เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3980 อยากทราบเรื่องการเปลี่ยนตัวสะกดอำเภอพิไชยเป็น"พิชัย"ค่ะ
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


 เมื่อ 16 ก.ย. 14, 17:52

อยากทราบเรื่องการเปลี่ยนตัวสะกดอำเภอพิไชยเป็น"พิชัย"ค่ะ หาไม่เจอ
บันทึกการเข้า
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 ก.ย. 14, 22:07

ค้นกูเกิ้ลเจอแต่พระราชกิจจานุเบกษาฉบับที่เปลี่ยน อ.วิเศษไชยชาญ ประชาชนขอเปลี่ยนกลับด้วย

แสดงว่าของอ.พิไชย เปลี่ยนเป็นพิชัย คงทำนองเดียวกัน ใครพบว่าเป็นฉบับไหนเล่มไหนหน้าไหนมั้ยคะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 16 ก.ย. 14, 22:17

ข้อมูลใกล้เคียงเรื่องการเปลี่ยนตัวสะกดอ.วิเศษไชยชาญ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 17 ก.ย. 14, 09:23

ในประกาศนี้ยังเป็น "เมืองพิไชย" และ "เมืองอุตรดิฐ"

ประกาศเปลี่ยนนามเมืองพิไชยเป็นเมืองอุตรดิฐ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 17 ก.ย. 14, 09:31

ตอนดิฉันเด็กๆ   แม่น้ำนครชัยศรี ยังชื่อว่า แม่น้ำนครไชยศรีอยู่เลย
เช่นเดียวกับถนนนครไชยศรี  หรือศรีย่านในปัจจุบัน 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 17 ก.ย. 14, 09:56

อย่างน้อยใน พ.ศ. ๒๔๗๒ สมัยรัชกาลที่ ๗ ในราชกิจจาลง "พิชัย" แล้วครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 17 ก.ย. 14, 10:04

การเรียกชื่ออำเภอพิชัยยังสับสนอยู่ ในพระราชกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๔๘๒ ก็ยังใช้ "อำเภอพิไชย"



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 17 ก.ย. 14, 10:17

พระราชกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๔๘๖ ใช้ว่า "อำเพอพิชัย" หลังจาก พ.ศ. ๒๔๘๖ ก็ใช้ "อำเภอพิชัย" เรื่อยมา  ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 18 ก.ย. 14, 08:35

คำว่า "ไชย" และ "ชัย" มาจากภาษาบาลีสันสกฤตคนละคำ มีความหมายแตกต่างกัน

ไชย มาจาก เชยฺย แปลว่า ดีกว่า, เจริญกว่า

ส่วน ชัย มาจาก ชย แปลว่า การชนะ

ในพจนานุกรมฉบับของท่านรอยอิน พ.ศ. ๒๕๕๔ เก็บไว้แต่คำว่า "พิชัย-ความชนะ" และ "ชัยศรี-ความสง่าผ่าเผยด้วยความชนะ" ท่านรอยอินหนักไปทางชัยชนะไม่ให้ความหมายทางความเจริญเลยจึงไม่มีคำว่า "พิไชย" และ "ไชยศรี"

พิไชย เป็นคำที่เขียนมาแต่โบราณ เช่นเดียวกับคำว่า น่า และ เปน (ในตัวอย่างข้างล่าง) เมื่อมีการจัดระเบียบการสะกดภาษาไทยยึดถึอตามพจนานุกรม จึงต้องเปลี่ยนเป็น พิชัย, หน้า และเป็น ด้วยประการฉะนี้แล  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 18 ก.ย. 14, 09:25

คำว่า "ไชย" และ "ชัย" มาจากภาษาบาลีสันสกฤตคนละคำ มีความหมายแตกต่างกัน

ไชย มาจาก เชยฺย แปลว่า ดีกว่า, เจริญกว่า

ยังเหลืออยู่ในคำว่า ไชโย กระมัง  ท่านรอยอินไม่ได้เปลี่ยนเป็น ชัยโย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 18 ก.ย. 14, 09:28

ลองไปหาตราประทับประจำวัน ของอำเภอพิชัย จากตราไปรษณียากร ดูสิครับว่า "พิชัย" หรือ "พิไชย" / อีกแหล่งหนึ่งก็พวก "รถไฟ"

แต่เมื่อคืนดูเอกสารในสมัยรัชกาลที่ ๗ ก็เชียน "พิชัย"
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 18 ก.ย. 14, 11:31

ยังเหลืออยู่ในคำว่า ไชโย กระมัง  ท่านรอยอินไม่ได้เปลี่ยนเป็น ชัยโย

ท่านรอยอินเก็บไว้ ๒ คำคือ "ชโย-ความชนะ, คําที่เปล่งเสียงอวยชัยให้พรหรือแสดงความดีใจเมื่อได้รับชัยชนะเป็นต้น" และ "ไชโย- คําที่เปล่งออกมาแสดงความดีใจหรืออํานวยพร"  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Kunlamata
พาลี
****
ตอบ: 226


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 18 ก.ย. 14, 12:58

ขอบพระคุณทุกท่าน
สาเหตุที่ถามและค้นเพราะ การสะกดนามสกุลของดิฉันเป็น"พิชัยแพทย์" เกรงว่าจะซ้ำเพราะตอนเพื่อนเห็นในหนังสือพระราชทาน ดิฉันก็แย้งว่าสะกดไม่เหมือน เพื่อนบอกว่า"ชัย"กับ"ไชย" แค่นั้น อาจเปลี่ยนตามชื่ออำเภอ นามสกุลพระราชทานซ้ำไม่ได้ ให้ไปถามคุณพ่อ ก็ได้ความว่า คุณปู่บุญกับพี่สาวของท่านลงมาจากพิชัยมาเรียนหมอในวัง
เป็นหมอทั้งสองท่าน
คุณย่าแต่งงานกับหลวงวิมลสัจจารักษ์(มนต์ มนตเสวี)ก่อนคุณหญิงอบ  คุณแม่คุณนารถ มนตเสวี ผู้ว่าเมืองชลฯคนดัง ตามที่ผู้ใหญ่เล่า สันนิษฐานว่าท่านสิ้นคุณหลวงจึงแต่งงานใหม่
พี่สาวคนละแม่ของดิฉัน เคยไปอยู่ที่จวนข้าหลวงชลบุรี เล่าว่าคุณนารถเรียกพี่สะใภ้คือคุณแววที่เลี้ยงคุณพ่อว่า พี่ค่ะ เพราะเป็นพี่สะใภ้ภรรยาพี่ชายคุณเก๊าะลูกชายหลวงวิมลกับคุณย่า
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง