NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 105 เมื่อ 31 ต.ค. 14, 16:36
|
|
โปรดสังเกตดวงตราที่ประดับบนฉลองพระองค์ชุดทหารเรือ ในสมัยต้นรัชกาลที่๔ สยามยังไม่มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามคติฝรั่ง จวบจนพ.ศ.๒๔๐๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจึงทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดวงตราไอยราพตขึ้น องค์ที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ได้รับพระราชทานรูปพรรณสันฐานเป็นรูปไข่ ไม่น่าจะใช่ดังที่ปรากฏในพระบวรฉายาลักษณ์ และเมื่อพิจารณาพระบวรสาทิสลักษณ์ในช่วงสมัยของพระองค์แล้ว หลายท่านมีความเห็นตรงกันว่า น่าจะเป็นตราจุฑามณีประจำพระองค์นั่นเอง
แปลว่าต้นฉบับภาพถ่ายตัวจริง คงจะต้องอยู่ในปารีสแล้ว ก่อนที่ฝรั่งเศสจะถวายเครื่องราช อิสริยาภรณ์ เลฌียง ดอเนอร์ แด่พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ หลักฐานก็คือพระบรมฉายาลักษณ์และพระบวรฉายาลักษณ์สองภาพนี้ ถูกพบโดยศาสตราจารย์ ศักดา ศิริพันธ์ ในคลังรูปของ MEP Missions Entrangeres de Paris โดยอธิบายในหนังสือกษัตริย์ & กล้องว่า เป็นผลงานของสังฆราชปาเลอกัวส์(เพราะเจอในสำนักงานใหญ่ต้นสังกัดของท่าน)
มาในยุคอินเทอเน็ตที่วิเศษประดุจอินทรเนตร ทำให้การค้นหาข้อมูลจากทุกแหล่งในโลกเป็นเรื่องง่ายขึ้นจากเดิมมาก ทำให้เราพบเอกสารฝรั่งเศสที่ระบุว่า พระรูปต้นฉบับนี้เป็นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ว่าด้วยประวัติธรรมชาติวิทยาของประเทศฝรั่งเศส(Museum National D’Histoire naturelle (MNHN) Babliotheque Centrale. Paris) ที่พิพิธภัณฑ์อื่นๆที่อาจจะมีภาพนี้ เช่นที่ MEP (Missions Entrangeres de Paris) หรือในประเทศต่างๆรวมทั้งเมืองไทย จะเป็นแค่สำเนา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 106 เมื่อ 31 ต.ค. 14, 16:40
|
|
พระบวรฉายาลักษณ์เป็นภาพลายเส้นอีกภาพหนึ่งที่หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสนำไปตีพิมพ์ในปี ๒๔๐๘ เป็นภาพหลังจากที่รัฐบาลฝรั่งเศสได้ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์เลฌียง ดอเนอร์แล้ว ซึ่งทั้งสองพระองค์โปรดเกล้าให้นายฟรันซิส จิต(ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์) เป็นผู้ถ่ายภาพ โปรดสังเกตุผลงานอันเกิดจากราคากล้องที่คุณภาพของเลนซ์ต่างระดับกัน กล้องในระยะแรกของท่านขุนน่าจะซื้อต่อมาจากบาดหลวงลาร์โนลินเมื่อท่านจะกลับฝรั่งเศส ถึงแม้จะเล่าเรียนมาดีจากช่างภาพคนแรกของสยาม แต่อุปกรณ์ขนาดสมัครเล่นก็ได้ผลงานที่ต่างไปจากมืออาชีพระดับอินเตอร์อย่างเห็นได้ชัด
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
cameraman
อสุรผัด

ตอบ: 21
|
ความคิดเห็นที่ 107 เมื่อ 01 พ.ย. 14, 07:57
|
|
ขอบคุณครับ การวิเคราะห์และนำเสนอของท่านอาจารย์ NAVARAT น่าสนใจมาก
ผมสงสัยอยู่ประเด็นหนึ่ง ที่ว่ากันว่านายโหมดถ่ายรูปได้ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันไหมครับ หลักฐานที่นอกเหนือจากคำบอกกล่าวของสมเด็จกรมพระยา
เพราะสมัยที่นายโหมดโลดแล่นในพระนคร พระองค์ยังไม่เจริญชันษาเท่าใดนัก อัตชีวประวัติของนายโหมดก็มิเคยกล่าวถึงกล้องเลย
ในสาสน์สมเด็จที่สมเด็จกรมพระยาทรงตรัสสนทนากับเจ้าฟ้าอีกพระองค์หนึ่งว่ารูปไหนใครถ่าย เมื่อพิสูจน์จากหลักฐานทางประว้ติศาสตร์ ก็หาได้เป็นไปดังบทสนทนาไม่ ดังนั้น ผมอยากให้น้ำหนักกับหลักฐานที่พิสูจน์ได้มากกว่าหลักฐานจากความทรงจำใดๆ
ขอบคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 108 เมื่อ 01 พ.ย. 14, 09:49
|
|
ผมเคยอ่านพบว่านายโหมด มีพื้นฐานวิชาช่างโดยได้ศึกษาวิชาการเครื่องจักรและการผสมธาตุผสมโลหะกับมิชชันนารีชาวอเมริกัน จากตำราภาษาอังกฤษ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงสั่งเครื่องปั้มเหรียญมาผลิตเหรียญกษาปณ์แทนเงินพดด้วงนั้น ตอนแรกมีช่างชาวอังกฤษมาทำการติดตั้งให้ด้วย แต่อยู่ได้ไม่นานก็ป่วยตายด้วยโรคท้องร่วงอย่างแรง ซึ่งเป็นโรคแฝงอยู่ในน้ำดื่มเพื่อปราบเซียนฝรั่งอั้งม้อโดยเฉพาะ กงสุลอังกฤษคนแรกก็ยังไม่รอดเพราะโรคนี้ พอนายช่างฝรั่งตายไปกลางคัน นายโหมดผู้ช่วยก็เข้าทำงานต่อจนสามารถเดินเครื่องได้ จึงได้รับการโปรโมตเป็นพระวิสูตรโยธามาตย์ ทำหน้าที่กำกับการทำเงินของโรงกระสาปน์สิทธิการ
ว่ากันว่า นับจากนั้นนายโหมดก็เหมือนยาสามัญประจำบ้านในเรื่องช่าง ปัญหาไอ้โน่นไอ้นี่ไอ้นั่นในวังเสีย ท่านก็จะเรียกหาให้นายโหมดไปซ่อม นายโหมดก็สนองพระราชประสงค์ได้หมด ยกเว้นกล้องถ่ายรูปที่ควีนวิกตอเรียถวายมา นายโหมดจนปัญญาเพราะไม่มีในตำรา บาทหลวงลาร์โนลินที่ว่าแน่ๆก็ยังช่วยไม่ได้เพราะเป็นระบบใหม่ของอังกฤษ จนมีช่างภาพจากยุโรปบังเอิญเดินทางผ่านมา แล้วแวะไปที่สถานกงสุลอังกฤษเจอตัวท่านกงสุลเข้า ท่านก็เลยขอร้องให้มาช่วยแนะนำวิธีถ่ายภาพจากกล้องนั้นให้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯก็โปรดฯให้เรียกนายโหมดมาเรียนรู้ไว้ ในที่สุดนายโหมดก็ถ่ายภาพได้ ส่วนเทคนิกว่าทำอย่างไรจะถ่ายภาพให้ดี มีองค์ประกอบสวยงาม บาดหลวงลาร์โนลินคงเป็นผู้แนะนำอีกที
ส่วนที่คุณ Cameraman อยากให้หาหลักฐานทางประวัติศาสตร์มายืนยัน ว่านายโหมดถ่ายรูปได้นั้น ผมก็ขออ้างต่อประโยคของคุณอเนก นาวิกมูล ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องภาพโบราณในฐานะที่คุณอเนกเป็นผู้รู้ทุกอย่างบรรดามีในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ความข้างล่าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 109 เมื่อ 01 พ.ย. 14, 09:51
|
|
จากรูปชุดนั้น รูปที่ชัดเจนที่สุดและถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง โดยให้เครดิตผู้ถ่ายบ้างไม่ให้บ้าง ก็คือรูปนี้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 110 เมื่อ 01 พ.ย. 14, 09:57
|
|
มีหนังสือเล่มเดียวที่ลงรูปพระเมรุมาศฝีมือนายโหมดไว้มากที่สุดคือ หนังสือเรื่อง "สถาปัตยกรรมพระเมรุในสยาม" โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ม.ร.ว. แน่งน้อย (เกษมศรี) ศักดิ์ศรี อาจารย์ของผมเอง
ผมจะเอาให้ดูทั้งหมดนะครับ เสร็จแล้วท่านจะรู้ด้วยตนเองว่าทำไมเขาจึงไม่ค่อยนิยมเอารูปของนายโหมดมาตีพิมพ์ในหนังสือที่มีหน้ากระดาษจำกัด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 111 เมื่อ 01 พ.ย. 14, 10:01
|
|
รูปส่วนใหญ่จากกระจกคงจะเป็นอย่างนี้ ต้องครอบเอาเฉพาะส่วนกลางของภาพมาใช้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 112 เมื่อ 01 พ.ย. 14, 10:02
|
|
อย่างนี้เป็นต้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 113 เมื่อ 01 พ.ย. 14, 10:05
|
|
ท่านพอจะเข้าใจแล้วใช่ไหมครับว่า เลนซ์..อันเป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ของกล้องถ่ายรูปนั้น มีความสำคัญอย่างไร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 114 เมื่อ 01 พ.ย. 14, 10:49
|
|
ไม่แน่ใจว่ารูปข้างบนเป็นฝีมือนายโหมดหรือไม่  น่าจะเป็นภาพนี้ซึ่งมีบันทึกว่า พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) เป็นผู้ถ่าย 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 115 เมื่อ 01 พ.ย. 14, 11:26
|
|
น่าจะใช่ด้วยนะครับ กล้องตัวเดียวกัน แต่ไม่ทราบว่าตัวนายโหมดเองถึงพ.ศ.นั้น จะปีนที่สูงๆขึ้นไปถ่ายไหวหรือเปล่า
ในประวัติการถ่ายภาพเมืองไทยระบุว่า ยุคนั้นมีพระปรีชากลการอีกคนหนึ่งที่เป็นช่างภาพ แต่ไม่ปรากฏว่าผลงานเป็นอย่างไร ก็คงเป็นเพราะพระปรีชาเมื่อครั้งยังเป็นนายสำอางค์ (อมาตยกุล) คงช่วยบิดาในการถ่ายภาพอยู่ด้วย ผลงานมันจึงปนๆกันไป ภาพที่คุณเพ็ญนำมาให้ชมนี้ถ่ายจากหอนาฬิกากระทรวงยุติธรรม นายสำอางค์น่าจะรับบทปีนขึ้นไปถ่ายกับลูกมือแบกกล้องก็ได้ ไม่มีใครในสมัยนี้ทราบแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 116 เมื่อ 01 พ.ย. 14, 13:08
|
|
ไม่แน่ใจว่ารูปข้างบนเป็นฝีมือนายโหมดหรือไม่  น่าจะเป็นภาพนี้ซึ่งมีบันทึกว่า พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) เป็นผู้ถ่าย  แต่ภาพรูปนี้ ไม่ใช่พระเมรุมาศองค์เดียวกับชุดที่ผมนำมาแสดงนะครับ ของผมนั้นเป็นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ส่วนที่คุณเพ็ญนำมาถามนี้ เป็นของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาเทวี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 117 เมื่อ 01 พ.ย. 14, 13:22
|
|
พระเมรุมาศสององค์นี้ บวกกับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯอีกหนึ่ง คนจะบรรยายภาพมั่วกันไปหมดแม้กระทั่งระดับครูบาอาจารย์ เพราะความที่คล้ายกันมาก และเวลาดูภาพเยอะๆมักจะลายตา
วิธีสังเกตุให้ดูความแตกต่างของยักษ์หน้าพระเมรุครับ ซ้ายมือของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ขวา สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาเทวี
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 118 เมื่อ 03 พ.ย. 14, 09:09
|
|
ส่วนที่คุณเพ็ญนำมาถามนี้ เป็นของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาเทวี เท่าที่อ่านข้อมูลในเว็บต่าง ๆ รายงานว่าเป็นพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทั้งสิ้น อยากทราบเกี่ยวกับที่มาของข้อมูลของคุณนวรัตนที่ว่าเป็นของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาเทวี 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 119 เมื่อ 03 พ.ย. 14, 10:26
|
|
เท่าที่อ่านข้อมูลในเว็บต่าง ๆ รายงานว่าเป็นพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทั้งสิ้น อยากทราบเกี่ยวกับที่มาของข้อมูลของคุณนวรัตนที่ว่าเป็นของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาเทวี ฮืม ตอบคุณเพ็ญชมพู มีหนังสือเล่มเดียวที่ลงรูปพระเมรุมาศฝีมือนายโหมดไว้มากที่สุดคือ หนังสือเรื่อง "สถาปัตยกรรมพระเมรุในสยาม" โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ม.ร.ว. แน่งน้อย (เกษมศรี) ศักดิ์ศรี อาจารย์ของผมเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|