NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 19:23
|
|
ยังตกตะลึงไม่หาย พระเจ้าช่วยกล้วยแขกทอด มันกี่ทศวรรษแล้วล่ะนั่น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 19:25
|
|
อาจจะยุคเดียวกับคุณ NAVARAT ยังนุ่งขาสั้นไล่เตะบอลอยู่กับพี่ๆน้องๆในบ้านมั้งคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 19:58
|
|
สงสัยผมยังนุ่งผ้าอ้อมอยู่มากกว่า
เอ้าเชิญครับ ใครไม่ได้ลุ้นอะไรกับเค้าก็เชิญตามผมขึ้นหอจดหมายเหตุแห่งชาติมาเลย ตึกนี้อยู่หลังหอวชิราวุธานุสรณ์ซึ่งขณะนี้ปิดเพื่อกำลังทำการบูรณะครั้งใหญ่ ผู้รับเหมาวางของระเกะระกะทำให้จราจรติดขัดอยู่แถวนั้น
พอเข้าไปปุ๊บ ยามหน้าตึกจะถามว่ามาทำไมครับ เราก็บอกว่ามาดูเอกสาร อย่าเผลอไปบอกว่ามาจับจิ้งหรีดเข้าล่ะ พอผ่านด่านเข้ามาจะเห็นห้องกรมหลวงพิชิตอยู่ขวามือ เดินตรงเข้าไปเลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 20:09
|
|
ด้านซ้ายมือของห้อง จะมีเจ้าหน้าที่อัธยาศัยดีรอคุณอยู่เพื่อลงทะเบียน คุณไม่ต้องใช้อะไรเลยนอกจากบัตรประจำตัวสำหรับบัตรผ่านชั่วคราวซึ่งจะมีอายุสัปดาห์หนึ่ง หลังจากนั้นก็ยังต่อได้อีก แต่ถ้าจะทำบัตรอายุปีนึง คุณก็ต้องเตรียมรูปไปตืดบัตร๒รูป ผมเคยมีบัตรนี้เหมือนกันแต่หมดอายุไปแล้ว
ห้องนี้เป็นห้องเก็บเอกสารเก่า ผมเคยมาค้นหลักฐานเกี่ยวกับหม่อมเจ้าฉวีวาด ซึ่งให้บริการโดยไมโครฟิมล์ทั้งหมด แรกๆก็ตาลายหน่อย หลังๆก็ตาลายมาก ในห้องมีพระรูปของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร ต้นราชสกุลคัคณางค์ และรูปหม่อมราชวงศ์รสลิน คัคณางค์ ทายาทคนสุดท้ายผู้บริจาคทรัพย์ให้กรมศิลปากรสร้างห้องนี้ ราชสกุลคัคณางค์ทุกวันนี้สิ้นผู้สืบสกุล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 20:24
|
|
พอได้บัตรผ่านมาแล้วก็มาลงเวลาที่หน้าห้องด้านนอกอีกทีหนึ่ง ตรงนี้เจ้าหน้าที่จะขอบัตรสมาชิกที่ได้มาตะกี้ของคุณไว้และจะคืนตอนขากลับ หลังจากนั้น ส่วนบัตรผ่านไปใช้งานห้องเก็บภาพถ่ายโบราณ คุณก็ถือขึ้นไปชั้นสอง ใครที่ถือนิสสัยขึ้นลงชั้นเดียวให้ใช้กระไดก็เชิญนะครับ ผมขอใช้ลิฟท์ดีกว่า เคยขึ้นไปแล้วลูกสะบ้าหัวเข่ามันดังกร๊อบๆไปตลอดทาง
ห้องภาพโบราณอยู่ทางขวามือ มีประตูชั้นนอกเหล็กแน่นหนาอย่างกับห้องเซฟธนาคาร แต่ใช้สายยูกับกุญแจตัวน้อยๆล๊อกเอาไว้ ผมเคยมารอจะเข้าห้องหลังพักเที่ยง ซึ่งห้องจะปิดให้บริการ๑ชั่วโมง เห็นกุญแจที่พนักงานเอามาไขเปิดห้องแล้วอดยิ้มไม่ได้ หัวโขมยตัวจริงเห็นคงหัวร่อกร๊าก
เข้าไปใหม่ๆก็เอาบัตรสีเขียวที่ข้างล่างออกให้ไปยื่นกับพนักงานประจำห้องครับ ทุกคนสุภาพและพร้อมให้บริการตามที่เห็นในภาพจริงๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 20:31
|
|
ถ้าไปครั้งแรก เธอจะแนะนำการใช้งานให้ ซึ่งคุณจะต้องช่วยตัวเองในการค้นหาเบื้องต้นสำหรับภาพที่ต้องการ ซึ่งคุณอาจจะเลือกตรวจหาชื่อจากบัญชีในสมุดเล่มต่างๆนับร้อยเล่ม ตามชื่อและหมวดหมู่ที่จัดไว้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 20:39
|
|
หรือค้นหาจากสำเนาภาพในตู้ลิ้นชัก ที่เรียงชื่อบุคลตัวตามอักษร ก-ฮ หรือชื่อสิ่งของสถานที่ตามลำดับเช่นกัน
ขอเตือนไว้ก่อน ภาพในตู้นี้เยอะมาก คุณจะหลงระเริงกับไปกับภาพอื่นๆจนลืมไปเลยว่าคุณมาหาภาพอะไร กว่าจะรู้ตัวก็ตาลาย หาอะไรก็ไม่เจอแล้ว แต่..เอ.ไม่รู้ว่าอาการนี้คนหนุ่มคนสาวจะเป็นกันหรือเปล่า หรือจะเป็นเฉพาะพวกนักจับจิ้งหรีด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 20:45
|
|
อีกวิธีหนึ่งคือหาจากตู้การ์ด แบบหาหนังสือในห้องสมุดทั่วไป แต่ แหมเกือบลืม คุณหาข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ก็ได้ ในฐานข้อมูลมีรูปภาพอยู่ไม่รู้กี่พัน ดูกันจริงๆคงต้องใช้เวลาหลายวัน
เมื่อได้แล้วก็จดระหัสไว้ในใบคำขอดูภาพจริง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 20:49
|
|
ภาพที่คุณจะได้ดู อาจเป็นภาพที่ทำสำเนาไว้แล้ว หรือในกรณีย์พิเศษ อาจได้ดูต้นฉบับโบราณด้วย แต่กระจกเก่าหรือฟิมล์ต้นฉบับ หอจดหมายเหตุจะไม่ให้บริการ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 21:00
|
|
ภาพทั้งหมดคุณสามารถสั่งทำสำเนาได้วันละ๓๐ภาพ(เท่านั้น) สนนราคาก็ตามขนาดและคุณภาพของกระดาษ ยกตัวอย่าง ภาพขนาด๕X๗นิ้ว ถ้าต้องอัดจากเนกาตีฟก็รูปละ ๖๐ บาท ถ้าสแกนจากโพสสิตีฟก็รูปละ ๒๐ บาท หรือถ้าเพียงแต่ถ่ายเอกสารขนาดA4ก็ ๒ บาท ราคาน่ารักน่าคบมาก ถ้าจะขยายเป็น ๖X๘ ก็เพิ่มราคาอีกเท่าตัว
คุณจะต้องลงรายการขอทำสำเนาและจ่ายเงินก่อน อีก ๕ วันกระทำการจึงไปจะรับรูปได้ และไม่มีบริการส่งทางไปรณีย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 21:10
|
|
ในกรณีย์ที่ขอทำสำเนาเพียงภาพเดียว คุณก็อาจขอร้องให้เขาทำให้เลยก็ได้ ผมใช้วิธีนี้บ่อยเพราะต้องการเอาสำเนามาต่อกระทู้ เขาก็อนุโลมทำให้ทุกครั้งนะครับ แต่ก็มีขอสแกนครั้งละ ๓๐ ใบด้วยทุกที หมู่นี้เลยต้องไปกันแทบจะทุก ๕ วัน ใครมีอะไรสงสัยเรื่องหอจดหมายเหตุถามได้นะครับ แต่เรื่องจิ้งหรีดขอสงวนสิทธิ์ไม่เปิดเผย 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 21:26
|
|
เห็นแผนที่ใน # ๒ นึกถึงถิ่นเก่าสมัยเด็ก ๆ บ้านอยู่ริมคลองข้างท่าวาสุกรี ว่ายน้ำเป็นก็ที่คลองนี้ เคยไปจับจิ้งหรีดตอนเย็น ๆในท่าวาสุกรี นั่งรถรางจากบ้านไปเรียนแถวบางกระบือ แต่ยังไม่ได้เยื้องกรายเข้าหอสมุดแห่งชาติ จนเมื่อเรียนชั้นมัธยม ต้องทำรายงาน ก็เข้าไปหาข้อมูลในหอสมุดแห่งชาติเป็นประจำ พอเข้ามหาวิทยาลัยก็ห่างเหินจากหอสมุดแห่งนี้ ด้วยห้องสมุดที่มหาวิทยาลัยก็มีหนังสือให้ค้นคว้าพอสมควร  ไม่มีความรู้เรื่องจิ้งหรีด แต่เกิดจำขึ้นมาได้ว่า สมัยคุณตาของสามีอายุสัก 50 ปี กุ้งในแม่น้ำเจ้าพระยาชุมมาก บ้านอยู่ริมแม่น้ำ เอาลอบดักกุ้งมาให้หลานเล็กๆกินกันจนเบื่อ ถ้าคุณตาอยู่มาจนบัดนี้ก็อายุสัก 120 ปีแล้ว เอ! แม่นางเพ็ญชมพูอยู่ยุคไหนล่ะเนี่ย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 21:40
|
|
ระหว่างคุณนวรัตนพักการเล่าวิธีใช้บริการของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ขอเล่าเรื่องการจับกุ้งต่อ ใน # ๑๓ เล่าถึงการจับกุ้งด้วยวิธีการตก จำได้ว่าเขาใช้ตะกั่วถ่วงสายเอ็น ไม่ใช่การใช้ลอบดักดอก 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 21:48
|
|
ผมจบแล้วครับ ขอมอบกระทู้ให้จิ้งหรีดกับกุ้งก้ามกรามต่อ เชิญครับ..เชิญ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 21:53
|
|
เกรงใจหอจดหมายเหตุ เชิญคุณเพ็ญชมพูตั้งกระทู้จิ้งหรีดและกุ้ง ในห้องหน้าต่างโลกเถอะค่ะ ตะกั่วถ่วงสายเอ็น ดูเหมือนจะมีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่ไหนสักแห่งนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|