naitang
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 02 พ.ย. 14, 19:27
|
|
พม่ากับไทยเป็นคู่รักคู่แค้นกันมาแต่ยุคสมัยใดก็มิรู้ได้ รู้แต่ว่ามันถูกถ่ายทอดต่อๆมาจนถึงยุคปัจจุบัน และก็มิใช่เฉพาะแต่ฝ่ายคนไทยเท่านั้น คนพม่าเองก็เช่นกัน เมื่อครั้งไปประจำการอยู่ในออสเตรีย (ช่วง เริ่มต้นปี ค.ศ.2000) คนพม่าที่ได้พบยังแนะนำตนเองติดตลกว่า I'm your bad neighbor ในประสบการณ์ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะพบกันในเวที (นานาชาติใด) ก็ตาม พม่า เขมร และไทย ดูจะไม่นิยมเจ๊าะแจ๊ะสังสรรกันเลย
เมื่อไทยเริ่มเรืองอำนาจและขยายพื้นที่เขตขันธ์ตรงกลางระหว่างพม่าทางด้านตะวันตก กับ เขมรด้านตะวันออก เมื่อแรกเริ่มยุคสุโขทัยนั้น ซึ่งดูเหมือนว่าเราก็จะเริ่มมีปัญหากับพม่านับแต่นั้นมา ส่วนเขมรนั้นอยู่ในอำนาจขาลงจึงไม่ค่อยจะมีเรื่องมากนัก ทั้งนี้ก็เป็นในยุคพร้อมๆกับยุคแรกเริ่มของล้านนาของลุ่มน้ำกก
พม่า ซึ่งอยู่ในพื้นที่ลุ่มของระบบลำน้ำอิระวดีมาก่อน และซึ่งได้รับอิทธิพลของความเจริญก้าวหน้าของอินเดีย ก็ย่อมมีความรู้สึกเคืองขุ่นใจอยู่แน่ๆ ที่อยู่ดีๆก็มีการขยายเขตอิทธิพลของชุมชนรายใหม่ในลุ่มเจ้าพระยา และในลุ่มน้ำกกและน้ำปิง เพียงข้ามไปเพียงเทือกเขาเดียวเท่านั้น คือ เทือกเขาตะนาวศรีสำหรับไทย (ยุคต้นสุโขทัย) และเทือกเขาที่ขั้นระหว่างแม่น้ำสาละวินกับพื้นที่ของแม่ฮ่องสอนและแอ่งเชียงใหม่ (สำหรับล้านนา)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 03 พ.ย. 14, 14:41
|
|
พม่ากับไทยเป็นคู่รักคู่แค้นกันมาแต่ยุคสมัยใดก็มิรู้ได้ รู้แต่ว่ามันถูกถ่ายทอดต่อๆมาจนถึงยุคปัจจุบัน และก็มิใช่เฉพาะแต่ฝ่ายคนไทยเท่านั้น คนพม่าเองก็เช่นกัน
เท่าที่เคยสนทนาวิสาสะกับคนพม่า ได้รับทราบถึงความชื่นชมของคนพม่าเมื่อทราบว่าเราเป็นคนไทยไม่ว่าคนในเมืองหรือชนบท ตรงกันข้ามกับความรู้สึกของคนไทยต่อคนพม่าที่หลายคนยังถือว่าเป็นคู่แค้นกันอยู่ อาจเป็นเพราะเรื่องในประวัติศาสตร์โดยเฉพาะการเผากรุงศรีอยุธยา ความรู้สึกนี้อาจเปรียบได้กับที่คนไทยรู้สึกเป็นมิตรต่อคนลาวจนนับเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันทีเดียว ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกเคืองนักกับการนับเป็นพี่เป็นน้องกับคนไทย เรื่องที่อยู่ในใจก็อาจเป็นเรื่องที่ถูกไทยเผาเมืองเช่นกัน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 03 พ.ย. 14, 20:32
|
|
ในภาพหนึ่ง มีความถูกต้องไม่ผิดเพี้ยนเลยตามที่คุณเพ็ญชมพูดกล่าวมาครับ
ในขณะที่ก็มีอีกภาพหนึ่ง ซึ่งผมได้ประสบเสมอมา ก็น่าสนใจที่ เมื่อใดที่ระดับประชาชนเป็นมิตรต่อกัน ระดับรัฐมักจะเป็นในอีกภาพหนึ่ง ยิ่งบนโต๊ะในเวทีนานาชาติ อือม์ แรงเลยทีเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 03 พ.ย. 14, 20:34
|
|
"ชาติหว่านสงคราม ประชาชนหว่านความรัก"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 04 พ.ย. 14, 18:24
|
|
ก็ประมาณนั้นแหละครับ
จากระดับทวิภาคี (bilateral) ก็ขยายเป็นระดับพวก (plurilateral) แล้วก็ขยายเป็นระดับภูมิภาค (regional หรือ subcontinent) แล้วก็ต่อไปเป็นระดับโลกแบ่งออกเป็นค่าย (sociopolitical ideology)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 04 พ.ย. 14, 19:18
|
|
เรื่องของสองท่อจะเริ่มต้นเมื่อนานมาแล้วเพียงใดก็ไม่ทราบได้ แต่ก็พอจะรู้จากหลักฐานที่ (อาจจะทึกทักเอาได้ว่า) มีความสอดคล้องกัน (ไม่กี่อย่าง) ว่าเรื่องก็คงเริ่มแถวๆประมาณ 800 ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้มาจากพื้นฐานที่เป็นทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็คือ จาก C14 dating (แล้วค่อยๆขยายความครับ)
ก่อนจะไปไกลกว่านี้ ขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำว่า สองท่อ เสียก่อนครับ ว่าคืออะไร และอยู่ที่ใหน
สองท่อ เป็นชื่อเรียกพื้นที่ๆพบหลุม (คล้ายบ่อน้ำ) แฝดติดกันสองหลุุม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 80 ซม.- 1 ม. ลึกไม่เกินประมาณ 4 ม. ที่ก้นหลุมมีโพรงขนาดไม่เกินประมาณ 50 ซม. เชื่อมต่อกัน
สองหลุมแฝดเหล่านี้พบในพื้นที่ของบริเวณหมู่บ้านเหมืองสองท่อ (ต.ชะแล อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ สองท่อ นั่นเอง และซึ่งตัวผมเองไม่ได้เคยมีโอกาสได้เห็นกับตาในพื้นที่นี้ พื้นที่ๆผมได้ไปเห็นกับตาและได้มีโอกาสสัมผัสกับมันนั้น ไปอยู่ในพื้นที่ราบทางด้านตะวันออกใกล้ๆบริเวณหมู่บ้านเกริงกราเวีย (ในปัจจุบัน สะกด เกริงกระเวีย) หรือก็คือด้านฝั่งขวาของเส้นทางรถ (จาก อ.ทองผาภูมิ ไป อ.สังขละบุรี) เมื่อพ้นทางลาดชันเข้าสู่เขตบ้านเกริงกราเวีย โดยเฉพาะช่วงก่อนถึงทางแยกขึ้นเขาไปหาหมู่บ้านสองท่อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 04 พ.ย. 14, 19:26
|
|
สองท่อ บนฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์นั้น มีชีวิตชีวาทีเดียวในช่วงระยะเวลาประมาณ 800 ปีที่ผ่านมาช่วงหนึ่ง อีกช่วงหนึ่งก็ประมาณ 400 ปีที่ผ่านมา อีกช่วงหนึ่งตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ช่วงประมาณ ร.3 ต่อมาก็ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วก็ช่วงสุดท้ายในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมานี้เอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 04 พ.ย. 14, 19:42
|
|
ประมาณ 800 ปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์อะไรบ้างในภูมิภาคนี้ ?? กุ๊บไลข่านลุยพม่า ?? ราชวงค์หยวนของจีน ?? กำเนิดยุคสุโขทัย ?? ขอมถอยหายไปจากพื้นที่แถบนี้ ?? ?? ฯลฯ
ประมาณ 400 ปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์อะไร ?? ยุคกรุงศรีอยุธยา อุตลุดอยู่กับพม่าและต่างชาติ ??
สงสัยอยู่นะครับว่า ไม่รู้ว่าจะนำพากระทู้นี้ไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 04 พ.ย. 14, 19:53
|
|
ดิฉันมาช่วยลุ้นค่ะ ก่อนอื่น ขอถามว่า หลุม (คล้ายบ่อน้ำ) แฝดติดกันสองหลุุม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 80 ซม.- 1 ม. ลึกไม่เกินประมาณ 4 ม. ที่ก้นหลุมมีโพรงขนาดไม่เกินประมาณ 50 ซม. เชื่อมต่อกัน ทั้งหมดนี้เป็นหลุมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือว่าเกิดจากมือมนุษย์ทำ หรือว่าผสมผสานกัน ทั้งสองอย่าง
ถ้าเกิดจากธรรมชาติ มันเกิดได้อย่างไร ถ้าเกิดจากมือมนุษย์ ขุดเอาไว้ทำไมคะ
ถามเชิงภูมิศาสตร์ก่อน แล้วค่อยสาวต่อไปทางประวัติศาสตร์ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 04 พ.ย. 14, 21:27
|
|
ชอบพระคุณมากครับ
สองท่อนี้เป็นหลุมที่คนขุดขึ้นมา ก็เพื่อเอาแร่ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นก้อนแบนๆขนาดเขื่องกว่าขนาดของขนมคุ๊กกี้ประกบกัน บางก้อนก็ใหญ่ขนาดเกือบฝ่ามือ มีสีชมพู เป็นแร่ที่เกิดในธรรมชาติจากการผสมกันของสารละลายจากแร่สังกะสี ชื่อ Smithsonite กับ สารละสายเหล็ก สมัยโบราณเรียกว่าแร่ Calamine (ชื่อและสีเช่นเดียวกับยาทาแก้ผื่นคัน calamine )
แร่ตัวนี้ในสมัยก่อนใช้เป็นตัวให้ธาตุสังกะสีที่เอามาหลอมรวมกับทองแดง ซึ่งจะกลายเป็นทองเหลือง ซึ่งเป็นโลหะยุทธภัณฑ์ประเภท alloy ที่สำคัญชนิดหนึ่งในการทำศึกสงคราม
จากสนทนากับชาวบ้าน เขาก็ได้เล่าเรื่องราวที่รับรู้สืบทอดกันมาว่า มันหลอมละลายได้ง่ายมาก โดยใช้ฟืนไม้ไผ่ ซึ่งจะให้ความร้อนที่สูงมากพอที่จะทำให้มันหลอม และได้โลหะออกมา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 04 พ.ย. 14, 21:35
|
|
Calamine เป็นอย่างรูปนี้หรือเปล่าคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 04 พ.ย. 14, 21:46
|
|
เกริงกราเวียตั้งอยู่บนเส้นทางเดินทัพทั้งของไทยและพม่า ซึ่งผมเข้าใจว่าน่าจะมีการใช้ตั้งแต่สมัยอยุธยา และมาใช้ครั้งสุดท้ายในสมัยสงครามเก้าทัพ ทั้งไทยและพม่าคงจะได้มีการจัดลำดับให้ความสำคัญกับเส้นทางนี้อย่างต่อเนื่องมานานและมากพอควรเลยทีเดียว สำหรับของไทยเรานั้น ก็จนล่วงเข้ามาถึงสมัย ร.5 ซึ่งยังคงได้ทรงตั้งกะเหรี่ยงเป็นผู้ดูแลเมือง (อำเภอ) สังขละบุรี ชื่อ พระศรีสุวรรณคีรี อันชื่อเมืองสังขละซึ่งเป็นเมืองแรกหน้าด่านนับจากเจดีย์สามองค์นี้ ว่ากันว่าเพี้ยนมาจากคำว่าสามแคว (แม่น้ำบีคลี่ ซองกาเลีย และรันตี) ซึ่งชนพื้นบ้านออกเสียงไม่ชัดเจน เป็น แซงแคล ก็เลยเพี้ยนต่อมาเป็นสังขละ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 04 พ.ย. 14, 21:52
|
|
ในลักษณะคล้ายดังภาพครับ ที่พบในย่านนี้จะมีลักษณะคล้ายของสองแผ่นประกบกัน มีสีผิวเป็นสีขาวคล้ายกับโรยแป้งมา ส่วนเนื้อในคล้ายแก้ววาวดังภาพของอาจารย์ เพียงแต่มีสีชมพูสดใสกว่า เหมือนยา calamine ที่แห้งกรังอยู่บนผิวเรา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 04 พ.ย. 14, 22:25
|
|
ความน่าสนใจของสองท่อก็คือ ตั้งอยู่ในทิวเขาหินปูนยุคหนึ่งซึ่งวางตััวเป็นแนวยาวเข้าไปในพม่า ไปยุติที่ขอบแอ่งที่ราบกลางประเทศของพม่า (หินปูนยุคนี้ในพื้นที่ย่านเรา (ไทย พม่า) พบผลึกแร่ตะกั่วชื่อ Galena ประปรายอยู่ในเนื้อ และก็พบแหล่งแร่ตะกั่วในเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีการ ทำเหมืองเป็นช่วงๆต่อเนื่ิองกันมาดังที่ได้กล่าวถึงแล้ว)
ในพม่า แถบรัฐฉานตอนบน แถวบ้านน้ำตู ก็ได้พบแหล่งแร่ตะกั่ว สังกะสี และเงิน ในหินอีกชุดหนึ่ง พบมาตั้งแต่ประมาณต้นยุคสุโขทัยโน่น แหล่งนี้จัดเป็นแหล่งใหญ่ระดับโลกเลยทีเดียว ซึ่งทั่วโลกรู้จักกันในชื่อเหมือง Bawdwin จีนก็ได้เอาเงิน สังกะสี และตะกั่วจากแหล่งนี้ไปใช้มากมายตั้งแต่แรก ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง แหล่งแร่นี้ผลิตเงินออกไปมากที่สุดในโลกเลยทีเดียว
ผมคงต้องเล่าเป็นท่อนๆ ในบางขณะ แล้วค่อนเอาเรื่องมาผูกกันนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กะออม
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 05 พ.ย. 14, 04:59
|
|
ชื่อสถานที่ต่างๆในพื้นที่นี้ มีเอกสารและแผนที่ประวัติศาสตร์ยืนยันชัดเจน
สังขละ ในแผนที่เขียนว่า สงขลา บ้าง สังขลา บ้าง มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อ พระสิงขร เป็นไปได้ว่า มาจากสิงขร แล้วค่อยเลือนเป็น สังขลา สังขละ ไปจนถึง ซองกาเลีย
เกริงกาเวีย ในแผนที่เก่า เขียนว่า เกรียงไกร มีลำห้วยเกรียงไกรด้วยถ้าจำไม่ผิด แล้วชื่อนี้ค่อยเพี้ยนเป็น เกริงกาเวีย ตามการออกเสียงของช้าวบ้าน ต่อมาจึงแปลความหมายตามเสียงเรียกชื่อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|