เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 27597 ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 13 ก.ย. 14, 09:38

สร้างภาพด้วยกระดาษอัลบูมิน ทำอย่างไร

เมื่อเราถ่ายภาพด้วยระบบกระจกเปียกแล้ว นำกระจกเปียกใส่น้ำยาสร้างภาพเรียบร้อยแล้ว นำไปทาบกับกระดาษอัลบุมิน แล้วนำไปตากแดด เพื่อให้แสงส่องภาพจากกระจกลงไปยังกระดาษอัลบุมิน ตากแดดไว้ครึ้่งชั่วโมง ก็สร้างภาพทำ copy ได้แล้วครับ

เป็นวิธีการที่ง่าย กระชับ นำภาพเหล่านี้ไปโชว์ในงานแกเลอรี่ ได้สบายๆ เหล่านี้จึงก่อให้เกิดกระแสว่า สถาบันมีชื่อต่างๆ จากทางยุโรปจะส่งช่างภาพไปถ่ายภาพสถานที่ บุคคลต่างๆ ทั่วโลกแล้วนำภาพมาโชว์เก็บเงินสร้างความร่ำรวยไปได้มากครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 13 ก.ย. 14, 09:49

อ.ศักดา ยังค้นหาต่อไปว่า ในพ.ศ. ๒๔๐๔ นั้น สยามประเทศได้รับเอาการถ่ายภาพด้วยระบบ Wet Plate หรือกระจกเปียกและกระดาษอัลบูมิน (กระดาษไข่ขาวเคลือบสารไวแสง) เข้ามายังสยามแล้ว โดยช่างถ่ายรูปชาวสวิส "ปีแอร์ โรซิเยท์" 

ปีแอร์ โรซิเยท์เป็นครูสอนช่างถ่ายภาพแบบกระจกเปียกที่ญี่ปุ่นก่อนเดินทางเข้ามายังสยาม เพื่อถ่ายภาพบุคคล วิวทิวทัศน์เมืองไทยไว้หลายภาพเช่นกัน เป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์การถ่ายภาพของไทยในอีกรูปแบบหนึ่งทีทันสมัย

ภาพผลงานของปีแอร์ โรซิเยท์ คือ ภาพพระเมรุสมเด็จพระเทพศิรินทราฯ ในรัชกาลที่ ๔ (เห็นแล้วตะลึงกว่าไหมครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม)

ผมคิดว่าเรามึนกันคนละเรื่องแล้ว ผมไม่ได้ชวนมึนในคุณภาพของภาพใดภาพหนึ่ง ผมมึนในเนื้อหาว่าตกลงแล้ว พระบรมฉายาลักษณ์ภาพใดแบบใดแน่ ระหว่างภาพของของอาจารย์พิพัฒน์และอาจารย์ศักดา ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าส่งไปถวายควีนวิกทอเรีย และยังจะมีความเห็นของอาจารย์เอนกกำลังรอคิวอยู่อีก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 13 ก.ย. 14, 09:54

แต่เนื้อหาที่คุณหนุ่มนำมาลงตอนนี้ก็เหมาะเหม็ง เพราะจะได้ปูพื้นให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า ภาพของอาจารย์ศักดาเป็นถาพที่ถ่ายลงแผ่นเงิน ส่วนของอาจารย์พิพัฒน์เป็นภาพที่ถ่ายจากกระจกแล้วอัดภาพลงกระดาษอัลบูมิน ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่อังกฤษต่อยอดดาแกโรไทป์ของฝรั่งเศส
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 13 ก.ย. 14, 09:58

อ.ศักดา ยังค้นหาต่อไปว่า ในพ.ศ. ๒๔๐๔ นั้น สยามประเทศได้รับเอาการถ่ายภาพด้วยระบบ Wet Plate หรือกระจกเปียกและกระดาษอัลบูมิน (กระดาษไข่ขาวเคลือบสารไวแสง) เข้ามายังสยามแล้ว โดยช่างถ่ายรูปชาวสวิส "ปีแอร์ โรซิเยท์" 

ปีแอร์ โรซิเยท์เป็นครูสอนช่างถ่ายภาพแบบกระจกเปียกที่ญี่ปุ่นก่อนเดินทางเข้ามายังสยาม เพื่อถ่ายภาพบุคคล วิวทิวทัศน์เมืองไทยไว้หลายภาพเช่นกัน เป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์การถ่ายภาพของไทยในอีกรูปแบบหนึ่งทีทันสมัย

ภาพผลงานของปีแอร์ โรซิเยท์ คือ ภาพพระเมรุสมเด็จพระเทพศิรินทราฯ ในรัชกาลที่ ๔ (เห็นแล้วตะลึงกว่าไหมครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม)

ผมคิดว่าเรามึนกันคนละเรื่องแล้ว ผมไม่ได้ชวนมึนในคุณภาพของภาพใดภาพหนึ่ง ผมมึนในเนื้อหาว่าตกลงแล้ว พระบรมฉายาลักษณ์ภาพใดแบบใดแน่ ระหว่างภาพของของอาจารย์พิพัฒน์และอาจารย์ศักดา ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าส่งไปถวายควีนวิกทอเรีย และยังจะมีความเห็นของอาจารย์เอนกกำลังรอคิวอยู่อีก

คือต้องลงอธิบายไว้ครับ เพราะว่าเทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพด้วยระบบต่างๆ เติบโต อย่างมากในยุโปร และไทยเองก็เป็นหนึ่งในซึกโลกตะวันออกที่มีการถ่ายภาพ ไม่น้อยหน้ากว่าญี่ปุ่นและจีน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 13 ก.ย. 14, 10:08

^
สงสัยว่าไม่ได้อ่านคคห.ถัดลงมาข้างบน ฮืม
^
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 13 ก.ย. 14, 10:34

เหตุผลหนึ่งที่บาทหลวงฝรั่งเศสทั้งสองท่านช่วยอะไรไม่ได้มากอาจเป็นเพราะกล้องที่ได้มาใหม่นี้เป็นแบบทัลบอลโรไทป์ ที่นายทัลบอลคนอังกฤษคิดค้นวิธีการถ่ายภาพแบบใช้กระจกและกระดาษอัดที่ท่านไม่คุ้นเคย

อย่างไรก็ดี เกี่ยวกับปัญหาที่ผมมึนตึ๊บ อาจารย์อเนก นาวิกมูลก็แสดงความเห็นไว้ในหนังสือประวัติการถ่ายรูปยุคแรกของเมืองไทยว่าดังนี้



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 13 ก.ย. 14, 10:43

สงเคราะห์ผู้มีปัญหาทางสายตา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 13 ก.ย. 14, 11:48

ขอทวนอีกครั้งหนึ่งว่า การถ่ายภาพไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิกทอเรียตามพระความในพระราชหัตถเลขานั้น ต้องกระทำในระหว่างช่วงปี ๒๓๙๙ ซึ่งได้รับกล้องมา ถึงปี ๒๔๐๐ ที่ส่งคณะราชทูตสยามไปอังกฤษ

แสดงว่าเทคโนโลยี่ในสยามไปถึงระบบ Wet Plate หรือกระจกเปียกและกระดาษอัลบูมินแล้ว  ก่อนหน้าที่ช่างถ่ายรูปชาวสวิส "ปีแอร์ โรซิเยท์" จะเข้ามาวาดลวดลายยังสยามในพ.ศ.๒๔๐๔ ตามที่คุณหนุ่มว่าหลายปี เพียงแต่อุปกรณ์ของเขาอาจจะทันสมัยขึ้นไปอีกเท่านั้น

แต่พระบรมฉายาลักษณ์ที่ทรงพระมหามงกุฏ และอีกองค์หนึ่งที่ทรงฉายพร้อมสมเด็จพระราชินีและสมเด็จเจ้าฟ้าบนพระเพลา น่าจะถ่ายทำก่อนหน้านั้นไปอีก ถ้าไม่ใช่บาทหลวงเข้ามาเป็นผู้ถ่ายในวัง เจ้านายองค์ใดองค์หนึ่งที่คุณหนุ่มว่านั่นแหละ อาจจะทรงเป็นช่างภาพก็ได้ แต่น่าเสียดายที่ไม่มีใครกล่าวถึง

และประเด็นที่สำคัญ พระบรมฉายาลักษณ์ที่อาจารย์ศักดาไปพบนี้ เข้าไปอยู่ในพระราชวังวินเซอร์ได้อย่างไร และเมื่อไหร่
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 14 ก.ย. 14, 11:19

“…ข้าพเจ้าได้นำนาฬิกาเพชรมาประดับ ทั้งได้นำดาบสองคมที่ท่านได้พระราชทานมาให้เมื่อสองสามปีก่อนมาถือประดับไว้ข้างโต๊ะ ซึ่งวางแท่นสำหรับบรรจุกระปุกหมึก และปืนลูกโม่กับปืนยาวไว้ ซึ่งของเหล่านี้ล้วนเป็นมงคลราชบรรณาการจากท่านทั้งสิ้น แล้วยังได้ถ่ายภาพพระราชินีผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้าอีกภาพหนึ่ง กับให้ช่างระบายสีภาพทั้งสองนี้อย่างดี ฝากท่านราชทูตมาทูลเกล้าถวายสมเด็จพระนางเจ้าด้วย”

กว่าจะทราบว่าอะไรเป็นอะไร ก็ต้องเปิดค้นในเล่มที่สาม ของอาจารย์เอนก นาวิกมูล จึงจะทราบที่มาที่ไปอย่างถูกต้อง คือเป็นพระบรมฉายาลักษณ์คนละรายการกันที่ส่่งไปกับคณะราชทูตสองคณะ ให้นำขึ้นทูลเกล้าถวายควีนวิกทอเรีย

และทำให้เราทราบอีกว่า ในแต่ละพ.ศ. การถ่ายภาพของเราเป็นแบบใด น่าจะถ่ายโดยใคร


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 14 ก.ย. 14, 20:06

นอกจากนายโหมด จะเป็นผู้ชื่นชอบวิชาการถ่ายภาพแล้ว ยังมีเจ้านายอีกองค์ที่หลงไหนเสน่ห์ในการชักรูปเงา คือ "พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา และพระโอรส" ซึ่งบุคคลทั้ง ๒ ก็ได้ศึกษาการถ่ายภาพในยุคต้นๆ ด้วยเช่นกัน

ผมว่ามันเป็นเทคโนโลยีอันทันสมัยประเภทหนึ่งที่เดินทางเข้ามายังสยามประเทศ ทำให้กลุ่มเจ้านายที่มีใจรักศึกษา ได้หันมาเล่นกับเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ยิ้มเท่ห์

แล้วท่านเป็นองค์ที่เท่าไหร่กันบ้างล่ะ มีผลงานของท่านมาอวดบ้างได้ไหม

หยิบ ๒ ภาพนี้มาให้ชมกันครับ

ภาพซ้ายมือ ถ่ายโดยจอห์น ทอมสัน ถ่ายที่วังพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา คงเป็นภาพพระโอรสของท่าน (สังเกตุแจกกันแก้วใสข้างตัวเด็กนะครับ)

ภาพขวามือ เป็นภาพพระโอรสของพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา  ใต้ภาพเขียนว่า "เจ้าโมรา" ถ่ายภาพกับเครื่องมือคู่ใจคือ กล้องถ่ายภาพ ๒ เลนส์ (แจกันใบเดียวกันกับภาพซ้ายมือ)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 14 ก.ย. 14, 20:20

คุณพี่อรรถดา เข้ามาอ่านกระทู้นี้ตลอดครับ เห็นมีการกล่าวถึงพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา ผู้สามารถเป็นช่างกล้องได้ จึงได้ส่งภาพที่สะสมนำมาให้ดูผลงานของพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา

โดยการ์ดด้านหลังปรากฎยี่ห้อของท่านอยู่ แต่ไม่ทราบว่าท่านเปิดสตูดิโอที่ใด และบุคคลในภาพเป็นใคร  ฮืม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 14 ก.ย. 14, 20:24

รายละเอียดด้านหลังยี่ห้อ กรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา

แสดงว่าในยุคนั้น ใครที่เปิดสตูดิโอถ่ายภาพ ต้องมีชื่อตัวเองกำกับเสมือนเป็นผลงานของบุคคลนั้นๆ ไม่ว่า ฟรานซิส จิตร, แชตเล่อร์ ก็ตาม

แต่การพิมพ์กระดาษนี้ เขาสั่งพิมพ์กันหรืออย่างไร  ฮืม น่าสงสัย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 14 ก.ย. 14, 20:30

หม่อมเจ้าชายโมรา เป็นพระโอรสองค์แรกในพระองค์เจ้านิลรัตน  กรมหมื่นอลงกฏกิจปรีชา
ประสูติเมื่อพ.ศ. 2385   สิ้นชีพิตักษัยวันที่ 28 เมษายน  2430  พระชันษา 46 ปี   ไม่ได้ทรงกรม
เมื่อทราบปีประสูติ คะเนจากพระชันษาในภาพนี้  ก็พอจะทำให้คาดคะเนต่อไปได้ว่ารูปนี้ถ่ายราวๆพ.ศ.ใด
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 15 ก.ย. 14, 06:43

รายละเอียดด้านหลังยี่ห้อ กรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา

แสดงว่าในยุคนั้น ใครที่เปิดสตูดิโอถ่ายภาพ ต้องมีชื่อตัวเองกำกับเสมือนเป็นผลงานของบุคคลนั้นๆ ไม่ว่า ฟรานซิส จิตร, แชตเล่อร์ ก็ตาม

แต่การพิมพ์กระดาษนี้ เขาสั่งพิมพ์กันหรืออย่างไร  ฮืม น่าสงสัย

พิมพ์อะไรขนาดเล็กๆทีละใบอย่างนี้ คงไปจ้างเขาทำบล๊อก แล้วมาอัดเอาเอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 15 ก.ย. 14, 06:58

คุณพี่อรรถดา เข้ามาอ่านกระทู้นี้ตลอดครับ เห็นมีการกล่าวถึงพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา ผู้สามารถเป็นช่างกล้องได้ จึงได้ส่งภาพที่สะสมนำมาให้ดูผลงานของพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา

โดยการ์ดด้านหลังปรากฎยี่ห้อของท่านอยู่ แต่ไม่ทราบว่าท่านเปิดสตูดิโอที่ใด และบุคคลในภาพเป็นใคร  ฮืม

ต้องขอขอบคุณคุณอรรถดาที่มีน้ำใจนะครับ ทำให้น่าคิดว่าช่างภาพคนแรกของสยามจะเป็นกรมหมื่นอลงกตหรือนายโหมดกันแน่

อย่างไรก็ดี ภาพนี้ไม่ได้เป็นตัวจริงจากแผ่นเงินซึ่งถ่ายจากกล้องของบาดหลวงที่ขายให้ หรืออาจจะใช่แต่ใช้กล้องแบบกระจกก็อปปี้ภาพจากแผ่นเงินมาอีกทีในภายหลังไม่รู้ได้ แต่คุณภาพของภาพถ่ายด้อยกว่าของทอมสันอยู่เห็นๆ ทั้งคอนทราสต์ของรูปและความคมชัด อันเกิดจากเลนช์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 20 คำสั่ง