เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 27566 ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 11 ก.ย. 14, 18:53

สรุปได้ความว่า บาทหลวงลาร์โนดี(Pere Larnaudie)เป็นผู้นำกล้องที่สังฆราชปาเลอกัวส์ฝากซื้อจากปารีสกลับไปกรุงเทพ และเพราะคงได้ฝึกการใช้มาจากทางโน้นด้วย จึงใช้เป็น เพราะขบวนการชักรูปอันสลับซับซ้อนนี้ ท่านสังฆราชปาเลอกัวส์ไม่มีทางจะเรียนรู้ได้ในระยะเวลาอันสั้น และงานหลักของท่านคือการเผยแพร่คริสตศาสนา
 
อย่างไรก็ดี ในจดหมายฉบับหนึ่งที่ท่านเขียนไปถึงมิสซัง มีความบางตอนว่า "...ข้าพเจ้าได้ทดลองถ่ายรูปด้วยกล้องดาแกรืแล้วพรอมกับคุณพ่อลาร์โนดี เมื่อทดลองอยู่สามสี่วัน ข้าพเจ้าก็ถ่ายรูปได้..."

เรื่องบาทหลวงลาร์โนดี ชักภาพนั้นผมทราบมานานแล้ว ท่านยังเป็นล่าม ในคณะราชทูตสยามเดินทางไปยังฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ ๔ อีกด้วยนะครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 11 ก.ย. 14, 21:16

อ้างถึง
เรื่องบาทหลวงลาร์โนดี ชักภาพนั้นผมทราบมานานแล้ว ท่านยังเป็นล่าม ในคณะราชทูตสยามเดินทางไปยังฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ ๔ อีกด้วยนะครับ

เอาเหอะ ทนหน่อยก็แล้วกันกับเรื่องที่คุณทราบมานานแล้วนั่นน่ะ ก็ผมเขียนให้คนที่เค้ายังไม่ทราบอ่านนี่นา แล้วที่จะเขียนต่อไปก็คงเป็นเรื่องที่คุณก็คงทราบมานานแล้วอีกนั่นแหละ

แต่พูดก็พูดเถอะนะ รูปบาทหลวงลาร์โนดีของอาจารย์ศักดาได้ทำความสับสนให้ผม เพราะดูว่ารูปหล่ออย่างกับดาราหนัง ผิดกับรูปของบาทหลวงลาร์โนดีที่ผมเคยเห็นซึ่งผมคิดว่าท่านมีรูปลักษณ์ที่ตรงข้ามกับความหล่อมาก ดูเหมือนจะเป็นญาติกับมิสเตอร์บีน นี่เป็นเหตุให้ผมไม่ได้เฉลียวใจเรื่องท่านเคยเป็นล่ามที่ว่า

สังเกตุที่รูปทรงของคางสิ เป็นรูปของบุคคลคนเดียวกันแน่หรือ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 07:33

ก่อนที่อาจารย์ศักดาจะโยงเอกสารทั้ง๒ฉบับที่ทำให้เชื่อว่าบาทหลวงลาร์โนดีเป็นผู้ลงมือถ่ายภาพเป็นคนแรกในสยามนั้น ที่แต่เดิมเชื่อว่าเป็นสังฆราชปาเลอกัวส์ก็เพราะท่านเขียนจดหมายไปหามิชชัง ฉบับลงวันที่๒๐ ตุลาคม ๒๓๘๘ ไว้ว่า

“……ข้าพเจ้าได้ชักภาพเจ้านายหลายพระองค์ รวมทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มาหาข้าพเจ้า…แม้แต่เจ้าพระยาพระคลังก็แจ้งให้ทราบว่า ท่านจะมาให้ชักเงาภาพให้สักวันหนึ่ง ท่านยังได้กราบทูลสมเด็จฯถึงเรื่องที่ข้าพเจ้าถ่ายรูปคน สมเด็จฯทรงตื่นเต้นมาก ข้าพเจ้าเชื่อว่าในไม่ช้าสมเด็จฯคงรับสั่งให้ข้าพเจ้าไปเฝ้า….”

คำว่าข้าพเจ้า ถ้าใช้ je ก็แปลว่าท่านคนเดียว ถ้าใช้ nous ก็แปลว่าท่านให้เกียรติบาทหลวงลาร์โนดีด้วย และอาจารย์ศักดาก็ไม่ได้กล่าวถึงข้อความที่ท่านแปลในประเด็นอื่นที่ผมสนใจ เจ้าพระยาพระคลังในสมัยปลายๆรัชกาลที่ ๓ น่าจะพอหาได้ว่าเป็นใคร แต่สมเด็จฯนี่ผมเดาไม่ออก เพราะอาจารย์ใช้ราชาศัพท์แสดงว่าเป็นเจ้า ไม่ใช่สมเด็จเจ้าพระยาทั้งองค์น้อยหรือองค์ใหญ่ แต่ทราบว่ามีภาพสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณีและสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย(ตั้งแต่เป็นพระยาศรีพิพัฒน์)ปรากฏเป็นภาพถ่ายฝีมือท่านอยู่ด้วย ส่วนสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่นั้น ท่านไม่ยอมให้ใครชักเงาท่านเล่นในตอนนั้นเป็นอันขาด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 07:36

อาจารย์ศักดานำจดหมายฉบับนั้นมาลงเป็นหลักฐาน แต่ผมก็ไม่มีปัญญาจะเข้าใจภาษาฝรั่งเศสได้เพราะคุณกู๋ไม่รับแปลจากjpeg อยากทราบจริงๆว่าต้นฉบับท่านเขียนเรียกท่านเหล่านั้นว่ากระไร ตกลงเป็นเจ้านายหรือขุนนาง หากจะรบกวนท่านอาจารย์เทาชมพูให้ช่วยตรวจดูหน่อยได้ไหมครับ




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 09:12

ภาษาฝรั่งเศสข้าพเจ้าคืนครูบาอาจารย์ไปแล้ว 99%   นอกจากนี้ลายมือยังจางอ่านยากด้วย แต่พอแกะได้ในฉบับแรกว่า ท่านใช้ Je  ซึ่งตรงกับ I  ซ้ำๆกันหลายประโยค    แปลว่า ข้าพเจ้าได้ทำโน่นทำนี่ อยู่หลายประการด้วยกัน
ได้คำตอบแค่นี้ละค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 09:19

ขอบคุณครับ
อย่างน้อยท่านปาเลอกัวส์ก็ได้แสดงความมั่นใจว่า(ในที่สุด)ตัวท่านก็เป็นช่างภาพได้และสามารถฝากผลงานถ่ายภาพบุคคลสำคัญในบ้านเมืองไว้หลายคน

ผมจะไปหอจดหมายเหตุแห่งชาติอีกครั้งหนึ่งตามนัด ซึ่งอาจจะใช้เวลานานจนถึงช่วงเย็น ระหว่างนี้หากท่านๆจะช่วยหาอะไรมาเสริมกระทู้บ้างก็ยินดีนะครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 09:20

ทั้งนี้เพราะหนังสือเล่มนี้ เล่าเรื่องกรุงสยาม (Description du Royaume Thai ou Siam) ตีพิมพ์ในฝรั่งเศสอันทำให้ท่านโด่งดังยิ่งนั้น มีภาพของจริงที่ชักมาจากเมืองบางกอก ไปตีพิมพ์แบบลายเส้น ซึ่งเป็นกรรมวิธีเดียวในยุคแรกที่จะแพร่ภาพดาแกโรไทป์ออกไปในจำนวนมาก มาประกอบเรื่องราวอยู่ด้วย

เชิญคุณหนุ่มและคุณเพ็ญออกมาวาดลวดลายต่อ ช่วยหาภาพลายเส้นที่ว่ามาประกอบหน่อย  

ภาพลายเส้นในหนังสือดังกล่าว http://pantip.com/topic/31995509


คำอธิบาย

การแต่งกายของชาวสยาม ชาย (ซ้าย) และเด็กสาว อายุ ๑๔ ปี (ขวา)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 09:23

เด็ก ๒ คนที่ไปฝรั่งเศสกับสังฆราชปาเลอกัวส์  เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕

ซ้าย - เด็กไทยชื่อ แก้ว  ขวา - เด็กญวนชื่อ ชม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 10:03

ภาพลายเส้นในหนังสือข้างบน ลอกมาจากภาพถ่ายโดยกระบวนการดาแกโรไทป์ ที่ปารีส พ.ศ. ๒๓๙๗ กระมัง  ยิงฟันยิ้ม

เข้าไปใช้บริการของคุณวิกี้มา เลยไปเจอภาพนี้ครับ มีคำบรรยายภาพว่า ฌัง บัปติสต์ ปาลเลอกัวซ์ พร้อมด้วยเด็กไทยชื่อแก้ว และเด็กญวนชื่อชมถ่ายที่ปารีส เมื่อ พ.ศ. 2397   (ค.ศ.1854)

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 14:54

พระปรางค์วัดอรุณในสายตาท่านสังฆราช - มหาปิรามิดเฉลิมพระเกียรติพระพุทธเจ้าที่กรุงเทพ สูง ๓๐๐ ฟุต  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 14:57

ภาพพระปรางค์วัดอรุณข้างบนต้องวาดหรือถ่ายก่อนที่หนังสือ Description du Royaume Thai ou Siam พิมพ์ใน พ.ศ. ๒๓๙๗  ยังไม่เห็นต้นอินทผาลัมที่เกาะน้อยหน้าวัด และทางขวามือต้นไม้ยังไม่ขึ้นครึ้มเหมือนภาพข้างล่าง

ภาพข้างล่าง คุณ Wilhelm Burger ถ่ายเมื่อพ.ศ. ๒๔๑๒  เห็นต้นอินทผาลัมต้นใหญ่แล้ว ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 15:18

ฮิฮิ  มาแสดงตัวว่ายังวนเวียนอยู่แถวๆ นี้แหละครับ เข้ามาทุกวัน แต่หลังๆ แต่ละกระทู้เนื้อหามันเกินความรู้ความสามารถผม  ไม่รู้จะถกยังไง  แผ่นดินไหวเงี้ย หลุมยุบ งี้ หรือเนื้อหาประวัติศาสตร์ที่ต้องหาข้อมูลเชิงลึก  เลยได้แต่เมียงมองแอบซ่อน


ถ้ามีเนื้อหาแบบให้วิพากษ์วิจารณ์ก่นด่าหละก็ แบบนั้นถึงจะถนัดคนปากเสียแบบผมหน่อย ยิ้ม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 15:27

ว่าง ๆ คุณประกอบเข้าไปช่วยเสริมเรื่อง DIY ฉีดน้ำแรงดับสูงสร้างรอยพญานาค บ้างก็ได้  ยิ้มเท่ห์

กลับเข้าเรื่อง สองภาพนี้น่าจะมีบางอย่างเชื่อมโยงกัน  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 12 ก.ย. 14, 19:33

พระปรางค์วัดอรุณในสายตาท่านสังฆราช - มหาปิรามิดเฉลิมพระเกียรติพระพุทธเจ้าที่กรุงเทพ สูง ๓๐๐ ฟุต  ยิงฟันยิ้ม

ภาพกลับซ้าย - ขวาครับคุณเพ็ญ  ยิงฟันยิ้ม

เมื่อกลับภาพแล้วจะเห็นศาลาน้อย หน้าวัดอรุณได้ง่ายขึ้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 13 ก.ย. 14, 06:32

จากตุลาคม พ.ศ.๒๓๘๘ ซึ่งบาทหลวงลาร์โนดีนำกล้องถ่ายรูปกล้องแรกเข้ามากรุงเทพ และทั้งสองได้ชักภาพบุคคลและทิวทัศน์ต่างๆไม่ทราบว่ากี่ภาพไปแล้วเป็นเวลาประมาณสองปี กล้องนั้นก็ถูกเปลี่ยนมือเพราะท่านเจ้าของมีความจำเป็น ต้องการเอาเงินไปซื้อบ้าน เจ้านายที่ทรงซื้อไปเชื่อว่าคือพระองค์เจ้านพวงศ์ พระราชโอรสพระองค์แรกของเจ้าฟ้ามงกุฏที่ประสูติก่อนขึ้นครองราชย์ ซึ่งขณะนั้นทรงมีอายุ๒๕พรรษาแล้ว และสนพระทัยเรื่องการถ่ายรูป แต่น่าประหลาดใจที่ตำแหน่งคนไทยคนแรกที่สามารถถ่ายรูปได้(ดังที่จะกล่าวต่อไป)วงวิชาการกลับไปยกให้กับผู้อื่นที่ไม่ใช่ท่าน นี่แปลว่าท่านไม่เคยชักเงารูปอะไรได้สักภาพเดียวเชียวหรือนั่น


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง