เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 14
  พิมพ์  
อ่าน: 43731 สองท่อ...บนเส้นทางเดินทัพ
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 21 ม.ค. 15, 19:45

ได้อ่านพบว่า ก็มีทางสายไหมสั้นๆอยู่เส้นหนึ่ง เชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ตอนเหนือของอินเดีย ผ่านปากอ่าวมะตะบันของพม่า เข้าไปผ่านแถวๆพุกาม ต่อไปทางทิศตะวันออกเข้าไปตามร่องเขา (ผ่านพื้นที่แหล่งแร่ Bawdwin) เข้าไปสู่ต้าลี่ในจีน แล้วขึ้นเหนือต่อไปผ่านเชิงตู ไปสู่เส้นทางด้านเหนือในซีอาน

ก็แสดงว่า มีการลื่นไหลแลกเปลี่ยนทางวัฒธรรมกันบนเส้นทางนี้ด้วย
ซึ่งก็ดูเหมือนว่า พื้นที่ๆเป็นทิวเขาสลับซับซ้อน_ระหว่างที่ราบลุ่มของแม่น้ำอิระวดีกลางประเทศพม่า กับ พื้นที่ราบที่เป็นแอ่งระหว่างเขาต่างๆและพื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาในเขตไทย_นี้ เป็นพื้นที่ๆมีกลุ่มคนที่มีหลักคิดแบบทองคำนิยมและเงินนิยมอยู่ปะปนกัน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 22 ม.ค. 15, 17:44

ก็เป็นพื้นที่ๆมีกลุ่มชนหลากหลายอาศัยอยู่จริงๆ ทั้งในเขตพม่า ไทย ลาว และจีน     

ผมจำได้ว่าเมื่อแถวๆ พ.ศ. 2505 นั้น จ.เชียงราย เคยให้ข้อมูลจังหวัดว่า เชียงรายเป็นจังหวัดที่มีคนหลากหลายเผ่าอยู่ในพื้นที่มากที่สุด (มากกว่า 40 ชนเผ่า ? คิดว่าจำตัวเลขไม่ผิด)    ตั้งแต่ในช่วงวัยกระเตาะของผมจนผมจบการศึกษาและทำงานแล้ว  ผมได้พบผู้คนต่างเผ่าเหล่านี้ ทั้งประเภทที่ตั้งบ้านเรือนถิ่นฐาน และประเภทที่เดินเลาะอยู่ตามลำน้ำกก (น้ำแม่กก) น้่ำแม่ลาว ฯลฯ     

ซึ่งสำหรับตัวผมนั้น ผมมีข้อสรุปใน 2 เรื่อง คือ ผู้คนเหล่านี้ ต่างก็สื่อสารกับเราด้วยภาษาไทยที่มีสำเนียงและคำศัพท์ต่างกันไป (ก็คือใช้ภาษาในตระกูลภาษาไทย) แม้ว่าเขาจะมีภาษาพูดที่เราฟังออกยากก็ตาม    อีกเรื่องหนึ่งก็คือ แม้จะสื่อกันได้ไม่ยากในภาษาไทยแบบไทยเหนือ แต่หลายกลุ่มจะมีการเขียนและมีหลักนิยมในภาษาเขียนแบบจีน (ใช้ตัวอักษรจีน)       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 01 ก.พ. 15, 19:34

เมื่อเอาข้อมูลและข้อสังเกตในเชิงของประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ทรัพยากร และธรณีฯ ฯลฯ  ที่ผมได้กล่าวถึงแบบกระจัดกระจายอยู่ในกระทู้นี้  เอามาประมวลผสมผสานกัน ทำให้ผมได้เห็นภาพของประวัติศาสตร์ในอีกภาพหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องราวที่มีพัฒนาการต่อเนื่องกันมา คล้ายๆกับภาพวาดบนม้วนมู่ลี่ (ม่าน) ที่ค่อยๆเปิดคลี่ออกมาจากด้านบน (ด้านเหนือ) สูุ่ชายมู่ลี่ (ด้านใต้)

เรื่องราวที่ผม (นักวิชาการประวัติศาสตร์ตัวปลอม) เห็น อาจจะเป็นเช่นนี้ก็ได้ :-

   นานมาแล้ว ก่อนที่จะเริ่ม ค.ศ.  ได้มีการสื่อสาร มีการเชื่อมโยงกันทางวัฒนธรรมและการค้าระหว่างกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ๆเราเรียกว่ากันเส้นทางสายไหม  ความเชื่อมโยงนี้มีความต่อเนื่องกันจากพื้นที่ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ไปจนถึงกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เอซียกลาง ซึ่งต่อมาได้ขยายต่อเนื่องไปจนถึงพื้นที่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน   
   ในช่วงเริ่มต้น (+/-) ค.ศ.    ทางสายไหมนี้ ได้เริ่มกลายเป็นเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างอำนาจจักรวรรดิ์โรมัน (ยุคจักรพรรดิ์ Augustus ??) กับอำนาจจีน (ยุค Han ตอนปลาย ??)     ก็คงมีเรื่องราวในรายละเอียดมากมายที่จะค่อยๆขยายออกมา เนื่องจากเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ได้มีการขุดค้นพบสิ่งของทางโบราณคดีมากมายที่สามารถเล่าเรื่องราวในอดีตได้ (อาทิ แม้กระทั่งการ recycle สิ่งของ)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 02 ก.พ. 15, 18:23

เมื่อสองจักรวรรดิ์มาเชื่อมต่อกันอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น อีกทั้งยังได้มีความพยายามเชื่อมต่อความสัมพันธ์ทางการทูตต่อมาอยู่หลายครั้ง โดยเฉพาะที่เป็นการเริ่มจากทางฝ่ายจีน    ก็คงเป็นสิ่งที่แสดงถึงความสนใจและการเริ่ม look west ของจีน ซึ่งหมายถึงการที่จีนมีความสนใจและมีแนวโน้มที่จะรับหลักคิด/หลักนิยมบางอย่างจากแผ่นดินห่างไกลทางทิศตะวันตก แต่จะด้วยเหตุผลหรือแรงกระตุ้นตื้นลึกใดๆก็มิอาจทราบได้   

เรื่องหนึ่งที่จีนได้รับหลักคิด/หลักนิยมมาและพยายามปรับใช้ ก็คือ เรื่องของการใช้โลหะเงินเพื่อการเปรียบเทียบหรือกำหนดมูลค่าของสิ่งของหรือชิ้นงาน       ซึ่งหลักการใช้โลหะเงินนี้ได้มีการใช้อยู่ในแผ่นดินทางตะวันตกมานับพันปี (โลหะเงินจากแหล่งในตุรกี) ต่อเนื่องเข้าไปในยุคกรีกโบราณ (โลหะเงินจากแหล่ง Laurium ในกรีกเอง) ต่อเนื่องเข้ามาในยุคของโรมันก่อนเริ่ม ค.ศ. (โลหะเงินจากแหล่งในสเปน)

ในช่วงต้นๆของ ค.ศ.นี้ การใช้โลหะเงิน (แทนโลหะทองแดงหรือเหล็ก) ในจีนไม่ประสบผลสำเร็จนัก  ข้อจำกัดที่สำคัญประการหนึ่งคือ จีนในยุคนั้นยังไม่พบแหล่งแร่โลหะเงินมากนัก และยังไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับความต้องการใช้    โลหะเงินก็เลยกลายเป็นหนึ่งในสิ่งของสำคัญ (สินค้า) ที่จีนต้องการจะได้จากกิจกรรมบนเส้นทางสายใหมเส้นนี้     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 04 ก.พ. 15, 20:32

เมื่อโลหะเงินเริ่มมีความสำคัญในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น มีความต้องการมากขึ้น ก็คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทุกคนก็พยายามแสวงหาและอยากจะเป็นเจ้าของ  ก็น่าจะเป็นภาพที่ไม่ต่างไปจากภาพของการตื่นทองที่เคยเกิดใน California, Alaska, Australia, S.Africa หรือที่กำลังเกิดใน Ghana   เพียงแต่อาจจะไม่มีความเข้มข้นดังภาพของการตื่นทอง

ผลของสภาพดังกล่าวนี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดชุมชนใหม่กระจัดกระจาย ซึ่งพัฒนาต่อไปเป็นชุมชนขนาดต่างๆ จนในที่สุดก็เป็นโครงสร้างของระบบชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด แคว้น ฯลฯ

 
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 04 ก.พ. 15, 22:02

ฟังคำบรรยายของอาจารย์naitangมาตลอด
อยู่หลังห้องนี่แหละ บันทึกเก็บไว้เยอะแล้วครับ
ติดตามอยู่นะครับ ไม่ได้หลับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 05 ก.พ. 15, 15:11

   ในช่วงเริ่มต้น (+/-) ค.ศ.    ทางสายไหมนี้ ได้เริ่มกลายเป็นเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างอำนาจจักรวรรดิ์โรมัน (ยุคจักรพรรดิ์ Augustus ??) กับอำนาจจีน (ยุค Han ตอนปลาย ??)     ก็คงมีเรื่องราวในรายละเอียดมากมายที่จะค่อยๆขยายออกมา เนื่องจากเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ได้มีการขุดค้นพบสิ่งของทางโบราณคดีมากมายที่สามารถเล่าเรื่องราวในอดีตได้ (อาทิ แม้กระทั่งการ recycle สิ่งของ)   

ถ้าว่าเรื่องเส้นทางสายไหมครั้งแรก ถ้าจะนับในยุคราชวงศ์ฮั่น เจาะลงไป  เส้นทางสายไหมจะเริ่มในยุคของจักรพรรดิ์ฮั่นอู่ (ฮั่นบู๊เต้) ก็จัดว่าเป็นระยะของกลางค่อนไปทางปลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันตก  แต่ถ้านับทั้งราชวงศ์ (ฮั่นตะวันตก : ซีฮั่น + ฮั่นตะวันออก : ตงฮั่น)  เส้นทางสายไหมจะเริ่มในช่วงกลางของราชวงศ์ฮั่นครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 05 ก.พ. 15, 15:36

 
      กลุ่มชนชาติในแผ่นดินจีนพอจะจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มคนในพื้นที่ด้านเหนือ เป็นพวกวัฒนธรรมข้าวสาลี (wheat)  และ กลุ่มคนในพื้นที่ด้านใต้ เป็นพวกวัฒนธรรมข้าว (rice)

แน่นอน ยังไงๆจีนในดินแดนด้านเหนือ ก็ต้องขยายอิทธิพลลงมาครอบคลุมกลุ่มคนในดินแดนด้านใต้ เพื่อจะได้เพิ่มพูนโภคทรัพย์ของตนเอง  แล้วก็คงต้องเข้ามาในลักษณะที่นุ่มนวล เพราะพื้นที่มันกว้างขวางมากเหลือเกิน แถมยังอยู่เป็นกระจุกๆแบบกระจายอีกด้วย

ถ้าจะดูเชิงนโยบายของคนจีนตอนเหนือแม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) ต่อคนทางตอนใต้ของแม่น้ำฉางเจียง คงต้องแบ่งเป็นยุค ๆ ไปล่ะครับ ว่าจะดูยุคไหน เพราะแต่เดิมถ้าว่ากันไป ในแผ่นดินจีนปัจจุบันย้อนไปเมื่อประมาณ ๔-๕ พันปีก่อนนั้น

เผ่าที่เรียกตัวเองว่า หัวเซี่ย (ที่คนไทยเรามักจะคุ้นหูว่าคนจีนฮั่น) ก็เป็นแค่เผ่าหนึ่งในที่ราบลุ่มแม่น้ำเหลือง(ฮวงโห)เท่านั้น มาภายหลังด้วยนโยบายทั้งการผูกมิตร และเอื้อประโยชน์ต่อเผ่าอื่น ๆ รอบ ๆ  จึงทำให้ จีชาง (พระนามเดิมของ จักรพรรดิโจวเหวิน : จิวบุ๋นอ๋อง)  สามารถรวบรวมเผ่าต่าง ๆ รอบ ๆ เผ่าตัวเอง เข้าเป็นกองทัพพันธมิตร โค่นล้มอำนาจเดิมของ จักรพรรดิโจวหวัง(จิวอ๋อง) แห่งราชวงศ์ซางลงได้  จึงได้เกิดราชวงศ์โจวขึ้นมา
ซึ่งก็ยังไม่ได้มีการพัฒนาลงมายังเขตใต้แม่น้ำฉางเจียงเท่าไร  สังเกตได้จากเหตุการณ์ที่ ฉู่จวงหวัง (King Zhuang of Chu ) โมโหมาก ที่ตัวเองไม่ได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดิราชวงศ์โจว ให้ยกระดับศักดินาของตัวเองจากสามนตราชองค์หนึ่ง ให้เป็นอธิราชองค์หนึ่งในยุคนนั้น เนื่องมาจากแคว้นฉู่ อยู่ในบริเวณพื้นที่กันดาร จะบอกว่าบ้านนอกก็ไม่ผิด เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ และบางส่วนก็อยู่ตอนใต้ของแม่น้ำฉางเจียง

ดังนั้นนโยบายต่อคนพื้นที่เดิม จะบอกว่านิ่มนวล ผมก็ว่าไม่นิ่มมาก แต่มาในลักษณะแต่งตั้งมาปกครอง และขยายพื้นที่โดยการขนคนตัวเองลงมาอยู่มากกว่า แนวเดียวกับที่กำลังทำในธิเบต และ ซินเจียงตอนนี้

ส่วนคนพื้นถิ่นเดิมที่เป็นเผ่าต่าง ๆ แทบไม่มีโอกาสมากนักในการเข้ามามีส่วนร่วม เพราะบ่อยครั้งก็เกิดการก่อการกบฏ ลุกขึ้นสังหารผู้ปกครองจากส่วนกลางที่เข้ามา "ขูดรีด" จากคนในพื้นถิ่น  ที่เห็นชัด ๆ ก็จะแถบส่วนของในมณฑลซื่อฉวน (เสฉวน) ที่มีบันทึกไว้ก็ไม่น้อย ต้องปราบปรามกันก็บ่อย ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 05 ก.พ. 15, 19:40

ขอบคุณที่ได้ช่วยขยายรายละเอียดตามประวัติศาสตร์ครับ
 
ผมมีความรู้จำกัดในเรื่องทางประวัติศาสตร์       เท่าที่ได้สนใจอ่านมา ผมมีข้อสังเกตว่า บันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์บนผืนแผ่นดินใดๆที่มีกลุ่มชนต่างพวกอาศัยอยู่ห่างกันไม่ไกลมากนัก (ในระยะทางไม่ลำบากมากนักที่จะเดินทางยกพวกเข้าห้ำหั่นกันได้) บันทึกเรื่องราวต่างๆที่บันทึกโดยผู้ที่เกี่ยวข้องและมีการเผยแพร่ มักจะอยู่ในบริบทของเรื่องทางอิทธิพลและอำนาจ มีน้อยนักที่จะกล่าวถึงความตั้งใจในบริบทของการแย่งชิง/การเข้าครอบครองแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ 

ที่คุณ samun007 ได้ยกเรื่องบันทึกทางประวัติศาสตร์มานี้  ก็เป็นเรื่องในบริบทของอิทธิพลและอำนาจ ซึ่งมีพัฒนาการอยู่ในกรอบเวลาเดียวกันกับเรื่องในบริบทของความต้องการทางทรัพยากร 
     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 08 ก.พ. 15, 18:59

ครับ
เมื่อจบยุคฮั่น ก็เกิดยุคสามแผ่นดิน คือ
   - กลุ่มแผ่นดิน Wei อยู่ทางเหนือ คลุมพื้นที่แม่น้ำฮวงโหจนถึงพื้นที่ด้านเหนือของแม่น้ำแยงซีเกียง  ซึ่งอาจจะอนุมานได้ว่าว่าเป็นพวกชาวพื้นที่ราบลุ่ม (พื้นที่ราบน้ำท่วมถึง_floodplain),
   - กลุ่มแผ่นดิน Wu อยู่ทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ คลุมพื้นที่แม่น้ำแยงซีเกียงและพื้นที่ชายฝั่งทะเลจีนใต้  ซึ่งอาจจะอนุมานได้ว่าเป็นพวกที่มีวิถีชีวิตหรือใช้ชีวิตกับพื้นที่ประเภทที่ราบลอนคลื่น (undulating terrain) และพื้นที่ชายฝั่งทะเล (coastal plain)
   - และกลุ่มแผ่นดิน Shu อยู่ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ คลุมพื้นที่ๆเกือบทั้งหมดที่เป็นป่าเขา ก็อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นพวกที่ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ๆเป็นป่าเขาสูงและในที่ราบในแอ่งระหว่างเขา (mountain range, intermountain basin)

ก็น่าสนใจเมื่อมองย้อนกลับ    ในพื้นที่ Wu ด้านตะวันออก ก็มีนโยบายและการดำเนินการขุดคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำด้านเหนือกับด้านใต้ เพื่อการคมนาคม การขนส่งสินค้าและทรัพยากร ซึ่งเป็นทิศทางและนโยบายที่ยึดถือการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมานับร้อยๆปีก่อน ค.ศ.    ซึ่งก็อาจจะพอกล่าวได้ว่า เพื่อเอื้ออำนวยแก่เส้นทางการค้าและการขนถ่ายทรัพยากรไปสู่เมืองหลักทางเหนือ   

แล้วสินค้าที่จะออกมาจากพื้นที่ในลักษณะที่ได้กล่าวถึงน่าจะได้แก่อะไรบ้าง    ก็คงไม่หนีไปจากทรัพยากรในกลุ่มแร่ธาตุ พืชพรรณธัญญาหาร และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 08 ก.พ. 15, 19:36

ในพื้นที่ Shu ด้านตะวันตกก็น่าสนใจ  มันเป็นพื้นที่ๆคลุมเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างแผ่นดินด้านเหนือของอินเดีย ผ่านพม่าตอนบน (พุกาม / มัณฑะเลย์) ผ่านย่านหนองแส (ต้าลี่) และไปเชื่อมกับเส้นทางสายไหมเส้นหลักแถวซีอาน  เส้นทางเส้นนี้น่าจะต้องมีความสำคัญอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว  มิฉะนั้นจักรพรรดิ์ในยุคฮั่นคงจะไม่ส่งคนลงมาดูแลพื้นที่ (เฉกเช่นเดียวกับพื้นที่ๆเป็น Wu)

น่าสนใจตรงที่ผู้ปกครองของพื้นที่ๆเป็นป่าเขาของ Shu มีความแข็งแกร่งพอที่จะสถาปนาตนเองได้เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองของพื้นที่ Wu ทั้งๆที่มีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่การผลิตทางเกษตรกรรม

ผมเห็นว่า ความแข็งแกร่งหรือความรู้สึกถึงระดับความสำคัญของตนเองของพื้นที่พวก Shu น่าจะมาจากเรื่องของความสมบูรณ์และผลผลิตจากทรัพยากรแร่เป็นหลัก ทั้งนี้ ก็อาจจะมีเรื่องของสินค้าจากสัตว์และพืชพรรณไม้จากป่ารวมอยู่ด้วยบ้าง (พืชสมุนไพร_herbs  และเครื่องเทศ_spices บางชนิด)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 09 ก.พ. 15, 18:49

ผมมีความเห็นว่า  อาจจะเป็นเพราะพื้นที่ของพวก Shu เป็นพื้นที่ป่าเขา ซึ่งไม่สะดวกสำหรับการใช้กำลังจากส่วนกลางของจีนในการข่มขู่/บังคับ    หรือ เพราะเป็นพื้นที่ที่เป็นแหล่งวัตถุที่มีความสำคัญในระบบการค้า/เศรษฐกิจ (พวกโลหะในตระกูล เงิน ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี  ซึ่งมักจะเกิดอยู่ร่วมกันในแหล่งแร่เดียวกันหรือในพื้นที่บริเวณเดียวกัน _ Gold silver copper lead zinc deposit) จนอาจจะทำให้เป็นพื้นที่ในลักษณะ no man's ระหว่างอำนาจทางตะวันตก (ในพื้นที่ของพม่าและอินเดีย) กับ อำนาจของจีน  และก็อาจจะเพราะด้วยความมั่งมีของโลหะอันเป็นที่ต้องการของทั้งสองฟากอำนาจ  พื้นที่ด้านตะวันตกของจีนส่วนนี้จึงมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี จึงได้มีประตูและเส้นทางเปิดไปสู่การพัฒนาจนเกิดเป็นอาณาจักรใหม่ _ ต้าลี่ ในอีกหลายร้อยปีต่อมา   

 

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 18 ก.พ. 15, 20:25

เกิดต้าลี่แล้วก็เกิด Song ตามมา ซึ่งต่อมาไม่นานในยุค Song ก็มีการขยับปรับแยกเป็น Song เหนือ กับ Song ใต้   

สำหรับผม ความน่าสนใจอยู่ตรงที่เกิดการย้ายศูนย์อำนาจของ Song จากพื้นที่ทางเหนือเหนือลงมาไว้ที่พื้นที่ทางใต้    ด้วยที่ผมมีความเชื่อพื้นฐานส่วนหนึ่งว่า ความต้องการทรัพยากรของมนุษย์นั้น เป็นมูลฐานที่ทำให้เกิดเรื่องราวในประวัติศาสตร์ต่างๆ   ค้นไปค้นมาก็เจอว่า อ้าว พวก Song มีปัญหากับพวก Liao ที่อยู่ในพื้นที่ด้านเหนือติดกับเขตของ Song นั่นเอง   มิน่าเล่า Song จึงแยกตัว ต้องลงใต้    ก็มีข้อมูลสนับสนุนอยู่บ้างว่า ในยุคของ Song ใต้นั้น มีการส่งบรรณาการเป็นเงินให้กับ Liao      เป็นเราๆก็คงต้องการครองแหล่งทรัพยากรที่เป็นสมบัติที่อยู่ในไหใต้ดินไว้ก่อนเนอะ   

ภาพดังที่เล่ามานี้ น่าจะแสดงให้เห็นอย่างน้อยใน 3 เรื่อง คือ ในพื้นที่จีนตอนใต้และตะวันออกเฉียงใต้นั้น อุดมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุในกลุ่มที่ให้โลหะเงิน   อีกเรื่องนึงคือ มีการใช้โลหะเงินเป็นตัวแทนของมูลค่าของสิ่งต่างๆ  และเรื่องสุดท้าย น่าจะเป็นช่วงต้นๆของการเคลื่อนของประชากรกลุ่มที่ใช้ภาษาในตระกูลภาษาไทยขยับลงสู่พื้นที่ลงไปทางใต้

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 22 ก.พ. 15, 20:38

นั่นเป็นภาพของพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้และทางใต้ของจีน
     
สำหรับภาพของพื้นที่ทางด้านตะวันตกของจีนตอนใต้นั้น  ผมมีข้อสังเกต คือ ด้วยเหตุใดจึงเกิดเส้นทางสายไหมส่วนนี้ เชื่อมระหว่างอินเดียตอนบน ข้ามพม่าตอนบน ไปผ่านต้าลี่ แล้วขึ้นเหนือไปเชื่อมกับเส้นทางหลักแถวซีอานในจีน ที่เชื่อมต่อเข้าไปถึงพื้นที่ในยุโรป     แม้ว่าจะมิใช่เรื่องแปลกที่จะไปมาหาสู่กันระหว่างผู้คนในอินเดียกับจีน แต่มันก็ควรมีพื้นฐานบางประการที่ทำให้เกิดการเชื่อโยงกันในลักษณะที่ทำให้เส้นทางนี้มีความมั่นคงจนปรากฎอยู่ในประวัติศาสตร์

ในภาพรวมของเส้นทางนี้ ทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ๆเป็นพื้นที่ป่าเขา (mountain range)   ทั้งนี้ สำหรับส่วนที่อยู่ในเขตอินเดียนั้น สามารถจัดเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางพืชพรรณ แต่ไม่น่าจะใช่ประเภทไม้เครื่องเทศแน่ๆ เพราะพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลค่อนข้างมาก มิใช่เขตร้อนชื้นแบบที่ไม้เครื่องเทศทั้งหลายชอบขึ้นและออกดอกผล   จึงน่าจะตัดเรื่องเครื่องเทศบนเส้นทางส่วนนี้ออกไปได้   สินค้าอื่นๆที่สำคัญก็น่าจะได้แก่ หนังสัตว์ โลหะ (เงิน ทองคำ ทองแดง) และเกลือ         
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 23 ก.พ. 15, 20:30

ตังผมเองจำแนกพื้นที่ของอินเดียออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
   พื้นที่เนินตีนเทือกเขาหิมาลัย   มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลอนคลื่น เป็นพื้นที่ๆเกิดจากการสะสมตัวของหินดินทรายที่ไหลลงมาจากพื้นที่เขาสูง  ทั้งในรูปของน้ำพัดพามา (fluvial sediments) การกลิ้งไหลตามร่องเขาชัน (talus sediments) การถล่มทลายลงมา (debris avalanche) จึงเป็นพื้นที่ๆมีความหลากหลายทางทรัพยากร ทั้งในเชิงของพืชพรรณและในเชิงของแร่ธาตุ
   พื้นที่ราบตอนกลางของประเทศ   เป็นพื้นที่ราบของแผ่นดินยุคเก่าแก่ (อายุกาลทางธรณีฯ) มีความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติ (diversity) น้อยกว่าพื้นที่แรก และมีชนิด (varieties) น้อยกว่าอีกด้วย     
   พื้นที่ตามชายฝั่งทะเล

จำแนกออกมาก็เพื่อจะชี้ว่า เมื่อทิวเขาหิมาลัยซึ่งเป็นทิวต่อเนื่องเข้าไปในยุโรป ที่เรียกว่า Alpine Himalayan mountain range นั้นเป็นแหล่งต้นทางและที่มาของทรัพยากรที่เป็นความต้องการของมนุษยชาติในยุคต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นเกลือ (rock salt) เครื่องประดับและรัตนชาติ (lapidary & precious stone) โลหะพื้นฐาน (copper, lead, zinc) โลหะมีค่า (precious metals _ ทองคำ เงิน)  โลหะยุทธปัจจัย (steel, copper ฯลฯ)  และ ฯลฯ      ....ก็น่าที่...พื้นที่ตีนเทือกเขาหิมาลัยตลอดแนวดังที่กล่าวถึง จะเป็นแหล่งผลิตของผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของผู้คนในพื้นที่อื่นๆ 
 
 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.086 วินาที กับ 19 คำสั่ง