NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 06:47
|
|
เป็นเวลากว่า๗ปีที่สังฆราชปาเลอกัวส์จะกลับไปเยี่ยมฝรั่งเศสในปี๒๓๙๕ และนำเด็กหนุ่มหน้ามลสองคนไปโปรโมตให้สยามเป็นที่รู้จักในกรุงปารีส ภาพต่างๆที่ตีพิมพ์ใน Description du Royaume Thai ou Siam เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๗ เท่าที่คุณเพ็ญชมพูเอามาลงไว้ น่าจะเป็นเพียงส่วนน้อยของจำนวนภาพทั้งหมดที่บาดหลวงทั้งสองใช้เวลาสองปีถ่ายเก็บไว้ ส่วนภาพอื่นๆจะมีอะไรบ้างอย่างเช่นภาพนี้ใช่หรือไม่ คงไม่ต้องหามาลงตอนนี้ก็ได้ ขอเพียงให้ช่วยกันคอยดูและวิเคราะห์ภาพที่ผมจะนำมาลงในช่วงต่อๆไปว่าใครเป็นผู้ถ่ายก็แล้วกัน เพราะผมสลับสับสนอย่างยิ่งจากหนังสือฉบับครูทั้งสาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 06:56
|
|
หลังการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๔ เป็นเวลาอีก๕ปีกว่าที่ฝรั่งชาติอื่นจะเข้ามามีบทบาทในเรื่องการถ่ายรูปของสยาม กล่าวคือ เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าวิกทอเรียแห่งอังกฤษได้ส่งราชทูตพิเศษ นำมงคลราชบรรณาการมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯรวมทั้งหมด๔๕รายการในเดือนเมษายน ๒๓๙๙ ซึ่งระหว่างลำเลียงขึ้นเรือใหญ่เกิดอุบัติเหตุเรือเล็กล่มของตกน้ำหมด งมขึ้นมาได้เพียง๓๖รายการ หนึ่งในนั้นคือกล้องถ่ายรูปพร้อมอุปกรณ์พร้อมถ่ายที่คนอังกฤษได้ประดิษฐ์ขึ้นเป็นการค้าด้วย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงรออยู่นานกว่าจะหาฝรั่งที่มีความรู้มาช่วยสอนให้คนของพระองค์ใช้กล้องนั้นได้ ผมยังไม่หายสงสัยว่าทั้งๆที่ท่านสนิทกับสังฆราชปาเลอกัวส์ ทำไมท่านไม่ทรงขอให้บาทหลวงฝรั่งเศสท่านใดท่านหนึ่งเป็นผู้แนะนำการใช้กล้องนี้ แต่กลับไปได้ชาวสวีเดนที่เวะมาเที่ยวสยาม และเซอร์ชอมเบอร์ก กงสุลอังกฤษเป็นผู้ติดต่อขอร้องมาได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 07:17
|
|
คนไทยที่วงวิชาการถือว่าเป็นคนแรกที่สามารถชักเงาภาพได้คือนายโหมด(อมาตยกุล) ซึ่งขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็นวิสูตรโยธามาตย์ เจ้ากรมทหารในขวา ซึ่งมีความรู้ความสนใจในวิทยาการสมัยใหม่ด้านจักรๆกลๆ จึงทรงมอบหมายให้รับผิดชอบเรียนรู้การใช้กล้องดังกล่าวจนใช้งานได้
เมื่อทรงส่งคณะราชทูตไทยไปอังกฤษเมื่อพฤศจิกายน ๒๔๐๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงมีพระราชหัตถเลขาให้อัญเชิญไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิกทอเรีย มีความตอนหนึ่งว่า “ …ช่างถ่ายรูปชาวสวีเดนที่เข้ามาเที่ยวกรุงสยาม….ได้ช่วยเหลือให้คนไทยจนกระทั่งรู้วิธีถ่ายรูปได้สะดวก บัดนี้ข้าพเจ้าจึงมีโอกาสให้ช่างของเราถ่ายรูปเหมือนของข้าพเจ้าได้….”
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 08:04
|
|
“…ข้าพเจ้าได้นำนาฬิกาเพชรมาประดับ ทั้งได้นำดาบสองคมที่ท่านได้พระราชทานมาให้เมื่อสองสามปีก่อนมาถือประดับไว้ข้างโต๊ะ ซึ่งวางแท่นสำหรับบรรจุกระปุกหมึก และปืนลูกโม่กับปืนยาวไว้ ซึ่งของเหล่านี้ล้วนเป็นมงคลราชบรรณาการจากท่านทั้งสิ้น แล้วยังได้ถ่ายภาพพระราชินีผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้าอีกภาพหนึ่ง กับให้ช่างระบายสีภาพทั้งสองนี้อย่างดี ฝากท่านราชทูตมาทูลเกล้าถวายสมเด็จพระนางเจ้าด้วย”
ก่อนที่ผมจะนำภาพที่อาจารย์ศักดานำมาลงในกษัตริย์กับกล้องต่อจากภาพนี้ ขอนำภาพจากสมุดภาพรัชกาลที่๔ ของอาจารย์พิพัฒน์มาลงก่อนเพื่อให้เห็นภาพตามที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขาข้างต้น แต่อ่านที่อาจารย์พิพัฒน์บรรยายใต้ภาพจะเห็นว่าเป็นคนละทาง ทว่ามีเครื่องหมาย ? กำกับไว้
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 08:06
|
|
"พระราชินีผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้า"
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 08:11
|
|
นอกจากนายโหมด จะเป็นผู้ชื่นชอบวิชาการถ่ายภาพแล้ว ยังมีเจ้านายอีกองค์ที่หลงไหนเสน่ห์ในการชักรูปเงา คือ "พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา และพระโอรส (เจ้าโมรา) " ซึ่งบุคคลทั้ง ๒ ก็ได้ศึกษาการถ่ายภาพในยุคต้นๆ ด้วยเช่นกัน ผมว่ามันเป็นเทคโนโลยีอันทันสมัยประเภทหนึ่งที่เดินทางเข้ามายังสยามประเทศ ทำให้กลุ่มเจ้านายที่มีใจรักศึกษา ได้หันมาเล่นกับเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 08:14
|
|
นอกจากนายโหมด จะเป็นผู้ชื่นชอบวิชาการถ่ายภาพแล้ว ยังมีเจ้านายอีกองค์ที่หลงไหนเสน่ห์ในการชักรูปเงา คือ "พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา และพระโอรส" ซึ่งบุคคลทั้ง ๒ ก็ได้ศึกษาการถ่ายภาพในยุคต้นๆ ด้วยเช่นกัน ผมว่ามันเป็นเทคโนโลยีอันทันสมัยประเภทหนึ่งที่เดินทางเข้ามายังสยามประเทศ ทำให้กลุ่มเจ้านายที่มีใจรักศึกษา ได้หันมาเล่นกับเทคโนโลยีดังกล่าวนี้  แล้วท่านเป็นองค์ที่เท่าไหร่กันบ้างล่ะ มีผลงานของท่านมาอวดบ้างได้ไหม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 08:42
|
|
นอกจากนายโหมด จะเป็นผู้ชื่นชอบวิชาการถ่ายภาพแล้ว ยังมีเจ้านายอีกองค์ที่หลงไหนเสน่ห์ในการชักรูปเงา คือ "พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชา และพระโอรส" ซึ่งบุคคลทั้ง ๒ ก็ได้ศึกษาการถ่ายภาพในยุคต้นๆ ด้วยเช่นกัน ผมว่ามันเป็นเทคโนโลยีอันทันสมัยประเภทหนึ่งที่เดินทางเข้ามายังสยามประเทศ ทำให้กลุ่มเจ้านายที่มีใจรักศึกษา ได้หันมาเล่นกับเทคโนโลยีดังกล่าวนี้  แล้วท่านเป็นองค์ที่เท่าไหร่กันบ้างล่ะ มีผลงานของท่านมาอวดบ้างได้ไหม ผลงานคงมีปรากฎ แต่เสียดายที่ช่างกล้องเหล่านี้ไม่ได้เครื่องหมายอะไรไว้เลย แต่เท่าที่ทราบคือ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอลงกตกิจปรีชาได้ร่วมกับนายโหมด ทำการถ่ายภาพพระเมรุไว้หลายรูป และนอกจากนี้เจ้าโมรา ยังถ่ายรูปตัวเองที่โต๊ะยังเอากล้องถ่ายรูปมาวางไว้ข้างๆตนเอง อันเป็นลักษณะว่า เป็นเครื่องมือที่ติดข้างกายตลอดเวลา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 08:46
|
|
อาจารย์ศักดาเขียนในหนังสือของท่านว่าได้พยายามค้นคว้าหาภาพพระบรมฉายาลักษณ์ทั้งสองอยู่หลายปี จนได้เบาะแสจากเพื่อนอเมริกันในวงการว่าได้เคยเห็นภาพทั้งสองที่พระราชวังวินเซอร์ ชานกรุงลอนดอน ท่านจึงติดต่อภัณฑารักษ์ของสำนักพระราชวังที่นั่น เขาอนุญาตแล้วจึงเดินทางไปดู จึงโชคดีที่ได้เห็นและได้จับต้องภาพดาแกโรไทป์ระบายสีสมัยรัชกาลที่๔ดังกล่าว พระบรมฉายาลักษณ์ที่พระราชทานไปทั้งสองภาพดูจืดจางมากแล้วเพราะความเก่าแก่ ขนาดของภาพทั้งสองเท่ากันคือ ๓.๒๕x๔.๒๕ นิ้ว บรรจุในกรอบทองคำสวยงาม ท่านได้ขอร้องให้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลรักษาถ่ายทำสำเนาภาพทั้งสไลด์สีและภาพขาวดำส่งมาให้ พร้อมอนุญาตให้ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ ซึ่งท่านได้นำลงไทยรัฐฉบับ ๒ สิงหาคม ๒๕๓๒ ด้วย
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 08:48
|
|
ภาพสีซีเปียทั้งสองภาพครับ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 08:49
|
|
ภาพจากสไลด์สี
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 08:51
|
|
เป็นยังไงขอรับ เห็นภาพแล้วมึนตึ๊บไหมล่ะพระเดชพระคุณท่านทั้งหลาย
หายมึนเมื่อไหร่โปรดร่วมอภิปราย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 09:01
|
|
ผมมองว่ากระแสการประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพรูปที่ยุโรปนั้น เกิดกระแสการตื่นตัวและตลอดจนมีการคิดค้นพัฒนาต่อยอดกันอย่างมากๆ อาจจะเป็นด้วยความร่ำรวยในการประดิษฐ์ ความมีชื่อเสียง เหล่านี้ย่อมทำให้มีการค้นหาวิธีการต่างๆ
เพื่อให้การถ่ายรูปหลากหลายมากขึ้น การถ่ายภาพด้วยระบบดาร์แกโรไทป์ มีความยุ่งยากตั้งแต่หาแผ่นเงิน อาบน้ำยาไอโอดีน อาบไอปรอท และอื่นๆอีกมากมายแล้ว ปัญหาที่สำคัญของการถ่ายภาพระบบดาร์แก จะทำสำเนาค่อนข้างยาก
คือไม่สามารถอัดลงบนกระดาษได้หลายๆ ใบ (เทคโนโลยียังคิดค้นไม่ได้) และไม่นานหลังจากนี้มีนักประดิษฐ์วิธีการสร้างอะไรที่ง่ายขึ้นเพื่อการถ่ายภาพแทนแผ่นเงินนั่นคือ "กระจก"
นำกระจกขนาดบางมาเคลือบด้วยน้ำยาไวแสง ปล่อยให้แห้งพอหมาดๆ แล้วนำเข้ากล้องถ่ายภาพ แล้วเข้าห้องมืดสร้างภาพ เป็นกระบวนการที่ง่ายมากๆ กว่าการถ่ายระบบแผ่นเงินหลายเท่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 09:10
|
|
อ.ศักดา ยังค้นหาต่อไปว่า ในพ.ศ. ๒๔๐๔ นั้น สยามประเทศได้รับเอาการถ่ายภาพด้วยระบบ Wet Plate หรือกระจกเปียกและกระดาษอัลบูมิน (กระดาษไข่ขาวเคลือบสารไวแสง) เข้ามายังสยามแล้ว โดยช่างถ่ายรูปชาวสวิส "ปีแอร์ โรซิเยท์" ปีแอร์ โรซิเยท์เป็นครูสอนช่างถ่ายภาพแบบกระจกเปียกที่ญี่ปุ่นก่อนเดินทางเข้ามายังสยาม เพื่อถ่ายภาพบุคคล วิวทิวทัศน์เมืองไทยไว้หลายภาพเช่นกัน เป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์การถ่ายภาพของไทยในอีกรูปแบบหนึ่งทีทันสมัย ภาพผลงานของปีแอร์ โรซิเยท์ คือ ภาพพระเมรุสมเด็จพระเทพศิรินทราฯ ในรัชกาลที่ ๔ (เห็นแล้วตะลึงกว่าไหมครับ  )
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 13 ก.ย. 14, 09:26
|
|
กระดาษอัลบูมิน (กระดาษไขขาว) คืออะไร
กระดาษอัลบุมิน เป็นกระดาษธรรมดา เอามาเคลือบด้วย ไข่ขาวผสมน้ำยาความไวแสง ก็จะได้กระดาษไว้เพื่อการอัดภาพและเป็นประโยชน์ในด้านการพิมพ์ภาพประกอบลงหนังสือในสมัยโบราณด้วย (ในคัมภรี์ใบเบิ้ลก็มี)
(ดังนั้นเมื่อกระดาษอัลบุมิน ถูกประดิษฐ์ออกมาอุตสาหกรรมฟาร์มไข่ไก่ ก็น่าจะกระตุ้นการเลี้ยงไก่ได้เยอะทีเดียว)
เมื่อการถ่ายภาพ Wet Plate + กระดาษอัลบูมิน ปรากฎตัวในด้านการถ่ายภาพแล้ว ก็ยังมีผลทำให้การถ่ายภาพง่ายขึ้น การเผยแพร่ผลงานได้มากขึ้นคือ อัดลงใส่กระดาษกี่ร้อยใบก็ได้
นี่คือภาพของวิวกรุงเทพมหานคร ที่ถ่ายโดย ปิแอร์ โรซิเยท์ ราว พ.ศ. ๒๔๐๔
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|