เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3358 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ช., ม.ม. คืออะไรคะ
nevergiveup
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


 เมื่อ 23 ก.ย. 14, 01:04

ขอเรียนถามผู้รู้ค่ะ  คือคุณทวดของดิฉันท่านเป็นข้าหลวงกำกับหัวเมืองในมณฑลอีสานสมัยรัชกาลที่ห้า  ในราชกิจจานุเบกษามี น.ช., ม.ม. ต่อท้ายราชทินนามท่าน  แต่ดิฉันค้นไม่เจอว่า น.ช. และ ม.ม. นั้นคือเครื่องราชอะไร  และมีเทียบได้กับอะไรในสมัยนี้คะ 
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 ก.ย. 14, 06:10

เป็นชื่อย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลช้างเผือกและมงกุฎสยามในอดีต
น.ช.คือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผิกชั้นที่ ๓  ชื่อเต็ม  นิภาภรณ์ช้างเผือก  ปัจจุบันเรียกว่า ตริตาภรณ์ช้างเผิอก
ม.ม.คือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยามชั้นที่ ๓  ชื่อเต็ม  มัณฑนาภรณ์มงกกุฎสยาม  ปัจจุบันเรียกว่า  ตริตาภรณ์มงกุฎไทย

ในสมัยก่อนผู้ที่ได้รับพระราชทานตราชั้นที่ ๓ นี้ต้องมีบรรดาศักดิ์ชั้น พระยาขึ้นไปเลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 ก.ย. 14, 09:05

น.ช.คือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผิกชั้นที่ ๓  ชื่อเต็ม  นิภาภรณ์ช้างเผือก  ปัจจุบันเรียกว่า ตริตาภรณ์ช้างเผิอก

พระราชบัญญัติเครื่องราชอิศริยาภรณ์ช้างเผือก รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๘



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 ก.ย. 14, 09:13

ม.ม.คือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยามชั้นที่ ๓  ชื่อเต็ม  มัณฑนาภรณ์มงกกุฎสยาม  ปัจจุบันเรียกว่า  ตริตาภรณ์มงกุฎไทย

พระราชบัญญัติเครื่องราชอิศริยาภรณ์มงกุฎสยาม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๘



บันทึกการเข้า
nevergiveup
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 ก.ย. 14, 17:43

ขอบคุณทั้งสองท่านมากค่ะสำหรับข้อมูล

ค่ะคุณV_Mee  คุณทวดของดิฉันท่านเป็นข้าหลวงกำกับบริเวณขุขันธ์  มณฑลอิสาน  มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา  พระยาบำรุงบุระประจันต์ (จันดี  กาญจนเสริม) จางวางเมืองขุขันธ์
ท่านเป็นข้าราชการหัวเมืองคนสำคัญคนหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านปราบกบฎผู้มีบุญอิสาน ปราบโจรผู้ร้าย เกณฑ์ราษฎรตัดทางเพื่อเดินสายโทรเลขจากขุขันธ์ไปจำปาศักดิ์และเสียมราช  และคอยระแวดระวังพวกฝรั่งเศสแถวชายแดนเขมรอีกด้วย  กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เคยมีโทรเลขแจ้งข้อราชการถึงกรมพระยาดำรง ฯ โดยเปรียบเทียบพระยาบำรุงบุระประจันต์เป็นแขนซ้ายของท่าน โดยมีเจ้านครจำปาศักดิ์เป็นแขนขวา  ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยาม ชั้นที่ ๓ มัณฑณาภรณ์ ในวันที่ ๒๓ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๙ เมื่อครั้งในหลวงรัชกาลที่ ๕ เสด็จเปิดทางรถไฟสายนครราชสีมาเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม  จากนั้นพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องราชแก่ข้าราชการหัวเมือง  คุณทวดของดิฉันได้เดินทางมาจากขุขันธ์เพื่อรับพระราชทานในครั้งนี้ด้วย  ส่วนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกชั้นที่ ๓ นิภาภรณ์ช้างเผือกนั้นดิฉันไม่เคยได้ยินมาก่อนและไม่ทราบว่าท่านได้รับพระราชทานเมื่อใด

ขอเรียนถามอีกหนึ่งคำถามค่ะ  หากเราต้องการทราบว่าเครื่องยศพระยาที่พระยาแต่ละท่านได้รับพระราชทานพร้อมสัญญาบัตรนั้นมีอะไรบ้าง จะไปสืบค้นได้จากเอกสารอะไรได้บ้างคะ  เพราะเท่าที่ทราบพระยาแต่ละท่านได้รับพระราชทานไม่เหมือนกันถึงแม้จะบรรดาศักดิ์พระยาเหมือนกัน  คุณพ่อและคุณป้าเล่าให้ฟังว่าตอนเด็ก ๆ เคยเห็นรูปถ่ายคุณทวด  เสื้อครุย  ดาบ  กระโถน  และของใช้ส่วนตัวของคุณทวดเก็บไว้ในตู้กระจกใหญ่หัวเตียงคุณปู่  แต่น่าเสียดายที่บ้านโดนไฟไหม้ทั้งหลัง  ลูกหลานรุ่นหลัง ๆ จึงไม่มีโอกาสได้เห็นของเหล่านั้น

ขอบคุณมากค่ะ 
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 ก.ย. 14, 19:37

เครื่องยศข้าราชการสมัยก่อนนั้นมีหลายอย่างครับ  ปกติผู้ที่ได้รับพระราชทานตราจุลจอมเกล้า ชั้นที่ ๓ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ จะได้รับพระราชทานโต๊ะ (พานปากแบน) รองคนโททอง  เรียกกันเป็นสามัญว่า "พระยาโต๊ะทอง"  ถัดไปเป็น "พระยาพานทอง" คือ ผู้ที่ได้รับพระราชทานตราจุลจอมเกล้าชั้นที่ ๒ ทุติยจุลจอมเกล้า และทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ  ได้รับพระราชทานพานหมากทองคำเพิ่มเติมจากชั้นที่ ๓ ถัดไปผู้ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา  จึงจะได้รับพระราชทานตราจุลจอมเกล้า ชั้นที่ ๑ ปฐมจุลจอมเกล้า  ได้รับพระราชทานเครื่องยศเพิ่มเติมอีกหลายอย่าง  ทั้งเสื้อ  กระบี่ฝักทอง มาลา  ฯลฯ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 ก.ย. 14, 08:38

คุณทวดของดิฉันท่านเป็นข้าหลวงกำกับบริเวณขุขันธ์  มณฑลอิสาน  มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา  พระยาบำรุงบุระประจันต์ (จันดี  กาญจนเสริม) จางวางเมืองขุขันธ์

ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยาม ชั้นที่ ๓ มัณฑณาภรณ์ ในวันที่ ๒๓ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๙ เมื่อครั้งในหลวงรัชกาลที่ ๕ เสด็จเปิดทางรถไฟสายนครราชสีมาเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม  จากนั้นพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องราชแก่ข้าราชการหัวเมือง  คุณทวดของดิฉันได้เดินทางมาจากขุขันธ์เพื่อรับพระราชทานในครั้งนี้ด้วย  

พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์



บันทึกการเข้า
nevergiveup
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 ก.ย. 14, 09:34

ขอบพระคุณทั้งสองท่านเป็นอย่างมากค่ะ  ดิฉันเคยพยายามไปค้นหารูปของท่านที่สำนักหอจดหมายเหตุเพราะรูปที่บ้านคุณปู่ไฟไหม้ไปหมดแล้ว  แต่ก็หาไม่เจอค่ะเพราะท่านเป็นข้าราชการหัวเมืองชายแดน  คงมีโอกาสน้อยมากที่จะเข้ามาในพระนคร  หากผู้รู้ท่านใดมีรูปถ่ายข้าราชการทางขุขันธ์ (ปัจจุบันคือศรีสะเกษ) มณฑลอิสาน มณฑลอุบล และพบชื่อพระยาบำรุงบุระประจันต์ (จะเป็นรูปหมู่หรือรูปเดี่ยวก็ได้ค่ะ) กรุณาแชร์ด้วยนะคะ  เพราะคุณป้าของดิฉันอายุแปดสิบกว่าแล้ว ท่านยังพอจำเค้าหน้ารูปคุณทวดที่เห็นในห้องนอนคุณปู่ได้ค่ะ  ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 ก.ย. 14, 11:58

คุณ "ไม่ยอมแพ้" สามารถติดต่อเรื่องรูปของพระยาบำรุงฯ  ได้ที่คุณคงปฐม กาญจนเสริม ตามรายละเอียดที่ระบุไว้ใน เว็บสภาวัฒนธรรมเมืองขุขันธ์  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
nevergiveup
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 ก.ย. 14, 00:12

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง