เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15
  พิมพ์  
อ่าน: 39540 สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ?
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 17 ก.ย. 14, 17:40

วันนี้ได้อีกรูปหนึ่งมาฝาก เสียดายมืดมัวแต่พอมองออกว่าใช่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าแน่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 17 ก.ย. 14, 17:49

เทียบกับพระบวรฉายาลักษณ์ น่าจะใช่ฝีมือฟรันซิส จิตรแน่ เห็นชัดว่ามีการตกแต่งภาพอีกแล้ว คราวนี้เล่นซะขนานใหญ่เลย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 17 ก.ย. 14, 19:08

เทียบกับพระบวรฉายาลักษณ์ น่าจะใช่ฝีมือฟรันซิส จิตรแน่ เห็นชัดว่ามีการตกแต่งภาพอีกแล้ว คราวนี้เล่นซะขนานใหญ่เลย

คงไม่ตกแต่งใหม่หรอครับ อลังการเกินไป
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 17 ก.ย. 14, 19:31

ดูยังไง? ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 17 ก.ย. 14, 19:36

ดูยังไง? ฮืม

ดูธรรมชาติของภาพ แม้ว่าจะวางข้อพระหัตถ์เดียวกันก็ตาม แต่ลำกล้องเครื่องมือวิทยาศาสตร์นั้น ไม่มีลักษณะที่ Fake ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 17 ก.ย. 14, 19:40

ชนกลางอากาศกับคำตอบ  แต่ก็ยังไม่กระจ่าง

ถ้าไม่มีการแต่งรูป พระบวรฉายาลักษณ์ใน #196   ถ่ายกันคนละเวลาหรือคะ  

หมายความว่าหลังจากฉายพระรูปครั้งแรกแล้ว ก็มีข้าราชบริพารมาเปลี่ยนฉลองพระองค์(ท่อนบน?) ให้ โดยไม่ทรงขยับเขยื้อน  หรือทรงขยับได้   แต่ต้องวางพระอิริยาบถให้เหมือนเดิมมากที่สุด
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 17 ก.ย. 14, 19:46

ชนกลางอากาศกับคำตอบ  แต่ก็ยังไม่กระจ่าง

ถ้าไม่มีการแต่งรูป พระบวรฉายาลักษณ์ใน #196   ถ่ายกันคนละเวลาหรือคะ  

หมายความว่าหลังจากฉายพระรูปครั้งแรกแล้ว ก็มีข้าราชบริพารมาเปลี่ยนฉลองพระองค์(ท่อนบน?) ให้ โดยไม่ทรงขยับเขยื้อน  หรือทรงขยับได้   แต่ต้องวางพระอิริยาบถให้เหมือนเดิมมากที่สุด

เป็นการถ่ายภาพในคราวเดียวกันแน่นอน แต่มุมกล้องเยื้องมาทางซ้ายมือ เนื่องจากระยะเส้นสีดำที่ทำไว้แตกต่างกันครับ การวางพระหัตถ์ของภาพขวามือ วางล้ำเข้าไปในโต๊ะมากกว่าชุดทหารเรือครับ

การแต่งพระองค์อาจจะมีเจ้าพนักงานช่วย แต่เรื่องสวมหมวกนั้น คงทำด้วยองค์เอง เพราะเป็นส่วนที่สูงสุด (แต่ไม่ใช่การตกแต่งภาพครับ)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 17 ก.ย. 14, 19:54

มีเหตุผลอะไรหนอ  ที่จะต้องวางพระอิริยาบถเหมือนกันเป๊ะ?


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 30 ต.ค. 14, 08:24

วานนี้ได้หลักฐานมาเพิ่มจากหนังสือเล่มนี้ครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 30 ต.ค. 14, 08:34

อ้างจาก: NAVARAT.C ที่  16 ก.ย. 14, 18:16

อ้างถึง
อาจารย์พิพัฒน์มีเหตุผลอะไรหรือครับ

อ้างจาก: เพ็ญชมพู ที่  21 ส.ค. 14, 12:00
อ้างถึง
คุณพิพัฒน์ไม่เชื่อคุณ Claude Estebe ช่างภาพชาวฝรั่งเศสซึ่งใช้วิธีประเมินเอา ในความเห็นของคุณพิพัฒน์โดยการประเมิน (มั่ว) เช่นกัน ก็น่าจะเป็นฝีมือคุณจิต  

อ้างจาก: pipat ที่  21 ก.ค. 08, 00:36

อ้างถึง
เราได้ทราบเหตุผลแล้ว ว่าในการระบุชื่อช่างภาพนั้น คุณคล๊อดใช้วิธีประเมินเอา เมื่อไปพบพระรูปอยู่ในกลุ่มที่คล้ายกับผลงานของโรสซิเย่ร์  
จึงเขียนคำอธิบายไว้อย่างนั้น วิธีนี้ผมก็ใช้นะครับ ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร เรื่องก่อนเกิดใครจะไปรู้ไปหมด ใช่ใหมครับ

พระรูปนี้ พบแพร่หลาย เท่าที่เคยเห็นผ่านตาก็มีที่คลังรูปของ MEP Missions Entrangeres de Paris
อาจารย์ศักดาเชิญมาลงหนังสือของท่าน ขอลงชื่อหนังสือด้วยละกัน กษัตริย์ & กล้อง 2535 เดี๋ยวจะหาไม่เจออีก
แต่ที่พบเก่าแก่สุดก็คือในหนังสือมูโอต์

ทีนี้ ถ้าท่านช่างสังเกตสักนิด จะเห็นว่าพระรูปนั้นเหมือนกันทุกอย่าง จะไม่เหมือนก็คือองค์หนึ่งทรงเหรียญตรามากว่าเท่านั้น นับว่าน่าสงสัย
เอาละ ใช้หลักเจอที่ใหน ที่นั่นถ่าย ก็จะได้ช่างภาพ 3 คนเข้าไปละ คือคุณคล๊อดระบุและมีคนไทยที่เชื่อฝรั่ง เชื่อว่าเป็นฝีมือโรสซิเย่ร์
สองคือบาทหลวงลาร์นอร์ดี ตามที่อาจารย์ศักดาท่านระบุเพราะพบในคลังรูปของคณะนักบวชต้นสังกัดของท่านผู้นี้
และสามคือใครสักคน ที่ผมมั่วระบุว่า เป็นนายจิตอีกหนึ่ง

พระบวรฉายาลักษณ์ดังกล่าวประเมินโดยนาย Claude Estebe ผู้เชี่ยวชาญของพิพิธภัณฑ์ฝรั่งเศสว่านายปีแอร์ โรซิเยท์ (เข้ามาสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔)เป็นผู้ถ่าย  ซึ่งก่อนหน้านี้คุณหนุ่มสยามได้เอาหลักฐานคล้ายกันมาแสดงแล้ว(คคห.๑๘๒) แต่คุณเพ็ญชมพูเอาความเห็นค้านของคุณพิพัฒน์มาประกบ เลยไม่มีการสรุป


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 30 ต.ค. 14, 09:03

คือ ในฐานะผู้ประเมินนะครับ ไหนๆคุณพิพัฒน์ท่านก็รับว่าท่านใช้วิธีมั่ว ก็ท่านรักฟรันซิส จิตท่านจึงมั่วว่าฟรันซิส จิตเป็นผู้ถ่าย

แต่ผมนั่งอ่านและพิจารณาภาพต่างๆในหนังสือนั้นที่ประเมินว่านายโรสิเยเป็นผู้ถ่าย โดยนายฟีร์แมง โบกูรต์เป็นผู้กำกับดูแล เห็นชัดเจนว่าทุกภาพมีความคมชัด เกิดจากคุณภาพของเลนซ์ระดับสุดยอดของยุคเท่าที่จะหาได้ตอนนั้น เหมาะสำหรับช่างภาพเอกที่มีผู้ยอมลงทุนให้เดินทางมาถ่ายภาพทางไกลถึงคนละมุมโลก

ผลงานของฟรันซิส จิตที่ผมนั่งพิจารณาจากภาพต้นฉบับในหอจดหมายเหตุแห่งชาติที่ผมไปมาสักสิบครั้งเห็นจะได้ในระยะเดือนสองเดือนนี้ บอกได้เลยว่าเลนซ์ของฟรันซิส จิตไม่สามารถเทียบกับเลนซ์ของช่างภาพระดับโลกที่มีผู้สปอนเซอร์ให้มาถ่ายภาพเข้าพิพิธภัณฑ์ และแวะเวียนมาเยือนสยามในยุคเดียวกันได้เลย

ผมเชื่อว่าพระบวรฉายาลักษณ์ภาพนี้  ถ่ายโดยช่างภาพฝรั่งเศส นายโรสิเย(Rossier Pierre Joseph)ครับ และเป็นภาพต้นฉบับก่อนที่ใครก็ไม่ทราบ แต่เป็นคนฝรั่งเศสแน่ จะแต่งเติมเอาเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ที่พระเจ้านโปเลียนที่ ๓ ส่งมาถวายให้ท่านนั้น ใส่เข้าไปแทนที่ดวงตราเดิมที่ทรงประดับแต่แรก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 30 ต.ค. 14, 10:46

อ้างถึง
ผมเชื่อว่าพระบวรฉายาลักษณ์ภาพนี้  ถ่ายโดยช่างภาพฝรั่งเศส นายโรสิเย(Rossier Pierre Joseph)ครับ และเป็นภาพต้นฉบับก่อนที่ใครก็ไม่ทราบ แต่เป็นคนฝรั่งเศสแน่ จะแต่งเติมเอาเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ที่พระเจ้านโปเลียนที่ ๓ ส่งมาถวายให้ท่านนั้น ใส่เข้าไปแทนที่ดวงตราเดิมที่ทรงประดับแต่แรก
ขอแก้ไขว่า นายโรสิเย(Rossier Pierre Joseph)เป็นชาวสวิสครับ ไม่ใช่ฝรั่งเศส แต่หากินอยู่ในปารีสและลอนดอนก่อนที่จะได้ทุนจากบริษัทผู้ผลิตเลนซ์ชั้นยอดชื่อNegretti and Zambra ให้เดินทางมาถ่ายภาพสารคดี เพื่อโปรโมทเลนซ์ที่บริษัทผลิตขึ้น
เป้าหมายการเดินทางไม่ได้อยู่ที่สยาม เพียงแต่แวะมาก่อนจะไปยังจีนและญี่ปุ่นต่อไป

ช่วงที่อยู่ในสยามคาบเกี่ยวในปีค.ศ.1861-1862 (2404-2405) พอดีๆกับพระบวรฉายาลักษณ์ดังกล่าว
บันทึกการเข้า
cameraman
อสุรผัด
*
ตอบ: 21


ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 30 ต.ค. 14, 12:02

สวัสดีครับ กระผมในฐานะที่ศึกษาภาพเก่าอยู่แล้ว อยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครับ

ที่ท่านอาจารย์นวราชซึ กล่าวว่า

เป้าหมายการเดินทางไม่ได้อยู่ที่สยาม เพียงแต่แวะมาก่อนจะไปยังจีนและญี่ปุ่นต่อไป

อาจไม่ถูกต้องทั้งหมดครับ


ตากล้องสวิส ใช้เมืองจีนเป็นฐาน แล้วกระโดดมาสยามเป็นทริปข้างเคียง จงใจมา
เสร็จภารกิจแล้ว ก็กลับไปจีนอีก
ดังนั้นจะว่าไม่ตั้งใจมา ก็คงไม่ใช่มังครับ
บันทึกการเข้า
cameraman
อสุรผัด
*
ตอบ: 21


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 30 ต.ค. 14, 12:11

อีกประเด็นหนึ่ง กล้องที่ฟรานซิส จิต ใช้
ก็คือกล้องที่ตากล้องสวิส (น่าจะ) เป็นคนสั่งซื้อให้
เพราะมีหลักฐานว่าตากล้องสวิสสั่งซื้อกล้องชั้นดีให้พระมหากษัตริ์ยสยาม
ซึ่งเดาว่ากษัตริ์ยมอบให้ช่างภาพในราชสำนักเป็นคนจับต้อง

ต่อให้กล้องดีแค่ไหน ฝีมือการถ่าย ก็มีส่วนสำคัญในคุณภาพของภาพ ทั้งความคมชัด และการจัดองค์ประกอบของภาพ
ปี 2404 ตากล้องไทยยังไม่เปิดสตูดิโอริมน้ำ
น่าจะใช้เวลาสักพอประมาณในการบ่มเพาะวิชาจนแก่กล้า
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 30 ต.ค. 14, 12:14

เห็นด้วยกับคคห.แรกก่อนครับ

ความจริงเขารับงานมา แต่เป็นงานย่อยในงานใหญ่ โดยเป็นส่วนควบร่วมกับนายแฟร์แมง โบกูรต์ ซึ่งราชสำนักเชิญเข้ามาเก็บข้อมูลธรรมชาติวิทยา เป็นของขวัญแก่ฝรั่งเศสในโอกาสที่คณะฑูตได้ไปเจริญสัมพันธไมตรีมาเมื่อปีที่ผ่านมา

งานใหญ่ของเขาคือ ไปถ่ายทำภาพเรื่องราวในจีนและญี่ปุ่นด้วยกล้องถ่ายรูปสามมิติ หรือstereotype ตามที่บริษัทผลิตเลนซ์ให้ทุนทรัพย์ไปถ่ายครับ แต่คงเห็นว่าเป็นทางเดียวกัน และผู้ขอให้ไปแวะมาก็เส้นใหญ่บึ่ก ก็เลยได้มาสยามไงครับ

และนี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ภาพต้นฉบับชุดนี้จึงไปอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ว่าด้วยประวัติธรรมชาติวิทยาของประเทศฝรั่งเศส(Museum National D’Histoire naturelle (MNHN) Babliotheque Centrale. Paris) ภาพหลายภาพในหนังสือเล่มที่ผมให้ดูปก เป็นภาพที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อนเลย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 20 คำสั่ง