เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6676 ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามารับราชการในสยาม
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


 เมื่อ 05 ต.ค. 14, 18:57

 เจ๋งัดิฉันอ่านพบว่ามีชาวญี่ปุ่นเข้ามารับราชการในสยามตั้งแต่สมัยอยุธยาเช่น ออกญาเสนาภิมุข
ค้นประวัติเจอค่ะ
แต่สมัยรัตนโกสินทร์ เช่น พระยามหิธรรมนูปกรณ์โกศลคุณ นามเดิม โตคิจิ มาซาโอะ
กูเกิ้ลหาข้อมูลไม่มีเลย อาจารย์ช่วยหน่อยนะคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 ต.ค. 14, 19:42

เคยเขียนย่อๆไว้ในเรือนไทยแล้วค่ะ  เข้าไปอ่านในค.ห. ๕๐ นะคะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4915.45
บันทึกการเข้า
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 ต.ค. 14, 20:00

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์เทาชมพู
ดิฉันค้นใส่บรรดาศักดิ์ไทย เลยหาไม่เจอ ต่อมาใส่นามเดิมญี่ปุ่น เจอเพียบเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 ต.ค. 14, 20:20

คุณพิมพ์บรรดาศักดิ์ผิดน่ะค่ะ
พระยามหิธร-มนูปกรณ์โกศลคุณ ไม่ใช่ พระยามหิธรรม- นูปกรณ์โกศลคุณ
บันทึกการเข้า
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 ต.ค. 14, 21:07

ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์เทาชมพู ผิดจริงๆด้วยถึงหาไม่เจอ
ละเอียดมากนะคะ อายจัง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 ต.ค. 14, 10:36

แต่สมัยรัตนโกสินทร์ เช่น พระยามหิธรรมนูปกรณ์โกศลคุณ นามเดิม โตคิจิ มาซาโอะ
กูเกิ้ลหาข้อมูลไม่มีเลย อาจารย์ช่วยหน่อยนะคะ

คนไทยในสมัยนั้นรู้จักท่านในนาม "หมอมาเซา" หรือ "นายมาเซา"

นายเมาเซา  รับราชการเป็นที่ปรึกษาในกระทรวงยุติธรรม  เป็นผู้เริ่มให้ญี่ปุ่นยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในไทย   ต่อมาได้รับพระราชทาน

บรรดาศักดิ์ให้เป็นพระยามหิธรมนูปกรณโกศลคุณ

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ประเทศไทยขาดแคลนผู้ชำนาญการที่จำเป็นในการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยทัดเทียมอายรยประเทศ จึงมีความจำเป็นต้องจ้างที่ปรึกษาชาวต่างชาติ ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ รัฐบาลไทยจ้างที่ปรึกษาจากต่างประเทศ ดังนี้ ชาวอังกฤษ ๑๒๖ คน, ชาวเยอรมัน ๓๖ คน, ชาวอิตาเลียน ๑๒ คน, ชาวฮอลันดา ๑๑ คน, ชาวญี่ปุ่น ๙ คน, ชาวฝรั่งเศส ๕ คน, ชาวเบลเยียม ๕ คน, ชาวอเมริกัน ๔ คน ชาวนอร์เวย์และสวีเดน ๓๙ คน รวมทั้งหมด ๒๔๗ คน ในส่วนของชาวญี่ปุ่น เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยคนแรกคือ อีนางะกิ มันจิโร  稲垣満次郎ได้มีบทบาทสำคัญในการส่งผู้ชำนาญเข้ามาร่วมทำงานกับรัฐบาลไทย

ที่ปรึกษาชาวต่างชาติที่ว่าจ้างมาเป็นชาวยุโรปและอเมริกันมากกว่าครึ่ง ในบรรดาผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญนั้น ดร.มะสะโอะ โทคิจิ เป็นที่ปรึกษาชาวญี่ปุ่นผู้เดียวที่มีบทบาทสำคัญในการเตรียมงานด้านตุลาการของไทยในฐานะผู้ทรงเกียรติสูงสุดในคณะที่ปรึกษาชาวยุโรปและอเมริกัน และในฐานะที่ปรึกษาสูงสุดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 06 ต.ค. 14, 11:10

มะสะโอะ โทคิจิ  政尾藤吉 เกิดที่เมืองโอทซึ จังหวัดเอะฮิเมะ เกาะชิโคะกุ ตระกูลของเขาเป็นพ่อค้าขายของให้เจ้าเมือง แห่งแคว้นโอทซึ แต่ถึงคราวตกอับ เมื่อมีการยุบแคว้นเปลี่ยนเป็นจังหวัดแทน มะสะโอะจึงประสบความลำบากในการศึกษามาตั้งแต่เล็ก ๆ เขาจบการศึกษาแผนกภาษาอังกฤษจากโรงเรียนอุดมศึกษาโตเกียว (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยวาเซดะ) ใน พ.ศ. ๒๔๓๒ ทำงานเป็นครูสอนภาษาอังกฤษอยู่พักหนึ่งก็เดินทางไปอเมริกา เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยดาวิลด์ ต่อจากนั้นย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเยล ได้ดุษฎีบัณฑิตในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๐ และเดินทางกลับญี่ปุ่นในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน เดือนสิงหาคมได้รับการชักชวนให้ไปทำงานเป็นหัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ "เจแปนไทมส์"

เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ซึ่งเป็นช่วงเวลาทีมีการก่อตั้งสถานกงสุลระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ดร.มะสะโอะ ได้เดินทางมาประเทศไทยในฐานะที่ปรึกษาด้านกฎหมายของรัฐบาลไทย โดยกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้แนะนำ พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และราชทินนามเป็น พระยามหิธรมนูปกรณ์โกศลกุล หลังจากทำหน้าที่ที่ปรึกษาด้านกฎหมายตุลาการศาลฎีกาและอื่น ๆ เป็นเวลา ๑๖ ปี จึงได้ลาออกจากตำแหน่งใน พ.ศ. ๒๔๕๖ (ตรงกับปีไทโชที่ ๒)

หลังจากกลับประเทศญี่ปุ่น ดร.มะสะโอะได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและมีบทบาทด้านการเมืองของญี่ปุ่น ในปีไทโชที่ ๘ ได้เดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนราษฎร และได้เข้าเผ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวดัวย ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๓ (ปีไทโชที่ ๙) ได้เดินทางมาประเทศไทยอีกครั้งเพื่อดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม ณ ประเทศไทย ดร.มะสะโอะได้รับการต้อนรับจากทุกวงการและถูกคาดหวังว่าจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นเพื่อทั้ง ๒ ประเทศ แต่ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ดร.มะสะโอะ ได้เสียชีวิตอย่างกะทันหันที่กรุงเทพฯ ด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตก สิริรวมอายุได้ ๕๒ ปี รัฐบาลไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดพิธีศพให้กับดร.มะสะโอะอย่างสมเกียรติในวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔

ข้อมูลจาก นิทรรศการ "ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น" เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง ๑๒๐ ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่น ณ ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา ตีพิมพ์ในนิตยสารเจแปน เวิลด์ นะอะนิ ฉบับเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 06 ต.ค. 14, 13:47

พระรูปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ (แถวหน้าขวาสุด) ฉายกับดร.มะสะโอะ โทคิจิ (คนกลาง) ขณะดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย หน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๔


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 06 ต.ค. 14, 14:42

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ดร.มะสะโอะ ได้เสียชีวิตอย่างกะทันหันที่กรุงเทพฯ ด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตก สิริรวมอายุได้ ๕๒ ปี รัฐบาลไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดพิธีศพให้กับดร.มะสะโอะอย่างสมเกียรติในวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง