เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 27570 ตำนานการชักรูปของสยามแต่ครั้งโบราณกาล
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


 เมื่อ 11 ก.ย. 14, 12:01

ข่าวสังคมธุรกิจที่ตีพิมพ์ในบางกอกรีดเดอร์ ฉบับวันที่ ๕ กันยายน ๒๔๐๘ เรียกการถ่ายรูปว่าชักเงารูป อันมีความหมายว่า ชักเอาเงาหรือรูปของคนหรือสรรพสิ่งที่ถูกชักเข้าไปไว้ในกล้อง ส่วนช่างภาพก็เรียงช่างชักรูป

ผมก็เลยชักคำศัพท์โบราณนี้มาตั้งชื่อกระทู้เพื่อเรียกเรตติ้ง เพราะกลัวคนจะไม่อ่าน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 ก.ย. 14, 12:03

ผมจะเรียบเรียงประวัติศาสตร์การถ่ายรูปของเมืองไทยอย่างย่อขึ้นสำหรับห้องเรือนไทย เพื่อให้เข้าใจง่าย ไม่สลับสับสนเหมือนผมหลังจากอ่าน“หนังสือครู”ทั้งสามเล่มนี้เนื่องจากท่านผู้เขียนลงข้อมูลไว้เหมือนกันบ้าง ไม่เหมือนกันบ้าง ซึ่งผมมิได้คิดบังอาจแม่แต่น้อยที่จะตำหนิท่าน ด้วยเห็นใจในความยากลำบากในการแสวงหา และตีความในข้อมูลดิบที่ได้มาในสภาวการณ์ที่จำกัด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 ก.ย. 14, 12:04

หนังสือเล่มแรกที่จะกล่าวถึงในฐานะที่ตีพิมพ์ก่อนตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ คือ“กษัตริย์กับกล้อง”ของศาสตราจารย์ ศักดา ศิริพันธ์ ซึ่งท่านได้ใช้เวลาค้นคว้ารวบรวมถึง๑๐ปี กว่าจะตีพิมพ์เป็นหนังสือคุณภาพยอดเยี่ยมที่รวบรวมประวัติการถ่ายภาพในเมืองไทยตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนถึงรัชกาลที่๙ในช่วงพ.ศ.นั้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 ก.ย. 14, 12:05

เล่มที่๒ คือ “สมุดภาพรัชกาลที่๔” ของคุณพิพัฒน์ พงศ์รพีพร ตีพิมพ์ในปี ๒๕๔๗หนังสือได้รวบรวมภาพถ่ายในยุครัชกาลที่๔ไว้มากที่สุด ตัวคุณพิพัฒน์เองมีผลงานทางการวิเคราะห์ภาพในสมัยนั้นอย่างเป็นเรื่องเป็นราว โดยเฉพาะเรื่องใครกันแน่ที่เป็นผู้ชักเงารูปนั้นไว้เป็นมรดกตกทอดมาถึงคนสมัยนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 ก.ย. 14, 12:06

เล่มที่๓ คือ “ประวัติการถ่ายรูปยุคแรกของไทย” โดยคุณเอนก นาวิกมูล ตีพิมพ์ในปี ๒๕๔๘ ถึงแม้ว่าจะหลังจากเล่มที่กล่าวไปแล้วพอสมควร แต่ตัวคุณเอนกนั้น ถือว่าเริ่มต้นศึกษาและสะสมภาพเก่าของเมืองไทยมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ สมัยยังเป็นนิสิตจุฬา แต่กว่าจะได้ร่วมมือร่วมใจกับสำนักพิมพ์เมืองโบราณ นำผลงานที่เคยตีพิมพ์สมุดภาพเก่าเล่มเล็กๆหลายเล่ม มารวบรวมจัดทำต้นฉบับใหม่จนกระทั่งเริ่มตีพิมพ์ได้ ก็ใช้เวลายาวนานถึง๑๓ปี


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 ก.ย. 14, 12:24

ผมก็เลยชักคำศัพท์โบราณนี้มาตั้งชื่อกระทู้เพื่อเรียกเรตติ้ง เพราะกลัวคนจะไม่อ่าน

เห็นชื่อเจ้าของกระทู้ ก็เรียกคนอ่านเข้ามาแน่นกระทู้แล้ว  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 ก.ย. 14, 12:44

ขอบคุณคร้าบ^

ผู้ที่ประดิษฐ์กล้องถ่ายรูปที่ใช้ได้เป็นเรื่องเป็นราวจริงๆนั้น เป็นคนฝรั่งเศสในรูป ชื่อ หลุยส์ ดาแกร์(Louis Daguerre) ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๓๘๐ ซึ่งตรงกับกลางรัชสมัยของรัชกาลที่๓โน่น

ภาพนี้แกชักเงาตัวเองเข้าไปอยู่ในแผ่นเงิน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 ก.ย. 14, 12:49

แต่ภาพตัวแกเองข้างบนไม่ใช่ภาพแรกของโลก
ภาพข้างล่างนี้ต่างหากที่ถือเป็นภาพถ่ายภาพแรกของโลก เกิดจากการที่คนสามารถชักเงารูปตึกรามบ้านช่องในปารีสมาลงไว้ในแผ่นเงินได้ โดยนายดาแกร์เป็นช่างชัก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 ก.ย. 14, 13:09

นายดาแกร์แกฉลาด ของบางอย่างนั้นมันเหมือนเส้นผมบังภูเขา เซียนๆที่เล่นของทางนี้อยู่เห็นปั๊บก็อาจจับทางได้ทันทีว่าทำอย่างไร ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนคุ้มค่าเหนื่อยสมอง การชักรูปได้อย่างเหมือนจริงจึงถูกเก็บเป็นความลับอยู่จนกระทั่งอีก๒ปีต่อมา รัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้ตกลงซื้อสิทธิบัตรจากดาแกร์เป็นจำนวนเงินถึง๑๐๐๐๐ฟรังส์  แล้วจึงเปิดเผยต่อสาธารณะชน เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลเพื่อจะได้นำไปพัฒนาต่อยอด ซึ่งก็ได้ผล มีกล้องและกรรมวิธีต่างๆที่ดีขึ้นเกิดติดตามมามากมาย แต่ยังเป็นวิธีการที่เรียกกันทั่วโลกว่า ดาแกโรไทป์ อยู่นั่นเอง

รูปแบบดาแกโรไทป์ เป็นภาพบนแผ่นโลหะ(เงิน) ถ้าแสงตกกระทบตรงๆจะเห็นเป็นภาพกลับขาวเป็นดำๆเป็นขาว ที่เรียกว่าnegative ถ้าเป็นแสงที่นุ่มนวลจึงจะเป็นตามจริง ที่เรียกว่าpossitive ซึ่งมีความชัดเจนมาก

ภาพสมัยนั้นเป็นของมีค่าราคาแพง แผ่นภาพที่เป็นเงินต้องมีกรอบที่เหมาะสมบรรจุไว้ ไม่ว่าจะเป็นแบบสำหรับติดตั้งถาวร หรือวางไว้ประดับห้อง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 11 ก.ย. 14, 13:42

เชิญวาดลวดลายได้เลยครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 11 ก.ย. 14, 13:47

แต่ภาพตัวแกเองข้างบนไม่ใช่ภาพแรกของโลก
ภาพข้างล่างนี้ต่างหากที่ถือเป็นภาพถ่ายภาพแรกของโลก เกิดจากการที่คนสามารถชักเงารูปตึกรามบ้านช่องในปารีสมาลงไว้ในแผ่นเงินได้ โดยนายดาแกร์เป็นช่างชัก



ภาพถนน Boulevare du Temple กรุงปารีส เช้าวันหนึ่งใน พ.ศ. ๒๓๘๑  ถ่ายโดย Louis Daguerre

เช้าวันนั้นการจราจรบนท้องถนนจอแจทีเดียว แต่ในภาพไม่เห็นรถราหรือผู้คนเดินพลุกพล่นเลย เนื่องจากการถ่ายภาพสมัยนั้นกว่าจะได้แต่ละภาพ วัตถุที่จะถ่ายจะต้องหยุดนิ่ง นานประมาณ ๑๕-๒๐ นาที  ในภาพเห็นเพียงชาย ๒ คนในวงกลมแดงเท่านั้น เนื่องจากคนหนึ่งนั่งขัดรองเท้า อีกคนหนึ่งกำลังยืนรับบริการ ต้องยืนและนั่งนานพอที่จะปรากฏตัวบนภาพถ่ายของดาแกร์ได้

ภาพนี้จึงถือเป็นภาพถ่ายบุคคล (โดยบังเอิญ) ภาพแรกของโลก   ยิงฟันยิ้ม



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 ก.ย. 14, 10:45 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 11 ก.ย. 14, 14:03

ทั่วโลกยกย่องให้ภาพถ่ายใบแรกของโลก เป็นภาพถ่ายติดหลังคา ฝีมือ Joseph Nicéphore Niépce ชาวฝรั่งเศสครับ ใช้เวลาเปิดหน้ากล้องยาน ๘ ชั่วโมงในการให้แสงทำปฏิกิริยากับสารความไวแสงที่ได้สร้างขึ้นมาใน ค.ศ. ๑๘๒๖

ปัจจุบันต้นฉบับภาพนี้เก็บอยู่ในห้องควบคุมความชื้นอย่างดี เพราะมีสภาพหมองคล้ำมากๆ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 11 ก.ย. 14, 14:20

เอาเงาของเค้ามาลงไว้เป็นการแก้ตัวก็แล้วกัน



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 11 ก.ย. 14, 14:35

วิธีการชักรูปแบบดาแกโรไทป์นี้ยุ่งยากพอสมควร นับจากการเตรียมแผ่นเงินให้ได้ตามขนาด


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 ก.ย. 14, 14:36


รูปแบบดาแกโรไทป์ เป็นภาพบนแผ่นโลหะ(เงิน) ถ้าแสงตกกระทบตรงๆจะเห็นเป็นภาพกลับขาวเป็นดำๆเป็นขาว ที่เรียกว่าnegative ถ้าเป็นแสงที่นุ่มนวลจึงจะเป็นตามจริง ที่เรียกว่าpossitive ซึ่งมีความชัดเจนมาก


ความมหัศจรรย์ของภาพที่ถ่ายด้วยระบบดาแกโรไทป์ เกิดจากสารเคมีที่อาบอยู่บนแผ่นเงินที่ขัดจนขึ้นเงา สะท้อนดั่งกระจกเงาครับ คุณภาพมีความคมชัดก็อยู่ที่เลนส์รับภาพที่มาตกกระทบ

นอกจากนี้แล้วภาพถ่ายระบบดาแกโรไทป์ จะมีขนาดเล็กไม่ใหญ่มาก ถ่ายภาพแล้วได้ภาพออกมาเลย ทำสำเนาอัดเป็นกระดาษค่อนข้างยาก ดังนั้นภาพจึงมีเพียง ๑ แผ่น / การถ่าย ๑ ครั้ง และต้องนั่งนิ่งๆ หลายนาที

เพื่อให้เกิดการสร้างภาพได้อย่างคมชัด



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง