เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 19491 ข่าวเท็จสมัยรัชกาลที่๔ ซึ่งคนสมัยนี้ช่วยกันแพร่
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


 เมื่อ 23 ส.ค. 14, 08:30

ดังที่คุณเพ็ญชมพูเคยเขียนไว้ ข้อมูลในวิกิพีเดียบางทีก็เชื่อถือไม่ค่อยได้

ผมก็เห็นเช่นนั้นมานานแล้วเหมือนกันครับ แต่ก็ยังดีกว่าบางวิกที่ปล่อยให้คนเข้าไปโพสต์ข้อความกันตามใจชอบโดยไม่สนใจข้อเท็จจริง คุณวิกี้ยังมีความดีอยู่มากที่ยอมให้มีการแก้ไขได้ หากมีผู้เข้าไปพบแล้วแสดงเหตุผลว่าเหตุใดจึงขอแก้ไข ซึ่งเมื่อคืนที่ผ่านมาผมได้ใช้สิทธิ์นั้นไปแล้ว
ตั้งใจจะเข้าไปหาข้อมูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์สมัยรัชกาลที่๔ จึงเปิดไปหน้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลากเมาส์ลงไปเรื่อยๆ เจอหัวข้อนี้เข้าให้ถึงกับผงะ

แผนลอบปลงพระชนม์[แก้]


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 ส.ค. 14, 08:33

แผนลอบปลงพระชนม์

หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ Illustrated Times ของอังกฤษ ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง "ความล้มเหลวของแผนปรปักษ์พระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม" ฉบับวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2399โดยข้อมูลถูกส่งมาจากสำนักงานประจำเมืองมัทราส ในบริติชราช (อินเดีย) มีใจความคือ

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2399 พระองค์ทรงได้รับการทูลเชิญจากคหบดีใหญ่ผู้หนึ่งในการเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในงานเลี้ยง ซึ่งเป็นงานใหญ่ในหมู่ชนชั้นสูง พระองค์ทรงตอบรับคำเชิญ ซึ่งการทูลเชิญเพื่อเสด็จพระราชดำเนินไปในการลักษณะนี้ขัดกับจารีต] ทั้งนี้ พระอนุชาธิราช พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแคลงพระทัยถึงวิสัยที่ผิดปกติ จึงกราบทูลเชิญพระเจ้าอยู่หัวให้งดการเสด็จพระราชดำเนิน ด้วยทรงเกรงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น แต่ด้วยทรงตอบรับไปแล้ว และทรงไม่อยากเสียมารยาท จึงมีอุบาย ทรงคัดเลือกข้าราชบริพารที่มีส่วนสูง ขนาดตัว สีผิว และใบหน้าที่คล้ายคลึงกับพระองค์ที่สุด สวมฉลองพระองค์เลียนแบบพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแทน โดยตามหมายกำหนดการจะเสด็จไปถึงเวลาเที่ยงคืน ซึ่งเมื่อถึงเวลา พระเจ้าอยู่หัวปลอมได้เสด็จและดำเนินการตามแผน โดยมีราชองครักษ์ 7 นายคอยตามเสด็จข้างพระวรกาย หลังจากเสด็จถึงบริเวณงาน ทรงถูกทูลเชิญให้พระทับบนบัลลังก์ที่จัดเตรียมไว้ และทันทีที่ประทับ ก็เกิดการระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง ความรุนแรงของระเบิดได้ปลิดชีพผู้แสร้งเป็นพระเจ้าอยู่หัว และราชองครักษ์ทั้ง 7 นายที่กำลังยืนอารักขาอยู่

การสืบสวนสอบสวนเป็นไปได้อย่างยากลำบาก เนื่องจากมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และบุคคลสำคัญเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยจำนวนมาก  มีความเป็นไปได้สูงที่ว่า แม้จะสืบถึงตัวผู้บงการได้ก็อาจไม่สามารถทำอะไรได้เลย การสืบสวนสอบสวนทั้งหมดจึงยุติลง

ข่าวนี้ยังถูกตีพิมพ์โดยสื่ออื่นๆของทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส และเป็นข่าวอยู่หลายวัน ซึ่งหลังการเผยแพร่ ก็ไม่ได้มีการแก้ข่าวจากกงศุลสยามประจำกรุงลอนดอนแต่อย่างใด และไม่มีการชี้แจงหรือประท้วงใดๆจากรัฐบาลสยาม  ขณะที่ในสยาม เหตุการณ์นี้ไม่ได้รับการเผยแพร่แพร่แต่อย่างใด พงศาวดารไทยให้ภาพว่าเป็นปีที่สงบราบรื่น ในช่วงที่ข่าวนี้ถูกเผยแพร่ในอังกฤษและฝรั่งเศสนี้เอง ในสยามเกิดความเปลี่ยนแปลงได้แก่ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมุหพระกลาโหมแทนบิดาที่เพิ่งถึงแก่พิราลัย, อังกฤษขอเข้ามาแก้สัญญาเบาริ่ง, ทูตอเมริกันและทูตฝรั่งเศส ขอเข้ามาทำสัญญาการค้าและพาณิชย์, ทูตฝรั่งเศสขอไปเยี่ยมราชสำนักเขมร สุดท้ายคือ สยามเตรียมส่งคณะทูตไปอังกฤษ


หากใครตามเข้าไปดู คงไม่เห็นบทความตอนนี้เพราะถูกลบไปแล้ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 ส.ค. 14, 08:58

ผมใช้กูเกิลตามเข้าไปหาข้อมูลดังกล่าวในโลกอินเทอเน็ตทันที พบข้อความเรื่องเดียวกันนี้ซ้ำๆกันอยู่หลายแห่ง แบบโยงกันไปโยงกันมา ผมตามคำว่า Illustrated Times  6th December 1856 เข้าไปก็ไม่พบวี่แววอะไรของฝรั่งเลย นอกจากมีเวบหนึ่งที่คนไทยเอาภาพนี้มาประกอบเรื่อง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 ส.ค. 14, 11:04

เคยอ่านเรื่องนี้มาแล้ว   อยู่ในกระทู้เก่าหรือเปล่าคะ คุณเพ็ญชมพู?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 ส.ค. 14, 11:37

ค้นในกระทู้เก่าได้ข้อมูลเบื้องต้นดังนี้

แต่ข้อมูลอีกแง่มุมหนึ่งที่ทำให้หนูตะลึง ตะลึง ตะลึง คือ
เอกสารฝรั่ง ประมาณการณ์ว่าคลื่นลูกเก่า เม้มเงินพระคลังหลวงเข้าพก
ประมาณแปดล้านบาท งบประมาณแผ่นดินสมัย รัชกาลที่ 4
อย่างมากก็แค่ยี่สามสิบล้าน!!
แสดงว่าคลื่นลูกเก่า เก็บเกี่ยวเข้าชายคาตัวเองบานตะไทเชียว


คุณหนอนบุ้งส่งหมัดหนักมาเสียแล้ว      เอกสารฝรั่งที่ว่านั้นอ้างหลักฐานอะไรบ้างคะ  อยากฟังมากๆ
เหมือนเรื่องสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงถูกวางแผนลอบปลงพระชนม์ ตีพิมพ์เป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ฝรั่งหรือเปล่า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 ส.ค. 14, 11:39

ในฐานะที่ผมเป็นผู้ที่ขอลบข้อมูลในวิกิพีเดียคราวนี้ ผมใช้เหตุผลที่เป็นรูปธรรมสองข้อ กล่าวคือ

๑ ตามอ้างว่า ข่าวนี้ยังถูกตีพิมพ์โดยสื่ออื่นๆของทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส และเป็นข่าวอยู่หลายวันนั้น หาไม่พบว่ามีวารสารสิ่งพิมพ์ใด ลงข่าวเดียวกันนี้ ไม่ว่าหลายวันหรือเพียงสักครั้งเดียว (แต่..ตรงนี้หนอนคอมพิวเตอร์อย่างคุณเพ็ญชมพูอาจจะหาได้)

๒ ตามอ้างว่า ซึ่งหลังการเผยแพร่ ก็ไม่ได้มีการแก้ข่าวจากกงสุลสยามประจำกรุงลอนดอนแต่อย่างใดนั้น ข้อเท็จจริงคือ สยามเพิ่งลงนามในสนธิสัญญาบาวริ่ง ในปี ๒๓๙๘ จริงๆคือไม่กี่เดือนก่อนหน้า และยังไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดเป็นกงสุลใหญ่ประจำลอนดอน ต่อมาทรงตั้งให้เซอร์ จอห์น เบาริง นั่นเองเป็นกงสุลสยามที่นั่น โดยพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ

เซอร์ จอห์น เบาริงในขณะที่เข้ามาทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้ากับสยามนั้น มีตำแหน่งเป็นข้าหลวงใหญ่อยู่ที่ฮ่องกง และดำรงตำแหน่งนั้นอยู่จนปีค.ศ. ๑๘๕๙ หรืออีกสี่ปีต่อมา จึงกลับไปบ้านเกิดในอังกฤษ หลังจากเหตุการณ์ตามข่าวถึง๓ปี

ส่วนความเป็นไม่ได้อื่นๆ จะว่ากันในกระทู้นี้อีกทีก็ได้ครับ
ถ้าในโลกโบราณมีการแปลงภาพถ่ายได้ การแปลงข่าวลงหนังสือพิมพ์ย่อมไม่ยาก จึงกำเนิดหนังสือพิมพ์ประเภท tabloid ขึ้นมาตั้งแต่ยุคนั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 23 ส.ค. 14, 12:00

แผนลอบปลงพระชนม์

1   ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2399 พระองค์ทรงได้รับการทูลเชิญจากคหบดีใหญ่ผู้หนึ่งในการเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในงานเลี้ยง ซึ่งเป็นงานใหญ่ในหมู่ชนชั้นสูง พระองค์ทรงตอบรับคำเชิญ ซึ่งการทูลเชิญเพื่อเสด็จพระราชดำเนินไปในการลักษณะนี้ขัดกับจารีต
2  มีอุบาย ทรงคัดเลือกข้าราชบริพารที่มีส่วนสูง ขนาดตัว สีผิว และใบหน้าที่คล้ายคลึงกับพระองค์ที่สุด สวมฉลองพระองค์เลียนแบบพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแทน โดยตามหมายกำหนดการจะเสด็จไปถึงเวลาเที่ยงคืน ซึ่งเมื่อถึงเวลา พระเจ้าอยู่หัวปลอมได้เสด็จและดำเนินการตามแผน 

ยังกะนิยายสามทหารเสือของอเลกซอง ดูมาร์  หรือไม่ก็นิยายเอเตียน เชรา ของเซอร์อาเธอร์ โคแนน ดอยล์

ก็เกิดการระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง ความรุนแรงของระเบิดได้ปลิดชีพผู้แสร้งเป็นพระเจ้าอยู่หัว และราชองครักษ์ทั้ง 7 นายที่กำลังยืนอารักขาอยู่

การสืบสวนสอบสวนเป็นไปได้อย่างยากลำบาก เนื่องจากมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และบุคคลสำคัญเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยจำนวนมาก  มีความเป็นไปได้สูงที่ว่า แม้จะสืบถึงตัวผู้บงการได้ก็อาจไม่สามารถทำอะไรได้เลย การสืบสวนสอบสวนทั้งหมดจึงยุติลง

อ้างถึง
ข่าวนี้ยังถูกตีพิมพ์โดยสื่ออื่นๆของทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส และเป็นข่าวอยู่หลายวัน ซึ่งหลังการเผยแพร่ ก็ไม่ได้มีการแก้ข่าวจากกงศุลสยามประจำกรุงลอนดอนแต่อย่างใด และไม่มีการชี้แจงหรือประท้วงใดๆจากรัฐบาลสยาม  ขณะที่ในสยาม เหตุการณ์นี้ไม่ได้รับการเผยแพร่แพร่แต่อย่างใด พงศาวดารไทยให้ภาพว่าเป็นปีที่สงบราบรื่น ในช่วงที่ข่าวนี้ถูกเผยแพร่ในอังกฤษและฝรั่งเศสนี้เอง ในสยามเกิดความเปลี่ยนแปลงได้แก่ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมุหพระกลาโหมแทนบิดาที่เพิ่งถึงแก่พิราลัย, อังกฤษขอเข้ามาแก้สัญญาเบาริ่ง, ทูตอเมริกันและทูตฝรั่งเศส ขอเข้ามาทำสัญญาการค้าและพาณิชย์, ทูตฝรั่งเศสขอไปเยี่ยมราชสำนักเขมร สุดท้ายคือ สยามเตรียมส่งคณะทูตไปอังกฤษ

จากคำอ้างข้างบนนี้ บอกว่าข่าวนี้ถูกตีพิมพ์โดยสื่อทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส    แต่ไม่มีข่าวจากทางสยาม พอจะเอามายืนยันได้ว่าจริง
หมอบรัดเลย์ หมอสมิธ  กงสุลน็อกซ์ หรือฝรั่งทั้งหลายที่พอจะบันทึกเหตุการณ์ใหญ่ขนาดนี้ไว้ให้คนรุ่นหลังค้นหาเอามาอ่านกันได้  ก็ไม่เห็นเขียนเอาไว้เลยค่ะ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 23 ส.ค. 14, 13:43

โดยตามหมายกำหนดการจะเสด็จไปถึงเวลาเที่ยงคืน ซึ่งเมื่อถึงเวลา พระเจ้าอยู่หัวปลอมได้เสด็จและดำเนินการตามแผน โดยมีราชองครักษ์ 7 นายคอยตามเสด็จข้างพระวรกาย หลังจากเสด็จถึงบริเวณงาน ทรงถูกทูลเชิญให้พระทับบนบัลลังก์ที่จัดเตรียมไว้ และทันทีที่ประทับ ก็เกิดการระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง

ตามระเบียบประเพณีของราชสำนักแต่โบราณ พระมหากษัตริย์จะไม่เสด็จออกนอกวังในเวลาวิกาลค่ำคืนยู่แล้ว เพราะในยามมืดมิดปราศจากแสงไฟเช่นทุกวันนี้ เป็นการยากที่จะถวายความปลอดภัยได้ นี่ใครก็ไม่ทราบมาเชิญเสด็จท่านไปงานโดยกำหนดให้ถึงเวลาเที่ยงคืนซะด้วย เวลาเที่ยงคืนไปทำอะไรกันครับ จริงอยู่ในสมัยนั้น ชีวิตความเป็นอยู่ในวังเสมือนกลับกลางวันเป็นกลางคืน แต่ก็ไม่ดึกถึงขนาดนี้ และนั่นมันในวัง บ้านของท่านเอง ไม่เดือดร้อนใครนอกจากมหาดเล็กเด็กชาซึ่งชินในกิจวัตรแล้ว แต่หากเป็นการเสด็จพระราชดำเนินที่มีผู้คนภายนอกต้องเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย ใครจะมาอดตาหลับขับตานอนรับเสด็จ กว่าจะกินกว่าจะแสดงการละเล่น เห็นจะลากยาวจนใกล้ถึงเช้า ไม่ไหวกระมังครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 23 ส.ค. 14, 13:51

และทันทีที่ประทับ ก็เกิดการระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง ความรุนแรงของระเบิดได้ปลิดชีพผู้แสร้งเป็นพระเจ้าอยู่หัว และราชองครักษ์ทั้ง 7 นายที่กำลังยืนอารักขาอยู่
อะไรมันจะหาตำแหน่งวางระเบิดได้เนี๊ยบขนาดนั้น ระเบิดสมัยก่อนต้องใช้สายชนวน กว่าจะจุดไฟให้ลุกฟู่ๆตามสายชนวนไปถึงดินระเบิดคงใช้เวลาหลายนาที เหยื่อคงไม่ได้อยู่นิ่งๆเป็นหุ่นขี้ผึ้ง แล้วคนอื่นๆอีกเล่า ไม่มีข่าวว่าแขกเหรื่อมีใครบาดเจ็บล้มตาย นอกจากตัวแทนและราชองค์รักษ์ที่ไปกันแค่๗คน และตายหมดทั้ง ๗ คน

อีกอย่างหนึ่งก็ช่างกระไรเลย ใครหนอที่สนิทกับพระองค์ท่านขนาดเชิญเสด็จมาบ้านของตนในยามวิกาลได้ แต่ไม่ยักกะรู้ว่าคนที่มานั้นเป็นองค์ปลอมไม่ใช่องค์จริง ทำการใหญ่แล้วเสียของจริงๆอย่างนี้ สมควรตายเจ็ดชั่วโครต
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 ส.ค. 14, 14:04

การสืบสวนสอบสวนเป็นไปได้อย่างยากลำบาก เนื่องจากมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และบุคคลสำคัญเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยจำนวนมาก  มีความเป็นไปได้สูงที่ว่า แม้จะสืบถึงตัวผู้บงการได้ก็อาจไม่สามารถทำอะไรได้เลย การสืบสวนสอบสวนทั้งหมดจึงยุติ
สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ถ้าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวจริงก็ถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับกบฏโทษประหารถึงเจ็ดชั่วโคตร พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าท่านคงไม่นิ่งดูดาย สมัยที่ไม่มีนักสิทธิมนุษยชนมาตามจับจิก ถ้าสงสัยใครก็จับไปก่อน ขัดขืนก็ฆ่าเสียตรงนั้น ใครโดนจับไปแล้วก็ต้องเจอการสอบสวนแบบจารีตนครบาล ทนไม่ได้ก็ต้องยอมรับและซัดทอด ติดตามด้วยการคร่าตัวมาประหาร บ้านเมืองคงเละเทะไปด้วยเลือด ไม่สามารถปกปิดได้

จะว่ามีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และบุคคลสำคัญเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยจำนวนมากทำให้เรื่องยุติลงแบบเงียบๆนั้น มันจะเป็นไปได้อย่างไรครับ เรื่องที่รู้ๆกันอยู่ถึงหาหลักฐานไม่ได้มันก็ต้องระแวงกันแบบมองหน้าไม่ติด สุดท้ายก็ล้างกันไปข้างหนึ่งนั่นแหละจึงจะจบได้สนิท  จะไปจบที่ความเปลี่ยนแปลงได้แก่ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมุหพระกลาโหมแทนบิดาที่เพิ่งถึงแก่พิราลัยเห็นที่จะมโนหนักไปหน่อยแบบให้อภัยมิได้ ก็ในเรื่องบอกว่าเหตุเกิดเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๙๙  แต่ท่านที่ถูกพาดพิงได้เป็นอัครมหาเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม เต็มตำแหน่งตั้งแต่พ.ศ. ๒๓๙๘ แล้ว
 
บ้านเมืองสมัยนั้น สมดุลย์อำนาจที่อยู่ในมือทั้งวังหลวงวังหน้า และท่านฟากขะโน้น รวมกันแล้วไม่มีใครในพระราชอาณาจักรกล้าหือหรอกครับ ถ้าเป็นฝรั่งอั้งม้อก็ว่าไปอีกอย่าง แต่ข่าวนี้ก็ไม่ได้ให้เบาะแส
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 ส.ค. 14, 16:08

การบรรยายเหตุการณ์ในข่าว ฟังแปร่งๆไม่ค่อยลงตัว  เหมือนเหตุการณ์ในกระทู้ท่านหญิงฉวีวาดที่เราเคยอภิปรายกันมาแล้ว    

คนที่เขียนข่าวนี้คงไม่รู้เรื่องธรรมเนียมราชประเพณีหลายอย่างในสยาม อย่างที่ท่าน NAVARAT.C ว่า  
การหาตัวสแตนด์อิน ให้แต่งฉลองพระองค์ ขึ้นนั่งบนพระราชยาน  ไปถึงงานก็ขึ้นนั่งบนพระราชอาสน์ที่จัดไว้ให้พระมหากษัตริย์ประทับ  ให้ขุนนางใหญ่น้อยกราบไหว้ถวายบังคม   ถ้าอีตาคนนี้ไม่ถูกระเบิดตาย  แกคงขวัญหนีดีฝ่อตายอยู่ดี  ว่าตัวเองต้องทำอะไรขนาดนี้เทียวหนอ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 23 ส.ค. 14, 20:52

  ดิฉันไม่ทราบว่าระเบิดในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นอย่างไร  แต่เคยดูหนังคาวบอยเก่าๆซึ่งเป็นเหตุการณ์สมัยกลางและปลายศตวรรษที่ 19  ประมาณยุคเดียวกัน   มีฉากระเบิดรางรถไฟหรือไม่ก็ถ้ำเหมืองแร่   เห็นว่าระเบิดพวกนั้นคือไดนาไมท์ที่ขนกันใส่ลังเข้าไป ไม่ใช่ระเบิดขว้าง ลูกขนาดเหมาะมือ 
  ระเบิดพวกนี้ต้องมีสายชนวนจุดไฟลุกฟู่ๆไปตามสาย  ถ้าพระเอกควบม้ามาทัน  โจนเข้าเหยียบไฟให้ดับ  ไฟก็ไม่ลามไปถึงไดนาไมท์จนระเบิด     ถ้าพระเอกมาไม่ทัน   ไฟลามไปตามสายเข้าไปในถ้ำ ครู่เดียวก็ระเบิดตูมใหญ่ ปากถ้ำพังทลาย หรือถ้าเป็นรางรถไฟก็รางขาดห้อยร่องแร่ง สะพานขาดตามไปด้วย

  สมมุติว่าเจ้าของงานคือผู้วางแผนก่อระเบิด    แกจะต้องออกไปให้พ้นงานให้ไกลมากๆ ตั้งแต่ก่อนเสด็จเข้ามา     เพราะถ้าแกอยู่ในงาน  แกจะรู้ได้ไงว่าตัวแกเหลือซากหรือไม่   โดยหน้าที่แกจะต้องเป็นคนเข้าไปรับเสด็จอย่างใกล้ชิดเสียด้วย   หายไปไหนไม่ได้  มิฉะนั้นจะก่อความสงสัยให้ทุกคนรวมแขกในงานด้วย
  ถ้างั้น จะให้ปลอดภัยแกก็ต้องรีบออกจากบ้านไปให้ไกล  โดยสร้างตัวปลอมที่หน้าตาเหมือนแก แต่งตัวเหมือนแก  เหมือนเป๊ะจนแม้แต่แขกในงานที่ล้วนเป็นเพื่อนสนิทมิตรสหายก็จำไม่ได้ว่าคนละคน   แผนนี้จึงจะดำเนินไปได้โดยแกปลอดภัย

   มันจะดราม่ามากไปมั้ง สำหรับคนเขียนข่าวนี้  เห็นด้วยไหมคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 24 ส.ค. 14, 14:10

สืบต่อไปได้ความดังนี้

แผนลอบปลงพระชนม์

หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ Illustrated Times ของอังกฤษ ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง "ความล้มเหลวของแผนปรปักษ์พระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม" ฉบับวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2399

ข่าวนี้มีอยู่ในบทความเรื่อง "เรื่องอื้อฉาวจากเกร็ดพระราชประวัติ ตะลึง! "กรณีลอบปลงพระชนม์" ในรัชกาลที่ ๔" โดย ไกรฤกษ์ นานา จากนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๒ (ต.ค. ๒๕๔๗) หน้า ๑๑๙-๑๒๖   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 24 ส.ค. 14, 21:07

ผมจะไม่เอาข้อความที่ไม่มีหลักฐานข้อเท็จจริงมาลงซ้ำ เพราะท่านก็คลิ๊กเข้าไปอ่านตามที่คุณเพ็ญชมพูทำระโยงไว้ให้ได้อยู่แล้ว ขอเอาเฉพาะบทสรุปของผู้เขียนมาลง เพราะในข้อที่ ๓ มีการอ้างชื่อกงสุลสยามประจำกรุงลอนดอนไว้ดังนี้

ขอประเมินเชิงวิเคราะห์ "ภาพโดยรวม" จากข่าวที่ฝรั่งสืบทราบมาดังนี้ :-

๑. เจ้าของงานต้องเป็นบุคคลผู้กว้างขวาง มีความใกล้ชิดเจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์ในราชสำนักเป็นอย่างดีคนหนึ่ง

๒. พระอนุชาที่กล่าวถึงน่าจะเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มากกว่ากรมหลวงวงศาธิราชสนิท เพราะองค์แรกนั้นเป็นผู้สันทัดกรณีมากกว่า และ

๓. ส่วนความคืบหน้าในการสอบสวนคาดว่า ยากที่จะชี้ตัวผู้บงการได้ เพราะจากรูปการณ์แล้วมีบุคคลสำคัญๆ ที่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยหลายท่าน ซึ่งเป็นการยากต่อการสืบพยาน การรายงานข่าวจึงไม่คืบหน้าต่อไปอีก แต่สิ่งที่เหลือเชื่อพอๆ กับเหตุการณ์ คือไม่มีการแก้ข่าวจากท่าน ดี. เค. เมซัน กงสุลสยามประจำกรุงลอนดอนในเรื่องนี้แต่อย่างใด ไม่มีแม้แต่คำประท้วงใดๆ จากทางการสยามหลังข่าวนี้แพร่ออกไป อีก ๑๑ เดือนต่อมา คณะราชทูตสยาม โดยการนำของพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) น้องชายร่วมมารดาของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ก็เดินทางมาถึงอังกฤษตามโครงการที่วางไว้ สำนักพิมพ์ Illustrated Times มีโอกาสเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับพระเจ้ากรุงสยามอีกครั้งหนึ่งอย่างครึกโครม และทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงที่ซื่อสัตย์ต่อไป โดยไม่เสียคะแนนนิยมแม้แต่น้อยจากชาวสยาม


ชื่อของพระสยามธุระพาหะ (D.K. Mason) กงสุลไทย ณ กรุงลอนดอนมีปรากฏในกระทู้หลายเรื่องที่ผมเขียน เท่าที่ผมทราบ กงสุลท่านนี้รับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อนที่พระองค์เจ้าปฤศฎางค์จะได้รับโปรดเกล้าฯให้เป็นอัครราชทูตไทย ประจำสหราชอาณาจักรเป็นพระองค์แรก และเป็นผู้ติดต่อจัดซื้อเรือพระที่นั่งเวสาตรี แต่ผมยังหาไม่เจอว่านายเมสันเริ่มเข้ารับราชการตั้งแต่รัชกาลที่๔ นอกจากเซอร์ จอห์น บาวริ่งที่กล่าวไปแล้วหรือเปล่า ฉะนั้น(นอกจากคุณเพ็ญชมพูจะค้นหาข้อมูลมาหักล้างได้) ปีที่เกิดเหตุตามอ้างของหนังสือพิมพ์ฝรั่ง ยังไม่มีกงสุลสยามประจำอยู่ในลอนดอนครับ

ส่วนประเด็นอื่นๆ ในกระทู้นี้ก็ได้กล่าวถึงความเป็นไปไม่ได้มาแล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 25 ส.ค. 14, 08:50

แต่ผมยังหาไม่เจอว่านายเมสันเริ่มเข้ารับราชการตั้งแต่รัชกาลที่๔ นอกจากเซอร์ จอห์น บาวริ่งที่กล่าวไปแล้วหรือเปล่า ฉะนั้น(นอกจากคุณเพ็ญชมพูจะค้นหาข้อมูลมาหักล้างได้) ปีที่เกิดเหตุตามอ้างของหนังสือพิมพ์ฝรั่ง ยังไม่มีกงสุลสยามประจำอยู่ในลอนดอนครับ

ใน พระราชสาส์นของรัชกาลที่ ๔ เรื่องกงสุลที่จะมาแทนเซอรอเบิตสจอมเบิก เมื่อปีชวด  พ.ศ. ๒๔๐๘ ตอนหนึ่งมีความว่า

อนึ่งเมื่อก่อนเวลานี้ไป  กรุงสยามกับเสนาบดีมีความปรารถนาจะใคร่ตั้งกงสุลของกรุงสยาม  มาคอยอยู่ฟังราชการในกรุงลอนดอนนายหนึ่ง  ได้ขอแก่เซอรอเบิตสจอมเบิกกงสุลก็มีความตอบว่ายอมให้ตั้งไม่ขัดขวาง  กรุงสยามกับเสนาบดีมีความยินดีเลือกได้มิศเตอ ด, ก, มาสอนเปนอังกฤษสับเยค  ขึ้นในพระราชอาณาจักรกรุงบริตาเนียนายหนึ่ง   ซึ่งเปนผู้เข้ามาตั้งค้าขายในกรุงเทพ ฯ นี้ นานถึงแปดปีมาแล้ว  เข้าใจฝ่ายขนบธรรมเนียมสยามมาก..... จึงได้ตั้งให้มิศเตอ ด, ก,  มาสอน  เปนกงสุลฝ่ายสยาม  ได้นามตามยศโดยธรรมเนียมสยาม  เคยใช้ในภาษาสันสกฤตว่า  พระสยามธุระพาห....

พระราชสาส์นนี้เป็นข้อยืนยันว่า พระสยามธุรพาห์ (D.K. Mason) ได้รับแต่งตั้งเป็นกงสุลสยามประจำลอนดอนในสมัยรัชกาลที่ ๔ แล้ว แต่หลังจากปีที่อ้างว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้น (พ.ศ. ๒๓๙๙) แน่นอน  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง