลิ่งใหญ่  ซึ่งชวนให้คิดถึงภาพว่าเหมาะสำหรับการใช้เป็นท่าเรือ ท่าขนถ่ายสิ่งของต่างๆตามลำน้ำแควน้อย     พอแล้วเนาะ คิดมาก ฝันเฟื่องมากไปแล้ว   หากได้เห็นพื้นที่จริงด้วยกันก็คงจะพอเห็นพ้องได้บ้าง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 21:36

คำอธิบายเรื่องราวของแหล่งแร่ตะกั่ว ที่สะสมตัวอยู่ในชั้นหินของเทือกเขาที่คั่นระหว่างแควใหญ่กับแควน้อย ที่มีการทำเหมืองกันมานานจนมีการทิ้งตะกรันสะสมรวมๆกันประมาณ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 22:25

พื้นที่ค่อนข้างราบแบบห้วยเขย่งนี้ ยังมีอีกแห่งหนึ่ง คือ ทุ่งมาลัย ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัว อ.สังขละบุรี ในปัจจุบัน   ผมไม่ได้ติดตามว่ามีการขุดค้นทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในพื้นที่ทั้งสองแห่งมากน้อยเพียงใด (ก่อนที่น้ำในอ่างน้ำเขื่นเขาแหลมจะท่วม)

พื้นที่ทั้งสองนี้ เหมาะแก่การตั้งชุมชน หรือใช้ในการรวมไพร่พล   ผมมีข้อสังเกตว่า ทั้งสองพื้นที่ไม่มีต้นไม้ใหญ่เลย มีลักษณะเป็นป่าแพะ ต้นไม้น่าจะถูกโค่นไปใช้ประโยชน์จนหมด แต่ไม่ทราบช่วงเวลาต่างๆ   พื้นที่ห้วยเขย่งนั้นคงเหลือแต่เจดีย์บุอ่องที่แสดงถึงการมีชุมชนหรือกลุ่มคนเข้ามาใช้พื้นที่ในช่วงเวลาหนึ่ง และน่าจะเป็นช่วงเวลานานด้วย    สำหรับพื้นที่ทุ่งมาลัยนั้น ยังมีชุมชนและกลุ่มคนอยู่มาอย่างต่อเนื่อง

ก็มีเรื่องน่าสนใจว่า บ้านวังปาโท่ ซึ่งเป็นส่วนของพื้นที่ห้วยเขย่งที่อยู่ติดลำน้ำแควน้อยนี้ ชาวบ้านที่อยู่อาศัยเป็นพวกเชื้อสายแม่สอด และก็เป็นสถานที่ๆมีคนไทยที่อยู่ในหมู่บ้านหนองบัวในพม่ามาติดต่อ มาหางานทำ มาอยู่อาศัย  นอกจากนั้นแล้ว ชื่อบ้านวังปาโท่นี้ก็เพี้ยนมาจากชื่อเดิม ตำรอง/ตะลองพาดู๊ ที่แปลว่าตลิ่งยาวหรือตลิ่งใหญ่  ซึ่งชวนให้คิดถึงภาพว่าเหมาะสำหรับการใช้เป็นท่าเรือ ท่าขนถ่ายสิ่งของต่างๆตามลำน้ำแควน้อย     พอแล้วเนาะ คิดมาก ฝันเฟื่องมากไปแล้ว   หากได้เห็นพื้นที่จริงด้วยกันก็คงจะพอเห็นพ้องได้บ้าง   


วังปาโท่ นี้

แต่เดิมเรียก  วังปะโท่ หรือเปล่าครับ ?

เพราะในบันทึกการเดินธุดงค์ของ หลวงปู่พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (สาย อคฺควํโส) วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ความตอนหนึ่งท่านบันทึกไว้ว่า



วังปะโท่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
ผาผึ้ง ๒๗ - ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
วังกะหรือนิเถะ ๑ - ๒ มีนาคม ๒๔๙๖
สะนิผ้อง ๓ มีนาคม ๒๔๙๖
ทิมู้คี่ ๔ - ๖ มีนาคม ๒๔๙๖
มิเซ้าจะเติ๊ก ๗ มีนาคม ๒๔๙๖
ปรุงดี ๘ - ๙ มีนาคม ๒๔๙๖
ทิพู้จ่อง ๑๐ มีนาคม ๒๔๙๖
กุยยารี่ ๑๑ มีนาคม ๒๔๙๖
โจกควะ ๑๒ - ๑๔ มีนาคม ๒๔๙๖
มินตรท่า ๑๕ มีนาคม ๒๔๙๖
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 22:27

เรื่องราวของแหล่งแร่ตะกั่ว ที่สะสมตัวอยู่ในชั้นหินของเทือกเขาที่คั่นระหว่างแควใหญ่กับแควน้อย ที่มีการทำเหมืองกันมานานจนมีการทิ้งตะกรันและเศษโลหะตะกั่วสะสมรวมๆกันประมาณ 1 แสนตัน โดยมีการแยกเอาโละเงินออกไปเป็นปริมาณมาก  ทำให้เกิดคำถามว่า ใครและจำนวนคนมากน้อยเพียงใดที่มาทำเหมืองในพื้นที่นี้ /แล้วเอาผลผลิตไปใช้ไปขายที่ใหนกัน

ด้วยข้อมูลที่นายขะเซ่ง วัยประมาณ 50 ปี ชาวลั้วะที่อาศัยอยู่บ้านเกริงกราเวีย ได้เล่าให้ฟังว่า ยายเล่าให้ฟังว่า เมื่อสมัยยายยังเด็กอยู่นั้น ยายของยายได้เล่าให้ฟังว่า ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่ามีการขุดเหมืองทำแร่กันเป็นจำนวนมาก ขนากช้างแม่ลูกอ่อนที่ใช้ขนของระหว่างบ้านเกริงกราเวีย กับพื้นที่ (หมู่บ้าน) เหมืองสองท่อ ยังไม่มีเวลาให้ลูกกินนมเลย    จากความนี้ พอจะสื่อนำได้ว่า ผู้คนที่มาทำงานในพื้นที่นี้ น่าจะต้องตั้งบ้านเรือนที่พำนักอยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบตีนเขา เพราะมีน้ำกินน้ำใช้อุดมสมบูรณ์   แต่พื้นที่ราบบ้านเกริงกราเวียไม่ใหญ่พอจะรับผู้คนได้ในระดับนั้น ดังนั้น ก็น่าจะต้องมีพื้นที่ราบอื่นๆรองรับ พื้นที่ราบเช่นนั้นก็ดูจะมีแถวพื้นที่ห้วยเขย่งนั้นเอง ซึ่งก็มีเส้นทางคมนาคมสะดวก โดยการเดินขึ้นล่องตามห้วยทองผาภูมิ 

แล้วเงินไปใหน ก็ดูจะมีอยู่เส้นทางที่นำพามันออกไปได้อยู่เส้นทางหนึ่ง คือเส้นทางสายไหมเส้นที่เชื่อมพื้นที่อินเดียตอนบนกับจีน ซึ่งผ่านยุนนานแล้วไปจบกับเส้นทางหลักทางด้านเหนือของจีน ผู้ที่ต้องการโลหะเงินมากก็คือจีน  เมื่อมองโกลรุกจีน จึงดูจะมีเหตุผลให้ต้องรุกต่อลงมาทางตะวันตกเฉียงใต้ตามเส้นทางสายใหมนี้จนเข้าสู่ที่ราบพม่า ก็เพื่อครอบครองและปิดกั้นเส้นทางการเคลื่อนย้ายของเงินที่จะใช้เป็นทุนในการต่อต้านใดๆ

แหล่งแร่นี้คงจะมีการทำเหมืองกันมานานมากแล้ว แต่ดูเหมือนจะมีความเร่งรีบหรือระดมการผลิตในช่วงก่อนจีนเปลี่ยนแผ่นดินซึ่งตรงกับประมาณสมัยสุโขทัยของเรา  สำหรับในช่วงอยุธยานั้นน่าจะเป็นเรื่องของการผลิตส่งออก หยุดไปในช่วงเสียกรุง แล้วก็มาต่อใหม่ในสมัย ร.3 เบาหายไปในช่วงฝรั่งเข้ามา จนถึงช่วงประมาณการเปลี่ยนแปลงการปกครองของเรา ก็มีฝรั่งเข้ามาทำเหมือง แล้วก็ต่อมาด้วยบริษัทของคนไทย จนเลิกผลิตไปแล้วในปัจจุบัน

แล้วก็จะขออนุญาตจบเอาดื้อๆเพียงนี้ครับ 
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 22:31

ซึ่งตั้งแต่ สะนิผ้อง (สมัยนี้เรียกเป็น สะเนพ่อง) ไปจนถึง กุยยารี่ จะเป็นเขตชายแดนไทย-พม่า บ้านกะเหรี่ยงชายขอบทุ่งใหญ่ด้านสังขละบุรีติดพม่า

ซึ่งถ้าเดินเท้าไปเรื่อยต่อไปก็จะเป็น

จอท่า ๑๖ - ๒๑ มีนาคม ๒๔๙๖
กุยยาไผ่ ๒๒ - ๒๕ มีนาคม ๒๔๙๖
ทุ่งเวด่ง ๒๖ มีนาคม ๒๔๙๖
แม่ตะลา ๒๗ มีนาคม ๒๔๙๖
แม่ตะเจาะ ๒๘ มีนาคม ๒๔๙๖
คลองป่าสัก ๒๙ มีนาคม ๒๔๙๖
ท่าคะเน็ง ๓๐ มีนาคม ๒๔๙๖

ย่องก๊ง ๓๑ มีนาคม ถึง ๑ เมษายน ๒๔๙๖
หนองบัว ๒ - ๘ เมษายน ๒๔๙๖
ย่องก๊ง ๙ - ๑๐ เมษายน ๒๔๙๖
สองแคว(ชอน็องคว๊ะ) ๑๑ - ๑๘ เมษายน ๒๔๙๖

ซึ่งบ้านหนองบัว กับ สองแคว เป็นหมู่บ้านที่มีคนพม่าเชื้อสายสยาม / ลาว ที่โดนกวาดต้อนไปตั้งแต่ยุคกรุงศรีฯ อยู่อาศัยอยู่เป็นส่วนมาก  พูดไทยได้ แต่เขียนไม่ค่อยได้ (ปัจจุบันอาจจะเขียนได้มากขึ้น)

ทั้งหมดในเขตพม่าจะอยู่ในรัฐมอญ + รัฐกะเหรี่ยงทั้งหมดครับ



บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 22:36

บันทึกการเดินธุดงค์ของหลวงปู่ฯ ท่าน ยังเรียกชื่อที่น่าสนใจอีก ๒ สถานที่คือ

กู่พาดู๊ (บีคี่) ๒๑ - ๒๓ กรกฎาคม ๒๔๙๖
วังกะ (สังขละบุรี) ๒๔ กรกฎาคม ๒๔๙๖

ไม่แน่ใจว่า วังกะ ของหลวงปู่ฯ ท่านในสมัยโน้นจะเป็นตัวอำเภอสังขละบุรีเก่า ก่อนจะโดนน้ำท่วมหรือเปล่านะครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 22:53

ชื่อเดียวกันครับ

จากเดิมเป็นภาษากะเหรี่ยง  ให้บังเอิญว่าแควน้อยช่วงนี้โค้ง ทำให้มีน้ำลึก ชาวบ้านก็เลยเรียกว่าวังปลาโท่  ด้วยสำเนียงเมืองกาญจน์ป้ายชื่อก็เลยเขียนเป็นวังผาโท้ก็มี วังปาโท่ก็มี วังปลาโถ้ก็มี ครับ

ลึกๆแล้วเกี่ยวกับชื่อนี้ยังมีเรื่องอีก พาดู๊ เป็นสำเนียงของกะเหรี่ยงทางใต้ คือใต้ประมาณแม่สอดลงมา พาโด๊ะ เป็นสำเนียงกะเหรี่ยงทางภาคเหนือ คำที่กล่าวถึงนี้แปลว่า ใหญ่  ในแผนที่ทหารรุ่นแรกๆเขียนว่า บ้านตำรองผาดู๊  ก็คงมีการออกเสียงที่ต่างกัน เลยทำให้เสียงที่เขียนด้วยภาษาไทยเพี้ยนไปด้วย

กะเหรี่ยงทั้งสองสำเนียงนี้ ใช้คำทักทาย ไปไหนมาต่างกัน คือ ลีคือแล่ กับ แลซือล่อ  ต่างคนต่างก็เรียกอีกฝ่ายหนึ่งว่าเป็นพวกกะหร่าง

สนุกมากไปกว่านั้น คือ คำที่แปลว่า น้ำ  เป็นคำอันตรายมากหากออกเสียงไม่ถูกต้อง ทั้งสองพวกก็มักจะหัวเราะกัน คำนี้คือ ทิ ที ที่ (เรามักเขียนด้วยตัว ค แทนตัว ท) เสียงหนึ่งแปลว่าน้ำ อีกเสียงหนึ่งแปลว่า อวัยวะเพศชาย    ออที ที่แปลว่ากินน้ำเลยยุ่งไปด้วย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 23:04

ใช่ครับ แต่ด้วยความสับสน 

ตัวอำเภอมิได้ตั้งอยู่ที่บ้านวังกะ ตั้งอยู่เลยไปบ้านนี้ไป วังกะเป็นชื่อของหมู่บ้านในตำบลหนองลู แต่ที่ตั้งตัวตำบลหนองลูอยู่ก่อนถึงวังกะ  อย่างไรก็ตาม คนในพื้นที่หากจะไปตัวอำเภอ ก็จะจะบอกว่าไปวังกะ อาจจะเป็นเพราะว่าต้องเดินทางด้วยเรือ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง