เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 14246 อุทยานดอกไม้ไทย
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


 เมื่อ 25 ต.ค. 14, 19:54

ดิฉันมาเริ่มแต่งกลอนเมื่ออายุมากสี่สิบกว่าคือ เมื่อประมาณหกเจ็ดปีที่แล้ว แต่งไว้มากมายในเวบสองสามเวบ
เพิ่งได้เห็น"ระเบียงกวี"ในเรือนไทย
จึงขอฝากบทกลอนในกระทู้"อุทยานดอกไม้ไทย"ให้ติชมและมาร่วมกันอนุรักษ์ดอกไม้ไทยด้วยบทกวีค่ะ
เริ่มด้วย"ดอกพุดซ้อน"บทเดียวที่แต่งไว้เมื่อเดือนมิถุนายนและภาพถ่ายดอกพุดซ้อนที่ถ่ายเองค่ะ

"พุดซ้อน"

เจ้าพุดซ้อนซ่อนรักไว้หนใดเล่า
เจ้าของหัวใจเจ้าเขาอยู่ไหน
จึงปันรักซ่อนซ้อนรอนแรมไกล
มาซ่อนรักซ้อนไว้หรือไรเอย

"กุลมาตา"
๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๗


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 25 ต.ค. 14, 21:16

ระเบียงกวี เป็นห้องที่เปิดให้แสดงฝีมือกันโดยอิสระค่ะ   ขอตัวไม่วิจารณ์ เว้นแต่ผิดฉันทลักษณ์จึงจะบอกกัน
หาเพลงมาประกอบให้ฟังดีกว่า

บันทึกการเข้า
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 25 ต.ค. 14, 22:05

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์เทาชมพูที่หาเพลงประกอบให้"พุดซ้อน"
กลอนพาไปตามชื่อดอกไม้ค่ะ
ฝากเพลงตามชื่อกระทู้เช่นกันค่ะ"อุทยานดอกไม้"
เข้ามาเรือนไทยแห่งนี้ ได้ประโยชน์มากมายจากประวัติศาสตร์และความงดงามของวัฒนธรรมไทยแต่ครั้งก่อน
รำลึกถึงบรรพบุรุษทุกท่านคุณพ่อคุณแม่ที่ล่วงลับไปแล้วอย่างจับใจค่ะ




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 25 ต.ค. 14, 22:21

"พุดซ้อน"

เจ้าพุดซ้อนซ่อนรักไว้หนใดเล่า
เจ้าของหัวใจเจ้าเขาอยู่ไหน
จึงปันรักซ่อนซ้อนรอนแรมไกล
มาซ่อนรักซ้อนไว้หรือไรเอย


อ่านแล้วเห็น "รักซ้อน" ลอยมาตรงหน้าเชียว   ยิงฟันยิ้ม

เจ้ารักซ้อนซ่อนใจหนใดเล่า
ขอถามเจ้ารักซ้อนซ่อนอยู่ไหน
มาปันรักซ่อนซ้อนรอนแรมไกล
อย่าปันใจรักซ้อนซ่อนใครเลย


บันทึกการเข้า
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 ต.ค. 14, 22:47

ขอบพระคุณท่านอาจารย์เพ็ญชมพูค่ะที่มาร่วมต่อกลอนกับดิฉัน ไพเราะมากค่ะและต้อนดิฉันจนลอยไม่ขึ้น
มิได้ซ่อนมิได้ซ้อนใครไว้เลย กลอนพาไปไกล
ถือโอกาสขอบคุณและลงบทใหม่"ราชาวดี" พร้อมทั้งรบกวนอาจารย์เล่าถึงงานลงยาราชาวดีเสริมด้วยนะคะ
สมัยเรียนเกเร ไม่ค่อยสนใจอ่านประวัติศาสตร์ไทย มัวแต่ร้องรำทำเพลงทำละคร"สี่แผ่นดิน"กับเพื่อนๆในงานโรงเรียนค่ะ

ดอกไม้ของพระราชาล้ำค่ายิ่ง
"ราชาวดี"งามพริ้งเป็นมิ่งขวัญ
กลิ่นหอมแรงอวลอบทั่วชวนพัวพัน
ผีเสื้อดั้นด้นหาทั่วธานี
อีกทั้งนามตามประวัติราชสำนัก
งานลงยาสลักงามนักสี
นามทองคำลงยาราชาวดี
เครื่องราชูปโภคมีแต่โบราณ

     "กุลมาตา"
๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๗
(ที่บ้านเก่านนทบุรีคุณพ่อปลูกไว้ หอมแรงตลบอบอวลมากค่ะ)


(เพลงดุริยาราชาวดีของชาวเทคนิคการแพทย์ไทย)






บันทึกการเข้า
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 26 ต.ค. 14, 19:50

ฝักใฝ่แค่กลอนกานต์ตามน้ำได้ทุกเรื่อง
ตามเนื้อคือลูกค่ะประสาแม่เลี้ยงเดี่ยวแก่ๆ
อีกสักดอกไม้ไทยที่แต่งไว้แล้วค่ะวันนี้


บันทึกการเข้า
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 ต.ค. 14, 15:44

  กรรณิการ์ก้านสีแสด             คิดผ้าแสดติดขลิบนาง
เห็นเนื้อเรื่อโรงราง                 ห่มสองบ่าอ่าโนเนฯ

     ผ้าสีมีขลิบเนื้อ             บางดี
ก้านกรรณิการ์สี                แสดเถ้า
โนเนนาดน้องสี                 ลาเลิศ
เมียมิ่งเรียมดูเจ้า               ห่อนได้วางตา
(กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก พระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์)
(ภาพจากกูเกิ้ล)


บันทึกการเข้า
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 27 ต.ค. 14, 17:28


เจ้าจำปีเจ้าจำปาดารดาษ
พุดศุภโชคงามแม้นวาดสะอาดขาว
ลีลาวดีงามลออออกช่อพราว
เจ้าพุดซ้อนขาวสกาวงามเย้ายวน
แก้วกัลยาหิมาลัยหอมไกลนัก
ชมสวนเพลินผ่อนพักหนักคลายถ้วน
พรรณดอกไม้ไทยในสวนล้วนหอมอวล
กลิ่นกำจายรัญจวนทั่วสวนงาม


    "กุลมาตา"
๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๗
(ภาพดอกไม้ไทยในหมู่บ้านถ่ายภาพเองค่ะ)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 27 ต.ค. 14, 19:51

ตามมาชมดอกไม้ค่ะ อ้อ! กลอนก็เพราะนะคะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 28 ต.ค. 14, 08:56

ขอส่งมอบ "ร้อยบุปผา" มาประดับ
เพื่อซึมซับความอ่อนหวานตระการสวน
ร้อยบุปผาโรยรินกลิ่นอบอวล
คล้ายเชิญชวนดวงใจให้โบยบิน


http://youtube.com/watch?v=ncY8Q3e-oUs#ws

บันทึกการเข้า
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 28 ต.ค. 14, 14:05

ขอบพระคุณคุณAnnaที่ตามมาชม สวนเล็กๆในหมู่บ้านเมืองๆ ปลูกดอกไม้ไทยกลิ่นหอมมากกว่าครึ่ง ได้เป็นที่ผ่อนคลายของชาวหมู่บ้านค่ะ
ส่วนกลอนก็ฝึกแต่งเรื่อยๆยามว่างผ่อนคลายเช่นกันค่ะ
บันทึกการเข้า
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 28 ต.ค. 14, 14:07

ขอบพระคุณอาจารย์เพ็ญชมพูที่มาร่วมแยมแต่งกลอน"ร้อยบุปผา"อันไพเราะด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 28 ต.ค. 14, 14:23

ขอมอบแด่ รศ.ดร.จารุณี มณีกุล เพื่อนรักค่ะ เธอเล่าเกร็ดของตระกูลทางคุณแม่ "ทิพยมณฑล"

"รูปพระราชายารูปหนึ่งมีลายเซ็นมอบให้ตาทวดชื่อพระราชนายกเสนี( เมือง ทิพยมณฑล) เป็นอำมาตย์เอกสมัยเจ้าแก้วนวรัฐและตามรับส่งเจ้าดารารัศมีไปกรุงเทพฯ"


ประวัติเพลงลาวดวงดอกไม้

1. ฟ้อนมาลัย หรือ ลาวดวงดอกไม้ เพลงฟ้อนดวงดอกไม้ เป็นเพลงเก่าของเชียงใหม่ เจ้าดารารัศมีพระชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำมาใช้ในละครเรื่อง น้อยใจยา ซึ่งกรมศิลปากรปรับปรุงขึ้นเมื่อแสดงละครพันทางเรื่อง พระยาผานอง แสดง ณ โรงละครแห่งชาติเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๑ โดย อาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้แต่งทำนองเพลงและบทร้อง โดยนำทำนองเพลงฟ้อนดวงดอกไม้ของนางข้าหลวงของแม่ท้าวคำปิน มาใช้เป็นเพลงฟ้อน ท่านผู้หญิงหม่อม แผ้ว สนิทวงศ์เสนีย์ ประดิษฐ์ท่ารำ

2. เป็นเพลงพื้นเมืองทางภาคเหนือสำหรับร้องและรำของหนุ่มสาว ครูมนตรี ตราโมทได้นำมาปรับปรุงและเขียนบทร้องขึ้นใช้ในการแสดงละครเรื่อง “ พญาพานอง ” คำร้องจากบทกวีล้านนาของ “ ท้าวสุนทรพจนกิจ ” (ใหม่บุญมา สุกันธกุล) เป็นเนื้อร้องที่หญิงสาวขับร้องชื่นชมดอกไม้นานาชนิด ส่วนใหญ่เรารู้จักเพลงนี้ดีในชื่อเพลง “น้อยใจยา”

 
เนื้อร้องเพลงลาวดวงดอกไม้

ชมดอกไม้เบ่งบานสลอน
ฝูงภมรวะว่อนใฝ่หา

ดอกพิกุลยี่สุ่นจำปา
ลมพัดพารำเพยขจร

เกดกระถินส่งกลิ่นหอมฟุ้ง
กำจายจรุงระรื่นเกสร

จันทน์กะพ้อช่างล่อภมร
ให้หลงเริงร่อนบินว่อนตอม

โอ้ดอกไม้ก็ได้ใช้กลิ่น
อวดประทินที่แสนสุดหอม

เร้าฤทัยเราให้ใฝ่ดอม
ช่างน่าถนอมจริงหนอ

พวกดอกไม้ก็ไม่งามเท่า
พักตร์แม่เจ้าแม่ท้าวค้าปิน

สำรวยเลิศช่างเฉิดโฉมฉิน
บ่มีมลทินทั่วสรรพางค์

กลิ่นดอกไม้ก็ไม่ระรื่น
หอมชุ่มชื่นเท่าคุณพระนาง

ข้าเจ้าภักดีบ่มีจืดจาง
จนชีวิตวางวายเนอ
(อ้างอิงจาก"ศิลปะไทยดอทคอม" โดยอ.ทศพร)

บันทึกการเข้า
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 28 ต.ค. 14, 15:08

ขอบพระคุณอาจารย์เพ็ญชมพูที่มาร่วมแยมแต่งกลอน"ร้อยบุปผา"อันไพเราะด้วยค่ะ


บันทึกการเข้า
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 28 ต.ค. 14, 19:47

รศ.ดร.จารุณี มณีกุล แนะนำข้อมูลเพิ่มเติมจากวิกิพีเดียเกี่ยวกับตระกูล "ทิพยมณฑล" ของเธอ

คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)

คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์ ณ เชียงใหม่) ถือเป็นคุ้มเจ้านายฝ่ายเหนือเพียงไม่กี่แห่งที่เหลืออยู่ในเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ถนนพระปกเกล้าด้านที่ตัดกับถนนราชดำเนิน ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่

ประวัติ

สร้างขึ้นระหว่าง ระหว่างปี พ.ศ. 2432 - 2436 ในรัชสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้านครเชียงใหม่องค์ที่ 7 ที่มี เจ้าบุรีรัตน์ น้อยมหาอินทร์ เป็นพระอุปราช

ภายหลังเจ้าน้อยมหาอินทร์ถึงแก่กรรม เจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่ บุตรชายเจ้าน้อยมหาอินทร์ ได้เป็นผู้ครอบครองอาคาร ต่อมานางบัวผัน นิกรพันธ์ ได้ขอซื้อจากเจ้าบุษบา ณ เชียงใหม่ (ชายาเจ้าน้อยชมชื่น) ในราคา 5,000 บาทและได้เชิญพระนายกคณานุการ (เมือง ทิพยมณฑล) บิดามาพำนักอยู่ที่คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ ที่เรียกว่า "บ้านกลางเวียง" ดังนั้นในระยะหลังบ้านกลางเวียงจึงเป็นที่พักอาศัยของบุตรและญาติของพระนายกคุณานุการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 เป็นต้นมา

ปี พ.ศ. 2529 เมื่อนางบัวผัน ทิพยมณฑล ถึงแก่กรรม นางพรรณจิตร เจริญกุศล บุตรีของนายจรัลและนางบู่ทอง ทิพยมณฑลได้อาศัยอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2544 นางสาวเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล จึงได้มอบอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ เจ้าน้อยมหาอินทร์ ให้กับทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่บรรพบุรุษตระกูลทิพยมณฑลและกิติบุตร ซึ่งในปัจจุบัน คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ ได้เป็นศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ในความดูแลของ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สถาปัตยกรรม

คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ เป็นอาคารครึ่งปูนเครื่องไม้บนแบบผสม สูงสองชั้นมีบันไดอยู่นอกบ้าน ชั้นล่างเสาก่ออิฐหนาก่อเป็นรูปโค้งฉาบปูนเรียบมีระเบียงโดยรอบ เป็นรูปแบบผสมระหว่างเรือนมนิลากับสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล ซึ่งเป็นรูปแบบที่แพร่หลายในประเทศอาณานิคม ส่วนชั้นบนเป็นไม้มีระเบียงโดยรอบเช่นกัน หลังคาจั่งและหลังคาปั้นหยาคลุมระเบียงโดยรอบ เป็นแบบอย่างของสถาปัตยกรรมบริติชในเชียงใหม่ยุคแรก สันนิษฐานว่าบริษัทป่าไม้ของชาวอังกฤษเป็นผู้เข้ามาก่อสร้างให้เจ้าบุรีรัตน์ น้อยมหาอินทร์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2432 - 2436

ภาพคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ พ.ศ. 2554(ดิฉันและลูกชายได้ไปเยี่ยมดร.จารุณีที่เชียงใหม่เมื่อปีพ.ศ.2555 เธอได้พาเที่ยวชมเชียงใหม่และได้เห็น"คุ้มเจ้าบุรีรัตน์" งดงามมาก เธอได้เล่าประวัติความเป็นมาซึ่งเกี่ยวข้องกับตระกูล"ทิพยมณฑล"ของเธอด้วยค่ะ)


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง