เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 43724 สองท่อ...บนเส้นทางเดินทัพ
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 18 ธ.ค. 14, 18:34

จากยุคราชวงค์ฮั่นต่อเนื่องมาจนเข้าสู่ยุคราชวงค์ถัง  ต้นพุทธกาลพอดี  พุทธศาสนาแพร่ขยายไปทั่วเอเซีย ไปไกลถึงดินแดนอิหร่าน  ศาสตร์และศิลป์ต่างๆของแต่ละถิ่นกระจายคละกันเป็นวงกว้าง   

โลหะเงินเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ถูกนำน้ำหนักของมันมาใช้เป็นมูลค่ามาตรฐานสำหรับการตีราคาสินค้าและส่วยต่างๆ  มีการทำเป็นรูปทรงต่างๆ (Sycee) อาทิ ทรงหมวก (ที่เราเห็นวางก้นในร้านขายทอง) ทรงแบบคล้ายโบว์หูกระต่าย  มีตราประทับหรืออักษรเขียนบอกปริมาณน้ำหนัก    ซึ่งแสดงโดยนัยว่าจะต้องมีกองกษาปณ์กลางของรัฐ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมโลหะชิ้นเล็กชิ้นน้อย เศษเล็กเศษน้อย หล่อหลอมเข้าด้วยกัน ทำให้เป็นโลหะบริสุทธิ์ แล้วตีตราประทับรับรองความมีค่าของก้อน sycee แต่ละก้อนนั้นๆ  แล้วก็ซึ่งแสดงว่าจะเป็นแหล่งรับซื้อโลหะเงินที่สำคัญจากชาวบ้านหรือพ่อค้าผู้ค้าโลหะเงินนี้       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 18 ธ.ค. 14, 19:08

ปลายยุคราชวงค์ฮั่นต่อเข้าราชวงค์ซ่ง (Song)  ได้เกิดอาณาจักรน่านเจ้า มีเมืองต้าลี่ (Dali) เป็นศูนย์กลางตั้งอยู่บริเวณทะเลสาปหนองแส (ที่เราได้รับการบอกกล่าวกันมาว่าเป็นต้นทางของชนชาวไทยในปัจจุบัน  ซึ่งยังคงมี ฮืม?? อยู่)

ราชวงค์ซ่งก็แยกออกเป็นจีนสองส่วน คือ ราชวงค์ซ่งทางเหนือ และราชวงค์ซ่งทางใต้      โดยภาพกว้างๆก็คือ จีนแบ่งออกเป็น 3 เขตอิทธิพล คือ ด้านตะวันตกเฉียงใต้ (ติดพม่า ลาว ไทยปัจจุบัน)  ด้านเหนือ (แถบแม่น้ำฮวงโห และบางส่วนของแม่น้ำแยงซีเกียง ?) และด้านตะวันออกเฉียงใต้ (พื้นที่ลงไปติดทะเล ลาว เวียดนาม) 
 
ในช่วงปลายของราชวงค์ซ่ง หรือช่วงต่อเนื่องไปราชวงค์ Jin และ Xia   ความเป็นปึกแผ่นและความน่าเกรงขามของอาณาจักรจีนคงจะเป็นภาพที่ไม่ดีนัก แล้วก็คงผนวกอีกหลายๆเรื่อง เลยทำให้มองโกลตัดสินใจเข้ามาลุย     
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 19 ธ.ค. 14, 08:50

ปลายยุคราชวงค์ฮั่นต่อเข้าราชวงค์ซ่ง (Song)  ได้เกิดอาณาจักรน่านเจ้า มีเมืองต้าลี่ (Dali) เป็นศูนย์กลางตั้งอยู่บริเวณทะเลสาปหนองแส (ที่เราได้รับการบอกกล่าวกันมาว่าเป็นต้นทางของชนชาวไทยในปัจจุบัน  ซึ่งยังคงมี ฮืม?? อยู่)

ราชวงค์ซ่งก็แยกออกเป็นจีนสองส่วน คือ ราชวงค์ซ่งทางเหนือ และราชวงค์ซ่งทางใต้      โดยภาพกว้างๆก็คือ จีนแบ่งออกเป็น 3 เขตอิทธิพล คือ ด้านตะวันตกเฉียงใต้ (ติดพม่า ลาว ไทยปัจจุบัน)  ด้านเหนือ (แถบแม่น้ำฮวงโห และบางส่วนของแม่น้ำแยงซีเกียง ?) และด้านตะวันออกเฉียงใต้ (พื้นที่ลงไปติดทะเล ลาว เวียดนาม)  
 
ในช่วงปลายของราชวงค์ซ่ง หรือช่วงต่อเนื่องไปราชวงค์ Jin และ Xia   ความเป็นปึกแผ่นและความน่าเกรงขามของอาณาจักรจีนคงจะเป็นภาพที่ไม่ดีนัก แล้วก็คงผนวกอีกหลายๆเรื่อง เลยทำให้มองโกลตัดสินใจเข้ามาลุย      

ขออนุญาตเสริมครับ

ลำดับเหตุการณ์ในยุคราชวงศ์ซ่งก็คือ แต่เดิมแผ่นดินจีนที่ปกครองโดยคนฮั่นก็ตั้งราชวงศ์ซ่ง (ซ้อง) ขึ้นมายังไม่ได้แบ่งเหนือ-ใต้ครับ การแบ่งเหนือใต้ เพื่อเป็นการเรียกยุคสมัยให้ง่ายขึ้น เพราะผ่านไประยะหนึ่งราชวงศ์ซ่ง ต้องย้ายราชธานีลงใต้ เนื่องจากรบแพ้ชนเผ่าจิน (กิมก๊กในมังกรหยก) โดยมีแม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) เป็นปราการตามธรรมชาติกันไม่ให้เผ่าจินตามลงมาตีได้ ในยุคที่ราชวงศ์ซ่งยังปกครองได้ทั้งหมดก็จะเรียกว่ายุคซ่งเหนือ
ต่อมาเมื่อย้ายลงมาทางใต้ไปจนสิ้นสุดราชวงศ์ก็จะเรียกว่าซ่งใต้ เพื่อให้ง่ายต่อการจำยุคสมัยครับ

ส่วนราชวงศ์เซี่ย ตามจริงก็คือเผ่าซีเซี่ย ที่เป็นชนเผ่ากึ่งเร่ร่อนทางด้านทิศตะวันตกของจีนในปัจจุบัน ซึ่งได้รบกับคนจีนฮั่นมาตั้งแต่ก่อนยุคราชวงศ์ฉินแล้ว (ประมาณพันปีมาแล้ว ถ้านับจากก่อนราชวงศ์ฉินถึงราชวงศ์ซ่ง)

โดยที่เผ่าจินสามารถสถาปนาราชวงศ์ได้ครับ มีพื้นที่หลัก ๆ อยู่ในด้านตะวันออกเฉียงเหนือของจีนจรดประเทศเทศมองโกเลียในปัจจุบัน  และมีเผ่ามองโกลอยู่ใต้อาณัติในช่วงแรก เพราะเตมูจินยังไม่สามารถรวบรวมเผ่าต่าง ๆ ในมองโกลได้ และเนื่องด้วยนโยบายของราชวงศ์ซ่ง(ทั้งเหนือ-ใต้) ที่เน้นการทูตมากกว่าการใช้กำลังทหารกับทางเผ่าจิน (ถ้ารบจริง ก็ชนะได้ไม่ยาก แต่ไม่รบให้แตกหักครับ มีตีชิงพื้นที่คืนบ้างพอเป็นพิธี เมื่อประชาชนประท้วงเป็นระยะ ๆ เป็นปัญหาการเมืองภายในของราชวงศ์ซ่งเองล้วน ๆ )

 ทำให้เผ่าจินข่มขู่และยึดครองพื้นที่ทางตอนเหนือของแม่น้ำฉางเจียงไปได้นั่นเอง ในตอนหลังเมื่อราชวงศ์จินเริ่มเสื่อมถอย เพราะขาดผู้นำที่ดี และเป็นจังหวะเดียวกับที่มองโกลสามารถรวบรวมเผ่าต่าง ๆ เข้าเป็นหนึ่งเดียวได้ จึงได้ขอความร่วมมือจากราชวงศ์ซ่ง ร่วมกันบดขยี้จนราชวงศ์จินล่มไปในที่สุด และสุดท้ายเผ่ามองโกล ก็มากลืนราชวงศ์ซ่งไปในที่สุดครับ



----------------------------------------------------

ส่วนกรณีน่านเจ้า

น่าจะต้องแบ่งเป็น ๒ ยุคครับ ในยุคก่อนคนแซ่ "ต้วน" มีอำนาจ กับยุคหลังที่คนแซ่ "ต้วน" เข้ามามีอำนาจ ในยุคแรก อาจจะเป็นคนกลุ่มเชื้อสายเผ่าไทปกครอง แต่หลังจากนั้นเป็นยุคของคนแซ่ต้วน ก็จะไม่ใช่ไททั้งหมดแล้วล่ะครับ  เพราะทางใต้ของจีนมีชนอยู่หลายเผ่า ทั้งชาวเขาและชาวพื้นที่ราบ เช่น จ้วง,ไท ฯลฯ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 19 ธ.ค. 14, 18:51

ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลที่ถูกต้องตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ 

ผมมองภาพบนพื้นฐานของพื้นที่ศักยภาพทางทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นพื้นฐานของความมั่งคั่งและมั่นคง ที่ผู้ปกครองหรือผู้ที่แสวงหาอำนาจมักจะต้องการเข้าครอบครอง  ก็เลยถกแถลงไปในภาพที่ต่างออกไป
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 19 ธ.ค. 14, 19:41

ยุคซ่งหรือซ้องนี้ เป็นยุคที่จีนมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีมาก จัดเป็นยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟูที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน   อาทิ มีการเปลี่ยนจากการใช้ไม้เป็นถ่านหินในการถลุงเหล็ก (iron) ให้เป็นเหล็กกล้า (steel)   มีระบบชลประทานที่ทำให้เกิดผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้นเป็นสองสามเท่า  ธุรกิจและการค้าขายมีหลาย tier (แปลไม่ออกครับ)    instruments (นึกคำไม่ออกครับ) ที่ใช้แทนมูลค่าของราคาสินค้าและการแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งมีระบบใช้มาตั้งแต่ยุคราชวงค์ถัง ที่มีทั้งกระดาษ (ใบประทวน ฮืม) เหรียญทองแดง และตุ้มเงิน (Sycee) ก็มีปริมาณความต้องการนำมาใช้หมุนเวียนมากขึ้นๆ   ทองแดงกับเงินก็คงจะเป็นที่ต้องการมากและเข้าสู่สภาวะขาดแคลนไดง่ายๆทีเดียว

 
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 20 ธ.ค. 14, 00:06

ยุคซ่งหรือซ้องนี้ เป็นยุคที่จีนมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีมาก จัดเป็นยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟูที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน   อาทิ มีการเปลี่ยนจากการใช้ไม้เป็นถ่านหินในการถลุงเหล็ก (iron) ให้เป็นเหล็กกล้า (steel)   มีระบบชลประทานที่ทำให้เกิดผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้นเป็นสองสามเท่า  ธุรกิจและการค้าขายมีหลาย tier (แปลไม่ออกครับ)    instruments (นึกคำไม่ออกครับ) ที่ใช้แทนมูลค่าของราคาสินค้าและการแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งมีระบบใช้มาตั้งแต่ยุคราชวงค์ถัง ที่มีทั้งกระดาษ (ใบประทวน ฮืม) เหรียญทองแดง และตุ้มเงิน (Sycee) ก็มีปริมาณความต้องการนำมาใช้หมุนเวียนมากขึ้นๆ   ทองแดงกับเงินก็คงจะเป็นที่ต้องการมากและเข้าสู่สภาวะขาดแคลนไดง่ายๆทีเดียว

 

เหรียญทองแดง = เงินที่เราคุ้นเคยจากหนังจีนที่เรียกว่า อีแปะ นั่นล่ะครับ เหรียญทองแดงเหล่านี้ มีใช้กันมานานตั้งแต่ก่อนราชวงศ์ฉิน พอแคว้นฉินรวบรวมประเทศได้ตั้งเป็นราชวงศ์ฉิน ก็เลยกำหนดเงินตราให้เป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ และเพื่อป้องกันการกบฏต่อราชสำนักฉิน จึงมีการกวาดล้างบรรดาอาวุธหรือสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ทำจากทองแดงจากทั้งอาณาจักร เพื่อนำมาหลอมเป็นหุ่นมนุษย์ทองแดง ถ้าจำไม่ผิดจะได้ทั้งหมด ๑๒ ตัว ตั้งไว้ที่พระราชวังอาฝาง  ต่อมาเมื่อราชวงศ์ฉินล่มลงไป บรรดาหุ่นมนุษย์ทองแดงเหล่านี้ ก็ถูกแปรสภาพกลับมาเป็นเหรียญทองแดงไว้ใช้สอยอยู่หลายวาระ  และถ้าจำไม่ผิด หุ่นมนุษย์ทองแดง ๒ ตัวสุดท้ายก็จะโดนหลอมเอามาทำเป็นเหรียญทองแดง เมื่อเวลาผ่านไปราว ๆ หลายร้อยปีต่อมาครับ


ในบางยุคสมัย เหรียญทองแดงเหล่านี้ ก็ถูกเก็บไว้ในท้องพระคลังแบบ "เก็บลืม" เนื่องจาก ภาวะการคลังของอาณาจักรดีมาก ๆ แทบจะไม่ได้จ่ายเงินจากคลังสักอีแปะเดียว อย่างเช่น ยุคของจักรพรรดิฮั่นเหวินตี้ ที่กล่าวกันว่าเงินอีแปะ ที่ปกติจะร้อยด้วยเชือกสีแดงไว้เป็นพวง ๆ แล้วเก็บไว้ในพระคลัง ในยุคนั้น เชือกที่ร้อยอีแปะถึงกับผุกันเลยทีเดียว เพราะเก็บไว้นานมาก ไม่มีการใช้จ่ายเลย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในยุคนั้นดีมาก ๆ อย่างนี้เป็นต้นครับ



ส่วนเงินก็ใช้เป็นแท่ง ๆ ตามน้ำหนัก ,  ส่วนเรื่องกระดาษ ก็คือระบบตั๋วเงินครับ โดยจะมีร้านที่รับขึ้นตั๋วเงินคล้าย ๆ กับในระบบปัจจุบันนี้นั่นล่ะครับ จีนใช้ระบบนี้มานานมากแล้ว

ระบบชลประทานในแถบจีนตอนใต้  เป็นการขยายผลงานต่อมาจากยุคของราชวงศ์สุย (หลายร้อยปีก่อนราชวงศ์ซ่ง) ถ้าท่านใดได้เคยดูหนังจีนชุด "ศึกลำน้ำเลือด (Grand Canal)" ก็คือเรื่องเดียวกันครับ เพราะเป็นผลงานของจักรพรรดิสุยหยางตี้(หยางกว่าง) ที่แต่เดิมทรงต้องการจะให้ขุดเส้นทางคลองเพิ่มขึ้น นัยว่าจะได้ทรงเสด็จประพาสทางน้ำมายังหังโจวได้สะดวก แต่กลายเป็นว่าต้องเกณฑ์แรงงานมหาศาล ทำให้ราษฏร์เดือดร้อน จนเป็นที่มาของสาเหตุในการล่มของราชวงศ์สุยในภายหลังนั่นเอง





 instruments = เครื่องวัด ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 20 ธ.ค. 14, 19:10

ได้มีการพบเหมืองแร่ทองแดงในจีน ที่เห็นกันว่าเก่าแก่ที่สุด (ณ ขณะนี้) พบอยู่ที่ Ruichang Xiaban ใน Jianxi   ซึ่งมีการทำเหมืองในสมัยราชวงศ์ Shang หรือ Zhou  น่าจะหลายร้อยปีก่อนยุคราชวงศ์ Qin (ฉิน) และ Han    แถมยังมีการแต่งแร่เพื่อเพิ่มความความสมบูรณ์ของสินแร่อีกด้วย

แสดงว่าทองแดงมีการใช้กันแพร่หลายอยู่ในจีนพอสมควรในช่วงไม่กี่ร้อยปีใกล้เริ่ม ค.ศ.  นอกจากนำมาทำเหรีญแล้ว แล้วก็ยังมีความก้าวหน้าในทางโลหะวิทยาอื่นๆอีกมาก อาทิ มีการกำหนดส่วนผสมกับดีบุกสำหรับการทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ระฆัง ปลายธนู ปลายหอก มีด ดาบ และขวาน เป็นต้น 


 

   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 20 ธ.ค. 14, 20:22

สำหรับโลหะเงินนั้น  ก็น่าจะได้มีการใช้ในระบบของการค้าขาย ฮืม หรือใช้เป็นตัวกลาง (มีการกำหนดมูลค่า) สำหรับการแลกเปลี่ยนทรัพย์สิน ซึ่งได้ใช้มานานแล้วไม่น้อยเหมือนกัน   

ได้อ่านพบว่า ในปลายยุค Han  ในสมัย Wu Ti ได้มีการกำหนดให้มี Sycee ไว้ 3 ขนาดของมูลค่า ต่อมาในสมัย Hsin ก็ได้กำหนดใหม่เป็น 2 ขนาด แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จในภาคการปฏิบัติ

ท่าน sumun007 คงจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมได้อีกมากในเรื่องเหล่านี้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 20 ธ.ค. 14, 20:26

ย้อนกลับไปอ่านแล้วก็ต้องขออภัยเป็นอย่างสูงครับ ที่สะกด samun007 เป็น sumun007    ขออภัยจริงๆครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 20 ธ.ค. 14, 20:57

พยายามไปค้นหาคำแปลของคำว่า sycee ก็ได้พบความหมายดั้งเดิมของภาษาจีน ที่แปลว่า ไหมบริสุทธิ์  แต่หมายถึงโลหะมีค่าหลอมเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงหมวก ทรงแท่ง ทรงเรือ     สำหรับคำแปลในภาษาไทยนั้น แปลว่า พดด้วง ซึ่งเป็น sycee แบบไทย    ฝรั่งใช้ sycee ทับศัพท์  ผมเลยขออนุญาตใช้คำว่า sycee ต่อไปนะครับ   
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 21 ธ.ค. 14, 23:07

สำหรับโลหะเงินนั้น  ก็น่าจะได้มีการใช้ในระบบของการค้าขาย ฮืม หรือใช้เป็นตัวกลาง (มีการกำหนดมูลค่า) สำหรับการแลกเปลี่ยนทรัพย์สิน ซึ่งได้ใช้มานานแล้วไม่น้อยเหมือนกัน   

ได้อ่านพบว่า ในปลายยุค Han  ในสมัย Wu Ti ได้มีการกำหนดให้มี Sycee ไว้ 3 ขนาดของมูลค่า ต่อมาในสมัย Hsin ก็ได้กำหนดใหม่เป็น 2 ขนาด แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จในภาคการปฏิบัติ

ท่าน sumun007 คงจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมได้อีกมากในเรื่องเหล่านี้

ต้องขอขอบพระคุณ คุณลุง Naitang ที่ได้กรุณาครับ แต่ส่วนตัวผมขอเป็นแค่ samun ก็น่าจะเพียงพอแล้วล่ะครับ

ขอปูพื้นฐานกันก่อนสักนิดแล้วกันนะครับ  ราชวงศ์ฮั่นนั้นแบ่งได้เป็น 2 ยุคคือ ฮั่นตะวันตก และ ฮั่นตะวันออก โดยนับจากช่วงเวลาก่อตั้งราชวงศ์โดยจักรพรรดิฮั่นเกาจู่(หลิวปัง)ไปจนสุดที่ หวางมั่ง(อองมัง) ปราบดาภิเษกเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ซินยุคนี้จะเรียกฮั่นตะวันตก เพราะเมืองหลวงในยุคนี้ตั้งอยู่ที่เมืองซีอาน (ฉางอัน)

เวลาผ่านไป 15 ปี ทายาทรุ่นหลังของหลิวปังได้ทำการปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิฮั่นกวางอู่(ฮั่นกองบู๊)จึงเริ่มนับศักราชแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ไปจนสุดท้ายที่จักรพรรดิฮั่นเซียน(เหี้ยนเต้)เป็นพระองค์สุดท้าย และเมืองหลวงในยุคนี้อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองหลวงเดิม จึงเรียกเป็นยุคฮั่นตะวันออกครับ เมืองหลวงอยู่ที่เมืองลั่วหยาง(ลกเอี๋ยง)


เศรษฐกิจของราชวงศ์ฮั่นพุ่งขึ้นดีที่สุดในยุคของจักรพรรดิพระองค์ที่ 4 ตามที่ได้กล่า่วไปแล้วคือ จักรพรรดิฮั่นเหวินตี้ เนื่องจากทรงเน้นการทูตกับบรรดาเผ่าต่าง ๆ รอบอาณาจักร ไม่เน้นการรบมากนัก ยกเว้นปราบกบฏที่กระด้างกระเดื่อง และยังทรงมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของอาณาจักรด้วย ส่งผลให้ฐานะการคลังของราชวงศ์ฮั่นดีสุดขีดตามที่ได้กล่าวไป

ฐานะการเงินของราชวงศ์ฮั่นเริ่มมีปัญหาในยุคของจักรพรรดิฮั่นอู่(บู๊เต้) ทั้ง ๆ ที่ในยุคของพระองค์เป็นต้นกำเนิดเส้นทางสายไหม แต่เนื่องจากพระองค์ทรงเน้นการทำสงครามอย่างจริงจัง เพื่อขยายอาณาจักรและเพื่อพระเกียรติยศของพระองค์  ทำให้ท้องพระคลังที่เคยสมบูรณ์ร่อยหรอลงไปเรื่อย ๆ จนสุดท้าย ราชสำนักถึงกับขนาดต้องแก้ปัญหาท้องพระคลังไม่พอด้วยการขายตำแหน่งราชการครับ


เป็นการซื้อขายตำแหน่งกันอย่างถูกต้อง ถูกกฎหมาย เพราะเป็นพระราโชบายของจักรพรรดิเอง ดังนั้นในยุคนี้ ใครอยากจะเป็นใหญ่เป็นโตแค่ไหน ขอแค่คุณมีเงินไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป (ไม่รู้เป็นต้นแบบให้อีกหลาย ๆ ประเทศทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันในเวลาต่อมาอีกหลายพันปีหรือเปล่านะครับ)

แต่การขายตำแหน่งนี้ ก็เพียงแค่ประวิงเวลาไว้เท่านั้น สุดท้ายหลังจากหมดยุคสมัยของจักรพรรดิฮั่นอู่ ราชวงศ์ฮั่นก็เสื่อมลงไปเรื่อย ๆ ในที่สุด หวางมั่ง เสนาบดีผู้ใหญ่ก็สามารถล้มราชวงศ์ฮั่นตะวันตกลงได้ แล้วก็ปราบดาภิเษกตัวเองขึ้นมาเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ซิน โดยให้ความหวังกับประชาชนทั่วไปว่าจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น  แต่อนิจจา ประชาชนในยุคนั้นเหมือนหนีเสือปะจระเข้  เพราะหวางมั่งก็ไม่สามารถเนรมิตทุกสิ่งอย่างได้หมด  เพราะระบบเดิมมันเละมาค่อนข้างนานแล้ว

จนสุดท้ายก็โดน หลิวซิ่่ว ทายาทรุ่นหลัง ๆ ของหลิวปัง ก่อการกบฏแล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิฮั่นกวางอู่  เริ่มยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกต่อไป แต่สถานะการณ์ด้านการเงินก็ไม่ดีขึ้น แล้วก็เรื่อย ๆ มาจนเกิดเป็นยุคสามก๊กในที่สุดนั่นล่ะครับ





บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 23 ธ.ค. 14, 18:36

ภาพตามเรื่องราวที่ คุณ samun007 ได้เล่าไว้นั้น  ก็มีนักวิชาการของสถาบันการศึกษาและผู้สันทัดประวัติศาสตร์จีนจำนวนมาก ทั้งในสหรัฐฯ ยุโรป และจีนเอง  ได้ศึกษาวิเคราะห์เอกสารและข้อมูลที่มีการค้นพบและเปิดเผยมากขึ้น ต่างมีความเห็นไปในทำนองเดียวกันว่า  จีนตั้งแต่ก่อนยุคฮั่นได้มีความพยายามจะกำหนดมูลค่าของสินค้าเปรียบเทียบกับค่าของโลหะ ซึ่งก็มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง เริ่มตั้งแต่ใช้โลหะเหล็ก เปลี่ยนมาเป็นทองแดง   ทั้งนี้ ตลอดช่วงเวลาเหล่านี้ก็มีทั้งการปลอมแปลง และก็มีทั้งการใช้ตัวกลาง (instruments) ต่างรูป (ที่ใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า) แบบที่เป็นของรัฐและของประชาชน (โดยนัยก็คือ ไม่มีตัวกลางและไม่มีมาตรฐาน)



   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 23 ธ.ค. 14, 19:04

แม้จีนในยุคฮั่นจะพบแหล่งเหล็กดีๆที่สามารถระดมการผลิตได้ในระดับหนึ่ง  แล้วก็ยังมีแหล่งแร่ทองแดงที่สามารถระดมการผลิตได้เช่นกันในระดับหนึ่ง   แต่ผลผลิตเหล่านี้ ดูจะไม่เพียงพอสำหรับใช้กับจำนวนประชากรที่มากและกระจายอยู่ในเขตอาณาจักรที่กว้างไกล   จึงเป็นต้นเหตุประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการขาดตัวกลางที่ถูกกฎหมายที่จะใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เกิดการขาดแคลน จึงเกิดการปลอมแปลงขึ้นมา 

ทางออกอย่างหนึ่งก็เลยพยายามหันไปใช้โลหะเงิน แต่ก็อีกนั่นแหละ แหล่งแร่เงินของจีนมีจำกัดมากๆ ผลิตได้ไม่พอใช้  แต่ก็ยังพอจะแก้ไขได้ด้วยการนำเข้ามาจากแดนไกลตามเส้นทางสายไหม

ขยักไว้เพียงนี้ก่อนนะครับ ขอไปทำธุระ ตจว. 4-5 วัน ครับ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 30 ธ.ค. 14, 19:03

โลหะเงินมีการค้นพบและทำเหมืองกันมาเป็นเวลานานเป็นพันปีก่อนพุทธกาล แรกเริ่มก็อยู่แถวๆประเทศตุรกี ต่อมาก็มรีการพบและมีการทำเหมืองในประเทศสเปน ทำเหมืองกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน (ซึ่งเป็นช่วงเวลาแถวๆยุคราชวงค์ฮั่นของจีน) จนในเวลาต่อมา สเปนก็ได้กลายเป็นแหล่งผลิตโลหะเงินที่สำคัญป้อนให้กับจักรวรรดิ์โรมัน   ซึ่งโลหะเงินนี้เองก็ได้กลายเป็นหนึ่งในสินค้าในเส้นทางสายไหม และซึ่งก็เป็นหนึ่งในสินค้ามาตั้งแต่แรกเริ่มที่มีการขยายเส้นทางเชื่อมการค้าสินค้าถึงกันระหว่างศูนย์กลางของจักรวรรดิ์โรมัน (ยุคจูเลียต ซีซ่า / คลีโอพัตรา ??) กับศูนย์กลางของอาณาจักรจีน (จีนในยุคจักรพรรดิ์ Wu Ti)



   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 30 ธ.ค. 14, 19:33

จากเรื่องที่เล่ามาว่า จักรพรรดิ Wu Ti พยายามจะกำหนดค่าของโลหะเงินในรูปของขนาด Sycee แล้วก็ทำไม่สำเร็จ     เมื่อเอามาจิ๊กซอมาต่อกัน ก็น่าจะได้ภาพว่า จีนเริ่มให้ความสนใจอย่างจริงจังในการใช้โลหะเงินเป็นมาตรฐานของมูลค่าเปรียบเทียบระหว่างสินค้าต่างๆที่ค้าขายกัน

ผมก็เลยมโนต่อไปว่า ในภาพลักษณะดังกล่าวมานั้น     บรรดาประชาชีทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในครอบครองหรือในอิทธิพลของจักรพรรดิจีนยุคนั้น ก็ย่อมต้องการที่จะมีโลหะเงินเก็บออมไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงของทรัพย์ที่สามารถใช้จับจ่ายใช้สอยได้ (เงินออม) 

   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง