เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 9
  พิมพ์  
อ่าน: 27610 ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 15 ก.ย. 14, 07:06

คุณพี่อรรถดา เข้ามาอ่านกระทู้นี้ตลอดครับ เห็นมีการกล่าวถึงพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา ผู้สามารถเป็นช่างกล้องได้ จึงได้ส่งภาพที่สะสมนำมาให้ดูผลงานของพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา

โดยการ์ดด้านหลังปรากฎยี่ห้อของท่านอยู่ แต่ไม่ทราบว่าท่านเปิดสตูดิโอที่ใด และบุคคลในภาพเป็นใคร  ฮืม

ต้องขอขอบคุณคุณอรรถดาที่มีน้ำใจนะครับ ทำให้น่าคิดว่าช่างภาพคนแรกของสยามจะเป็นกรมหมื่นอลงกตหรือนายโหมดกันแน่

อย่างไรก็ดี ภาพนี้ไม่ได้เป็นตัวจริงจากแผ่นเงินซึ่งถ่ายจากกล้องของบาดหลวงที่ขายให้ หรืออาจจะใช่แต่ใช้กล้องแบบกระจกก็อปปี้ภาพจากแผ่นเงินมาอีกทีในภายหลังไม่รู้ได้ แต่คุณภาพของภาพถ่ายด้อยกว่าของทอมสันอยู่เห็นๆ ทั้งคอนทราสต์ของรูปและความคมชัด อันเกิดจากเลนช์

ทอมสันสำเนาจากต้นฉบับที่เป็นกระจก จึงมีความคมชัด ส่วนภาพอื่นที่นำมาลงนั้นเป็นภาพอัดลงกระดาษอัลบุมิน ทำให้คุณภาพ + ความเก่าแก่ ทำให้ด้อยลงไปนิดครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 15 ก.ย. 14, 07:09

บัญชีเครื่องราชบรรณาการที่ไปพร้อมกับหม่อมราโชทัย นั้นประกอบด้วย พระบรมฉายาทิศลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน ๒ ภาพครับ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 15 ก.ย. 14, 07:15

ส่วนพระบรมฉายาลักษณ์คุ่ ถ่ายด้วยระบบแผ่นเงินผีมือบาทหลวงปาเลอกัวซ์ ส่งไปเป็นเครื่องบรรณาการจากสยามสู่สหรัฐอเมริกา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 15 ก.ย. 14, 08:47

ครับผม^

ผมจะเปิดตัวช่างชักภาพสยามตามพ.ศ.นะครับ เพื่อป้องกันความสับสนเหมือนกับที่ผมเป็นมาแล้วระหว่างการศึกษาหาอ่านมาเขียนเรื่องลงเน็ตคราวนี้

ช่างภาพคนต่อไป คือช่างภาพนามอุโฆษระดับมาสเตอร์หนึงเดียวของสยามในยุคเริ่มต้น คือฟรันซิส จิต สมัยที่ยังไม่มีบรรดาศักดิ์อะไรทั้งสิ้น รูปที่หนุ่มที่สุดของท่านก็ถ่ายคู่กับกล้อง ๔ เลนซ์อันเป็นผลิตภัณฑ์ในยุคหลัง จึงดูเป็นผู้ใหญ่มากแล้ว สมัยที่บาดหลวงลาร์โนดีหอบกล้องเข้ามาสยามครั้งแรกนั้น ท่านยังมีอายุแค่ ๑๕ ปี

ฟรันซิส จิต อาจารย์ทั้งหลายเขียนว่าเป็นบุตรของทหารแม่นปืนวังหน้า เชื้อสายโปร์ตุเกต คงจะสันนิฐานจากชื่อที่เป็นคาธอลิก มีคริสเตียนเนม และอาศัยอยู่บนแพแถวโบสถ์ซานตาครูส ย่านของชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกตุจากอยุธยา มีผมคนเดียวผ่าแนวที่เขียนไปว่า บิดาของท่านเป็นทหารแม่นปืน กองอาสาญวนในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เพราะพระองค์ท่านไม่มีทหารอาสาโปร์ตุเกตุเหมือนกษัตริย์สมัยกรุงเก่า อีกประการหนึ่ง เมือคราวที่กษัตริย์ญวนข่มเหงชาวพื้นเมืองเข้ารีตและสังหารบาทหลวงชาวฝรั่งเศสอย่างทารุณเสียหลายคน ก่อนที่ฝรั่งเศสจะอ้างเหตุประกาศสงครามและยึดญวนเป็นเมืองขึ้นเลยนั้น พวกญวนคาธอลิกได้หนีตายตามฝรั่งเศสเข้าพึ่งพระบรมโพธิสัมภารเป็นจำนวนมากตั้งแต่รัชกาลที่แล้ว ซึ่งน่าจะรวมถึงบรรพบุรุษของฟรันซิส จิตด้วย ตัวท่านจึงยังไม่มีบ้านเพราะไม่ใช่เชื้อสายดั้งเดิมของคาธอลิกย่านนั้น ต้องอาศัยอยู่บนแพ และสนิทสนมกับบาทหลวงฝรั่งเศสมากจนถึงขนาดได้ถ่ายทอดวิชาชักเงาภาพเข้ากล้องให้ด้วย

ไม่ปรากฏว่าอาวุธคู่กายของฟรันซิส จิตในยุคแรกจะเป็นกล้องตัวใด แต่ใช้กระจกเปียกแน่ หลวงพ่อลาร์โนดีเองก็ไม่ใช่ว่าจะเลิกถ่ายรูปหลังจากที่สังฆราชปาเลอกัวส์ขายกล้องของท่านไปแล้ว บันทึกของฝรั่งในหลายปีต่อมายังบอกว่าท่านยังเดินท่อมๆเที่ยวถ่ายรูปอยู่ในเมืองกรุง ก่อนจะกลับไปบ้านเก่าในฝรั่งเศสโดยถาวร ทั้งสองอาจเป็นคู่มิตรกันในเรื่องของการถ่ายภาพ และนายจิตร(หนุ่ม)น่าจะได้กล้องจากท่าน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 15 ก.ย. 14, 09:06

นายจิตร เปิดห้องภาพครั้งแรกในปี ๒๔๐๖ ก่อนการเข้ามาของทอมสันถึง๒ปี และได้โฆษณาว่าเป็นตนช่างภาพหลวงแล้ว แปลว่าท่านต้องได้รับโปรดเกล้าฯให้เป็นก่อนหน้านั้น

นายจิตรถ่ายภาพไว้มากมาย แต่ผลงานเฉพาะภาพถ่ายบุคคลที่อาจารย์ทั้งสามท่านให้ข้อมูลไว้ในหนังสือตรงกันก็คือพระบรมฉายาลักษณ์ชุดนี้
ภาพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯองค์นี้ ผมเห็นด้วยว่าเป็นภาพถ่ายบุคคลระดับมาตรฐานสากลไม่ว่จะยคไหนทั้งนั้น เมื่อพิจารณาแสง เงา องค์ประกอบและฉากหลัง และคุณสมบัติที่สำคัญที่สุด คือความคมชัด

ภาพนี้จากหนังสือของอาจารย์พิพัฒน์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 15 ก.ย. 14, 09:07

ของอาจรย์ศักดา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 15 ก.ย. 14, 09:10

ของอาจารย์เอนก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 15 ก.ย. 14, 09:21

ความจริงแล้วท่านสังฆราชปาเลอกัวส์เป็นเพียงแต่ผู้สั่งกล้องแบบดาแกร์เข้ามาสยามเป็นคนแรกในปี ๒๓๘๘ เท่านั้น ศ.ศักดา ศิริพันธ์เป็นผู้ค้นพบความจริงนี้เมื่อท่านเดินทางไปค้นหาข้อมูลในห้องเก็บจดหมายเหตุของสถาบัน Missions Entrangeres de Paris (MEP)เมื่อปี ๑๙๘๘ และเขียนเล่าไว้ในหนังสือของท่าน สงสัยมันหนาไปมั๊ง คนจึงไม่อ่าน เพราะดูแต่ภาพก็เพลิดเพลินเจริญใจเหลือจะกล่าวแล้ว

แต่ปรากฏว่าอาจารย์ศักดาเอง ได้เขียนและลงภาพในบทที่กล่าวถึงครั้งที่ท่านได้เข้าถึงห้องเก็บหลักฐานเก่าของสยามในสภาบันMEPว่า ภาพชุดนี้ฝรั่งเศสบันทึกว่าเป็นฝีมือการถ่ายภาพของสังฆราชปาเลอกัวส์และบาดหลวงลาร์โนดี ซึ่งมีพระบรมฉายาลักษณ์และพระบวรฉายาลักษณ์ในภาพ และรูปถ่ายทิวทัศน์อื่นๆที่ผมยังไม่อยากกล่าวถึง

ทั้งสองภาพมีความละเอียดชัดเจนสมเป็นภาพต้นฉบับ แม้จะสำเนาภาพมาก็ยังมีคุณภาพสูง สามารถนำมาขยายเป็นภาพขนาดใหญ่ได้เลย ปรากฏให้เห็นในนิทรรศการต่างๆที่จัดขึ้นในเมืองไทยสมัยหลังๆ



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 15 ก.ย. 14, 10:38

มาถึงตรงนี้ก็เพื่อจะสารภาพว่า สิ่งที่ผมเขียนในกระทู้เรื่องพระบวรฉายาลักษณ์องค์ไหนองค์แท้ไม่แท้นั้น ข้อมูลอาจพลิกไปพลิกมา เพราะผมใช้หนังสือครูทั้งสามเล่มจริง แต่ไม่สามารถอ่านได้หมดทุกหน้าเพื่อตรวจสอบกันว่าควรจะเชื่ออะไรไม่เชื่ออะไร เพราะถ้าทำอย่างนั้นก็ไม่ใช่การเขียนกระทู้แล้ว อาจจะใช้เวลาเป็นเดือนๆเฉียดๆวิทยานิพนธ์เลยทีเดียว ต้องขออภัยที่หากท่านอ่านแล้วจะสับสนไปบ้าง ครั้นผมจะไปอธิบายในกระทู้นั้นก็จะมากเรื่องมากความเข้าไปอีก จึงเลี่ยงมาเปิดกระทู้นี้เพื่อหาโอกาสแก้ความสับสนต่างๆในตำนานการถ่ายภาพยุคแรกๆของสยาม

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6059.0

เมื่อพิจารณาความเป็นไปได้ต่างๆ ผมเชื่อว่า ทั้งพระบรมฉายาลักษณ์และพระบวรฉายาลักษณ์ทั้งคู่ที่ผมกำลังกล่าวถึง เป็นผลงานอันเฉียบขาดร่วมกันของหลวงพ่อลาร์โนลีและฟรันซิส จิต ศิษย์เอก ทั้งสองคงเข้าวังไปด้วยกันเพราะงานใหญ่ระดับนี้ครั้งแรก อาจารย์จะปล่อยให้ศิษย์บินเดี่ยวได้อย่างไร และถึงอาจารย์จะไปด้วย ฟรันซิสจิตก็คงไม่ได้มีบทบาทแค่เด็กแบกกล้อง เพราะมิฉะนั้นแล้วคงไม่ได้งานต่อมาจนถึงโปรดเกล้าฯให้เป็นช่างภาพหลวง
 
ซึ่งการมีส่วนร่วมของบาทหลวงลาร์โนลีนี้เองที่ทำให้ภาพต้นฉบับทั้งสองไปอยู่ที่ฝรั่งเศส ภายใต้ใบกำกับว่าเป็นฝีมือการถ่ายของสังฆราชปาเลอกัวส์และบาทหลวงลาร์โนลี กับที่ในเมืองไทย เราก็ค้นพบกระจกภาพพระบรมฉายาลักษณ์ในหีบผลงานของฟรันซิส จิตร แต่พระบวรฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าองค์นี้ ไม่มีใครเคยเห็นเลยจนกระทั่งอาจารย์ศักดา ขอให้สถาบันMEPสำเนาต้นฉบับส่งกลับมาให้

ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ไม่ปรากฏมีพระบวรฉายาลักษณ์ที่ประดับดวงดาราแบบไทยองค์นี้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 15 ก.ย. 14, 11:22


ซึ่งการมีส่วนร่วมของบาทหลวงลาร์โนลีนี้เองที่ทำให้ภาพต้นฉบับทั้งสองไปอยู่ที่ฝรั่งเศส ภายใต้ใบกำกับว่าเป็นฝีมือการถ่ายของสังฆราชปาเลอกัวส์และบาทหลวงลาร์โนลี กับที่ในเมืองไทย เราก็ค้นพบกระจกภาพพระบรมฉายาลักษณ์ในหีบผลงานของฟรันซิส จิตร แต่พระบวรฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าองค์นี้ ไม่มีใครเคยเห็นเลยจนกระทั่งอาจารย์ศักดา ขอให้สถาบันMEPสำเนาต้นฉบับส่งกลับมาให้



ให้ดูบรรยากาศแห่งการถ่ายภาพสิครับ จะเห็นว่าการถ่ายภาพในสมัยก่อน รวมทั้งสมัยผมยังละอ่อนน้อย การถ่ายรูปต้องไปถ่ายที่ร้านถ่ายรูป ไม่ง่ายดายเหมือนสมัยนี้

ทีนี้มาดูว่าพระบรมฉายาลักษณ์ เสื้อสีขาวนั้น ประทับนั่ง (อาจจะเป็นบริเวณหมู่พระที่นั่งอภิเนาว์นิเวศน์) ฉากหลังไม่สร้างม่าน ไม่มีโต๊ะพร้อมผ้าคลุม ไม่มีพรม คือไม่มีอุปกรณ์อะไรเลย มีเพียงพระเก้าอี้นั่ง (ซึ่งต้องนั่งนิ่งๆ อย่างน้อย นาทีกว่าๆ) อาจจะเป็นการทดลองประทับเพื่อถ่ายภาพก็เป็นไปได้นะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 15 ก.ย. 14, 11:32

ครับ แต่ก็ออกมาดีมากเลย ไม่มีไหว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 15 ก.ย. 14, 19:17

ไม่รู้ว่ารูปนี้ผิดคิวรึเปล่านะคะ   ถ้าผิดคิว ลบค.ห.นี้ไปก่อนก็ได้ จนกว่าจะถึงคิว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 15 ก.ย. 14, 19:19

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 16 ก.ย. 14, 07:20

ความชาญฉลาดของ ทอมสัน ที่เข้ามาถ่ายภาพในเมืองไทย แล้วลงลายมือชื่อกำกับไว้ในภาพเลย ผ่านร้อยปีกว่าก็ยังมีผลงานให้ปรากฎ .... แต่ว่าไม่ได้ลงชื่อผลงานทุกชิ้นนะครับ บางชิิ้นก็ไม่ลงไว้ก็มีมากอยู่ครับ



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 16 ก.ย. 14, 07:25

พระบรมฉายาลักษณ์ภาพนี้ น่าจะถ่ายโดยใคร ? มีอักษรกำกับไว้ว่า Aolh และ J  (หรือ Photh) แล้ว ทอปสัน ล่ะครับ  ตกใจ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 20 คำสั่ง