เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16
  พิมพ์  
อ่าน: 51942 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 21 ต.ค. 14, 07:56

ภาพหอนาฬิกาที่มียอดคล้ายหลังคาโบสถ์ที่ตั้งข้อสงสัยกันนั้น  เพิ่งนึกออกว่า เมื่อแรกสร้างศาลสนามสถืตยุตติธรรมในคราวฉลองพระนคร ๑๐๐ ปี (ตรงที่เป็นศาลฎีการิมสนามหลวงทุกวันนี้)  เคยมีหอสูงดังในภาพข้างล่างนี้อยู่ครับ  แต่หอนี้ตั้งอยู่ไม่นานต้องรื้อลงดูเหมือนจะมีการทรุดหรือไงนี่ละครับ 

มีภาพจากหนังสือของคุณเอนก นาวิกมูลภาพหนึ่งที่กล่าวถึงหอนาฬิกาเดียวกันกับของคุณวี ถ่ายในงานสมโพชสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกครับ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 21 ต.ค. 14, 07:57

แบบขยาย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 21 ต.ค. 14, 08:10

ภาพเปรียบเทียบ

บัดนี้เราทราบว่าในขณะที่มีงานฉลองสมโพชนั้น ในกรุงเทพมีหอนาฬิกาใหญ่ๆอย่างน้อยก็ ๒หอ ซึ่งต่อมาหายไปหมดเมื่อใดก็ไม่ทราบได้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 21 ต.ค. 14, 09:29

ภาพเปรียบเทียบ

บัดนี้เราทราบว่าในขณะที่มีงานฉลองสมโพชนั้น ในกรุงเทพมีหอนาฬิกาใหญ่ๆอย่างน้อยก็ ๒หอ ซึ่งต่อมาหายไปหมดเมื่อใดก็ไม่ทราบได้

หอที่ ๓ ที่อาจจะหลงลืมไป งานฉลองสมโภช งานแห่ก็ผ่านหอนี้เช่นกัน ในการสมโภชสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ครับ  เจ๋ง


บันทึกการเข้า
แมวเซา
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 23 ต.ค. 14, 12:34

เพิ่งจะได้เห็นคราวนี้เองครับอาจารย์ ขอเดาว่าเป็นม่องชิงช้าเมืองลับแลพ.ศ.2450

ส่วนประตูกำแพงเมืองลำปาง พ.ศ.2445 มีโอกาสขอเดาก่อนละครับ  ยิงฟันยิ้ม
ภาพนั้นมีลายมือเขียนข้างหลังว่าสถานีรถไฟเมืองอุตรดิษถ์ครับ แต่ไม่น่าจะหมายความว่าอยู่ในตัวเมืองเพราะที่นั่นเป็นที่ราบ ผมเลยไม่ทราบว่าเป็นเมืองอะไรแน่
ยังมีเนินเขาเล็กๆที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟอุตรดิตถ์มากที่สุด อยู่ทางด้านทิศตะวันตกไม่เกิน 1กิโลเมตร มีความเป็นไปได้อย่างมากครับ  วัดนี้แปลกอยู่อย่างหนึ่งคือไม่ค่อยมีคนผ่านเข้าไป ทั้งที่อยู่แทบใจกลางเมือง (รวมทั้งตัวผมด้วย) คงเป็นเพราะทำเลตั้งอยู่หลบมุมกับเส้นทางสมัยปัจจุบัน   แต่ผมมีความคุ้นเคยกับวัดนี้ตรงที่ได้ฟังเสียงพระอาจารย์จากวัดนี้เทศน์ออกอากาศทางสถานีวิทยุเอเอ็ม ประจำท้องถิ่น(วปถ.14)เป็นประจำทุกวันอาฑิตย์ ผมเคยฟังจากคนเก่าๆเล่าว่าสมัยก่อนเป็นเส้นทางเดินเท้าผ่านเหมือนกัน

ในโลกอินเตอร์เน็ทพอจะมีข้อมูลอยู่บ้างเล็กน้อยครับ...
 ปีพ.ศ. ๒๔๗๓  บรรพบุรุษตระกูลศัลยพงษ์  ได้จัดตั้งเป็นตลาดการค้าขึ้นในบริเวณคลองโพ  พร้อมกับสร้างโรงมหรสพ  คู่กับตลาดไปด้วย  เพื่อให้เช่าเปิดการแสดงต่าง ๆ  เช่น  ลิเก  ภาพยนตร์  ละคร  ต่าง ๆ  ส่วนที่เป็นเนินสูงด้วยหินลูกรังปนดิน  บนม่อนได้สร้างวัดขึ้น  ๑  แห่ง  ใช้ชื่อตามตระกูลของผู้สร้างว่า  วัดศัลยพงษ์  ต่อมาเจ้าอาวาสองค์หลัง ๆ  ได้เปลี่ยนชื่อเป็น   วัดเกษมจิตราราม  มาจากระทั่งถึงทุกวันนี้  มีผู้ไปปลูกบ้านเรือนอยู่อาศัยกันรอบบริเวณวัดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน       
            วัดเกษมจิตตาราม หรือชื่อเดิม วัดม่อนศัลยพงษ์ ตั้งอยู่บนเนินเขาในที่ตั้งตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ บนเนินเขาเดียวกับโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ในปี พ.ศ. 2470 เคยมีผู้พบกลองมะโหรทึกสำริดสมัยวัฒนธรรมดองซอน อายุกว่า 2,000 ปี และโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์บนม่อนวัดเกษมจิตตารามแห่งนี้ ปัจจุบันกลองมโหรทึกดังกล่าวจัดแสดงอยู่ที่พระที่นั่งศิวโมกข์วิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร



บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 23 ต.ค. 14, 15:27

หอนี้คือหนึ่งในหอนาฬิกาที่มีอยู่ในยุคนั้น   

ตั้งอยู่ตรงไหน? (ทีผมเข้าใจคืออยู่ในสวนเจ้าเชตุ ตรงกรมการรักษาดินแดนปัจจุบัน)



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 23 ต.ค. 14, 17:31

รูปนี้หลังจากเซฟไว้แล้ว ก็หาไม่เจอว่าเอามาจากเว็บไหน   แต่จำได้ว่าหาคำตอบได้ไม่ยาก
อยากทราบว่าหอนาฬิกานี้อยู่ที่ไหน    
คุณ siamese อุบไว้ก่อน   ใครทายถูก ค่อยเป็นคนเฉลยนะคะ


คุณเอนก  นาวิกมูล  บอกว่าหอนาฬิกานี้ตั้งอยู่หน้าหอคองคอเดีย (ศาลาสหทัยสมาคม  ตรงสนามหญ้าหน้าวัดพระแก้ว) อยู่ระหว่างทิมดาบกับโรงทอง  ข้างบนทำอย่างหลังคาตัด  มีลูกกรง

ในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๕ กล่าวว่า รัชกาลที่ ๔  โปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนราชสีหวิกรม (ต้นสกุล ชุมสาย) คิดแบบ เป็นหอสูง ๑๐ วา มีนาฬิกาทั้ง ๔ ด้าน รื้อเสียเมื่อจะสร้างทิมดาบใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๕

ภาพจากหนังสือ  Ein  Welt-und Forschungsreisender  mit  der  Kamera 1844-1920 ภาษาเยอรมัน รวบรวมผลงานถ่ายภาพของ วิลเฮล์ม  เบอร์เกอร์ (Wilhelm  Burger)  ซึ่งเข้ามาเมืองไทยพร้อมคณะทูตเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒

คำตอบได้มาจาก

สมุดภาพเมืองไทย โดย เอนก นาวิกมูล กระทู้โดยคุณปริยวาที
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/03/K4197259/K4197259.html



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 24 ต.ค. 14, 15:00

ตั้งอยู่ตรงไหน? (ทีผมเข้าใจคืออยู่ในสวนเจ้าเชตุ ตรงกรมการรักษาดินแดนปัจจุบัน)

หอนาฬิกาในสวนเจ้าเชต สร้างขึ้นใหม่เลียนแบบ พระที่นั่งภูวดลทัศไนย ของคุณหนุ่ม  ยิงฟันยิ้ม

หอที่ ๓ ที่อาจจะหลงลืมไป งานฉลองสมโภช งานแห่ก็ผ่านหอนี้เช่นกัน ในการสมโภชสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ครับ  เจ๋ง




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 24 ต.ค. 14, 16:07

หอนาฬิกาสวนเจ้าเชตท่ามกลางการจราจรอันสับสนวุ่นวาย  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
แมวเซา
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 24 ต.ค. 14, 21:09

ภาพถ่ายสมัยใหม่ แม้จะสวยงามอย่างไรก็ยังเป็นรองภาพถ่ายจากฟิล์มกระจกโบราณนะครับ โดยเฉพาะขอบฟิล์มที่ชำรุดๆยิ่งดูยิ่งขลัง ยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 25 ต.ค. 14, 18:17

สงสัยว่าเพราะหอนาฬิกาทั้งสามหอนี้อยู่ใกล้กัน แต่คงเดินไม่ตรงกันสักเรือน จึงไม่ทราบจะใช้เวลาของเรือนไหนเป็นมาตรฐาน เลยต้องหาเรื่องทุบทิ้งไปหมด ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 25 ต.ค. 14, 18:49

ภาพถ่ายสมัยใหม่ แม้จะสวยงามอย่างไรก็ยังเป็นรองภาพถ่ายจากฟิล์มกระจกโบราณนะครับ โดยเฉพาะขอบฟิล์มที่ชำรุดๆยิ่งดูยิ่งขลัง ยิ้ม

จัดให้  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 26 ต.ค. 14, 10:22

ภาพถ่ายสมัยใหม่ แม้จะสวยงามอย่างไรก็ยังเป็นรองภาพถ่ายจากฟิล์มกระจกโบราณนะครับ โดยเฉพาะขอบฟิล์มที่ชำรุดๆยิ่งดูยิ่งขลัง ยิ้ม

จัดให้  ยิงฟันยิ้ม
นอกจากตรงนี้แล้ว ในบริเวณกรุงเทพฯวันนี้ยังมีหอนาฬิกาตรงไหนอีกหนอ
อ้อมีอีกอันที่สวนลุมฯ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 06 พ.ย. 14, 08:59

ภาพนี้ถือเป็นภาพประวัติศาสตร์ได้ เพราะเป็นงานเลี้ยงรับรองบุคคลสำคัญของเยอรมัน ที่เดินทางมาเยือนสยามก่อนการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ เล็กน้อย สถานทูตเยอรมันได้จัดงานเลี้ยงอาหารค่ำที่โฮเตลพญาไท และเชิญนักเรียนเก่าเยอรมันทั้งหมดไปในงาน

ในภาพถ่ายร่วมกันนี้ ปรากฏในภาพคือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ประทับนั่งกลาง
แถวยืนหลังสุดจากซ้ายไปขวา พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) พ.ท.พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ(เภาเพียรเลิศ) นายแนบ พหลโยธิน พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายตั้ว ลพานุกรม  ดร. เติม บุนนาค 
แถวยืนถัดมา พล.ต.พระยาอินทรวิชิต พล.ท. พระยาสีหราชฤทธิไกร (หม่อมหลวงช่วย ฉัตรกุล) พล.ท.พระยาศัลวิธานนิเทศ แอบ รัตประจิต พล.ต. พระยาศรกิจไพศาล ดำริห์ อมาตยกุล พ.อ.พระยาสุรเดชรณชิต
แถวนั่งกับพื้น พ.ท.พระประศาสตร์วิทยายุทธ หลวงสุริยพงศ์ นายกระจ่าง บุนนาค

บุคคลทั้งหมดที่กล่าวมาได้มีบทบาทสำคัญมากบ้างน้อยบ้างของทั้งสองขั้วอำนาจ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของสยามอย่างถาวร แต่ก็รุนแรงขนาดใช้อาวุธเข้าข่มขู่และประหัตประหารกันในสงครามกลางเมืองปีต่อมา
วันและเวลาที่มาเจอกันในคืนนั้น อาจเป็นเหตุการณ์ครั้งสุดท้ายที่คนสำคัญทั้งสองขั้วอำนาจได้เจอกันเยี่ยงมิตร


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 06 พ.ย. 14, 09:33

แถวนั่งกับพื้น พ.ท.พระประศาสตร์วิทยายุทธ หลวงสุริยพงศ์ นายกระจ่าง บุนนาค


น่าจะเป็น คุณพระพันโทพระประศาสน์พิทยายุทธ(วัน ชูถิ่น)  มากกว่านะครับ


ส่วนอีกท่านคือ พ.อ.พระยาสุรเดชรณชิต (ชิต ยุวนะเตมีย์) คือผู้นั่งพับเพียบกับพื้นคนซ้ายสุด(ผิวคล้ำ ๆ )

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 20 คำสั่ง