NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 90 เมื่อ 16 ก.ย. 14, 08:41
|
|
นายตอมซัน ชื่อตามคำสะกดสมัยโน้นของหมอบรัดเล เข้ามาสยามหลังจากที่นายจิตเปิดกิจการร้านถ่ายรูปเป็นอาชีพแล้ว ๒ ปี โดยระหว่างอยู่ในกรุงเทพจะพำนักที่บ้านหลวงของกับปิตันเอม นายกองเตวน บรรพบุรุษของแม่ยายพ้ม ท่านไม่ได้ชื่อเอม นามสกุลนายกองเตวน นะครับ แต่เป็นนายกองตระเวน หรือโปลิสแบบยุโรปคนแรกของสยาม ฝากระโยงเรื่องของกัปตันเอมซ์ที่ผมเขียนไว้ให้อ่านหน่อย เดี๋ยวจะกลับมาเรืองนายทอมสันต่อ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5425.0
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 91 เมื่อ 16 ก.ย. 14, 10:21
|
|
นายตอมซัน ชื่อตามคำสะกดสมัยโน้นของหมอบรัดเล เข้ามาสยามหลังจากที่นายจิตเปิดกิจการร้านถ่ายรูปเป็นอาชีพแล้ว ๒ ปี โดยระหว่างอยู่ในกรุงเทพจะพำนักที่บ้านหลวงของกับปิตันเอม นายกองเตวน บรรพบุรุษของแม่ยายพ้ม ท่านไม่ได้ชื่อเอม นามสกุลนายกองเตวน นะครับ แต่เป็นนายกองตระเวน หรือโปลิสแบบยุโรปคนแรกของสยาม ฝากระโยงเรื่องของกัปตันเอมซ์ที่ผมเขียนไว้ให้อ่านหน่อย เดี๋ยวจะกลับมาเรืองนายทอมสันต่อ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5425.0ที่เดินทางเข้ามาเนี่ย ไม่ได้ต้องการเข้ามาอยากถ่ายภาพกรงเทพหรอกครับ จุดประสงค์หลักต้องการเดินทางไปเก็บภาพปราสาทหินนครวัด และได้ศึกษาไว้ว่าเสียมเรียบ เป็นเขตอิทธิพลของสยาม จึงต้องเดินทางเข้ามาเพื่อขอใบวีซ่า (ใบผ่านแดน) เพื่อเดินทางไปยังปราสาทหินนครวัด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 92 เมื่อ 16 ก.ย. 14, 12:08
|
|
พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพศิรินทรฯ ถ่ายด้วยระบบแผ่นเงิน ดาแกโรไทป์ ลงสีอย่างสวยงาม เก็บที่พระราชวังฟองแตงโบ ประเทศฝรั่งเศส
จะเห็นว่าการตั้งโต๊ะ สร้างแท่นยกสูงจากพื้น เพื่ออะไร ? หรือว่าขาตั้งกล้องมีความสูงมากเกินไป
เผยแพร่โดยเวปไซด์ฝรั่งเศส
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 93 เมื่อ 17 ก.ย. 14, 09:14
|
|
ธันวาคม ๒๔๐๘ หนังสือบางกอกรีคอร์ดเดอร์ ของหมอบรัดเล ลงข้อความเกี่ยวกับช่างชักรูป ผู้มีชื่อ ๓ ท่าน (ขณะลงโฆษณานี้ มิศเตอร์ทอมสัน ได้เข้ามายังกรุงเทพเรียบร้อยแล้ว)
แต่สำหรับ มิสเตอร์แชตเลอร์ ทำไมต้องตั้งหัวข้อข่าว "คาดใบหนึ่ง" แต่สำหรับทอมสัน และฟรานซิสจิตตั้งหัวข้อข่าวว่า "ผู้ที่จะมาชักรูป"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 94 เมื่อ 17 ก.ย. 14, 09:23
|
|
ข่าวของมิศเตอร์ทอมสัน ชักรูปภาพนครวัดมาได้ ๔๐ แผ่น และทูลเกล้าให้รัชกาลที่ ๔ ทรงทอดพระเนตรด้วย และข่าวเรื่องการรื้อย้ายปราสาทหิน ก็อยู่ในคอลัมภ์เดียวกันนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 95 เมื่อ 24 ก.ย. 14, 18:56
|
|
โฆษณานายทองดี บุตรชายฟรานซิสจิต
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 96 เมื่อ 01 ต.ค. 14, 19:30
|
|
ภาพถ่ายจากต้นฉบับ Negative
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 97 เมื่อ 03 ต.ค. 14, 09:48
|
|
ภาพ Positive 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 98 เมื่อ 03 ต.ค. 14, 10:19
|
|
ภาพ Positive  กลับซ้าย - ขวา ด้วยสิคุณเพ็ญ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 99 เมื่อ 03 ต.ค. 14, 10:38
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 100 เมื่อ 31 ต.ค. 14, 07:23
|
|
มาถึงตรงนี้ก็เพื่อจะสารภาพว่า สิ่งที่ผมเขียนในกระทู้เรื่องพระบวรฉายาลักษณ์องค์ไหนองค์แท้ไม่แท้นั้น ข้อมูลอาจพลิกไปพลิกมา เพราะผมใช้หนังสือครูทั้งสามเล่มจริง แต่ไม่สามารถอ่านได้หมดทุกหน้าเพื่อตรวจสอบกันว่าควรจะเชื่ออะไรไม่เชื่ออะไร เพราะถ้าทำอย่างนั้นก็ไม่ใช่การเขียนกระทู้แล้ว อาจจะใช้เวลาเป็นเดือนๆเฉียดๆวิทยานิพนธ์เลยทีเดียว ต้องขออภัยที่หากท่านอ่านแล้วจะสับสนไปบ้าง ครั้นผมจะไปอธิบายในกระทู้นั้นก็จะมากเรื่องมากความเข้าไปอีก จึงเลี่ยงมาเปิดกระทู้นี้เพื่อหาโอกาสแก้ความสับสนต่างๆในตำนานการถ่ายภาพยุคแรกๆของสยาม
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6059.0
เมื่อพิจารณาความเป็นไปได้ต่างๆ ผมเชื่อว่า ทั้งพระบรมฉายาลักษณ์และพระบวรฉายาลักษณ์ทั้งคู่ที่ผมกำลังกล่าวถึง เป็นผลงานอันเฉียบขาดร่วมกันของหลวงพ่อลาร์โนลีและฟรันซิส จิต ศิษย์เอก ทั้งสองคงเข้าวังไปด้วยกันเพราะงานใหญ่ระดับนี้ครั้งแรก อาจารย์จะปล่อยให้ศิษย์บินเดี่ยวได้อย่างไร และถึงอาจารย์จะไปด้วย ฟรันซิสจิตก็คงไม่ได้มีบทบาทแค่เด็กแบกกล้อง เพราะมิฉะนั้นแล้วคงไม่ได้งานต่อมาจนถึงโปรดเกล้าฯให้เป็นช่างภาพหลวง ซึ่งการมีส่วนร่วมของบาทหลวงลาร์โนลีนี้เองที่ทำให้ภาพต้นฉบับทั้งสองไปอยู่ที่ฝรั่งเศส ภายใต้ใบกำกับว่าเป็นฝีมือการถ่ายของสังฆราชปาเลอกัวส์และบาทหลวงลาร์โนลี กับที่ในเมืองไทย เราก็ค้นพบกระจกภาพพระบรมฉายาลักษณ์ในหีบผลงานของฟรันซิส จิตร แต่พระบวรฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าองค์นี้ ไม่มีใครเคยเห็นเลยจนกระทั่งอาจารย์ศักดา ขอให้สถาบันMEPสำเนาต้นฉบับส่งกลับมาให้
ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ไม่ปรากฏมีพระบวรฉายาลักษณ์ที่ประดับดวงดาราแบบไทยองค์นี้ สำหรับท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ถึงตอนนี้ กรุณาเปิดกระทู้ตามระโยงที่ผมทำไว้อีกครั้ง จากหลักฐานครั้งสุดท้าย ผมเชื่อว่าภาพที่กล่าว ถ่ายโดยนายโรสิเยร์(Pierre Rossier) ตามเหตุผลที่อธิบายไว้ในกระทู้โน้นแล้ว http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6059.195
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
cameraman
อสุรผัด

ตอบ: 21
|
ความคิดเห็นที่ 101 เมื่อ 31 ต.ค. 14, 15:44
|
|
หนังสือของ อ. ศักดา ใน คคห 2 ได้ปูพื้นฐานการถ่ายรูปขณะที่วิทยาการเริ่มแพร่เข้าสู่สยามได้เป็นอย่างดี
แต่ว่าผู้แต่งบวกลบวันเดือนปี ตรงเหตุการณ์ที่สำคัญอันหนึ่ง ผิดไป
พอคุณพิพัฒน์ มาต่อยอดประวัติการถ่ายภาพต่อจาก อ. ศักดา ทำให้เรียบเรียงเหตุการณ์สำคัญผิดตามไปด้วยอย่างน่าเสียดาย
เผอิญผมอยู่ไกลบ้าน ไม่มีเอกสารในมือที่จะอ้างอิงครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 102 เมื่อ 31 ต.ค. 14, 15:58
|
|
ด้วยความเคารพต่อครูบาอาจารย์ทุกๆท่าน ผมมิได้เคยนึกตำหนิในเรื่องความผิดพลาดของข้อมูลใดๆเลย ในยุคที่เราไม่มีอินทรเนตรเป็นตาวิเศษช่วยค้นหาให้ ทั้งหมดต้องแสวงจากชั้นหนังสือ มันก็ยากพอๆกับงมเข็มในมหาสมุทรเช่นกัน เท่าที่ท่านทำกันมาได้ก็ประเสริฐยิ่งแล้ว
แต่เมื่อมาถึงตรงนี้แล้ว ผมจะขอสรุปเรื่องเสียใหม่ โดยเรียบเรียงไปตามลำดับเวลา ซึ่งจะทำให้เกิดภาพที่ชัดเจนกว่า ดังนี้
พ.ศ. ๒๓๘๘ ยังอยู่ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ สังฆราชปาเลอกัวส์(Jean-Baptiste Pallegoix)ได้สั่งกล้องแบบดาแกร์เข้ามาสยามเป็นคนแรก โดยบาทหลวงลาร์โนดี(Pere Larnaudie)เป็นผู้นำกล้องดังกล่าวจากปารีสกลับไปกรุงเทพ และได้เป็นผู้สอนให้สังฆราชปาเลอกัวส์ถ่ายภาพจนเป็นอีกทีหนึ่ง ดังนั้นบาทหลวงลาร์โนดีจึงถือว่าเป็นช่างภาพคนแรกในประวัติศาสตร์สยาม ส่วนผลงานของสังฆราชปาเลอกัวส์ชิ้นหนึ่งคือ พระรูปของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิสเรศรังสรรค์ ภาพนี้ ที่ท่านอาศัยความคุ้นเคยต่อกันทำการถ่ายไว้ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 103 เมื่อ 31 ต.ค. 14, 16:01
|
|
พ.ศ. ๒๓๙๙ สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งอังกฤษได้ส่งอัครราชทูตพิเศษ นำมงคลราชบรรณาการมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯรวมทั้งหมด๔๕รายการ หนึ่งในนั้นเป็นกล้องถ่ายรูปที่คนอังกฤษประดิษฐ์ขึ้น บังเอิญโชคไม่ดี ระหว่าขนถ่ายจากเรือใหญ่ลงเรือเล็กที่สิงคโปร เรือคว่ำลง กล่องใส่เครื่องราชบรรณาการตกน้ำส่วนที่จมลงไปงมขึ้นมาได้ก็จริง แต่ก็เสียหาย รวมทั้งกล้องถ่ายรูปดังกล่าวด้วย
กล้องนั้นไม่มีผู้ใดในสยามสามารถใช้ได้ จวบจนนายฌอมเบิร์ก กงสุลอังกฤษได้นำช่างถ่ายรูปชาวสวีเดนที่เข้ามาเที่ยวกรุงสยาม ให้ช่วยเหลือจนกระทั่งคนไทยรู้วิธีถ่ายรูป ท่านผู้นั้นคือพระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล).และได้ถ่ายภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ส่งไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียในเดือนพฤศจิกายน ๒๔๐๐
๒๔๐๑ นายอองรี มูโอต์ นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสได้เข้ามาสยาม เพื่อผ่านไปสำรวจดินแดนลาวและเขมร จึงมีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์
๒๔๐๓ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯส่งคณะทูตไทยไปฝรั่งเศส และนำเครื่องมงคลราชบรรณาการไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ ๓
๒๔๐๔ ฝรั่งเศสส่งนายโบกัวต์(Firmin Bocourt)นักชีววิทยาจากพิพิธภัฑณสถานแห่งชาติว่าด้วยชีววิทยาในกรุงปารีสมาสยาม ตามที่ประสานกับท่านอัครราชทูตไว้ รัฐบาลฝรั่งเศสได้ติดต่อให้นายโรสิเยอ์(Pierre Rossier)ช่างภาพซึ่งกำลังรับงานถ่ายรูปอยู่ในเมืองจีน ให้เดินทางมาถ่ายภาพในสยามภายใต้การกำกับการของนายโบกัวต์
เห็นว่าภาพของนายโรสิเยอ์ จะมีทั้งความคมชัดและลึก โดดเด่นกว่าภาพทั้งหลายที่เคยถ่ายกันในสยาม ผลงานเช่นนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็จากกล้องที่ใช้เลนซ์ระดับสุดยอดของโลก เพราะราคาแสนแพงของมัน จึงมีแต่มืออาชีพที่คู่ควรเท่านั้นที่จะใช้มันได้ ซึ่งหากจะดูปูมประวัติของนายโรสสิเยร์ เขาถูกว่าจ้างโดยบริษัท Negretti and Zambra ซึ่งเป็นผู้ผลิตเลนซ์ให้มาถ่ายทำภาพในเมืองจีนและญี่ปุ่น เพื่อนำไปส่งเสริมการขายธุรกิจของบริษัท รัฐบาลฝรั่งเศสไปตัดตอนให้เขาเข้ามาสยามเพื่อถ่ายภาพให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเฉพาะกิจเท่านั้น ระหว่างที่อยู่ในกรุงเทพ จึงมีความน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่งว่า เขาได้มีโอกาสถ่ายภาพพระเจ้าอยู่หัวของสยามทั้งสองพระองค์
๒๔๐๕ นายโบกัวต์นำภาพที่ถ่ายไว้โดยนายโรสิเยอ์กลับไปมอบให้พิพิธภัณฑ์ตามที่ได้รับคำสั่ง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 104 เมื่อ 31 ต.ค. 14, 16:30
|
|
๒๔๐๖ พระเจ้านโปเลียนที่ ๓ทรงส่งอัครราชทูตพิเศษ นำมงคลราชบรรณาการ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์เลฌียง ดอเนอร์ (Légion d'honneur) มาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นชั้นปฐมาภรณ์ Grand'-Croix มีดวงดาราพร้อมสายสะพาย ส่วนของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เป็นชั้นทุติยาภรณ์ (Grand'-Officier) เป็นดวงดาราและเหรียญประดับอก ไม่มีสายสะพาย
ในระยะเวลาไล่เรี่ยกัน หนังสือ Voyage dans les royaumes de Siam, de Cambodge, de Laos et autres parties centrales de l'Indochine (ท่องภาคกลางของสยาม กัมพูชาและลาว ระหว่างปีค.ศ.1858, 1859,และ1860) นายอองรี มูโอต์ได้รับการตีพิมพ์และวางตลาด ภายในเล่มมีภาพประกอบที่ทำเป็นภาพลายเส้นเหมือนจริงบุคคลและสถานที่ต่างๆในสยาม ลอกจากภาพถ่าย รวมถึงพระบวรฉายาลักษณ์ภาพนี้ เพราะขณะนั้นยังพิมพ์ภาพถ่ายลงตรงๆในหนังสือไม่ได้
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|