เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 11533 "วรรณศิลป์ในจิตวิญญาณไทย" ปาฐกถาศิลป์ พีระศรี ประจำปีพ.ศ. 2557
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 22 ก.ย. 14, 10:39

เข้ามาติดตามฟังปาฐกถา ของท่านรศ.ดร.วินิตาอยู่ครับ

สีของผ้าม่านและผ้าคลุมโต๊ะท่านปาฐก เป็นสีประจำมหาวิทยาลัยหรือครับ
ขออภัยครับท่านเป็นคุณหญิงด้วย
รศ.ดร.คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 22 ก.ย. 14, 11:34

สีของมหาวิทยาลัยคือ viridian green   ค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 22 ก.ย. 14, 11:37

ขอโทษคุณ Jalito และท่านอื่นๆด้วย มัวยุ่งกับงานภายนอกจนลืมกระทู้ไปวันหนึ่งเต็มๆ
ขอต่อค่ะ

จากตัวอย่างนี้ จะเห็นได้ว่ากวีเพลง เป็นผู้ที่รักวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทยอยู่มาก จึงสืบทอดภาษาศิลป์มาบรรจุไว้ในเพลงในยุคหลังกว่าสองร้อยปีได้อย่างกลมกลืน    สำนวนว่า “เอวบาง” ก็ดี  “ผมสลวยสวยขำดำเป็นเงา”  “กลิ่นเนื้อน้องนาง” ล้วนมีที่มาจากวรรณคดีไทยทั้งสิ้น
แมลงภู่คู่เคียงว่าย          เห็นคล้ายคล้ายน่าเชยชม
คิดความยามเมื่อสม       สนิทเคล้าเจ้าเอวบาง
(กาพย์เห่เรือชมปลา เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์)

ทรวดทรงส่งศรีไม่มีแม้น       อรชรอ้อนแอ้นประหนึ่งเหลา
ผมสลวยสวยขำงามเงา       ให้ชื่อเจ้าว่าพิมพิลาไลย
(ขุนช้างขุนแผน)

ชื่อกากีศรีวิลาศดั่งดวงจันทร์       เนื้อนั้นหอมฟุ้งจรุงใจ
เสมอเหมือนกลิ่นทิพมณฑาทอง       ผู้ใดต้องสัมผัสพิสมัย
กลิ่นกายติดชายผู้นั้นไป          ก็นับได้ถึงเจ็ดทิวาวาร   
(   กากีคำกลอน ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) )
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 22 ก.ย. 14, 11:39

    กวีเพลงที่กล่าวมานี้แม้ว่าไม่ได้สร้างสรรค์งานประพันธ์โดยตรง แต่ก็เห็นได้ว่าท่านเป็นผู้ที่อ่านวรรณคดีไทยด้วยใจรัก  เกิดความประทับใจในวรรณศิลปของวรรณคดี จนเกิดแรงบันดาลใจให้นำมาสร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งของงานคีตการ     ผู้ที่ผ่านขั้นตอนต่างๆมาได้เช่นนี้ได้คือผู้ที่เข้าถึงจิตวิญญาณของวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทย   สามารถนำมาเป็นแรงบันดาลใจ ให้สร้างงานศิลปะในอีกสาขาหนึ่ง         ถ้าเป็นวิจิตรศิลป์    การเข้าถึงจิตวิญญาณของวรรณศิลป์ก็จะออกมาในรูปของงานจิตรกรรมอันทรงคุณค่า  เช่น “กากี” ของ ช่วง มูลพินิจ
 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 22 ก.ย. 14, 11:40

      แต่ถ้าเป็นคีตการ    ก็จะมีกวีเพลงอย่างไพบูลย์ บุตรขัน แก้ว อัจฉริยะกุล  ไสล และท่านอื่นๆ ที่เข้าถึงจิตวิญญาณของวรรณศิลป์ และนำมาถ่ายทอดออกเป็นศิลปะสาขาอื่นที่ท่านชำนาญ
   
   จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้   จะเห็นได้ว่าวรรณคดีจึงมิได้มีไว้เพียงแค่แปลศัพท์ และการถอดความ สำหรับผู้เรียนที่จะสอบผ่านไปในแต่ละภาคการศึกษา   แต่ต้องคำนึงว่าทำอย่างไร จึงจะทำให้นักเรียนมองเห็นคุณค่าแท้จริงของวรรณคดี     ทั้งหมดนี้ ต้องอาศัยความตั้งใจของผู้สอนที่มีใจรักในวรรณคดี     จึงจะสามารถพาผู้เรียนเข้าถึงวรรณศิลป์ของภาษาและวรรณคดีไทย เพื่อบรรลุถึงจิตวิญญาณของวรรณคดีได้ตรงสุดปลายทาง

จบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 22 ก.ย. 14, 11:54

  ปาฐกถาให้เวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง     จึงไม่สามารถลงรายละเอียดมากกว่านี้ได้    และที่น่าเสียดายอีกอย่างคือข้อเขียนใดๆเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายทอดวรรณศิลป์ของ "เสียง" ให้คนอ่านเข้าใจได้     ถ้าไปนั่งฟังอยู่ด้วยจะได้ยินการอ่านทำนองเสนาะและเสภา ซึ่งเป็นศิลปะเฉพาะตัวของคนไทยแต่โบราณ    จะรู้จักศิลปะของตัวหนังสือได้มากกว่าอ่านในใจค่ะ

  ในงานนี้มีไฮไลท์คือการขับเสภาของอาจารย์วัฒนะ บุญจับและอาจารย์เทวี บุญจับ มาให้คนฟังเข้าใจได้ว่า แต่เดิมมาวรรณคดีของไทยส่วนใหญ่มีเอาไว้ "ฟัง"  ไม่ได้มีเอาไว้ "อ่าน"    ความไพเราะของวรรณคดีที่เกิดจากคำ  ยังไม่พอ จะต้องมีเสียงออกมากระทบหูให้เกิดความซาบซึ้งตรึงใจด้วย  จึงจะบรรจบครบวงของศิลปะตัวหนังสือ
  เราเพิ่งมาอ่านในใจกันเงียบๆกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันเมื่อมีอิทธิพลของวัฒนธรรมการอ่านของตะวันตกเข้ามานี่เอง  เริ่มตั้งแต่มิชชันนารีนำการพิมพ์เข้ามาในประเทศ    เกิดความแพร่หลายของจำนวนหนังสือ สามารถซื้อหากันอ่านหนึ่งคนต่อหนึ่งเล่มได้  ก่อนหน้านี้ เรื่องเขียนทั้งหลายต้องเขียนต้องคัดกันด้วยลายมือ    ถ้าจะเผยแพร่ให้คนรู้จักมากๆก็ต้องเรียกมานั่งล้อมวงฟังกัน   แม้แต่วรรณคดีของสุนทรภู่เองก็เขียนมือ ใครอยากอ่านมาขอคัดไป ให้อาลักษณ์เป็นคนคัด  แล้วไปอ่านให้ฟังกันหลายๆคน
   ส่วนเสภาอย่างขุนช้างขุนแผนมีไว้ขับอยู่แล้ว ไม่ได้มีไว้เปิดอ่านอย่างเราอ่านกันทุกวันนี้
   เสียงขับของอาจารย์วัฒนะและอ.เทวี จึงทำให้เข้าถึงวรรณศิลป์ในจิตวิญญาณไทยได้ชัดเจนกว่าอ่านข้อเขียนปาฐกถาอย่างเดียวค่ะ

  ช่วงนี้มีงานยุ่ง ต้องทำนอกเรือนไทย    จบแล้วจะกลับมาเล่าให้ฟังนะคะ

  ภาพข้างล่างนี้คืออ.วัฒนะ กับอ.เทวีค่ะ
  วัฒนะเป็นลูกศิษย์   เห็นมาตั้งแต่เรียนปี 1 จนจบแล้วไปต่อปริญญาโทที่จุฬา  เป็นคนขับเสภาได้ไพเราะมาก เขาไปเรียนวิธีการขับจากปรมาจารย์ด้านนี้หลายท่านด้วยกัน ถ่ายทอดวิชามาไว้ได้หมด   โชคดีมากที่ขอตัวมาร่วมรายการได้   กลายเป็นไฮไลท์ของปาฐกถาได้ค่ะ
  ส่วนเทวี ภรรยาของวัฒนะ ก็ขับเสภาได้เพราะพริ้งหาตัวจับได้ยาก  ได้ไปโชว์คู่กันที่ต่างประเทศเสมอ    เป็นคู่สร้างคู่สมกันโดยแท้



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 22 ก.ย. 14, 14:06

        อารมณ์ในวรรณคดี
 

        
                    แต่การพรรณนาที่มีทั้งสิ่งที่ตาเห็นเป็นรูปธรรม  กับอารมณ์อันเป็นนามธรรม รวมด้วยกัน จะให้มิติที่ลึกกว่า  เพราะมีทั้งรูปธรรมและนามธรรมประกอบกัน    ยิ่งถ้าเป็นอารมณ์หลายอย่างคละเคล้าปะปนกัน  ก็จะยิ่งส่งอารมณ์ให้ทวีมิติความลึกยิ่งขึ้น  
เช่นในบทนี้  เป็นบทพรรณนาดวงจันทร์ในเวลากลางคืนเช่นเดียวกับบทก่อนหน้า     แต่บทก่อนนั้นปราศจากอารมณ์ จึงไม่กระทบใจได้มากเท่ากับบทต่อไปนี้

            ไม่เห็นนางย่างขึ้นบนหอน้อย
พระจันทร์ฉายบ่ายคล้อยจำรัสไข
สว่างเวิ้งวงบ้านสงสารใจ
ใบไทรต้องลมระงมเย็น
เย็นฉ่ำน้ำค้างค้างใบไทร
จากเมียเสียใจไม่เล็งเห็น
โอ้น้ำค้างเหมือนนางน้ำตากระเด็น
เช้าเย็นยามนอนจะนอนนึก
ยามกินก็จะกินแต่น้ำตา
เฝ้าครวญคร่ำร่ำหาเวลาดึก
จะแสนคิดเช้าค่ำเฝ้ารำลึก
ตรึกแล้วเคืองขุ่นให้มุ่นใจ
                           (ขุนช้างขุนแผน)

ขับเสภาโดยอาจารย์วัฒนะ บุญจับ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 22 ก.ย. 14, 19:00

รวดเร็วปานกามนิตหนุ่ม
ดิฉันยังไม่เห็นเลยว่าลงยูทูปแล้ว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 22 ก.ย. 14, 20:10

รวดเร็วปานกามนิตหนุ่ม

สำนวนนี้ความหมายยังไง ๆ อยู่นา

           สำหรับผู้ที่จะให้ลืมความโทมนัสแสนสาหัส ที่เผาผลาญดวงใจอย่างเช่นข้าพเจ้านี้ เมื่อมีนางงามนำถ้วยทองอันเต็มปริ่มด้ยสุธารสความบันเทิง มาฉอเลาะรออยู่ที่ริมฝีปากแล้ว ไฉนจะไม่ดื่มโดยยินดีเล่า? อาศัยที่ข้าพเจ้ามีปฏิภาณทันใจ มีความรู้ในศิลปวิทยารู้จักการเล่นอันสมควรแก่การสมาคมทุกอย่าง นางคณิกาที่ลื่อชื่อจึ่งต้อนรับข้าพเจ้าเป็นแขกพิเศษ นางคนหนึ่งหลงใหลรักใคร่ข้าพเจ้ามาก เลยหยิ่งถึงทะเลาะกับเจ้านายองค์หนึ่งเพราะเรื่องข้าพเจ้า และเพราะได้เรียนรู้ภาษามารยาทโจรมาแล้วเป็นอย่างดี ข้าพเจ้าจึงคบหาสมาคมกับนางคณิกาชั้นต่ำด้วยอีกพวกหนึ่ง ถึงแม้ว่าความเป็นไปของพวกชั้นนี้จะเป็นชนิดที่เลวทราม ข้าพเจ้าก็ตีตนสนิทมิได้รังเกียจ จนนางพวกเหล่านั้น มีหลายคนที่ภักดีต่อข้าพเจ้าอย่างสุดชีวิตจิตใจ

          ดูก่อน ท่านอาคันตุกะ ข้าพเจ้าเปลี่ยนความประพฤติ ไปหมกมุ่นอยู่ด้วยความสนุกอย่างนี้ ที่ในเมืองข้าพเจ้าอย่างรวดเร็ว เท่ากับพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เลยมีคำพูดติดปากชาวอุชเชนีว่า "รวดเร็วปานกามนิตหนุ่ม" ฉะนี้

ถ้าสำนวนนี้น่าจะดีกว่า ยิ้มเท่ห์

So that it became, my friend, a proverbial saying in Ujjeni: "Talented as the young Kamanita."

ดูก่อน ท่านอาคันตุกะ อันวิชาความรู้ของข้าพเจ้านั้น เป็นที่พูดกันติดปากของประชาชนชาวอุชเชนีว่า "เชี่ยวชาญเหมือนมาณพกามนิตทีเดียว"

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 22 ก.ย. 14, 20:37

 ขออำภัย
ตามนี้ก็ได้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 30 ก.ย. 14, 19:41

ในกระทู้     หากให้ท่านเลือกเป็นนางในวรรณคดี ท่านจะเป็นนางอะไร และเพราะอะไรคะ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6086.msg137141;topicseen#msg137141

คุณประกอบให้ความเห็นเอาไว้ว่า
อย่างที่ท่านอาจารย์ใหญ่ว่า  เป็นนางในวรรณคดีชีวิตมักไม่ค่อยดี ไม่เหมือนพระเอก  ซึ่งแต่ละคน ถ้าแจกแจงรายละเอียดออกมา หาดีตามมาตรฐานปัจจุบันไม่ค่อยได้ คงไม่มีผู้หญิงดีๆ ที่ไหนอยากได้ ไม่ว่าจะพระอภัยมณี ขุนแผน  หนุมาน ศรีธนญชัย ฯลฯ  ถ้าดูคุณสมบัติการเป็นสามีที่ดีหรือเป็นพ่อที่ดีแล้ว สอบตกระนาวทุกคน
ศุภร บุนนาค เคยวิจารณ์ไว้ในหนังสือ "สมบัติกวี ขุนช้างขุนแผน" ว่า ขุนแผนเป็นทหารที่ดี จงรักภักดีต่อเจ้านายเสมอต้นเสมอปลาย แต่ในเรื่องส่วนตัวแล้ว เป็นพ่อและสามีที่ใช้ไม่ได้เลย
ข้อนี้ก็น่าจะมองได้ว่า กวีได้ใช้พฤติกรรมที่เอาแต่อารมณ์เป็นใหญ่ของขุนแผนนั้นเองเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดเรื่องราวอันมีสีสันจัดจ้านตลอดเรื่อง   ไม่ว่าเป็นหนุ่มวัยทีน หรือแก่จนเป็นปู่ได้แล้ว ขุนแผนก็ยังเอาอารมณ์ตัวเองเป็นใหญ่อยู่เช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
เริ่มตั้งแต่อยู่ในผ้าเหลืองในฐานะเณรแก้ว   ก็ยังทิ้งจีวรเข้าไปหาผู้หญิง โดยไม่ได้สนใจเลยว่าเป็นลูกสาวที่อยู่ในความปกครองของแม่  แม่ยังไม่ได้ยกให้ เท่ากับพระเอกผิดศีลข้อสามเต็มๆ  จนกระทั่งแก่ ขัดใจกับพระไวยก็ออกอุบายสมคบกับพลายชุมพลลูกชายคนเล็กยกทัพมาล่อพระไวยออกไปรบจะได้จับฆ่า
ดังนั้นถ้าหากว่าคนอ่านคนไหนเอาศีลธรรมเป็นตัวตั้ง  เอาขุนช้างขุนแผนขึ้นชั่งตาชั่งศีลธรรม  ก็คงจะมึนงง
ก็ขอบอกในทางตรงกันข้ามว่า ถ้าขุนแผนถือศีลห้า เรื่องนี้คงพับฐานไปตั้งแต่ตอนที่ ๑  แต่งต่อไม่ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง