เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14
  พิมพ์  
อ่าน: 43858 สองท่อ...บนเส้นทางเดินทัพ
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 24 ก.พ. 15, 20:42

เมื่อลักษณะทางภูมิศาสตร์และธรณีฯเป็นเช่นนั้น แผ่นดิน (พื้นที่ตลอดแนวตืนเขาหิมาลัยในอินเดียไปจนถึงพื้นที่ในอิธิพลของต้าลี่) ก็มีความอุดมความสมบูรณ์ทั้งพืชพรรณธัญญาหารและแร่ธาตุ  มีการค้าขาย มีการเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม  มีหลักคิด หลักนิยมที่ไม่ต่างกันมาก   สิ่งแวดล้อมในลักษณะเช่นนี้น่าจะทำให้เกิดพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ คือ มีหลักคิด/หลักนิยมแบบผสมผสานระหว่างของอินเดียกับของจีน ไม่ว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จะเป็นชาติพันธุ์ใด ซึ่งผู้คนหลักๆก็คือพวกที่ใช้ภาษาในตระกูลภาษาไทยและอินเดีย

ทำให้เห็นความต่างในหลายๆเรื่อง (ระหว่างในพื้นที่นี้กับในพื้นที่แผ่นดินจีน) เช่น เรื่องของผ้าและเครื่องนุ่งห่ม  เรื่องของหลักคิดหลักนิยม (อาทิ การใช้ไม้และหิน) ฯลฯ   ซึ่งสำหรับตัวผมนั้น เห็นว่าพื้นที่ที่มีการผสมผสานหลากหลายมากที่สุดนั้น อยู่ในพื้นที่ของพื้นที่ป่าเขาที่ทอดยาวต่อเนื่องตั้งแต่ในรัฐฉานของพม่าลงมาทางใต้ น่าจะสิ้นสุดแถวๆ จ.ประจวบฯ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 25 ก.พ. 15, 19:14

เมื่อพัฒนาการของสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง  และวัฒนธรรม เป็นไปในทำนองดังที่ได้กล่าวถึงมา (อย่างกระท่อนกระแท่น)

ผมเห็นว่ามันเป็นกลไกที่ค่อยๆผลักดันให้เกิดการเคลื่อนย้ายของผู้คนทางตอนใต้ของแผ่นดินจีน   จึงไม่น่าจะแปลกใจนักที่จะเห็นความหลากหลายทางชาติพันธุ์และทางสังคมปรากฎอยู่เป็นแนว (strip) รอยต่อระหว่างแผ่นดินจีนกับประเทศต่างๆในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และรวมทั้งอินเดีย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ใช้ภาษาในกลุ่มภาษาไทย   

ซึ่งการเคลื่อนย้ายนี้ ก็ดูเหมือนว่ากลุ่มที่มีหลักคิดหลักนิยมบนฐานใกล้ๆกัน ก็จะไปอยู่ใกล้ๆกัน อาทิ ในเรื่องของผ้า ก็จะเห็นว่าเป็นวัฒนธรรมที่เด่นในพื้นที่ต่อเนื่องตั้งแต่เวียดนามจนถึงอิสานเหนือของไทย   ในพื้นที่ๆเรียกว่าล้านนาของเรา ก็เด่นไปในเรื่องของฝีมือช่างทางโลหะกรรม (โลหะผสมและปฏิมากรรม)     
ส่วนในพื้นที่ทางตะวันตกนั้น ดูจะเป็นเรื่องของการขุดหาทรัพยากรและเครื่องประดับ เพราะเป็นพื้นที่ๆมีสภาพทางธรณีเหมาะสมสำหรับการเกิดแหล่งแร่และโลหะหลายชนิดที่เป็นที่ต้องการของยุคนั้น (ทองคำ ทองแดง สังกะสี เงิน ดีบุก เกลือ ฯลฯ) โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าเขาในเขตต่อเนื่องของพม่า ไทย และจีน
   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 25 ก.พ. 15, 19:57

พื้นที่ทางตะวันตกนี้ จึงน่าจะเป็นพื้นที่ที่คละไปด้วยผู้คนต่างชาติพันธุ์ที่ต่างก็เข้ามาแสวงหาทรัพยากรธรณีทั้งหลาย   และน่าจะมีการเคลื่อนกระจายลงสู่ทางใต้มากขึ้นเมื่อเจ็งกิสข่านตะลุยเข้ามาในพื้นที่นี้
     
สิ่งที่ผมได้พบด้วยตนเองเมื่อครั้งยังทำงานอยู่ ที่อาจจะพอมีนัยอะไรบางอย่าง คือ ในพื้นที่ทางตะวันตกนี้ ได้พบกลุ่มคนต่างชาติพันธุ์ต่างๆมาอยู่รวมกันในหมู่บ้านเดียวกัน มิได้อยู่แยกเป็นกลุ่มใครกลุ่มมัน  และเคยได้ยินภาษากลางที่คนหนุ่มสาเขาใช้สื่อสารกัน (ถูกหรอกหรือไม่ก็ไม่รู้)     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 26 ก.พ. 15, 20:07

บังเอิญจะต้องไป ตจว. ประมาณ 1 สัปดาห์  เลยจะต้องขอเว้นวรรคอีกสักครั้ง  แต่ก่อนจะแวบหายไป ก็จะขอต่อเรื่องอีกเล็กน้อย   

เรื่องราวหลายๆเรื่องก็ขมวดมาเกี่ยวพันกับพื้นที่ๆเป็นพืดเขาที่อยู่ระหว่างไทยกับพม่ากับจีนนี้      ด้วยที่ผมทำงานอยู่ในพื้นที่ไกลปืนเที่ยงด้านตะวันตกของไทยมานานหลายปี ยิ่งนานปีมากเข้าก็ยิ่งเกิดปุจฉามากมาย หลาย "ทำไม" เลยทีเดียว อาทิ คนแต่งตัวแบบพม่าแต่พูดลาว สำเนียงที่เหน่อสุดๆของภาษาไทยที่อยู่ในพื้นที่นี้ ชื่อสถานที่ๆหมายถึงทองคำ อิทธิพลขอมสิ้นสุดในพื้นที่นี้ พระเครื่องโลหะนิยมทำอยู่แต่ในเขตไทย เอกลักษณ์บางอย่างในเรื่องของอาหาร ฯลฯ  แน่นอนครับ หลายเรื่องคงเป็นเรื่องใหม่ภายหลัง   

สำหรับผม เห็นว่า มันมีพื้นที่ๆเป็น hot spot อยู่หลายแห่งทั้งในเขตไทย พม่า และจีน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 26 ก.พ. 15, 20:52

ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพค่ะ

คุณตั้งจะตั้งกระทู้ใหม่ก็ได้นะคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 10 มี.ค. 15, 18:43

ผมเดินเรื่องของกระทู้นี้ในรูปแบบของกระบวนคิด(ของนักสำรวจฯ) ในกรณีเมื่อใดที่พบความผิดปกติ(anomaly)ใดๆว่า มีสิ่งใดบ้างที่เป็นเหตุ ซึ่งเป็นเหตุให้มีเรื่องราวเข้ามาโยงใยหลายเรื่อง

ก็จะขอเปลี่ยนแนวใหม่ เดินเรื่องใหม่ไปในรูปของการนำเสนอข้อสังเกต ซึ่งน่าจะได้รับการอธิบายเรื่องราวต่างๆจากท่านผู้รู้ที่มีอยู่หลากหลายสาขา นะครับ
   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 10 มี.ค. 15, 19:35

ความผิดปกติที่เป็นปฐมเหตุที่ทำให้ผมพยายามหาคำอธิบาย ก็คือ
 
     ปริมาณ slag จาการถลุงตะกั่ว (smelting) และ/หรือ การ sintering ที่มีนับแสนตันรวมกันที่พบตั้งแต่พื้นที่ๆด้านใต้ของเทือกเขาหินปูนที่ขั้นอยู่ระหว่างแควน้อยกับแควใหญ่ เรียกว่าหนานยะ ที่บ่อน้อย ที่บ่อใหญ่ ที่สองท่อ ที่ทิขุ แล้วก็กระโดดข้ามไปที่บ่องาม (เหนือบ้านคลิตี้ขึ้นไป)  ซึ่งปรากฎในภาพรวมๆว่า ปริมาณตะกั่วตกค้างใน slag จะมีน้อยลงเมื่อขึ้นเหนือขึ้นไป จนถึงพื้นที่บ่องามที่พบว่ามีทั้ง slag และโลหะตะกั่วรูปหยดน้ำขนาดประมาณเมล็ดถั่วลิสงและขนาดเม็ดทราย
    ที่บ่องาม โลหะตะกั่วทรงหยดน้ำและทรายตะกั่ว พบในลักษณะคล้ายกับอยู่ในร่อง (trench) และยังพบท่อนไม้ซุงและแนวคล้ายการทำเหมืองอุโมงค์ 
    ที่สองท่อ ผมไม่ได้เห็นบ่อขุดแฝดกับตาของตนเอง (เหมือนที่เห็นที่เกริงกราเวีย) แต่พบว่า slag นั้พบสะสมอยู่เป็นกระเปาะๆ (หลุม)  ซึ่งจากปากคำของคนงานบอกว่า พบ slag กระเปาะละ 100 - 200 ตัน
    ทั้งที่สองท่อและบ่องาม ได้พบเบ้าถลุงที่พอกหนาด้วยตะกรัน และท่อ (ปล่องทำจากไม้ไผ่)ที่พอกด้วยดินเผาและตะกรัน 
    เฉพาะที่สองท่อเท่านั้น ที่พบแผ่นหินทรายละเอียด (shale) ก้อนประมาณก้อนอิฐโบราณ (10x6x2 นิ้ว) ถูกทำให้เป็นหลุมด้วยปลายมีดประมาณ 6-8 หลุม  เป็นแม่พิมพ์ของโลหะตะกั่วทรงหมวกกุยเล้ย (ที่ส่งไปจีนในสมัย ร.3)       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 11 มี.ค. 15, 19:22

แร่ตะกั่วที่สำคัญได้แก่แร่ Galena มีสูตรทางเคมีว่า PbS  ซึ่งในแร่ชนิดนี้มักจะมีโลหะเงิน (Ag) เกิดร่วมอยู่ด้วย แต่มิใช่ในลักษณะของสารประกอบทางเคมี เป็นในลักษณะของโลหะที่เกาะอยู่ตามผิวหน้าสัมผัสระหว่างแต่ละ unit cell ของผลึก PbS 

ปริมาณโลหะเงินที่พบในแร่ Galena มีมากน้อยต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของการกำเนิด    หากคิดโดยน้ำหนักทางเคมีของส่วนประกอบของ Galena  จะพบว่า ประมาณ 85% จะเป็นโลหะตะกั่ว (Pb) ประมาณ 15% จะเป็นกำมะถัน (S) และมีโลหะเงินอยู่รอบๆ ซึ่งจะมีประมาณ 1 % ที่เป็นปริมาณค่อนข้างจะปกติ 
โลหะตะกั่วกับเงินมีน้ำหนักต่อหน่วยไม่ต่างกันมากนัก แต่มีราคาต่างกันมากๆ   ที่เรียกกันว่าเหมืองแร่ตะกั่วทั้งหลายนั้น โดยข้อเท็จจริงแล้วในหลายๆกรณีน่าจะเรียกว่าเหมืองแร่เงิน เพราะได้รายได้จากการขายโลหะเงินมากกว่าการขายโลหะตะกั่ว

ก็เป็นเรื่องน่าคิดว่า ในปริมาณนับแสนตันที่เรียกว่า slag นั้น (ในพื้นที่ที่กล่าวถึง) จะมีโลหะเงินที่ถูกเอาออกไปเป็นปริมาณเพียงใด  ก็น่าจะมากโขอยู่นะครับ  ซึ่งแสดงว่า มันก็จะต้องมีอุปสงค์ในระดับมหึมาอยู่ทีเดียว แล้วในยุคประวัติศาสตร์โบราณนั้น มีสังคมใดที่มีปริมาณคนหรือเศรษฐกิจที่มีอุปสงค์ในระดับนั้น หรือจะมองในอีกนัยว่า ฤๅพื้นที่นี้เป็นแหล่งอุปทานที่สำคัญในประวัติศา่สตร์ยุคนั้น หรือ ? 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 11 มี.ค. 15, 20:35

น่าสนใจต่อไปว่า พื้นที่การโลหะหรรมที่สำคัญของโลกพื้นที่หนึ่งได้แก่ พื้นที่ของอินเดียตอนเหนือ ตั้งแต่ก่อนยุคพทธกาล   ซึ่งจากข้อสนเทศที่ได้จากการอ่านและการประมวลของผม เห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวนี้ มีความสันทัดหนักไปในทางของการแปรสินแร่ให้เป็นโลหะ (smelting & refining) ต่างกับพื้นที่ในอิทธิพลของจีนที่สันทัดหนักไปในทางการพัฒนาโลหะผสม (alloying & casting) 

และก็ยังไม่เคยได้อ่านได้ผ่านตาถึงเรื่องแหล่งแร่ตะกั่วโบราณของจีน  ซึ่งผมเห็นเป็นหลายนัยว่า แหล่งแร่และการถลุงก็คงมี แต่คงจะไม่ใช่แหล่งสำคัญ หรือขนาดใหญ่ หรือเป็นเพราะจีนมีแหล่ง supply จากที่อื่นๆ (การค้า ส่วย บรรณาการ ฯลฯ)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 12 มี.ค. 15, 19:16

ลองคิด...โลหะตะกั่วจากแหล่งใน จ.กาญจนบุรีนี้  ในไทยน่าจะมีการนำมาใช้ทำอะไรบ้าง
   
   หากเป็นกรณีตามอายุของ slag ช่วงประมาณ 400 ปี ก็คือสมัยศรีอยุธยา ซึ่งก็เป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ทำลูกกระสุนปืน แต่ก็คงมิใช่ทำลูกกระสุนปืนใหญ่ เพราะจะหนักเกินไป ยิงไม่ได้ไกลแน่ๆ 
   แต่หากเป็นช่วงตามอายุของ slag ที่เก่ากว่านั้น เมื่อประมาณ 800 ปี ก็จะไปอยู่ในประมาณยุคสุโขทัย อยู่ในอายุคราวเดียวกันกับแถวๆยุคราชวงค์หมิงของจีน  ซึ่งเรื่องตามสมัยนิยมในช่วงเวลานั้น ก็ดูจะเป็นเรื่องของเครื่องเคลือบดินเผา เรื่องทางโลหะกรรมไม่เด่นเลย
   อีกแต่  แต่หากมีการทำเหมืองและถลุงแร่เก่ากว่านั้นอีก ก็น่าจะอยู่ในยุคลพบุรี  ก็น่าสนใจแล้วว่ามีการใช้โลหะตะกั่ว เห็นได้จากพระเครื่องต่างๆสมัยลพบุรี
   หลังจากสมัยอยุธยา มีการใช้โลหะตะกั่วจากแหล่งใน จ.กาญจนบุรีต่อเนื่องมาแน่นอน เห็นได้จากการทำพระท่ากระดาน (น่าจะสมัยรบกับพม่า) มีการส่งโลหะตะกั่วไปจีน (เห็นได้จากบันทึกในสมัย ร.3) มีการเข้ามาทำเหมืองโดยฝรั่ง (สมัย ร.7) และโดยคนไทยต่อๆมา 

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 12 มี.ค. 15, 19:49

คนไทยทางภาคเหนือในรุ่นเก่าก่อนนั้น  เครื่องโลหะกรรมดูจะใช้เป็นเครื่องบ่งบอกสถานะ  ซึ่งเครื่องเงินดูจะแสดงสถานะที่สมบูรณ์มั่งคั่งมากกว่าเครื่องโลหะ bronze ที่เรียกว่า เครื่องทองลงหิน ซึ่งมีส่วนผสมหลักเป็นทองแดงกับดีบุก
   
ในขณะที่คนไทยในพื้นที่ลุ่มภาคกลางกลับดูจะให้ความสำคัญกับเครื่องโลหะกรรมน้อยกว่าเครื่องไม้และเครื่องเคลือบดินเผา แต่เครื่องใช้ประจำวันที่จัดว่าดีก็ยังคงต้องเป็นเครื่อง bronze เช่น เครื่องเชี่ยนหมาก     ดูจะไม่มีอะไรเกี่ยวพันกับโลหะเงินมากนัก

ในแหล่งแร่บ่องาม ผมได้เห็นภาชนะคล้ายจานอาหารทำด้วยโลหะตะกั่ว และอุปกรณ์ประกอบเครื่องเชี่ยนหมาก (โถปูน ตะบันหมาก) ที่เป็นเครื่อง bronze (ทองเหลือง)   
ส่วนที่บ้านวังปาโท่ (น้ำท่วมไปแล้ว) ผมเห็นเฉพาะเครื่องเชี่ยนหมาก bronze

หมายความว่า ในเขตไทยมีแหล่งผลิต แต่ไม่มีการนำไปใช้ในปริมาณที่สัมพันธ์กัน หรือ ?     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 13 มี.ค. 15, 18:37

ก็มีเรื่องให้ชวนคิดอีกว่า

ด้วยเหตุใด อ.ศรีสวัสดิ์ ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ (ปัจจุบันจมอยู่ใต้น้ำของอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีฯ) จึงถูกตั้งขึ้นเป็นเมืองหน้าด่านตั้งแต่สมัย ร.1 (ตามประวัติเขาว่าอย่างนั้น)  ก็น่าจะบ่งชี้ว่า ก็ด้วยเหตุว่ามันอยู่บนเส้นทางยุทธการของทั้งฝ่ายพม่าและฝ่ายไทย กล่าวคือ มันเป็นเส้นทางลัดตัดจากเส้นทางคมนาคมตามแม่น้ำแควน้อย (ซึ่งเป็นเส้นทางของการเดินทัพหลัก) ไปสู่แม่น้ำแควใหญ่แล้วเลาะช่องเขาลงสู่ที่ราบภาคกลางของไทยได้ในหลายๆบริเวณ เช่น แถว อ.หนองรี อ.หนองปรือ อ.พนมทวน ของ จ.กาญจนบุรี หรือ อ.อู่ทอง ของ จ.สุพรรณบุรี

ซึ่งก็น่าจะแสดงว่ามันเป็นทางด่านที่มีใช้กันมานานนมเนแล้ว และก็น่าจะมีมาก่อนจะยุคกรุงศรีอยุธยาอีกด้วย 
ตามสภาพภูมิประเทศและที่ผมเคยเดินทำงานสำรวจ  ผมเห็นว่า จุดเริ่มต้นจากแม่น้ำแควน้อยของทางด่านเส้นนี้มีอยู่สองบริเวณ ได้แก่   
   บริเวณบ้านเกริงกราเวีย อ.ทองผาภูมิ โดยการเดินทวนน้ำขึ้นไปตามห้วยทองผาภูมิ แล้วตัดไปหาบึงเกริงกราเวียตามด่านสัตว์ (แถบบริเวณนี้มีโป่งดินที่สำคัญที่สัตว์ลงไปกินดินโป่งอยู่แห่งหนึ่ง เป็นโป่งใหญ่ มีนาๆสัตว์ลง ผมจำชื่อไม่ได้ครับ)  จากเกริงกราเวียก็เดินขึ้นเขาตามร่องห้วย ถึงทุ่งนางครวญ บ้านห้วยเสือ พื้นที่เหมืองสองท่อ ไปโผล่ลำเขางู ซึ่งหากขึ้นเหนือไปตามร่องเขาก็จะไปสู่บ่องาม (แหล่ง slag ตะกั่ว) หากลงใต้ตามร่องเขาผ่านบ้านพุเตย (ราชการเขาตั้งชื่อให้ใหม่ว่า บ้านภูเตย ซึ่งไม่สื่ออะไรเลย และเปลี่ยนความหมายจากพื้นทีๆมีพุน้ำและมีต้นเตยตามสภาพที่เป็นอยู่ ไปเป็นภูเขาที่มีต้นเตย) ก็จะลงสู่แควใหญ่ที่บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ (ที่จมน้ำไป)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 13 มี.ค. 15, 19:07

อีกจุดหนึ่ง คือ เดินย้อนห้วยลิ่นถิ่น ที่บ้านลิ่นถิ่น ก็จะเข้าไปเชื่อมพื้นที่บริเวณใต้แหล่ง slag หนานยะ ซึ่งสามารถลัดไปหาห้วยแม่ขมิ้น (น้ำตกแม่ขมิ้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว) ซึ่งก็จะลงไปสู่ อ.ศรีสวัสดิ์ (ที่จมน้ำ) เช่นกัน

จาก อ.ศรีสวัสดิ์ ก็ไปตามเส้นทางด่านสู้ห้วยแม่ละมุ่น จากนั้นก็สามารถจะแยกเดินได้หลากหลายเส้นทาง ไปโผล่ได้ตลอดแนวรอยต่อระหว่างที่ราบภาคกลางกับแนวทิวเขาทางตะวันตก  เส้นทางเหล่านี้มีการใช้สำหรับพ่อค้าวัวที่ต้อนฝูงวัวมากจากฝั่งพม่ามาขายในไทย จนถึงยุคปัจจุบัน

ก็น่าจะพอบ่งบอกว่า มันมีเส้นทางเชื่อมผ่านระหว่างพื้นที่ชายฝั่งทะเลพม่า (แถวทะวาย หรือ ร่างกุ้ง) ผ่านพื้นที่ในร่องน้ำของแควน้อย ผ่านพื้นที่ในร่องน้ำของแควใหญ่ สู่ที่ราบลุ่มภาคกลางของไทย   ซึ่งเป็นเส้นทางหนึ่งที่สำคัญเส้นหนึ่ง และก็เป็นเส้นที่ผ่านพื้นที่ที่มีการทำเหมืองแร่ตะกั่ว / เงิน ซึ่งผมเรียกพื้นที่นี้รวมๆว่า พื้นที่สองท่อ

เส้นทางนี้จะเก่าหรือไม่เพียงใดก็ไม่ทราบ แต่ก็คงจะต้องมีมาเก่าแก่นานโขอยู่ทีเดียว (ซึ่งน่าจะมากกว่า 800 ปี ตามอายุที่วัดได้จาก slag ตัวอย่างนึง) จนเป็นที่รู้จักกันของคนรุ่นต่อๆมา 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 14 มี.ค. 15, 18:43

ลืมไปอีกห้วยหนึ่งครับ ชื่อห้วยดิโส จากบ้านดิโสบนเส้นทางไป อ.ทองผาภูมิ เดินย้อนห้วยขึ้นไป สุดขุนห้วยก็จะไปถึงพื้นที่ราบเล็กๆผืนหนึ่ง ปัจจุบันเรียกกันว่า เนินสวรรค์ อยู่ระหว่างสถานที่ๆเรียกว่าบ่อน้อย กับ บ่อใหญ่  เส้นทางนี้ก็จะไปลงที่ อ.ศรีสวัสดิ์ เช่นกัน

สำหรับด้านลำน้ำแควใหญ่ เท่าที่ผมเคยสำรวจย้อนขึ้นไปตามแม่น้ำ ไปจนถึงบริเวณที่เคยคิดจะสร้างเขื่อนน้ำโจน พบว่าตั้งแต่ปากห้วยลำเขางูหรือคลองงูขึ้นไป ผมไม่เคยพบได้ยินหรือได้เห็นว่ามีทางด่านสัตว์ที่สำคัญทางด้านฝั่งตะวันตกของลำน้ำเลย แม้กระทั่งชื่อของสถานที่ต่างๆก็แทบจะไม่มี  มีแต่ชื่อของสถานที่ทางฝั่งน้ำด้านตะวันออก เช่น บ้านนาสวน (สัยก่อนนั้นเป็นหมู่บ้านที่ไปได้โดยทางน้ำอย่างเดียว) ปากลำขาแข้ง (เข้าไปในลำห้วยหาบ้านไก่เกียง เกริงไกร) ต่อด้วยหาดปะนา เป็นภาษากะเหรี่ยงที่แปลว่าหาดควาย เป็นพื้นที่ราบเล็กที่ฉ่ำชื้นและมีหญ้าขึ้น ที่หาดปะนานี้ เป็นแหล่งที่หากินและเดินเล่นของนกยูงไทย ผมเคยเห็นเป็นฝูงหลายสิบตัวรวมทั้งประเภทที่เรียกว่าสีดอด้วย (ตัวผู้ที่มีแพนหางหรอมแหรม) ถัดขึ้นไปก็เป็นบ้านองค์ทั่ง (ที่ปากห้วยองค์ทั่ง) ที่มีทางเดินเชื่อมต่อกับบ้านเกริงไกรในห้วยขาแข้ง (สงสัยว่าน่าจะต้องตั้งกระทู้เล่าภาพตามลำห้วยขาแข้งสมัย พ.ศ.2514)  ถัดขึ้นไปก็มีแต่แก่งมากมายไปจนสุดทางที่โป่งเหม็น ที่มีสัตว์หลายชนิดลง

ก็พอจะสรุปได้ว่า เส้นทางคมนาคมจากฝั่งแควน้อยมายังฝั่งแควใหญ่นั้น ทุกเส้นมาลงรวมกันที่ อ.ศรีสวัสดิ์ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 14 มี.ค. 15, 19:09

ภาพของเส้นทางคมนาคมลักษณะนี้ก็ทำให้คิดได้ 2 แบบหลักๆ คือ เป็นกิจกรรมไหลมาทางพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา หรือเป็นกิจกรรมไหลไปทางพื้นที่ลุ่มน้ำแควน้อย ในความหนาแน่นพอๆกันหรือหนักไปทางฝั่งใดฝั่งหนึ่ง

ผมได้เห็นเศษถ้วยชามที่มีลักษณะเนื้อ ลักษณะลวดลาย ลักษณะสีที่ใช้กับลวดลาย และเครื่องเชี่ยนหมากโลหะ (โดยเฉพาะฝาจุกขวดปูนแดงและเบ้าตะบันหมาก) ในพื้นที่เหมืองสองท่อและที่บ่องาม และที่แหล่งบ้านวังปาโท่ (ใกล้พื้นที่เจดีย์บุอ่อง)   ด้วยความรู้ที่น้อยของผม ผมเห็นว่าเศษชิ้นถวยชามนั้น มีทั้งแบบสมัยเตาเชลียง และแบบ white & blue ซึ่งก็น่าจะเป็นของสมัยสุโขทัยและอยุธยา 

ก็เลยนำพาให้ผมคิดว่า ในพื้นที่แหล่ง slag นี้ น่าจะต้องมีการทำเหมืองกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันกันพอควรเลยทีเดียว เพราะวัตถุที่พบดังกล่าวนั้นไม่น่าจะเป็นของผู้คนในระดับที่ใช้แรงงานเลย น่าจะเป็นของคนในระดับผู้ควบคุมหรือเจ้านายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจหรือมีฐานะทางสังคมระดับใดระดับหนึ่งเลยทีเดียว     

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง