เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 126180 ไฮโซโบราณ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 29 ก.ย. 14, 09:50

มาส่งให้ดูอีกรูป
คุณแม่ยังสาวแต่งกายตามแฟชั่นควีนอเลกซานดรา แสดงความเป็นแหม่มเต็มตัว เสื้อลูกไม้ขาวและกระโปรงยาว มีสร้อยคอที่เป็นสายนาฬิกาพกอย่างเก๋ไก๋   บวกสร้อยข้อมือ และแหวน  แสดงว่าฐานะเธอเป็นคุณนายเหนือชาวบ้านทั่วไป
เหตุใดหนอเธอจึงไม่นุ่งโจงกระเบน   อย่างเศรษฐินีในรูปก่อนๆในกระทู้นี้  
ยุคของเธอคือยุคก่อนผ้าซิ่นมาถึงแน่นอน เพราะแฟชั่นควีนอเลกซานดราอยู่ในช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ ต่อกับต้นรัชกาลที่ ๖

คำตอบมีอยู่ ๒ จุดในภาพ

จุดแรกคือลูกสาวตัวน้อยที่มายืนถ่ายรูปกับคุณแม่     หนูน้อยแต่งตัวอย่างเด็กน้อยฝรั่งเต็มตัวตั้งแต่หัวจดเท้า  ผมยาวประบ่า บอกบ่งว่าเกิดมาไม่เคยไว้จุก แต่อยู่อย่างเด็กตะวันตก    ถึงกระนั้นหน้าตาเธอก็คมเข้มคล้ายชาวเอเชีย มีเค้าคุณแม่ซึ่งคมขำเอาการทีเดียว

จุดที่สองคือรูปถ่ายบนโต๊ะ เป็นชายหนุ่มใหญ่ไว้หนวด ในกรอบแบบฝรั่งสวยงาม

คุณแม่คนนี้คือสาวไทยเชื้อมอญ จะมอญปากลัดหรือมอญพระประแดงไม่ทราบ  เธอเป็นภรรยาฝรั่งที่มาอยู่ในสยาม  มีลูกน้อยเชื้อสายยูเรเชี่ยนเป็นพยานรัก    ดังนั้นจึงแต่งกายแสดงถึงวิถีชีวิตแบบสามีเต็มตัว   ทำไมฝรั่งถึงไม่มาถ่ายด้วยก็ไม่ทราบ  อาจจะถึงแก่กรรม หรือว่าไม่สะดวกจะมาถ่ายภาพคู่กัน เหลือแต่รูปถ่ายเป็นพยาน
สมัยนั้นสาวไทยไม่แต่งกับฝรั่ง    มีแต่สาวมอญเท่านั้นได้เป็นมิสซิสกันเป็นแถว    


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 29 ก.ย. 14, 10:07

^
^
ถ่ายที่สตูดิโอห้างโรเบิรต์ เลนซ์ ครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ส่งให้ดูไฮโซ อีกภาพนะครับ ลักษณะการแต่งกายนั้นดูออกเลยว่าเป็นรัชสมัยรัชกาลที่ ๖


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 29 ก.ย. 14, 10:42

หลังพ.ศ. 2463 แล้ว  เข้าใจว่าจะใกล้ๆ 2468 ด้วยซ้ำไป หรือไม่ก็ช่วงต่อกับต้นรัชกาลที่ 7 เพราะคุณแม่วัย 40+   ละทิ้งทรงผมโป่งแบบญี่ปุ่นมาไว้มวยรวบไปด้านหลัง มองด้านหน้าเหมือนผมบ๊อบ   นุ่งซิ่นสวมถุงน่องรองเท้าแบบฝรั่ง  คอสวมริบบิ้นห้อยล็อกเก็ตราวกับสาวรุ่นลูก
เธอนั่งอย่างคนรู้จักนั่งเก้าอี้  คือหลังตรง วางเท้าได้เหมาะเจาะตามช่างภาพกำหนด

คุณลูกสาวนุ่งซิ่นลายขวางแบบทางเหนือ ซึ่งนิยมกันในสมัยรัชกาลที่ 7 ดัดผม   สังเกตอีกอย่างว่าในการถ่ายรูป คนไทยสมัยรัชกาลที่ 6 ไม่ถือสาเรื่องนั่งสูงนั่งต่ำ  ภรรยานั่งบนเท้าแขนเก้าอี้สูงกว่าสามี   ลูกสาวก็นั่งสูงกว่าแม่ได้   
บันทึกการเข้า
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 29 ก.ย. 14, 17:31

ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 27 ก.ย. 14, 21:42
อ้างถึง
นับเป็นโชคดีของคุณลูกที่มีคุณแม่เอาใจใส่ ปลูกฝังให้รู้จักคุณค่าของมรดกของชาติค่ะ
ขอเชียร์เต็มที่
________________________________
ขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูอย่างสูงค่ะ

เพิ่งมารู้เรื่องของตระกูลตอนโตค่ะ และก็ละเลยมาจนแก่ด้วย
ลูกชายเป็นลูกครึ่งอเมริกัน แต่เกิดในไทยยังไม่เคยไปอเมริกาเพราะคุณพ่อเสียเร็วมาก
เขาควรทราบเรื่องตระกูลทั้งทางพ่อและแม่ ทางพ่อนั้นสะดวกมาก หากูเกิ้ลก็เจอประวัตินามสกุล
แต่ทางแม่ต้องค้นกันมากเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
ปียะธิดา สุจริตกุล
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 30 ก.ย. 14, 11:03

สวัสดีค่ะอาจารย์ พอดีมีข้อมูลภาพจากความคิดเห็นที่ 9 คือภาพนี้ จึงอยากเรียนให้ทราบรายละเอียด

ภาพนี้ถ่ายประมาณปลายปี พ.ศ. 2465 ทุกท่านในภาพนี้ เป็นข้าหลวงสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา (ซึ่งพระยศในขณะนั้น คือพระบรมราชินี) ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
ในภาพ จากซ้ายไปขวา
ยืน คุณมาละตี กาญจนาคม คุณเชื่อม อจลบุญ คุณสมบุญ ชินะโชติ
นั่ง คุณสุคนธ์ สุจริตกุล คุณกมะลา สุทธะสินธุ์ คุณปลอบ สุจริตกุล

ดิฉันเป็นธิดาของคุณกมะลา สุทธะสินธุ์ ซึ่งต่อมาได้สมรสกับนายกวดหุ้มแพร (โต สุจริตกุล) น้องชายของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีฯ ซึ่งในภาพนี้ คุณกมะลาอายุประมาณ 12 ปี เพิ่งถวายตัวเป็นข้าหลวงสมเด็จอินทร์ฯ ชุดกลาสีไม่ใช่เครื่องแบบ แต่เป็นชุดแฟชั่นโก้ที่แต่งถ่ายรูปหลายครั้ง
ส่วนคุณสุคนธ์ สุจริตกุล (ต่อมาสมรสเปลี่ยนเป็นสุวรรณวารี) เป็นพี่คุณปลอบ สุจริตกุล ทั้งคู่เป็นธิดาของพระยาศิริรัตนมนตรี (สงบ สุจริตกุล) และเกิดที่ลอนดอน ระหว่างที่บิดาปฏิบัติหน้าที่อัครราชทูตประจำราชสำนักเซนต์เจมส์ และต่อมาได้ไปประจำที่สหรัฐอเมริกาและรัสเซียด้วย ทั้งสองท่านเชียวชาญหลายภาษา และได้เป็นนักหนังสือพิมพ์และล่ามแปลสดรุ่นแรกๆของประเทศไทย ทั้งสองได้มาประเทศไทยครั้งแรกเมื่อคุณสุคนธ์อายุ 18 ปี และคุณปลอบอายุ 17 ปีและเป็นพระญาติที่ได้ถวายตัวเป็นข้าหลวงสมเด็อินทร์ฯ ด้วย (อาจารย์ทายถูกที่ว่าคุ้นเคยกับความเป็นอยู่แบบฝรั่งค่ะ)
คุณมาละตี คุณเชื่อม และคุณสมบุญ เป็นข้าหลวงรุ่นใหญ่ ต่อมาคุณสมบุญสมรสกับพระประสิทธิ์บรรณาการ (แฉล้ม กฤษณามระ)

ขอต่อท้ายอีกนิดคือคุณแม่ นางกวดหุ้มแพร (กมะลา สุจริตกุล) มีชื่อเสียงทางด้านกีฬาเทนนิส เริ่มเล่นเมื่ออายุ 20 ปี พ.ศ. 2473 โดยสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีฯ ทรงสร้างสนามเทนนิสที่ตำหนัก ได้หัดเล่นและฝึกฝนที่นั่น เคยเป็นตัวแทนประเทศไทยแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วย คุณกมะลาเป็นผู้ครองตำแหน่งหญิงที่เป็นผู้ชนะเลิศสูงสุดในประวัติศาสตร์การแข่งขันเทนนิสในประเทศไทย ได้ครองตำแหน่งชนะเลิศ 36 ครั้ง ระหว่างปี พ.ศ. 2474-2506

ดิฉันดีใจมากที่เห็นรูปนี้ เพราะไม่มีอยู่ในครอบครอง ปีนี้ ทางสุจริตกุลเพิ่งรวบรวมข้อมูลและ ภาพทำหนังสือที่ระลึก 101 ปี ที่ได้รับพระราชทานนามสกุล มีภาพโปราณน่าสนใจ แต่ไม่เชิงภาพเครื่องแต่งกาย หากอาจารย์สนใจ จะลงในกระทู้ให้ดูได้ค่ะ กรุณาแจ้งด้วย



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 30 ก.ย. 14, 11:07


ดิฉันดีใจมากที่เห็นรูปนี้ เพราะไม่มีอยู่ในครอบครอง ปีนี้ ทางสุจริตกุลเพิ่งรวบรวมข้อมูลและ ภาพทำหนังสือที่ระลึก 101 ปี ที่ได้รับพระราชทานนามสกุล มีภาพโปราณน่าสนใจ แต่ไม่เชิงภาพเครื่องแต่งกาย หากอาจารย์สนใจ จะลงในกระทู้ให้ดูได้ค่ะ กรุณาแจ้งด้วย



สนใจครับ ลงภาพให้ดูเยอะๆ เลยครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 30 ก.ย. 14, 11:11

ไฮโซที่นำเสนอในรูปนี้ เป็นวีไอพีในรัชกาลที่ ๖ ยิ่งกว่าสตรีในรูปก่อนๆทุกรูป    เห็นได้เครื่องราชจุลจอมเกล้าเด่นอยู่บนเสื้อ   รวมกับเครื่องราชอื่นซ้ายขวาและตรงกลาง ระยับตาไปหมด
นอกจากนี้เครื่องเพชรของท่านยัง..เอ้อเฮอ..เม็ดเป้งๆ  ไม่ว่าสร้อยคอสร้อยข้อมือ  สร้อยประคำเพชรที่คอนั้นดิฉันว่าถอดออก  ไปซื้อบ้านงามๆแถวสาทรได้หลังหนึ่ง พร้อมที่ดินอีกอย่างน้อยหนึ่งไร่
คงต้องขอแรงสารานุกรมเคลื่อนที่นามว่าคุณ V_Mee มาช่วยเฉลยว่าท่านผู้นี้เป็นสตรีบรรดาศักดิ์ระดับใด  ยังสาวยังสวยพริ้งเพราอยู่มาก แต่ยศศักดิ์ฐานะอลังการเหลือเกิน
การแต่งกาย ระบุว่าประมาณพ.ศ. ๒๔๖๓ หรือใกล้เคียง  แฟชั่นเดียวกับพระคู่หมั้นพระวรกัญญาปทานค่ะ

ทีแรกนึกว่าเป็นคุณหญิงอนิรุทธเทวา  แต่เคยดูรูปแล้วไม่ใช่   เสียดายมากที่ไม่มีคำบรรยายที่หอจดหมายเหตุว่าเป็นใคร ถ้าใครค้นหาเจอ เราคงเคยได้ยินชื่อท่านมาบ้างละน่า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 30 ก.ย. 14, 11:17


ดิฉันดีใจมากที่เห็นรูปนี้ เพราะไม่มีอยู่ในครอบครอง ปีนี้ ทางสุจริตกุลเพิ่งรวบรวมข้อมูลและ ภาพทำหนังสือที่ระลึก 101 ปี ที่ได้รับพระราชทานนามสกุล มีภาพโปราณน่าสนใจ แต่ไม่เชิงภาพเครื่องแต่งกาย หากอาจารย์สนใจ จะลงในกระทู้ให้ดูได้ค่ะ กรุณาแจ้งด้วย

ดีใจมากค่ะ  คุณปิยะธิดา   ขอบคุณอย่างยิ่งที่เข้ามาทักทายและบอกเล่าให้ฟังนะคะ
ดิฉันเคยอ่านสัมภาษณ์คุณปลอบและคุณสุคนธ์ในนิตยสารลลนาเมื่อหลายสิบปีมาแล้วค่ะ    ทึ่งในความรู้ทางภาษาของท่านมาก  ดีใจมากที่ลูกหลานของท่านรวบรวมข้อมูลและภาพของสกุลสุจริตกุลไว้  เป็นอนุสรณ์
ขอเชิญให้นำภาพมาลงได้เลยค่ะ จะกี่ภาพก็ได้ ยิ่งเยอะยิ่งดี เพราะว่าในเรือนไทยมีผู้สนใจภาพถ่ายโบราณอยู่หลายท่าน คุณ siamese ก็คนหนึ่งละค่ะ

ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

บันทึกการเข้า
ปียะธิดา สุจริตกุล
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 30 ก.ย. 14, 12:08

เรียนอาจารย์เทาชมพูและคุณ Siamese

ภาพนี้มีอยู่ที่บ้านค่ะ ประมาณปี พ.ศ. 2465 มีทั้งคุณพ่อ (อายุ 18 ปี) และคุณแม่ (12 ปี) อยู่ในภาพ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินในการซ้อมรบเสือป่า
พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีฯ (ประทับรถยนต์พระที่นั่ง) โดยมีผู้ตามเสด็จ ได้แก่ : เจ้าพระยารามราฆพ, พระยาอนิรุทธเทวา,
(ยืนด้านหลัง) พระประสิทธิ์บรรณาการ (แฉล้ม กฤษณามระ), คุณสวาส สุจริตกุล (พระสุจริตธำรง), พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย),
(ยืนด้านหน้า) พระพิบูลย์ไอศวรรย์ (เปรียบ สุจริตกุล), คุณเพียบ สุจริตกุล,
(ยืนและนั่งที่บันไดรถ) คุณเทวมิตร กุญชร ณ อยุธยา, นายกวดหุ้มแพร (โต สุจริตกุล), คุณสุคนธ์ สุจริตกุล (ต่อมาเป็นสุวรรณวารี), คุณกมะลา สุทธะสินธุ์ (ต่อมาสมรสกับนายกวดหุ้มแพรที่นั่งด้านซ้าย และใช้นามสกุลสุจริตกุล), คุณปลอบ สุจริตกุล, คุณสมบูรณ์ ชินะโชติ (ต่อมาสมรสกับพระประสิทธิ์บรรณาการ นามสกุลกฤษณามระ ยืนด้านหลังในภาพ), คุณสุจินต์ สุจริตกุล

ภาพนี้และภาพโบราณอีกหลายภาพ รวบรวมไว้ในหนังสือ 101 ปี สุจริตกุล ซึ่งจะพิมพ์เสร็จในเดือนตุลาคมนี้ค่ะ

หวังว่าคงถูกใจนะคะ


บันทึกการเข้า
ปียะธิดา สุจริตกุล
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 30 ก.ย. 14, 12:13

เรียนอาจารย์

พยายามจะใส่ภาพให้โตกว่านี้ แต่เด้งทุกที เลยใส่ได้แค่ขนาดนี้ เป็น png 230kb เล็กไปหน่อยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 30 ก.ย. 14, 14:03

ภาพชนิด png หนักมากค่ะ ขนาด 200-300 ได้ภาพเล็กนิดเดียว  เปลี่ยนเป็น jpg  จะเบาลงมาก ขยายภาพได้ใหญ่โดยไม่เกินลิมิตของกระทู้ ค่ะ
ดิฉันเปลี่ยนภาพของคุณเป็น jpg  ขยายใหญ่ให้แล้วค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ปียะธิดา สุจริตกุล
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 30 ก.ย. 14, 14:40

ขอบคุณอาจารย์ค่ะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 30 ก.ย. 14, 18:09

โปรดสังเกตธงไตรรงค์ที่หน้ารถพระที่นั่ง  ธงนี้ใช้ในความหมายว่าเป็น ธงสำหรับตำแหน่งผู้อำนวยการสูงสุดในการซ้อมรบ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รยนต์พระที่นั่งองค์นี้ชื่อว่าทุษยันต์  ที่ตอนหน้ารถมีรูแฟล่อท้าวหิรัญพนาสูร ติดอยู่  เป็นรถพระที่นั่งที่ทรงใช้ในระหว่างการซ้อมรบเสือป่า
พระประสิทธิ์บรรณการ (แฉม  กฤษณามระ) เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาเพียงคนเดียวของหนังสือดุสุตสมิต
ภาพนี้ประมาณว่าน่าจะถ่ายไว้ในระหว่างการซ้อมรบเสือป่า พ.ศ. ๒๔๖๖
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 30 ก.ย. 14, 18:26

ภาพของท่านอาจารย์ใหญ่ในความเห็นที่ ๖๖ ขอสารภาพว่า ไม่สันทีดในการระบุนามฝ่ายใน
แต่ดูจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ประดับ คือ ตราจุลจอมเกล้าชั้นที่ ๒ เนื่องจากภาพไม่ค่อยชัดจึงไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นทุติจุลจอมเกล้าวิเศษ หรือ ทุติยจุลจุลจอมเกล้า  อีกดวงเป็นเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร. ชั้นที่ ๒ ลงยากรอบประดับเพชร
พิจารณาจากเหรียญตรา  หากเป็นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษก็พอจะตอบได้ว่า ท่านผู้นี้น่าจะเป็นพระราชธิดาชั้นพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้า ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

แต่ถ้าเป็นทุติยจุลจอมเกล้าก็อาจจะเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

ภาพนี้น่าจะฉายตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อน พ.ศ. ๒๔๖๓ ที่เริ่มโปรดเกล้าฯ ให้ฝ่ายในเปลี่ยนมานุ่งซิ่นแบบฝรั่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 30 ก.ย. 14, 18:48

ดิฉันไม่แน่ใจว่าเป็นเครื่องราชชั้นตติยจุลจอมเกล้า หรือทุติยจุลจอมเกล้า  เลยขยายมาให้ดูพร้อมกับภาพเครื่องราชค่ะ
ช่วยดูกันหน่อยได้ไหมคะ ว่าเหมือนเครื่องราชชั้นไหน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง