Kunlamata
|
ผู้ใหญเล่าว่าคุณปู่ของดิฉันกับพี่สาวของท่านลงมาจากพิไชย มาเรียนหมอในวัง สกุลพิชัยแพทย์(สะกดแบบนี้ค่ะ)ตรงกับประวัติหลวงวิวิธเวชการ(เวช)ซึ่งเป็นแพทย์กรมมหาดเล็กในร.6 อยากทราบว่าถ้ามาเรียนแล้วต้องรับราชการหรือไม่รับก็ได้ ดิฉันพบหลักฐานชื่อขุนไชยแพทย์ในจดหมายเหตุรายวันร.6 ดังในภาพที่แคพเชอร์มาค่ะ ขุนไชยแพทย์ขอพระราชทานนามสกุลหรือเปล่า มีใครทราบบ้าง กรณีเดียวกับเจ้าจอมผาด ทันตานนท์ในร.5กับบิดาพระยาพิไชย(กระต่าย)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kunlamata
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 18 ก.ย. 14, 13:04
|
|
จากจดหมายเหตุรายวันร.6
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CVT
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 18 ก.ย. 14, 14:42
|
|
คนเดียวกันหรือเปล่าครับ จากทำเนียบศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช ................. เสวกโท เวช พิชัยแพทย์
รุ่น: 14 ปี พ.ศ.จบการศึกษา: 2449-2450
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 18 ก.ย. 14, 15:29
|
|
คุณหลวงเวชน่าจะจบจาก โรงเรียนราชแพทยาลัย หลักสูตรแพทย์ประกาศนียบัตร ๔ ปี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kunlamata
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 18 ก.ย. 14, 16:17
|
|
ดูปีน่าจะใช่ค่ะ รับราชการจนถึงปี2456ที่พระราชทานนามสกุล สามารถเช็คชื่อบุญ มีชื่อเรียนในศิริราชหรือราชแพทยาลัยมั้ยคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kunlamata
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 18 ก.ย. 14, 16:32
|
|
ขอบพระคุณทุกท่านที่ช่วยสืบค้นข้อมูลคุณหลวงเวช ท่านเป็นญาติแน่ๆจึงได้ใช้นามสกุลพิชัยแพทย์ ดิฉันอยากเช็คคุณปู่บุญนะคะ จากปากผู้ใหญ่อยากรู้ว่าท่านรับราชการหรือไม่ได้รับราชการ มาเรียนหมอจริงมั้ย หรือสับสนกับคุณหลวงเวช
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kunlamata
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 18 ก.ย. 14, 16:41
|
|
ส่วนคุณย่าที่แต่งงานกับหลวงวิมลฯ ลงมาเรียนการเรือนในวัง เป็นไปได้ แต่เรียนหมอตามผู้ใหญ่เล่า ก็น่าสงสัย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CVT
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 18 ก.ย. 14, 18:45
|
|
ดูปีน่าจะใช่ค่ะ รับราชการจนถึงปี2456ที่พระราชทานนามสกุล สามารถเช็คชื่อบุญ มีชื่อเรียนในศิริราชหรือราชแพทยาลัยมั้ยคะ
บุญ นามสกุลอะไรครับ ถ้านามสกุล พิชัยแพทย์ มีคนเดียวคือ เวช พิชัยแพทย์ ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kunlamata
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 18 ก.ย. 14, 19:35
|
|
บุญ พิชัยแพทย์ค่ะ เป็นคุณปู่ดิฉัน ถ้าเช็คแล้วไม่มีก็แปลว่าท่านไม่ได้เรียนที่ศิริราช กำลังสงสัยว่าเรียนแพทย์แผนไทยที่ไหน เพราะคุณพ่อเล่าว่าคุณปู่บุญคุณย่าพี่สาวคุณปู่เรียน คุณพ่อก็เรียนเสริมอาชีพหลักค่ะที่สมาคมแพทย์แผนไทยท่านเกิดปี2469 ไม่ทราบเหมือนกันว่าเรียนปีไหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CVT
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 18 ก.ย. 14, 20:13
|
|
แพทย์แผนไทยไม่มีแหล่งข้อมูลสืบค้นครับ ศิริราชเป็นแพทย์แผนปัจจุบันครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kunlamata
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 18 ก.ย. 14, 21:34
|
|
ลองดูข้อมูลนี้นะคะ มีแพทย์แผนไทยด้วยช่วงแรกที่ก่อตั้ง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kunlamata
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 18 ก.ย. 14, 21:46
|
|
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การแพทย์แผนไทยเจริญก้าวหน้ามาก ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง โรงศิริราชพยาบาล (ปัจจุบัน เรียกกันทั่วไปว่า โรงพยาบาลศิริราช) ใน พ.ศ. ๒๔๓๐ เพื่อเป็นสถานพยาบาลและบำบัดโรค ทั้งแบบแผนเดิม และแบบแผนตะวันตก จัดตั้งโรงเรียนแพทยากรขึ้น และจัดพิมพ์ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ซึ่งมีเนื้อหาของแพทย์แผนเดิมและแพทย์แผนตะวันตก ใน พ.ศ. ๒๔๓๒ เพื่อใช้ในโรงเรียน แต่จัดพิมพ์ได้เพียง ๓ เล่มเท่านั้นก็ล้มเลิกไป ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกโรงเรียนแพทยากรขึ้นเป็น โรงเรียนราชแพทยาลัย และยังคงให้เปิดสอนการแพทย์ทั้ง ๒ แบบ คือ แผนเดิม และแผนตะวันตก ใน พ.ศ. ๒๔๔๔ กรมพยาบาลได้จัดพิมพ์ตำราแพทย์ศาสตร์ เป็นเล่มๆ ต่อจากตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ที่ยกเลิกไป โดยการรวบรวมตำราทั้งแผนโบราณ ที่ตรวจสอบแล้ว เช่น คัมภีร์ปฐมจินดา คัมภีร์ธาตุอภิญญา คัมภีร์ธาตุบรรจบ ตำราแพทย์ฝรั่งที่สอนกันอยู่ในโรงเรียน และในปีเดียวกันนี้ มีการผลิตยาตำราหลวงเป็นครั้งแรก จำนวน ๘ ขนาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kunlamata
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 18 ก.ย. 14, 21:47
|
|
ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ มีการจัดพิมพ์ ตำราแพทย์ศาสตร์วรรณา โดย พระยาประเสริฐศาสตร์ธำรง (หมอหนู) ได้รวบรวม และเรียบเรียงจากพระคัมภีร์โบราณ ที่ตรวจสอบแล้วหลายเล่ม และตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง มี ๒ เล่ม โดย พระยาพิศนุประสาทเวช (หมอคง) ได้รวบรวม และเรียบเรียงจากตำราแพทย์ไทยโบราณหลายเล่ม ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวงทั้ง ๒ เล่มนี้ รัฐประกาศให้ใช้เป็นตำราหลวง ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๑ พระยาพิศนุประสาทเวชเห็นว่า ตำรานี้ยากแก่การศึกษา จึงคัดเอาเฉพาะที่จำเป็น แล้วเขียนขึ้นใหม่ให้ง่ายขึ้น จัดพิมพ์เป็น ๓ เล่ม ให้ชื่อว่า ตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป หรือ ตำราเวชศึกษา ต่อมาได้มีประกาศให้ใช้ตำราทั้ง ๓ เล่มนี้ เป็นตำราหลวงเช่นกัน ใน พ.ศ. ๒๔๕๘ หลังจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตแล้ว ๕ ปี จึงมีการยกเลิกการสอนแพทย์แผนไทยในโรงเรียนราชแพทยาลัย และยกเลิกการจ่ายยาไทย ให้ผู้ป่วยในโรงศิริราชพยาบาล ต่อมามีการออก พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ปีพุทธศักราช ๒๔๖๖ ซึ่งทำให้การแพทย์แผนไทย พ้นจากระบบการแพทย์ของประเทศไทย และการแพทย์แบบตะวันตก เข้ามาแทนที่อย่างสมบูรณ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Kunlamata
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 18 ก.ย. 14, 22:00
|
|
คุณหลวงเวช เรียนในช่วงที่ยังมีสอนแพทย์แผนไทย และแพทย์ตะวันตก ทำอย่างไรจะค้นเรื่องคุณปู่คุณย่าได้ สมัยนั้นมีแพทย์ผู้หญิงมั้ยคะ ถ้ามีลองค้นดูนามสกุลมนตเสวี ดิฉันอยากเช็คให้แน่ใจ ถ้าไม่มีจะได้ตัดข้อมูลนี้ไป เหลือแค่เป็นญาติ ไม่ระบุอาชีพ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CVT
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 18 ก.ย. 14, 22:18
|
|
นามสกุล มนตเสวี ไม่มีในทำเนียบศิษย์เก่าศิริราชครับ ในทำเนียบศิษย์เก่าศิริราชจะเก็บข้อมูลเฉพาะแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่มีข้อมูลนักเรียนแพทย์แผนไทยครับ รุ่น ๑ คือรุ่นที่จบ พ.ศ.๒๔๓๕-๒๔๓๖
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|