เพิ่งจะได้เห็นคราวนี้เองครับอาจารย์ ขอเดาว่าเป็นม่องชิงช้าเมืองลับแลพ.ศ.2450
ส่วนประตูกำแพงเมืองลำปาง พ.ศ.2445 มีโอกาสขอเดาก่อนละครับ

ภาพนั้นมีลายมือเขียนข้างหลังว่าสถานีรถไฟเมืองอุตรดิษถ์ครับ แต่ไม่น่าจะหมายความว่าอยู่ในตัวเมืองเพราะที่นั่นเป็นที่ราบ ผมเลยไม่ทราบว่าเป็นเมืองอะไรแน่
ยังมีเนินเขาเล็กๆที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟอุตรดิตถ์มากที่สุด อยู่ทางด้านทิศตะวันตกไม่เกิน 1กิโลเมตร มีความเป็นไปได้อย่างมากครับ วัดนี้แปลกอยู่อย่างหนึ่งคือไม่ค่อยมีคนผ่านเข้าไป ทั้งที่อยู่แทบใจกลางเมือง (รวมทั้งตัวผมด้วย) คงเป็นเพราะทำเลตั้งอยู่หลบมุมกับเส้นทางสมัยปัจจุบัน แต่ผมมีความคุ้นเคยกับวัดนี้ตรงที่ได้ฟังเสียงพระอาจารย์จากวัดนี้เทศน์ออกอากาศทางสถานีวิทยุเอเอ็ม ประจำท้องถิ่น(วปถ.14)เป็นประจำทุกวันอาฑิตย์ ผมเคยฟังจากคนเก่าๆเล่าว่าสมัยก่อนเป็นเส้นทางเดินเท้าผ่านเหมือนกัน
ในโลกอินเตอร์เน็ทพอจะมีข้อมูลอยู่บ้างเล็กน้อยครับ...
ปีพ.ศ. ๒๔๗๓ บรรพบุรุษตระกูลศัลยพงษ์ ได้จัดตั้งเป็นตลาดการค้าขึ้นในบริเวณคลองโพ พร้อมกับสร้างโรงมหรสพ คู่กับตลาดไปด้วย เพื่อให้เช่าเปิดการแสดงต่าง ๆ เช่น ลิเก ภาพยนตร์ ละคร ต่าง ๆ ส่วนที่เป็นเนินสูงด้วยหินลูกรังปนดิน บนม่อนได้สร้างวัดขึ้น ๑ แห่ง ใช้ชื่อตามตระกูลของผู้สร้างว่า วัดศัลยพงษ์ ต่อมาเจ้าอาวาสองค์หลัง ๆ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดเกษมจิตราราม มาจากระทั่งถึงทุกวันนี้ มีผู้ไปปลูกบ้านเรือนอยู่อาศัยกันรอบบริเวณวัดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
วัดเกษมจิตตาราม หรือชื่อเดิม วัดม่อนศัลยพงษ์ ตั้งอยู่บนเนินเขาในที่ตั้งตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ บนเนินเขาเดียวกับโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ในปี พ.ศ. 2470 เคยมีผู้พบกลองมะโหรทึกสำริดสมัยวัฒนธรรมดองซอน อายุกว่า 2,000 ปี และโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์บนม่อนวัดเกษมจิตตารามแห่งนี้ ปัจจุบันกลองมโหรทึกดังกล่าวจัดแสดงอยู่ที่พระที่นั่งศิวโมกข์วิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร