เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 6490 มาว่ากันเรื่องลิขสิทธิ์ในภาพโบราณหน่อยดีไหม
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 02 ก.ย. 14, 15:57

คำหนึ่งที่ผู้ตรากฎหมายใช้ในกฎหมายลิขสิทธิ์ คือคำว่า "ผู้สร้างสรรค์"  เพราะลิขสิทธิ์ไม่ใช่ว่าเกิดในข้าวของอะไรก็ได้   แต่เป็นสิ่งที่ต้องมี "การสร้างสรรค์"ขึ้นมา 
รูปถ่ายที่ช่างภาพตั้งใจถ่ายให้เกิดความสวยงาม จากฝีมือ และองค์ประกอบพอเหมาะพอดี - ไม่ใช่สักแต่ว่ากดแชะส่งเดช ถ่ายอะไรก็ไม่รู้   พอให้ติดก็แล้วกัน - ถือเป็นงานสร้างสรรค์ จึงได้รับความคุ้มครองในฐานะทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินนี้แลกขายเปลี่ยนมือได้เช่นเดียวกับทรัพย์สินทั่วไป  ต่างกันแต่ว่ามันมีอายุเวลา  หมดอายุเวลาสร้างสรรค์แล้วก็หมดสิทธิ์การครอบครอง   ตกเป็นของสาธารณะ   แม้ว่ามีผู้ครอบครองอยู่ ก็ไม่อาจผูกขาดลิขสิทธิ์ไว้ได้

ขอยกตัวอย่างบทประพันธ์ก็แล้วกันค่ะ
เป็นที่รู้กันว่าสุนทรภู่เขียนนิราศไว้มากกว่า 9 เรื่องแต่ต้นฉบับบางเรื่องสูญหายไป  สาเหตุหนึ่งคือถูกปลวกขึ้นกุฏิเมื่อท่านบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาราม     ทีนี้ ถ้าใครเกิดไปเจอนิราศเรื่องที่ 10 เข้า จากหลานเหลนของต้นตระกูลที่ไปคัดลอกนิราศนี้เอาไว้    นำมาขายให้นาย ก.   
นาย ก. มีลิขสิทธิ์ในนิราศเรื่องที่ 10 นี้  สามารถฟ้องร้องห้ามสำนักพิมพ์ใดๆตีพิมพ์นิราศเรื่องที่ 10 นี้ได้ไหม
คำตอบคือไม่ได้  เพราะบทประพันธ์ของสุนทรภู่หมดลิขสิทธิ์ไปนับร้อยปีแล้ว

แต่สิ่งที่นาย ก. ทำได้คือไม่ให้ใครเข้ามาหยิบสมุดข่อยจารึกนิราศเรื่องที่ 10 ไปจากตู้เซฟของเขา  เพราะของสิ่งนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของเขาจากการซื้อขายถูกต้องกับเจ้าของคนก่อน
สมมุติว่าทั้งประเทศไทยไม่มีใครเคยได้เห็นได้อ่านนิราศเรื่องนี้เลย  อยากจะอ่านเต็มแก่  ก็ต้องมาขอนาย ก. 
นาย ก.จะอนุญาตแบบเอาไปให้อ่านหมดในทีเดียว    หรือจะให้เช่าอ่านเป็นครั้งเป็นตอน ก็แล้วแต่จะตกลงกัน   ได้ไหม   ได้ 
นาย ก.จะขายสมุดข่อยให้สำนักพิมพ์ได้ไหม   ได้  สำนักพิมพ์เอาไปพิมพ์ได้ไหม  ได้

แต่ถ้าใครไปเจอสำเนาเรื่องนี้ในหอสมุดแห่งชาติ จะเอามาพิมพ์เผยแพร่ นาย ก. ห้ามได้ไหม เพราะถือว่าตัวเองถือลิขสิทธิ์นิราศเรื่องที่ 10  อยู่ คำตอบคือไม่ได้
เมื่อสำนักพิมพ์พิมพ์แล้ว   คนอื่นก๊อปปี้ไปลงเผยแพร่ที่อื่นโดยไม่ต้องขออนุญาต  ทำได้ไหม  ได้ เพราะงานประพันธ์ชิ้นนี้หมดลิขสิทธิ์ไปนานแล้ว

อยากให้ท่านที่รู้กฎหมายลิขสิทธิ์เข้ามาเพิ่มเติมหรือแก้ไขบ้างค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 04 ก.ย. 14, 15:25

คำที่มักจะมีผู้สับสน ใช้กันไม่ถูก คือ กรรมสิทธิ์ กับ ลิขสิทธิ์ ทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร

1.  ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียว เจ้าของลิขสิทธิ์นั้น มีอำนาจห้ามบุคคลอื่นๆมิให้ลอกเลียนแบบผลงานของเขาได้ หรือมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการบางอย่างเกี่ยวกับงานลิขสิทธิ์ที่ตนเป็นเจ้าของ หรืออาจเรียกได้ว่า เป็นสิทธิเด็ดขาด แต่ไม่ใช่เป็นสิทธิ์ในการผูกขาด (Monopoly)

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ได้มีบทบัญญัติที่สอดคล้องกับลักษณะของลิขสิทธิ์ในข้อนี้ โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 4 ว่า “ลิขสิทธิ์ หมายความว่า สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะทำการใดๆตามพระราชบัญญัติเกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น” คำว่าสิทธิแต่ผู้เดียว จึงย่อมเป็นลักษณะของสิทธิเด็ดขาดของเจ้าของลิขสิทธิ์

2.  ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิในทางทรัพย์สิน ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิที่เป็นทรัพย์สินรูปหนึ่ง โดยมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นอำนาจหวงกันมิให้ผู้อื่นมาละเมิดสิทธิทั้งหลายที่ตนมีอยู่ เจ้าของลิขสิทธิ์จึงสามารถโอนสิทธิของตนให้ผู้อื่นไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้ หรือสามารถอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิของตนได้

3.  ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิที่มีจำกัดเวลา ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิในทางหวงกันที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้มาเป็นการตอบแทนแก่การทุ่มเทกำลังกาย กำลังสติปัญญา สร้างสรรค์งานขึ้นมาเป็นประโยชน์แก่สังคม และในขณะเดียวกัน ก็คำนึงถึงประโยชน์ของสังคมที่จะได้ใช้งานนั้นด้วย อายุของลิขสิทธิ์จึงถูกกำหนดไว้ด้วยเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ซึ่งน่าจะเป็นการตอบแทนที่พอสมควรแก่ผู้สร้างสรรค์งานนั้น ส่วนจะเป็นระยะเวลาเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับความตกลงในประเทศหรือกฎหมายภายในของประเทศนั้น

4.  ลิขสิทธิ์เป็นสหสิทธิ์ หมายความว่า เจ้าของลิขสิทธิ์ จะมีสิทธิอยู่หลายประการ คือ สิทธิในการทำซ้ำ สิทธิในการดัดแปลง สิทธิ์ในการเผยแพร่ต่อสาธารณะชน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเจ้าของลิขสิทธิ์จึงอาจจะโอนหรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิทั้งหมดรวมกันหรือแยกกันก็ได้

5.  ลิขสิทธิ์แยกต่างหากจากกรรมสิทธิ์ กรรมสิทธิ์เป็นทรัพย์สินซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นตัวทรัพย์ และกรรมสิทธิ์จะติดมากับตัวทรัพย์เสมอ และมีอำนาจจำหน่าย จ่าย โอนตัวทรัพย์ และติดตามเอาทรัพย์นั้นคืนได้ ส่วนลิขสิทธิ์เป็นสิทธิเด็ดขาดที่มีอำนาจหวงกันมิให้ผู้อื่นเข้ามาใช้สิทธิที่เจ้าของสิทธิมีอยู่แต่เพียงผู้เดียว


ถ้าคุณซื้อของมาชิ้นหนึ่ง จะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ รถยนต์ อะไรก็ตาม   ของสิ่งนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของคุณแต่ผู้เดียว ใครมาเอาไปไม่ได้  ถ้าเอาไปดื้อๆโดยคุณไม่ยอม สามารถแจ้งตำรวจจับได้ในฐานะขโมย
ถ้าเพื่อนบ้านมาเห็นโต๊ะในบ้านสวยดี  ไปต่อขึ้นมาเองบ้างเหมือนกันเปี๊ยบ  คุณไม่มีสิทธิ์ไปฟ้องเขาว่าละเมิดกรรมสิทธิ์ เพราะเขาไม่ได้มาเอาของของคุณไป  
แต่ถ้าโต๊ะตัวนี้คุณดีไซน์ขึ้นมาเองด้วยมันสมองและจินตนาการ  ต่อเองเสร็จเรียบร้อย   เพื่อหวังขายเป็นสินค้า    คนมาเห็น แอบลอกดีไซน์ไปขายตัดหน้า    ถือว่าเขาละเมิดลิขสิทธิ์ของคุณ    คุณฟ้องศาลได้
แต่โต๊ะที่คุณดีไซน์และสร้างขึ้นมา  เมื่อคุณขายให้ลูกค้า  ลูกค้าซื้อไปแล้วจะทำอะไรกับโต๊ะนั้นก็ได้ แม้แต่จะเอาไปเผาทิ้งถ้านึกอยากเผาขึ้นมา   คุณห้ามเขาไม่ได้     แต่การเผาโต๊ะทิ้งไม่ได้กระทบกระเทือนลิขสิทธิ์ของคุณ  คุณยังคงมีสิทธิ์เป็นเจ้าของแบบโต๊ะหรือดีไซน์นั้นเช่นเดิม  
บันทึกการเข้า
Prasit.S
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 05 ก.ย. 14, 14:17

อย่างที่เคย ไปยื่นเรื่องขอ ทำสำเนาพระบรมฉายาลักษณ์ รัชกาลที่6 รัชกาลที่7 ที่หอสมุดแห่งชาติ ตามที่ อาจารย์ NAVARAT.C แนะนำ ( แอบโมโหตัวเอง เสียทีที่เป็น ศิยษ์เก่าวัดราชาธิวาส ) ตอนไปยื่นเรื่องขอ เจ้าหน้าที่ ก็ มีอธิบาย เรื่องลิขสิทธิ์ เคยมีลูกค้ามาถ่ายงานเอกสารที่บ้าน (ที่บ้านรับงานเอกสาร )เห็น พระบรมฉายาลักษ์ ก็ถามว่ามีขายไหมซื้อมาจากไหน ( คนไทยด้วยกันส่วนมากไม่ทราบว่าเราสามารถไปยื่นเรื่องขอทำสำเนาได้ ) ผมจึงแนะนำให้ไปที่ หอสมุดแห่งชาติ รบกวนถาม อาจาร์ย  NAVARAT.C  ครับ คือตอนที่ผมไปรับ พระบรมฉายาลักษณ์ ตามใบนัด ก็ไปหาซื้อ กรอบที่จะมาใส่พระรูป เห็นร้านถ่ายรูปร้านนึง แถวตลาดเทเวศน์ เขามี พระบรมฉายาลักษณ์จำนวนมากให้เลือกซื้อ  พระบรมฉายาลักษณ์ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ผมเข้าใจได้ แต่ ของพระองค์ท่าน อื่นอย่างเช่น พระรูปรัชกาลที่ 5 นี่มีลิขสิทธิ์ไหมครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 05 ก.ย. 14, 14:32

ผมคิดว่าไม่มีครับ เกิน๕๐ปีแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 08 ก.ย. 14, 21:43

แถมข่าวปัจจุบันให้ดูค่ะ  ดีเจชื่อดัง deadmau5 สวมหูหนูกลมใหญ่เป็นสัญลักษณ์ประจำตัว เวลาปรากฏตัวกับแฟนคลับ
ทำมาหลายปีแล้ว  ตอนนี้บริษัทดิสนีย์ฟ้องเขาแล้วข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์หูของมิกกี้ เม้าส์

http://www.usatoday.com/story/money/business/2014/09/04/disney-deadmau5-deadmouse-mickey-mouse/15106939/


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง