เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15
  พิมพ์  
อ่าน: 125611 ไฮโซโบราณ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 20 ต.ค. 14, 18:21

จากหนังสิอของเอนก นาวิกมูล


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 20 ต.ค. 14, 18:22

เล่มเดียวกัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 20 ต.ค. 14, 18:31

ซ้าย : ท่านผู้หญิงกลิ่น ส่วนทางขวา : ท่านผู้หญิงพัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 20 ต.ค. 14, 20:07

ข่าวตาย

"ท่านผู้หญิงพัน ภรรยาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุรยวงษ ท่านผู้หญิงพันเปนบุตรพระยาศรีอรรคราช ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๔ ชั่ง เมื่อเดือน ๓ ปีกุนนพศก ป่วยเปนโรคชรา ได้หาพระยาประเสริฐสาตรดำรงรักษา อาการทรงบ้างซุดบ้าง ภายหลังกลับซุดหนักลง รับประทานได้มื้อละถ้วยฝาขนาดน้อยบ้าง ไม่ถึงบ้าง วัน ๗ เดือน ๘ บูรพาสาธ ขึ้น ๑ ค่ำ มีอาการหอบ รับประทานอาหารได้มื้อละ ๑ ช้อนบ้าง ๒ ช้อนบ้าง เวลาย่ำค่ำครึ่งเปนลมประทะมา ถึงแก่กรรมอายุ ๖๙ ปี พระราชทานน้ำอาบศพ หีบทองทึบเปนเกียรติยศ"



บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 21 ต.ค. 14, 07:22

ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูค่ะ
เพิ่งได้ทราบปีที่ท่านถึงแก่อนิจกรรม
ที่คาดเดามาจากเรื่องมรดกของท่าน ไม่ทราบว่าท่านสิ้นไปก่อนนานเลย
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 21 ต.ค. 14, 10:02

งานพระราชทานเพลิงศพท่านผู้หญิงพัน ตรงกับวันที่ ๒๕ เมษายน ร.ศ. ๑๑๖
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯออกจากพระนครเพื่อประพาสยุโรป ตั้งแต่วันที่ ๗ เมษายน ร.ศ. ๑๑๖
เหตุการณ์ที่ว่า รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯ งานท่านผู้หญิงพัน ไม่น่าเป็นไปได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 21 ต.ค. 14, 11:00

กุมารและกุมารีน้อย น่ารักน่าเอ็นดู  ในรัชกาลที่ ๖  ถ้ายังอยู่จนบัดนี้ก็เป็นคุณทวดกันแล้ว
น่าจะเป็นพี่น้องเพราะเค้าหน้าไปทางเดียวกัน   การแต่งกายสะท้อนถึงหัวเลี้ยวของยุคเก่าที่มาชนกับยุคใหม่พอดี
พี่สาวคนโตคนซ้ายสุด เป็นเด็กยุคเก่าที่ยังไว้ผมจุก รอวันโกนเพื่อประกาศตัวว่าพ้นวัยเด็กแล้ว    อยู่บ้านเธออาจสวมเสื้อคอกระเช้า  แต่เมื่อมาถ่ายรูปซึ่งเป็นโอกาสสลักสำคัญ เธอก็สวมเสื้อตัวสวยประดับโบจีบแพรวพราว  คล้องสร้อยคอ ห้อยประหล่ำหรืออะไรคล้ายๆประหล่ำ   คุณแม่ไม่ลืมสวมสร้อยข้อมือและแหวนให้ด้วย  เนื้อตัวว่างๆเกินไปมันน่าเกลียด

ส่วนน้องสาวคนขวาเมื่อเกิดมานั้น คุณแม่เปลี่ยนใจไม่ให้ไว้จุกแบบโบราณ   หนูน้อยก็เลยได้ไว้ผมยาวสยาย อาจจะม้วนให้หยิกเป็นลอน เพื่อรับกับคาดโบแบบเด็กฝรั่ง  เสื้อติดลูกไม้และโจงกระเบนผืนเล็กสั่งทอพิเศษ บอกให้รู้ถึงฐานะคุณพ่อคุณแม่ว่าไฮโซเอาการอยู่

น้องชายคนเล็กสุดน่าจะเป็นขวัญใจของพ่อแม่  เพราะมีพี่สาวแล้วสองคน มีน้องชายคลานตามมาอีกคน ก็น่ายินดี  คุณชายน้อยจึงได้แต่งชุดทหารเรืออันเป็นแฟชั่นโก้ของเด็กผู้ชายสมัยปลายรัชกาลที่ ๕ ต่อกับรัชกาลที่ ๖  จุกเจิกไม่ต้องมีกันแล้ว  ตัดผมรองทรงหวีปาดแสกข้างแบบเด็กชายฝรั่ง    สวมสร้อยห้อยเหรียญ มีเข็มหรือเสมาที่ระลึกห้อยจากกระเป๋าเสื้อ     เดาว่าคงเป็นสิ่งประทานจากเจ้านาย บอกให้รู้ว่าคุณชายน้อยโตขึ้นมีสิทธิ์เป็นมหาดเล็ก ตามแบบลูกผู้ดีเขาเป็นกัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 21 ต.ค. 14, 11:04

ขออนุญาตส่งท้ายเรื่องท่านผู้หญิงพัน

งานพระราชทานเพลิงศพท่านผู้หญิงพัน ตรงกับวันที่ ๒๕ เมษายน ร.ศ. ๑๑๖
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯออกจากพระนครเพื่อประพาสยุโรป ตั้งแต่วันที่ ๗ เมษายน ร.ศ. ๑๑๖
เหตุการณ์ที่ว่า รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯ งานท่านผู้หญิงพัน ไม่น่าเป็นไปได้

เรื่องเล่าอีกเวอร์ชันหนึ่งเป็นของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จาก หนังสือ "ความทรงจำ" หน้า ๑๒๐-๑๒๒

ในตอนแรกเสวยราชย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพิ่งฟื้นจากอาการประชวร  ยังปลกเปลี้ยทรงพระดำเนินไม่ได้ไกล  ต้องทรงพระราชยาน และให้ทอดสะพานบนขั้นบันไดหามพระราชยานขึ้นไปจนบนพระมหาปราสาทอยู่หลายวันจึงทรงพระราชดำเนินได้สะดวก

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยตรัสเล่าเรื่องเมื่อครั้งนั้นเรื่อง ๑ ซึ่งควรรักษาไว้มิให้ศูนย์เสีย เล่าที่ตรงนี้ก็เหมาะดี  คือวันสรงน้ำพระบรมศพ เมื่อพระองค์ทรงพระเก้าอี้ผ่านไปในห้องพระฉนวนพระอภิเนาวนิเวศน์ อันภรรยาข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยคอยเผ้าอยู่  เวลานั้นแม้ยังทรงปลกเปลี้ยมากแต่ได้พระสติแล้ว  ได้ยินท่านผู้หญิงพัน ภรรยาเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์พูดขึ้นเมื่อเสด็จผ่านพอพ้นไปว่า "พ่อคุณ นี่พ่อจะได้อยู่สักกี่วัน"  ตรัสเล่าเรื่องนี้ท่านผู้หญิงพันถึงอนิจกรรมในเวลาสิ้นบุญวาสนาแล้วช้านาน  ด้วยทรงปรารภจะเสด็จไปเผาศพท่านผู้หญิงพันเหมือนอย่างทูลกระหม่อมเสด็จไปเผาศพหม่อมเจ้าทินกร (เสนีวงศ์)  เรื่องของหม่อมเจ้าทินกรนั้นเกิดเมื่อตอนปลายรัชกาลที่ ๓ เพราะคนมักอยากรู้กันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือไม่  หม่อมเจ้าทินกรเป็นผู้รู้ตำหมอดู พยากรณ์ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคงไม่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินด้วยพระชันษาจะสั้น  ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ทรงนำพา  ครั้นเสด็จเสวยราชย์ก็ทรงชุบเลี้ยงหม่อมเจ้าทินกรตลอดมาจนสิ้นชีพตักษัย  ก็การปลงศพหม่อมเจ้านั้น แต่ก่อนมาไม่มีประเพณีที่พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จไปพระราชทานเพลิงศพ  เป็นแต่ทรงจุดเทียนให้ข้าราชการเอาเพลิงกับเครื่องขมาศพไปพระราชทาน  วันจะปลงศพหม่อมเจ้าทินกรนั้น เจ้าพนักงานเอาศิลาหน้าเพลิงกับพานเครื่องขมาศพเข้าไปตั้งถวายสำหรับทรงสับศิลาหน้าเพลิง และทรงจบเครื่องขมาตามธรรมเนียม  พอพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นกระดาษบอกนามศพหม่อมเจ้าทินกรที่พานเครื่องขมา  ก็ตรัสสั่งให้เรียกเรือพระที่นั่งในทันที  เสด็จข้ามไปยังเมรุที่วัดอมรินทร  ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลแล้วเมื่อจะพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าทินกรด้วยพระหัตถ์ ตรัสว่า "เจ้าทินกร แกตายก่อนข้านะ" ดังนี้  เมื่อพระราชทานเพลิงแล้วตรัสไต่ถามครอบครัวของหม่อมเจ้าทินกรได้ความว่าลูกหลานไม่มีที่พึ่งอยู่หลายคน  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ลูกเข้ารับราชการ  ส่วนหลานชายที่เป็นเด็กอยู่สองคน  โปรดฯให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำนุบำรุง  คนหนึ่งชื่อ ปลื้ม ต่อมาได้เป็นนายร้อยเอกหลวงวิชิตชาญศึก แต่ถึงแก่กรรมเสียแล้ว  อีกคนหนึ่งชื่อ แปลก ได้เป็นที่พระยาสากลกิจประมวลในกรมแผนที่  ยังมีชีวิตอยู่ในเวลาเมื่อฉันแต่งหนังสือนี้  แต่การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปพระราชทานเพลิงศพท่านผู้หญิงพันนั้น หาสำเร็จดังพระราชประสงค์ไม่  ด้วยปลงศพในเวลาประพาสอยู่ในยุโรปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐


มีเหมือนกันตรงที่ท่านผู้หญิงพันพูดถึงรัชกาลที่ ๕ นี่แหละ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 21 ต.ค. 14, 19:12

ภาพ ๓ กุมารและกุมารีในความเห็นที่ ๑๘๖ ดูจากทรงผมของกุมารีคนขวาไว้ผมยาวตามพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สตรีเริ่มไว้ผมยาวเมื่อทรงเริ่มมีฝ่ายใน ใน พ.ศ. ๒๔๖๓ แล้ว  ในขณะที่กุมารน้อยคนกลางห้อยเสมาอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อที่คอ  แสดงว่าเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานนาม  และที่อกเสื้อแขวนเหรียญหมูที่ระลึกการฉลองพระชนมายุในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗  จึงประมาณได้ว่าภาพนี้น่าจะฉายในตอนปลายรัชกาลที่ ๖
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 22 ต.ค. 14, 14:57

ขอบคุณค่ะคุณ V_Mee

รูปไฮโซโบราณที่มี  จากอภินันทนาการของท่าน NAVARAT.C  ร่อยหรอหมดแล้วค่ะ   ส่วนที่ไปหามาใหม่จากหอจดหมายเหตุยังไม่มีจังหวะเวลาว่างจะไปรับ  แต่ยังไงก็ต้องไปเอามาจนได้  เพื่อจะต่อกระทู้นี้ไปอีกสักร้อยสองร้อยค.ห.

รูปที่เหลือนี้คือ ภาพซ้ายเป็นแหม่มสาวในยุค 1920s ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ 6  ไม่รู้ว่าเป็นภาพนางแบบหลงมาจากเมืองนอก หรือเธอเป็นแหม่มสาวในแบงค็อก   สวยไม่แพ้ชมพู่ อารยา   
เธอสวมจี้ห้อยคอที่น่าจะเป็นทับทิมล้อมเพชร  ลักษณะเหมือนอาภรณ์ของไทย    และแหวนเพชรเดี่ยวสวมบนนิ้วก้อย   ไม่ได้สวมบนนิ้วนางซ้ายอย่างแหวนหมั้นหรือแหวนแต่งงาน    เลยคิดว่าคงยังเป็นสาวโสดไม่ได้แต่งงาน  ก็คงไม่ใช่ภรรยาของนักเรียนนอกคนใดคนหนึ่ง

แฟชั่นที่สวมตรงกับภาพด้านขวา คือแฟชั่นยุค 1920s  เสื้อแบบเรียบๆแขนสั้นหรือแค่ไหล่  ต่อเอวต่ำลงไปถึงสะโพก  กระโปรงทรงตรงเรียบๆ  ส่วนผมดัดเป็นคลื่นด้วยคีม มีทั้งคีมร้อนและคีมเย็น


บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 28 ต.ค. 14, 08:57

ยังติดตามกระทู้นี้อยู่นะเจ้าคะ ชอบดูภาพเก่าๆ ดูลักษณะการแต่งกายเจ้าค่ะ
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 28 ต.ค. 14, 09:13

อดใจรอสัก 2-3 วันนะคะ  ภาพชุดใหม่ใกล้จะมาแล้วค่ะ


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 28 ต.ค. 14, 11:10

ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะที่อุตส่าห์หาภาพมาให้ชม นอกจากชอบดู ยังชอบอ่านเกร็ดเสริมประกอบภาพด้วย ตั้งตารอชมชุดต่อไปค่ะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 29 ต.ค. 14, 15:51

ชุดใหม่มาแล้วค่ะ  ด้วยความเอื้อเฟื้อของท่าน NAVARAT.C ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

ภาพทั้งหมดนี้เลือกมาจากภาพบุคคลผู้ไม่ปรากฏชื่อในหอจดหมายเหตุค่ะ     มีความหวังนิดหน่อยว่าจะเจอลูกหลานของท่านแวะเข้ามาในเรือนไทย  จำชื่อบรรพชนของท่านได้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ภาพหญิงสาวในชุดตะวันตกนี้เห็นจะถ่ายในสมัยปลายรัชกาลที่ ๕ หรืออย่างช้าก็ต้นรัชกาลที่ ๖    เพราะชุดกระโปรงยาวลากดินแต่ไม่ใส่สุ่มกว้างภายในนี้เป็นแฟชั่นของควีนอเลกซานดรา  แขนเสื้อพองใหญ่แบบที่เราเรียกว่าแขนหมูแฮม   ตัวเสื้อร้อยริบบิ้นติดลูกไม้งดงาม สวมหมวกปีกกว้างมีริบบิ้นผูกไว้ใต้คาง  เป็นชุดออกนอกบ้านอย่างเป็นทางการ     ลักษณะเป็นเสื้อผ้าที่น่าจะทำขึ้นในยุโรป ไม่ใช่เย็บในสยาม
เธอเป็นใครกันหนอ  ถึงเคยใช้ชีวิตอยู่ในต่างแดน   เมื่อกลับมาก็แต่งกายอย่างที่เคยแต่ง มาถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกในสตูดิโอ   กิริยาท่าทางที่นั่งแสดงว่าเคยชินกับนั่งบนเก้าอี้และโซฟา  ไม่ขัดเขิน    เธอเป็นภรรยาหรือลูกสาวทูตไทยที่ไปประจำในต่างแดนกระมัง    ดูหน้าแล้วก็นับว่าเป็นคนงามคนหนึ่ง   นึกถึงเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน ขึ้นมา คงจะบุคลิกคล้ายๆอย่างนี้


บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 30 ต.ค. 14, 13:50

ชุดใหม่มาแล้วค่ะ  ด้วยความเอื้อเฟื้อของท่าน NAVARAT.C ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

ภาพทั้งหมดนี้เลือกมาจากภาพบุคคลผู้ไม่ปรากฏชื่อในหอจดหมายเหตุค่ะ     มีความหวังนิดหน่อยว่าจะเจอลูกหลานของท่านแวะเข้ามาในเรือนไทย  จำชื่อบรรพชนของท่านได้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ภาพหญิงสาวในชุดตะวันตกนี้เห็นจะถ่ายในสมัยปลายรัชกาลที่ ๕ หรืออย่างช้าก็ต้นรัชกาลที่ ๖    เพราะชุดกระโปรงยาวลากดินแต่ไม่ใส่สุ่มกว้างภายในนี้เป็นแฟชั่นของควีนอเลกซานดรา  แขนเสื้อพองใหญ่แบบที่เราเรียกว่าแขนหมูแฮม   ตัวเสื้อร้อยริบบิ้นติดลูกไม้งดงาม สวมหมวกปีกกว้างมีริบบิ้นผูกไว้ใต้คาง  เป็นชุดออกนอกบ้านอย่างเป็นทางการ     ลักษณะเป็นเสื้อผ้าที่น่าจะทำขึ้นในยุโรป ไม่ใช่เย็บในสยาม
เธอเป็นใครกันหนอ  ถึงเคยใช้ชีวิตอยู่ในต่างแดน   เมื่อกลับมาก็แต่งกายอย่างที่เคยแต่ง มาถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกในสตูดิโอ   กิริยาท่าทางที่นั่งแสดงว่าเคยชินกับนั่งบนเก้าอี้และโซฟา  ไม่ขัดเขิน    เธอเป็นภรรยาหรือลูกสาวทูตไทยที่ไปประจำในต่างแดนกระมัง    ดูหน้าแล้วก็นับว่าเป็นคนงามคนหนึ่ง   นึกถึงเจ้าศรีพรหมา ณ น่าน ขึ้นมา คงจะบุคลิกคล้ายๆอย่างนี้

คุณหญิงกลิ่นแก้วของแม่การะเกดรึเปล่าคะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง