NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 11 ก.ย. 14, 14:40
|
|
ขออีกสองสามคคห.นะ เดี๋ยวอามีธุระจะต้องไปงีบแล้ว หลานสามารถวาดลวดลายต่อได้ตามสบาย
นำแผ่นเงินไปขัดผิวหน้าให้เรียบ โดยใช้อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยแผ่นรองรับบุด้านบนด้วยหนังหรือผ้าใบ เอาผงขัดที่บดจากหินภูเขาไฟผสมน้ำมันมะกอก ชโลมลงบนผ้า แล้วนำแผ่นเงินที่ติดไว้กับด้ามจับ ลงขัดถูๆจนแจ่มได้ที่จึงนำออกมาเช็ดด้วยผ้าฝ้ายชุบกรดดินประสิวเจือจางอีกทีหนึ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 11 ก.ย. 14, 14:42
|
|
ต่อไปเป็นขบวนการในห้องมืด โดยนำแผ่นเงินที่เงาวับนี้ ไปใส่กล่องเพื่ออังกับไอระเหยของเกลือไอโอดีน เกิดปฏิกิริยากันเป็นซิลเวอร์ไอโอไดซึ่งเป็นสารไวแสง เห็นเป็นเคลือบสีเหลืองๆบนแผ่นเงิน สามารถนำไปใส่กล้องถ่ายรูป เปิดรูรับแสงให้ภาพผ่านเลนส์ไปตกที่แผ่นเงินนี้ แล้วเกิดเป็นภาพแฝง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 11 ก.ย. 14, 14:43
|
|
นำแผ่นเงินจากกล้องถ่ายไปเข้าหีบสร้างภาพ โดยติดตั้งทำมุม๔๕องศา รับไอของปรอทที่ระเหิดจากถ้วยเผา เกิดเป็นภาพที่ต้องการขึ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 11 ก.ย. 14, 14:46
|
|
หลังการเปิดสิทธิบัตร ได้เกิดแบบต่างๆของอุปกรณ์ถ่ายและสร้างภาพแตกต่างกันไป แต่ขบวนการยังเป็นแบบเดิมๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 11 ก.ย. 14, 14:47
|
|
อุปกรณ์เตรียมแผ่นเงิน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 11 ก.ย. 14, 14:49
|
|
อุปกรณ์สร้างภาพ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 11 ก.ย. 14, 14:51
|
|
ข้อความโดย: siamese เชิญวาดลวดลายได้เลยครับ ข้อความโดย: NAVARAT.C เชิญวาดลวดลายได้เลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 11 ก.ย. 14, 15:14
|
|
ข้อความโดย: siamese เชิญวาดลวดลายได้เลยครับ ข้อความโดย: NAVARAT.C เชิญวาดลวดลายได้เลยครับ จากกระบวนการถ่ายภาพด้วยระบบดาแกร์โรไทป์ ผมขอช่วยสรุปให้ดูคร่าวๆ ถึงขั้นตอนต่างๆ ในการถ่ายภาพในยุคแรกๆ ดังนั้นการจะเป็นช่างถ่ายรูปได้ต้องเรียนรู้ที่จะทำสิ่งเหล่านี้ให้เป็น เรียนรู้สารเคมีต่างๆ ให้คล่อง เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีราคาแพง และมีคุณค่าในสมัยนั้น
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 11 ก.ย. 14, 15:26
|
|
อุปกรณ์ ๑ หีบสำหรับการถ่ายภาพ จะบรรจุทุกอย่างมาให้พร้อม (ตอ่ไป อ.NAVARAT.C ก็คงพูดถึงการสั่งซื่อกล้องเข้ามายังสยาม) ทำให้เห็นว่าอุปกรณ์เหล่านี้ก็คงเข้ามาเมืองไทยในสภาพที่ไม่แตกต่างจากภาพนี้เท่าไรนัก
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 11 ก.ย. 14, 17:51
|
|
ใครผู้ที่ชักรูปในเมืองสยามเป็นคนแรก หากค้นข้อมูลในอินเทอเน็ตก็มักจะพบว่า เกือบร้อยละร้อย ลอกต่อๆกันมาว่าคือสังฆราชปาเลอกัวส์ ชาวฝรั่งเศส ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดอัสสัมชัญ ก่อนย้ายไปครองวัดคอนเซ็บชัญ ในสมัยรัชกาลที่๓
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 11 ก.ย. 14, 17:57
|
|
ทั้งนี้เพราะหนังสือเล่มนี้ เล่าเรื่องกรุงสยาม (Description du Royaume Thai ou Siam) ตีพิมพ์ในฝรั่งเศสอันทำให้ท่านโด่งดังยิ่งนั้น มีภาพของจริงที่ชักมาจากเมืองบางกอก ไปตีพิมพ์แบบลายเส้น ซึ่งเป็นกรรมวิธีเดียวในยุคแรกที่จะแพร่ภาพดาแกโรไทป์ออกไปในจำนวนมาก มาประกอบเรื่องราวอยู่ด้วย
เชิญคุณหนุ่มและคุณเพ็ญออกมาวาดลวดลายต่อ ช่วยหาภาพลายเส้นที่ว่ามาประกอบหน่อย ส่วนคุณประกอบ เข้าใจว่าหายไปเพราะขมักเขม้นทำธีซีสส่งอาจารย์ฝรั่งอยู่ ไม่นานคงได้เป็นด๊อกเตอร์ ไม่ต้องวาดลวดลายเที่ยวหลอกชาวบ้านว่าเป็นคุณชงคุณชายแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 11 ก.ย. 14, 18:01
|
|
ความจริงแล้วท่านสังฆราชปาเลอกัวส์เป็นเพียงแต่ผู้สั่งกล้องแบบดาแกร์เข้ามาสยามเป็นคนแรกในปี ๒๓๘๘ เท่านั้น ศ.ศักดา ศิริพันธ์เป็นผู้ค้นพบความจริงนี้เมื่อท่านเดินทางไปค้นหาข้อมูลในห้องเก็บจดหมายเหตุของสถาบัน Missions Entrangeres de Paris (MEP)เมื่อปี ๑๙๘๘ และเขียนเล่าไว้ในหนังสือของท่าน สงสัยมันหนาไปมั๊ง คนจึงไม่อ่าน เพราะดูแต่ภาพก็เพลิดเพลินเจริญใจเหลือจะกล่าวแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 11 ก.ย. 14, 18:06
|
|
สรุปได้ความว่า บาทหลวงลาร์โนดี(Pere Larnaudie)เป็นผู้นำกล้องที่สังฆราชปาเลอกัวส์ฝากซื้อจากปารีสกลับไปกรุงเทพ และเพราะคงได้ฝึกการใช้มาจากทางโน้นด้วย จึงใช้เป็น เพราะขบวนการชักรูปอันสลับซับซ้อนนี้ ท่านสังฆราชปาเลอกัวส์ไม่มีทางจะเรียนรู้ได้ในระยะเวลาอันสั้น และงานหลักของท่านคือการเผยแพร่คริสตศาสนา อย่างไรก็ดี ในจดหมายฉบับหนึ่งที่ท่านเขียนไปถึงมิสซัง มีความบางตอนว่า "...ข้าพเจ้าได้ทดลองถ่ายรูปด้วยกล้องดาแกรืแล้วพรอมกับคุณพ่อลาร์โนดี เมื่อทดลองอยู่สามสี่วัน ข้าพเจ้าก็ถ่ายรูปได้..."
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 11 ก.ย. 14, 18:33
|
|
หลักฐานอีกอย่างหนึ่งที่น่าเชื่อว่า บาทหลวงลาร์โนดีไม่ได้เป็นแค่ลูกมือให้ท่านสังฆราชปาเลอกัวส์แสดงนำเท่านั้น คือ หนังสือเรื่อง “Voyage autour du Monde” โดยMarquis de Ludovic Beauvoir ซึ่งมาเยือนสยามในปี๑๘๖๗ มีข้อความสำคัญที่แปลเป็นภาษาอังกฤษในA week in Siam ตอนหนึ่งอยู่ว่า “….he(Pere Larnaudie) was the first to take photographs in the town(Bangkok), and you can fancy what a magical effect be produced”
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 11 ก.ย. 14, 18:49
|
|
ทั้งนี้เพราะหนังสือเล่มนี้ เล่าเรื่องกรุงสยาม (Description du Royaume Thai ou Siam) ตีพิมพ์ในฝรั่งเศสอันทำให้ท่านโด่งดังยิ่งนั้น มีภาพของจริงที่ชักมาจากเมืองบางกอก ไปตีพิมพ์แบบลายเส้น ซึ่งเป็นกรรมวิธีเดียวในยุคแรกที่จะแพร่ภาพดาแกโรไทป์ออกไปในจำนวนมาก มาประกอบเรื่องราวอยู่ด้วย
เชิญคุณหนุ่มและคุณเพ็ญออกมาวาดลวดลายต่อ ช่วยหาภาพลายเส้นที่ว่ามาประกอบหน่อย ส่วนคุณประกอบ เข้าใจว่าหายไปเพราะขมักเขม้นทำธีซีสส่งอาจารย์ฝรั่งอยู่ ไม่นานคงได้เป็นด๊อกเตอร์ ไม่ต้องวาดลวดลายเที่ยวหลอกชาวบ้านว่าเป็นคุณชงคุณชายแล้ว
ภาพลายเส้นในหนังสือดังกล่าว http://pantip.com/topic/31995509
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|